กล้วย
คนไทยกับต้นกล้วยเป็นความผูกพันมาช้านาน แม้วันนี้เราจะใช้ใบตองกล้วยน้อยลง หรือเลิกใช้เชือกกล้วยไปแล้วก็ตาม แต่ประเพณีชีวิตคนไทยกับต้นกล้วยยังแยกกันไม่ได้ ไม่ว่าพิธีขึ้นบ้านใหม่ หรือขบวนแห่ขันหมากแต่งงานก็จะขาดต้นกล้วยไม่ได้ ไปจนถึงพระราชพิธีพระบรมศพก็ยังมีการแทงหยวกกล้วยเป็นลวดลายประกอบพระเมรุ ที่สำคัญคือ เครื่องบายศรีใหญ่น้อยทั้งหลายที่ใช้ในพิธีศักดิ์สิทธิ์ล้วนทำมาจากใบตองที่นำมารีดเป็นกลีบเป็นกรวยสวยงาม อันเป็นที่มาของคำสำคัญที่ผูกพันชีวิตคนไทยกับต้นกล้วยว่า “พิธีรีตอง” ข้างต้นเป็นเรื่องของกล้วยกับประเพณีไทย ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการ “กินกล้วยเป็นอาหารและยา” ซึ่งดำรงอยู่ในวัฒนธรรมโภชนาการและแพทย์พื้นบ้านไทยมาแต่โบร่ำโบราณไม่ขาดสายมาจนถึงทุกวันนี้ คนไทยรู้จักกินกล้วยหลายชนิด แต่ที่ฮิตที่สุดก็คือ “กล้วยน้ำว้า” นอกเหนือจากประโยชน์ทางด้านอาหารแล้ว กล้วยยังมีคุณค่าอนันต์ในทางยา หมอพื้นบ้านใช้ใบตองอ่อนที่ยังม้วนอยู่ นำมาอังไฟสำหรับประคบรักษาอาการปวดหน้าอก อาการอักเสบพุพองของผิวหนัง หรือนำมาต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย บิด แก้ผื่นคัน สมัยที่ยาเพนิซิลินหายาก น้ำคั้นสดจากหยวกกล้วยช่วยเยียวยาโรคหนองใน
การตัดแต่งหน่อกล้วย ให้มีจำนวนพอเหมาะ ไม่ไปแย่งอาหารต้นแม่ ซึ่งมีผลทำให้ขนาดของเครือเล็กลง เริ่มตั้งแต่ปลูกกล้วยไปแล้ว 5-6 เดือน ในระยะที่ต้นแม่ยังไม่ตกเครือ ให้ไว้หน่ออ่อนเพียง 2 หน่อ แต่ไม่ควรเกิน 3 หน่อ การไว้หน่อทั้ง 2 ดังกล่าว ให้อยู่ตรงกันข้ามโดยมีต้นแม่กั้นกลาง เพราะจะได้หน่อที่แข็งแรงที่สุด ส่วนหน่อที่เกิดตามมา เรียกว่า หน่อตาม ให้ตัดออกแล้วคว้านไส้ในทิ้ง ราดด้วยน้ำมันก๊าด หลังจากเก็บเกี่ยวผลแล้วให้ตัดต้นเดิมทิ้ง รักษาหน่อไว้ 1-2 หน่อ แทนต้นแม่ต่อไปได้อีก 3-4 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ทั้งนี้ ต้องตัดแต่งใบที่แห้ง หรืออมโรคเผาทำลาย เหลือไว้เพียง 7-8 ใบ จนถึงระยะใกล้ตกเครือ ตัดให้เหลือใบที่สมบูรณ์ไว้เพียง 4-5 ใบ ก็พอ โรคตายพราย เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ ถ้าหากต้นไม้ในที่นี้หมายถึงต้นกล้วย เมื่ออ่อนแอ หรือสภาพแวดล้อมเหมาะสมสำหรับเชื้อโรค มันก็จะเข้าทำลายทันที อาการของโรคตายพรายของกล้วย ถ้าสังเกตให้ดีจะพบสีเหลืองอ่อนที่ก้านใบแก่ ต่อมาปลายใบหรือขอบใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วขยายออกไปอย่างรวดเร็ว จนเหลืองทั้งใบ ต่อมาใบอ่อนก็เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเช่นเด
กล้วยเล็บมือนาง เป็นพืชท้องถิ่นภาคใต้ นิยมปลูกแพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ระนอง และภูเก็ต เนื้อที่ปลูกกว่า 20,000 ไร่ สร้างรายได้ให้เกษตรกรปีละกว่า 280 ล้านบาท เนื่องจากกล้วยเล็บมือนางเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อย จึงเป็นที่นิยมรับประทานทั้งผลสดและการแปรรูป เช่น รวมทั้งยังเป็นสินค้าประจำจังหวัดชุมพร โดยได้จดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ชื่อว่า “กล้วยเล็บมือนางชุมพร” กล้วยเล็บมือนาง เป็นพืชมีศักยภาพสูงที่จะพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจสำหรับตลาดภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร กรมวิชาการเกษตร จึงได้สำรวจคัดเลือก และรวบรวมกล้วยเล็บมือนางสายต้นที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพผลผลิตดี ลักษณะผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดจากแปลงเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ปี 2554 คัดเลือกได้ 21 สายต้นนำมาปลูกเปรียบเทียบและคัดเลือกสายต้นที่เจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง เหมาะสำหรับแปรรูปและรับประทานผลสดได้ จำนวน 5 สายต้น นำมาปลูกขยายหน่อพันธุ์ ปลูกทดสอบในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โดยใช้สายต้น 001 พันธุ์พื้นเมือง เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ จนได้สายต้นดีเด่น
กล้วยเป็นผลไม้ยอดนิยมที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ แต่รู้หรือไม่ว่าระดับความสุกของกล้วยส่งผลต่อประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ? มาดูกันว่ากล้วยในแต่ละระดับความสุกมีความโดดเด่นอย่างไร และแบบไหนที่ให้ประโยชน์สูงสุด 1. กล้วยดิบ พลังงานต่ำ ดีต่อคนคุมน้ำตาล กล้วยดิบมีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแป้งต้านการย่อย (Resistant Starch) ที่ไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและส่งเสริมสุขภาพลำไส้ แป้งชนิดนี้ยังช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังลดน้ำหนักหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีสรรพคุณช่วยแก้โรคกระเพาะ เนื่องจากมีสารแทนนินในกล้วยดิบที่ให้ความฝาดเป็นกรดอ่อนๆ มีฤทธิ์ในการเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี แต่กล้วยดิบนั้นไม่สามารถนำมาทานได้ทันที ต้องนำผลดิบไปบดเป็นผง แล้วนำมาชงดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เหมาะสำหรับ : ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมเบาหวาน 2. กล้วยห่าม สมดุลระหว่างแป้งและน้ำตาล เมื่อกล้วยเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเหลือง แป้งในกล้วยจะเริ่มเปลี่ยนเป็นน้ำตาลบางส่วน กล้วยห่ามจึงยังคงให้พลังงานไม่สูงมาก
คนที่ชอบกินผลไม้ หรือใครมีที่ข้างบ้าน ข้างสวน อยากแนะนำปลูกผลไม้ 5 ชนิดนี้มีติดบ้านไม่อดตาย มีกินทั้งปี แถมยังขายเสริมรายได้ได้อีกด้วย หรือตอนนี้บ้านไหน มีผลไม้เหล่านี้อยู่บ้าง มาเล่าสู่กันฟังหน่อยว่าปลูกแล้วเป็นยังไงกันบ้าง อีกอย่างไม้ผลบางชนิดอายุยืนมากๆ เหมาะกับสภาพอากาศแบบบ้านเรา และบางชนิดแตกหน่อออกผลผลิตได้เรื่อยๆ โดยไม่สนใจฤดูกาลให้ผลผลิตทั้งปี 🟡ส้มโอ ส้มโอจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุ 3-4 ปีขึ้นไป จากนั้นจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี และจะให้ผลผลิตดีคงที่ตราบเท่าที่ต้นยังสมบูรณ์ อยู่จนอายุประมาณ 20-30 ปี นิสัยส้มโอทุกสายพันธุ์จะออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกออกดอกเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนสิงหาคม-กันยายน (ดกมาก) รุ่นสองออกดอกเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนมีนาคมถึงเมษายน (ดกน้อยกว่ารุ่นแรก) แต่ผลรุ่นสองมีคุณภาพดีกว่ารุ่นแรกเพราะผลแก่ตรงกับช่วงแล้ง ถ้าต้องการทำให้ผลรุ่นแรกดีเหมือนรุ่นสองจะต้องควบคุมปริมาณน้ำ โดยเฉพาะน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้เท่านั้น เคล็ดลับ : การใส่ปุ๋ย ในช่วงแรกปลูกไป 1 เดือน จะใส่ปุ๋ยคอก ขี้หมู ขี้วัว ห
จังหวัดพัทุลง เป็นอีกหนึ่งจังหวัดทางภาคใต้ที่มีการทำสวนยางพาราด้วยเช่นกัน เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหาในเรื่องของราคาจำหน่ายผลผลิตยางพาราได้น้อยลง จึงทำให้เกษตรกรเกิดการปรับตัวและหาพืชชนิดอื่นเข้ามาปลูกทดแทน โดยมีการลดพื้นที่ยางพาราบางส่วน เพื่อเป็นการสร้างรายได้อีกหนึ่งช่องทางโดยไม่รอผลผลิตจากยางพาราเพียงอย่างเดียว คุณจิตรา รุ่งรัศมีวิริยะ เกษตรอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ให้ข้อมูลว่า เมื่อผลผลิตอย่างยางพารามีราคารับซื้อที่ถูกลง จึงทำให้สำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้วเห็นถึงช่องทางการสร้างรายได้ของเกษตรกร โดยในพื้นที่ได้เกษตรกรปลูกกล้วยหอมทองที่ประสบผลสำเร็จและมีตลาดแน่นอนมั่นคง ต่อมาจึงได้มีการส่งเสริมให้รวมกลุ่มที่เข้มแข็ง เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองผลิตกล้วยที่มีคุณภาพและถูกต้องตามมาตรฐาน GAP “เมื่อเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองมีความเข้มแข็งและสามารถกำหนดทิศทางตลาดได้ หรือที่เรียกว่า ตลาดนำการผลิต ทางสำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้วจึงได้เข้ามาส่งเสริมและจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ เพื่อให้ผลผลิตที่จำหน่ายมีเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ เราก็ได้ให้หน่วยงานอย่าง กยท. เข้ามาช
เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่อีกคนที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล และถือว่าประสบความสำเร็จในอาชีพเพียงระยะเวลาไม่กี่ปี คุณกิตตินันท์ นุ้ยเด็น บัณฑิตจากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งตั้งแต่เรียนจบมาเมื่อปี 2549 ยึดอาชีพเกษตรกรรมมาโดยตลอด เริ่มเมื่อปี 2549 จนถึงปัจจุบัน มีแปลงเกษตรทั้งหมด 60 ไร่ ปลูกพืชหลายชนิด แต่ที่ทำเป็นหลักคือ มะละกอฮอลแลนด์ มะละกอแขกดำ กล้วยไข่ และกล้วยหอมทอง หนุ่มวัย 35 ปี รายนี้ เป็นเกษตรกรคนรุ่นใหม่ในโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเป็นเจ้าของไร่ “อ.การเกษตร.” อยู่ที่ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ซึ่งเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากสวนยางพาราที่มีอายุกว่า 30 ปี มาปลูกปาล์มน้ำมัน และพืชผักผลไม้แทน เพราะมองว่าทำเงินได้ดีกว่า อีกส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุราคายางตกต่ำ มีรายได้ทุกวัน วันนี้เขามีรายได้เฉลี่ย เดือนละ 30,000-50,000 บาท โดยไม่ต้องไปเป็นมนุษย์เงินเดือน มีความสุขอยู่กับเรือกสวน ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ และใช้เวลาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตและแหล่งต่างๆ พร้อมทั้งสอบถามผู้รู้ คุณกิตตินันท์ เล่าว่า ในพื้นที่ 60 ไร่ แบ่งเป็น 2 แปลง
ภายในสวนยางอ่อนก่อนเปิดกรีด สามารถปลูกพืชอื่นได้หลากหลายชนิดที่เรียกว่าพืชแซมยางและพืชร่วมยาง ซึ่งชาวสวนยางขนาดเล็กจะคุ้นเคยกับการปลูกข้าวไร่ พืชไร่ หรือพืชผักในสวนยางเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือจำหน่ายเพื่อเสริมรายได้ในครอบครัว พืชแซมยางและพืชร่วมยางควรจะเป็นพืชที่ไม่รบกวนต่อการเจริญเติบโตของต้นยางหรือทำให้ผลผลิตของต้นยางลดลง โดยปลูกระหว่างแถวยางในขณะที่ต้นยางมีอายุไม่เกิน 3 ปี ส่วนพืชร่วมยางคือ พืชที่ปลูกระหว่างแถวยางโดยอาศัยร่มเงาของต้นยางเพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต สามารถปลูกได้ตั้งแต่ต้นยางมีอายุ 3 ปีขึ้นไป ดังในพื้นที่ภาคตะวันออกภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง นำแนวทางดังกล่าวมาปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรทฤษฎีใหม่ที่จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกยางพารา นำกล้วยป่ามาปลูกเป็นพืชแซม เช่น กรณีของแปลงส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ของ คุณละมัย สนวัตร์ เกษตรกร หมู่ที่ 6 ตำบลหนองไร่ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น้อมนำหลักการการทำเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยให้การส่งเสริมตามหลักเศรษฐกิจพ
กล้วยหอมทอง พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ ตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ด้วยรสชาติที่อร่อย กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ทำให้กล้วยหอมไทยครองใจชาวญี่ปุ่นได้ไม่ยาก รวมถึงความต้องการภายในประเทศก็มีไม่แพ้กัน เนื่องจากกล้วยหอมเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายควรได้รับ จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค รวมไปถึงเรื่องศาสนาและความเชื่อ กล้วยหอมก็เป็นอีกหนึ่งผลไม้มงคลที่ต้องใช้ในการไหว้เจ้าที่เช่นกัน โดยมีความหมายถึง ความมั่งคั่ง ร่ำรวย การมีบริวารเยอะแยะ ใครที่จัดของไหว้เจ้าที่ด้วยกล้วยหอมจึงมักจะมีความร่ำรวยเงินทอง มีเงินเข้ามาอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นหากท่านใดสนใจปลูกกล้วยหอมทองสร้างรายได้ก็ยังน่าสนใจ แต่ต้องศึกษาวิธีการปลูกการดูแลให้ดีอีกเช่นกัน เพราะกล้วยหอมทองเป็นพืชที่ได้รับฉายาว่า “ปลูกง่าย แต่ดูแลยาก” นั่นเอง คุณศศิธร พันธ์มุง หรือ คุณติ๋ว เจ้าของสวน T.N banana อยู่ที่ ตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อดีตสาวโรงงานในเมืองกรุง ลาออกจากงานมาเป็นเกษตรกร ปลูกกล้วยหอมทองเน้นคุณภาพส่งห้าง หวีใหญ่ ผิวสวย เนื้อแน่นอร่อย กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ฟันรายได้ครึ่งล้านต่อปี คุ
ในวันนี้ กล้วยไข่ กลายเป็นผลไม้ขายดี ติดตลาด ไม่แพ้ กล้วยชนิดต่างๆ ความจริง กล้วยไข่ เป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย หากใครมีพื้นที่ว่างในสวนหลังบ้าน ก็สามารถหาพันธุ์กล้วยไข่มาปลูกและบำรุงรักษาให้เจริญเติบโตได้ไม่ยาก แค่ใช้เวลาปลูกดูแลไม่นานก็จะได้ผลผลิตให้เก็บกินและเก็บขายได้ การปลูก-ดูแล กล้วยไข่ เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไปในพื้นที่ราบ ต้นกล้วยไข่เติบโตได้ดี ในสภาพดินร่วนซุยค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ “ฤดูฝน” เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการปลูกกล้วยไข่ เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ปลูกต้นกล้วยไข่ในพื้นที่โล่งมากเกินไป เพราะหากเจอปัญหาลมพัดแรง จะเสี่ยงทำให้ต้นกล้วยไข่หักโค่นล้ม หรือหักครึ่งต้นได้ในระยะตกเครือ หากเป็นไปได้ ควรปลูกไม้กันลมไว้ด้วยจะยิ่งดี ก่อนปลูก ควรไถดะไถแปรทั้งแปลง ตากดินไว้ 5-7 วัน ขุดหลุมลึกและกว้าง 50 เซนติเมตร คลุกดินที่ขุดขึ้นจากหลุมกับปุ๋ยคอกเก่า รองก้นหลุมด้วยใบไม้หรือฟางข้าวแห้ง เกลี่ยดินที่ผสมไว้กลับลงหลุมวางหน่อกล้วยลงหากต้องการให้ต้นกล้วยตกเครือในทิศทางเดียวกัน ให้หันรอยแผลที่ตัดแยกจากต้นแม่ไปทิศทางเดียวกัน กลบหน่อกล้วยให้ลึกประมาณ