การบริหารจัดการน้ำ
สทนช. สร้างความมั่นคงด้านน้ำในพื้นที่ EEC เดินหน้าการบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้งปีนี้ เร่งขับเคลื่อนการสร้างสมดุลในจัดสรรน้ำอย่างยั่งยืนให้ทุกภาคส่วน ทั้งการอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และการเกษตร ตามมติคณะกรรมการลุ่มน้ำ มั่นใจน้ำมีเพียงพอใช้ตลอดช่วงฤดูแล้งนี้ และมีสำรองใช้ในช่วงต้นฤดูฝนและภาวะฝนทิ้งช่วงอีกด้วย นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะโฆษก สทนช. เปิดเผยว่า จากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโลก ทำให้ก่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญอย่างเด่นชัดในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา และถือเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีเพียงพอตามลำดับความสำคัญตลอดฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเป็นฐานการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ สทนช. ได้ดำเนินการวางแผนการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านน้ำที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้น้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญให้เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ EEC โดยยึดหลักก
(วันที่ 20 มีนาคม 2567) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานเนื่องในวันน้ำโลก ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ โดยมีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ สทนช. และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ร่วมรับฟังการแถลง ณ ห้องประชุมน้ำปิง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า เนื่องด้วยองค์การสหประชาชาติ (UN) ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี และอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้น ทุกวันที่ 22 มีนาคมของทุกปี จึงกำหนดให้เป็น “วันน้ำโลก” หรือ “World Water Day” เพื่อย้ำให้เห็นความสำคัญของน้ำ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องการอนุรักษ์น้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยปีนี้ได้กำหนดหัวข้อ หรือ Theme การจัดงานไว้คือ “Leveraging Water for Peace” หรือ “น้ำเพื่อสันติภาพ” ทั้งนี้ สทนช. ในฐานะหน่วยงานรัฐบาลที่มีบทบาทหลักในการบริหารจัดการน้ำของประเทศ จึงได้เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรม “วันน้ำโลก” ในนามรัฐบาลไทยพร้อมกับนานาประเทศทั่วโลกในวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2567 ณ ห้อ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนโครงการวิจัยศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางอุทกวิทยาและฟลักซ์ของลุ่มน้ำจิวหลงและลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยการดำเนินการของศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับภูมิภาคและพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Ramkhamhaeng University Center of Regional Climate Change and Renewable Energy,RU-CORE) จากสภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทั่วทุกภูมิภาคของโลกรวมถึงประเทศไทย ที่ทำให้เกิดผลกระทบตามมามากมาย โดยเฉพาะภัยทางธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นและส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการเกษตร จำเป็นอย่างยิ่งที่ในแต่ละประเทศต้องมีการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพื่อเตรียมแผนรับมือ เช่น การบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นองค์กรสำคัญของรัฐในการขับเคลื่อนสนับสนุนงานวิจัย และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถนำองค์ความร
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสร้างภาคีเครือข่ายผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล ภายใต้แนวคิด “น้ำบาดาลเพิ่มมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจไทย” พร้อมงานเสวนาและเยี่ยมชมบู๊ธ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นายศักดิ์ดา วิเชียร์ศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และคณะผู้บริหาร โดยมี นายวรวิทย์ เจนธนากุล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ ให้การต้อนรับ นายวรวิทย์ เจนธนากุล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ในฐานะผู้ผลิตอาหารระดับโลกที่ส่งมอบอาหารให้ผู้คนกว่า 4 พันล้านคน กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รู้สึกเป็นเกียรติที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มาร่วมโชว์ศักยภาพกับผู้ประกอบการชั้นนำในการประชุมครั้งนี้ บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานการดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยใช้หลักการ 3Rs คือ “Reduce” ลดปริมาณการใช้น้ำ “Recycle” นำน้ำกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการบำบัดแล้ว และ “Reuse” นำน้ำมาใช้ซ้ำ มาบริหาร
สทนช. ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนกิ่วลม-เขื่อนกิ่วคอหมา ตาม 9 มาตรการรับฤดูแล้ง ปี 64/65 เดินหน้าจัดหาแหล่งน้ำสำรองไว้รองรับน้ำหลากเพื่อใช้แล้งหน้า พร้อมเร่งจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำวัง หวังใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ป้องกันอุทกภัย-ภัยแล้งอย่างยั่งยืน นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน พื้นที่ลุ่มน้ำวัง และการบริหารจัดการน้ำตามมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2564/2565 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565 ระหว่างวันที่ 19-20 เม.ย. 65 ในพื้นที่ลุ่มน้ำวัง จ.ลำปาง นายชยันต์เปิดเผยว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มน้ำวังอยู่ใน จ.ลำปาง มีเขื่อนขนาดใหญ่ที่สำคัญคือ เขื่อนกิ่วคอหมาและเขื่อนกิ่วลม ความจุรวม 276 ล้าน ลบ.ม. (ลูกบาศก์เมตร) สำหรับใช้เพื่ออุปโภคบริโภค การเกษตร และอุตสาหกรรม รวมทั้งใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน้ำที่เขื่อนกิ่วคอหมา ส่วนเขื่อนขนาดกลาง มีความจุรวม 313 ล้าน ลบ.ม. แต่พื้นที่ลุ่
ธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank) นับเป็นนวัตกรรมในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อาศัยหลักการเติมน้ำไปเก็บในชั้นใต้ดิน ด้วยการขุดบ่อในบริเวณพื้นที่ที่มีจุดรวมของน้ำ น้ำท่วม น้ำขัง น้ำหลาก เป็นการกักเก็บน้ำให้ซึมลงไปในชั้นหิน ช่วยพักน้ำรวมไว้เหมือนกับธนาคาร เหมือนการเก็บออมและกักเก็บน้ำต้นทุนไว้ใช้ในฤดูแล้ง และอุ้มน้ำที่มีมากในยามน้ำหลากน้ำท่วม ถือเป็นการบูรณาการความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถใช้บริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืน นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า “ธนาคารน้ำใต้ดิน หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า” อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอีกหนึ่งโมเดลความสำเร็จของการบริหารจัดการน้ำ ที่เกิดจากแนวความคิดของกลุ่มเกษตรกรและซีพีเอฟ ที่ต้องการแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างเป็นรูปธรรม จากโจทย์สำคัญที่ต้องซื้อน้ำมาใช้ในกระบวนการเลี้ยงหมู ซึ่งเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรในหมู่บ้าน และยังจำเป็นต่อการปลูกพืชที่เป็นอาชีพเสริม รวมถึงใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งที่ผ่านมาหมู่บ้านประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง กระทบต่อรายได้ของเกษ
นักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน โดยการสนับสนุนทุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประเมินสถานการณ์การบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้ง 64/65 ในพื้นที่ภาคกลาง และ EEC โดยใช้แบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า และการบริหารจัดการน้ำโดยระบบสารสนเทศต้นแบบ ร่วมกับผลการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า 6 เดือน ชี้ปริมาณน้ำต้นทุนยังมีจำกัด การขาดแคลนน้ำพื้นที่ EEC ช่วงฤดูแล้งที่จะถึงนี้ มีโอกาสน้อย แม้ว่าในช่วงเวลานี้พื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่นอกคันกั้นน้ำบางแห่ง ยังคงได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น แต่ขณะเดียวกัน การวางแผนจัดสรรน้ำและการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งได้เริ่มขึ้นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – 30 เมษายน 2565 กรมชลประทานได้คาดการณ์แผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง 64/65 ให้สอดคล้องต่อปริมาณน้ำต้นทุน คำนึงถึงกิจกรรมการใช้น้ำทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ น้ำอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ อุตสาหกรรม และการเกษตร กำหนดให้มีแผนการจัดสรรน้ำรวมทุกกิจกรรม ประมาณ 5,700 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 65 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำต้นทุนจาก 4 เขื่อนหลัก ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิ
วันนี้ (11 ตุลาคม 2564) นักวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการวิจัยเข็มมุ่งการบริหารจัดการแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำ ระยะที่ 2 โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากพายุเตี้ยนหมู่ ในเดือนตุลาคมนี้ เผยสถานการณ์น้ำท่วมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาแนวโน้มดีขึ้น แต่ภาคกลางตอนล่าง และตะวันออกมีโอกาสรับอิทธิพลน้ำไหลหลากจากตอนบนสูงขึ้น ปริมาณน้ำไหลเข้าทุกเขื่อนแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ยังคงระบายน้ำขั้นต่ำ ลดผลกระทบ ย้ำติดตาม อิทธิพลพายุและหย่อมความกดอากาศต่ำแถบมหาสมุทรแปซิฟิก จากกรมอุตุฯ คาดพาดผ่านบางภูมิภาคของไทยเร็วๆ นี้ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์น้ำในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทยยังคงอยู่ในขั้นวิกฤต หน่วยงานหลายภาคส่วนยังคง ระดมสรรพกำลังเร่งแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำ เพื่อบรรเทาความเสียหาย หลังพายุเตี้ยนหมู่ (Dianmu) พัดพาดผ่านเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ทำให้เกิดฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง และเกิดวิกฤติน้ำท่วมตามมาในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเ
รศ.ดร.อารียา ฤทธิมา ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะนักวิจัย โครงการวิจัยเข็มมุ่งการบริหารจัดการแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำ ระยะที่ 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยถึง พายุเตี้ยนหมู่ (Dianmu) กับสถานการณ์น้ำและพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม วิเคราะห์ฐานข้อมูลอุทกวิทยาและแนวทางการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลัก พร้อมพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิผลแบบจำลอง ตอบประเด็นคำถามสำคัญ พยากรณ์ฝนล่วงหน้า 2 สัปดาห์ ชี้บริเวณเหนือเขื่อนยังมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่วนท้ายเขื่อนมีฝนตกหนักต่อเนื่องในบางพื้นที่ เขื่อนเจ้าพระยาต้องระบายน้ำ 2,500 ลบ.ม./วินาทีในช่วงนี้ คาดแนวโน้มพื้นที่เกษตรกรรม เขตโครงการชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก และตะวันออก อาจได้รับผลกระทบเพิ่มสูงขึ้นในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ อิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ (Dianmu) พายุหมุนเขตร้อนจากมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ที่เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวางนาม ประเทศเวียดนาม และพัดเคลื่อนตัวมายังทิศตะวันตกกลายเป็นพายุดีเปรสชั่น เคลื่อนปกคลุมบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ และอุบล
“ชี้ช่องแก้จน เปลี่ยนฝนเป็นทุน” โอกาสพลิกชีวิตก้าวข้ามวิกฤตโควิด 19 วิถีเกษตรกร ต่อยอดพัฒนาอาชีพ ทางรอดคนคืนถิ่น สร้างรายได้และความสุขที่ยั่งยืน โควิด19 สร้างการเปลี่ยนแปลงมากมาย สังคมไทยต้องปรับตัวครั้งใหญ่ คนว่างงานขาดรายได้กว่า 4 ล้านคน ตัดสินใจคืนถิ่นเกิดไปตั้งหลัก และมองหาทางรอดด้วยการใช้ชีวิตในภาคการเกษตร ที่มี “น้ำ” เป็นหัวใจสำคัญ เอสซีจีร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เปิดเวทีชวนพูดคุยผ่านออนไลน์ “ชี้ช่องแก้จน เปลี่ยนฝนเป็นทุน” ฟังตัวอย่างคนที่สามารถใช้ฝนเปลี่ยนเป็นทุนได้สำเร็จ กลับมามีรายได้ มีอาชีพ มีชีวิตเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แถมยังจัดการหนี้หลักล้านได้สำเร็จจากการเริ่มต้นธุรกิจด้วยน้ำ แต่ท่ามกลางน้ำหลากและน้ำแล้ง จะสร้างโอกาสจากการมีน้ำแก้จนได้อย่างไร โดยเฉพาะในเดือนกันยายนและตุลาคมที่น้ำหลากกำลังจะมา ซึ่งจะเป็นโอกาสสุดท้ายให้คว้าไว้ เพื่อรอดจนและเลิกแล้ง น้ำคือทุน ที่ไม่ต้องลงทุน เน้นปลูกผักโตเร็วสร้างรายได้ ตัวอย่างคนที่รอดจน มีรายได้ด้วยน้ำ “น้องหนิง” ลลิสสา อุ่นเมือง เครือข่ายการจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ตำบลขุนควร อำเภอปง จ.พะเยา เล่าว่า ทำงานเป็น BA