กุ้งขาวแวนนาไม
กรมประมง จับมือ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ศึกษาวิจัยพัฒนาสายพันธุ์กุ้งขาวแวนนาไมสำเร็จ 2 สายพันธุ์ใหม่ “เพชรดา 1” เจริญเติบโตดี และ “ศรีดา 1” ต้านทานโรค EMS-AHPND หวังสร้างทางเลือกให้เกษตรกร ทดแทนการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ต่างประเทศ ยกระดับขีดความสามารถแข่งขัน อุตสาหกรรมกุ้งไทย “กุ้งขาวแวนาไม” เป็นกุ้งทะเลที่ได้รับความนิยมในการเพาะเลี้ยงอย่างมาก เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดยในประเทศไทยเริ่มมีการทดลองเลี้ยงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 และประสบผลสำเร็จในช่วงปี พ.ศ. 2545 เมื่อกรมประมงอนุญาตให้สามารถนำเข้าพ่อพันธุ์กุ้งขาวแวนาไมที่ปลอดเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาปรับปรุงพันธุ์ในประเทศได้ “กุ้งทะเลเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก โดยในอดีตสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศปีละเกือบแสนล้านบาท เนื่องจากเป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการสูงทั้งภายในและต่างประเทศ กระทั่งเมื่อปี 2555 การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยประสบวิกฤตการระบาดของโรคตายด่วน หรือ EMS-AHPND สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยตลอดห่วงโซ่การผลิต ซึ่งที่ผ
นางธีรารัตน์ สมพงษ์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ภาคตะวันออกนับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในการผลิตกุ้งขาวแวนนาไม จากข้อมูลของ สศก. ปี 2565 ภาคตะวันออก 7 จังหวัด (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ) มีพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม จำนวน 86,505 ไร่ ของพื้นที่เพาะเลี้ยงทั้งประเทศ ปริมาณผลผลิตรวม 96,060 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,110 กิโลกรัมต่อไร่ มีเกษตรกรผู้เลี้ยง 9,053 ราย แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันยังมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งจากธรรมชาติและจากการจัดการของมนุษย์อย่างรวดเร็ว เกษตรกรจึงนำนวัตกรรม “ระบบควบคุมคุณภาพน้ำอัจฉริยะ” มาบริหารจัดการฟาร์มกุ้ง ส่งผลให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ และผลผลิตมีคุณภาพ สศท.6 ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพเชิงเทคนิคและการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพการผลิตจากการใช้ระบบควบคุมคุณภาพน้ำอัจฉริยะในการผลิตกุ้งขาวแวนนาไม ภาคตะวันออก โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ในพื้นที่รับผิดชอบ (ระยอง จันทบุรี
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมพะยูน ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง คณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) ได้จัดประชุมฯ ครั้งที่ 3/2565 โดยมี นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง เป็นประธานการประชุมฯ พร้อมด้วย นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง และ Shrimp Board ได้ร่วมกันกำหนดราคาประกันขั้นต่ำกุ้งขาวแวนนาไมขนาดต่างๆ พร้อมแจงเงื่อนไขการรับซื้อและความต้องการวัตถุดิบกุ้งของโรงงาน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การรับซื้อไปจนถึงสิ้นปี 2565 หวังรักษาเสถียรภาพราคา และสร้างความเชื่อมั่นในการลงกุ้งให้กับเกษตรกร โดยมีราคาและเงื่อนไขฯ ดังนี้ ขนาด (ตัว/กิโลกรัม) ราคา (บาท/กิโลกรัม) 30 180 35 175 40 165 45 160 50 155 55 150 60 145 70 135 80
“การดูแลกุ้งให้ประสบความสำเร็จ สุขภาพกุ้งต้องแข็งแรง การจัดการฟาร์มต้องดี เปรียบเทียบกุ้งก็เหมือนกับชีวิตคนเรา ถ้าหากกุ้งกินดี ออกกำลังกายอยู่เป็นประจำก็ย่อมที่จะแข็งแรงเหมือนคนเช่นเดียวกัน” คุณสมธิดา ภักดีภักดิ์ (คุณจั่น) สาวน้อยมาดเข้มที่มุ่งทำตามฝันผ่านการนำความรู้ที่บ่มเพาะมาแต่ครั้งเยาว์วัยด้วยครอบครัวประกอบธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้ง (อ่าวค้อฟาร์ม) ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 44 ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เมื่อจบการศึกษาจากรั้วเกษตรศาสตร์ได้กลับมาสานต่อในฐานะผู้จัดการฟาร์มกุ้ง ภายใต้แนวคิด “เลี้ยงกุ้งแบบโมเดิร์นฟาร์ม” ลดรายจ่ายค่าอาหารพร้อมย่นระยะเวลาในการเลี้ยงและปลอดภัยจากโรคจนสามารถสร้างรายได้ในรูปแบบเกษตรกรเลี้ยงกุ้งได้อย่างมั่นคง คุณจั่น เล่าว่า อ่าวค้อฟาร์ม เป็นธุรกิจที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบิดานับเวลารวมแล้วผ่านมากว่า 31 ปี โดยที่ตนเองเริ่มซึมซับกับการเลี้ยงกุ้งผ่านการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กทั้งจากคุณแม่ที่เป็นผู้ฝึกให้ดูลูกกุ้งและคุณพ่อที่จะพาไปดูบ่อเลี้ยงกุ้งส่งผลให้เกิดความคุ้นชินกับบรรยากาศคนเลี้ยงกุ้งอยู่ตลอด ครั้นเมื่อจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสวีวิทยา จึงเลือ
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ชี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ และการเข้าสู่ช่วงเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรเดือนธันวาคม 2563 ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพาราแผ่นดิบ มันสำปะหลัง กุ้งขาวแวนนาไม และสุกร มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น ด้านข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียว น้ำตาลทรายดิบ และปาล์มน้ำมัน มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนธันวาคม 2563 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาอยู่ที่ 7.64-7.66 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.20-0.50 เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว ขณะที่ความต้องการใช้เพื่อผลิตอาหารสัตว์จะเพิ่มขึ้นตามความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์และการส่งออกอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีซึ่งเป็นเทศกาลท่องเที่ยวและปีใหม่ ยางพาราแผ่นดิบ ชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 54.85–57.85 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.13-5.60
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ชี้ภัยธรรมชาติในต่างประเทศ ภาวะตลาดโลก ปรากฏการณ์ลานีญาครึ่งปีหลังของไทยและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายใน ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรเดือนพฤศจิกายน 2563 ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบ ยางพาราแผ่นดิบ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น ด้านข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคาอยู่ที่ 14.79-14.87 เซนต์/ปอนด์ (10.24-10.29 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50-1.00 เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากความกังวลกับสภาวะอากาศที่แห้งแล้งในประเทศบราซิลและสหภาพยุโรปอาจทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลลดลง ขณะที่มีความต้องการนำเข้าน้ำตาลของประเทศจีนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ทิศทางราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลง อาจส่งผลให้ราคาน้ำตาลทรายดิบปรับลด
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตร เดือนกรกฎาคม 2563 ข้าวเปลือกเหนียว น้ำตาลทรายดิบ ยางพาราแผ่นดิบ ปาล์มน้ำมัน สุกร กุ้งขาวแวนนาไม มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น เป็นผลจากมาตรการคลายล็อคดาวน์และสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย ด้านข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนกรกฎาคม 2563 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 15,629-15,811 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.41-1.31 เนื่องจากสต๊อกข้าวเหนียวของผู้ประกอบการน้อยลง จึงมีความต้องการรับซื้อเพิ่มขึ้น น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคาอยู่ที่ 12.11-12.23 เซนต์/ปอนด์ (8.30-8.38 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.50-1.50 จากแรงหนุนของทิศทางราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อราคาเอทานอล ประกอบกับเงินเรียลของบราซิลที่แข
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมเกษตรกรปรับระบบการเลี้ยงกุ้งสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน เน้นความสด สะอาด ปลอดภัย ไม่มียาปฏิชีวนะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเลี้ยงคนไทยและประชากรโลก อย่างยั่งยืน นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยในการปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงที่เป็นมาตรฐานให้เหมาะสมกับศักยภาพของเกษตรกรบนพื้นฐานของความยั่งยืน รักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการนำนวัตกรรมการเลี้ยงกุ้ง 3 สะอาด ระบบหมุนเวียนน้ำ และระบบไบโอซีเคียวริตี้ มาเชื่อมโยงกันในฟาร์มกุ้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยง ลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคของกุ้ง ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภคและสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในระยะยาว ระบบการเลี้ยงกุ้งแบบผสมผสานดังกล่าว ให้ความสำคัญกับการดูแลห่วงโซ่อุปทานเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมกุ้งขาวแวนนาไม เริ่มตั้งแต่การส่งเสริมการใช้วัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์น้ำที่มีความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้แรงงานที่ถูกกฎหมาย
นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและกลุ่มสหกรณ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่19-20 กันยายน 2562 เพื่อผลักดันนโยบายให้สหกรณ์และเกษตรกรใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) สร้างแต้มต่อในการส่งออกสินค้าเกษตรในพื้นที่ โดยเฉพาะผลไม้ เช่น เงาะ กล้วยหอม และกุ้ง ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพสูง พร้อมผลักดันไปตลาดต่างประเทศ เช่น อาเซียน จีน และญี่ปุ่น ซึ่งไม่เก็บภาษีนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่ที่ส่งออกจากไทยแล้วภายใต้ข้อตกลงร่วมกันในเอฟทีเอ นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ขานรับนโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ความสำคัญกับการหาตลาดและกระจายสินค้าในภูมิภาคของไทยไปต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ ช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงและแน่นอนให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ดำเนินโครงการ “พัฒนาความพร้อมทางการค้าของสหกรณ์ไทยสู่การค้าเสรี” เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคของไทยสู่สากล โดยในวันที่ 19 กันยายน 2562 ช่วงเช้า
แม็คโคร จับมือกรมการค้าภายใน จังหวัดสงขลา สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลา เร่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดสงขลาจากราคาสินค้าตกต่ำ พร้อมจัดงานเทศกาล “แม็คโครชวนกินกุ้งไทย คุณภาพดี ส่งเสริมวิถีเกษตรกรไทย” ครั้งที่ 2 จำหน่ายกุ้งคุณภาพดี สด และปลอดภัยจากสารตกค้าง คุณศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการตลาด บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เป็นระยะเวลาเกือบ 30 ปี ที่แม็คโครได้ดำเนินธุรกิจค้าส่งในประเทศไทย โดยมีลูกค้าสมาชิกเป็นผู้ประกอบการร้านค้าปลีกรายย่อยและผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคาร บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญอย่างสูงสุด ในด้านคุณภาพ ความสด สะอาด และความปลอดภัยของสินค้า ตามมาตรฐานของกฎหมาย และหลักปฏิบัติสากลมาโดยตลอด ซึ่งการรับซื้อกุ้งขาวแวนนาไมจากชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดสงขลาในครั้งนี้ แม็คโครต้องขอขอบคุณทางท่านประมงจังหวัดสงขลาที่ช่วยตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานของกุ้ง โดยฟาร์มกุ้งของเกษตรกรทั้งหมดที่แม็คโครรับซื้อในวันนี้ ได้รับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับสัตว์น้ำ หรือ GAP จากกรมประมง ตลอด