กุ้ง
โครงการประชารัฐ รับซื้อกุ้งขาว ในราคานำตลาด 1 หมื่นตัน ชะงัก เหตุห้องเย็นขอหักค่าขนส่งกุ้งที่รับซื้อหน้าฟาร์ม กก.ละ 8-10 บาท กรมประมง เรียกประชุมเกษตรกร-ห้องเย็นแก้ปัญหา ผลสรุป หากห้องเย็นยอมไปรับซื้อหน้าฟาร์ม ห้ามหักค่าขนส่ง พร้อมประชุม 3 ฝ่าย อีกครั้ง 6 มิ.ย.นี้ แก้ปัญหากุ้งทั้งระบบ หลังเกษตรกรลงเลี้ยงกุ้งวูบกว่า 50% คาดห้องเย็นขอนำเข้ากุ้งอีกรอบ นายสมชาย ฤกษ์โภคี อุปนายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงโครงการประชารัฐรักษาเสถียรภาพกุ้งขาวแวนนาไม ปี 2561 ที่กรมประมง ดึงห้องเย็นและโรงงานแปรรูปเข้ามารับซื้อกุ้ง 1 หมื่นตัน ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ ในราคานำตลาด ล่าสุดจนถึง วันที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ฝ่ายเกษตรกรและห้องเย็นยังตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายในการขนส่งไม่ได้ หากมารับซื้อหน้าฟาร์ม ซึ่งปกติรถบรรทุกห้องเย็นรับภาระค่าใช้จ่ายขนส่งอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง กุ้งขาว ขนาด 50 ตัว/กก. ห้องเย็นจะรับซื้อ กก.ละ 160 บาท ที่หน้าฟาร์ม แต่จะขอหักค่าขนส่ง กก.ละ 8-10 บาท เท่ากับเกษตรกรผู้เลี้ยงจะขายได้ในราคาสูงกว่าตลาดเพียงเล็กน้อย จากราคาตลาดล่าสุดขยับเข้าใกล้ กก.ละ 150 บาทแล้ว หลังปริมาณกุ้งที่ออก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งหลายจังหวัดภาคใต้เตรียมจัดงานระดมทุนเคลื่อนไหวเรียกร้องราคากุ้ง ภายใต้ชื่องาน วันกุ้งถูก สุดสัปดาห์นี้ ชวนกินเมนูกุ้ง พร้อมเปิดรับบริจาคใช้ต่อสู้เรียกร้องราคา ภายหลังสถานการณ์ราคากุ้งตกต่ำอย่างหนัก เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50 บาท ทำให้ราคากุ้งขาวแวนาไม อยู่ที่ กิโลกรัมละ 100-180 บาท จากเดิมที่อยู่ที่กิโลกรัมละ 150-240 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ตกต่ำในรอบนับสิบปี ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในหลายจังหวัดภาคใต้ต้องออกมาเคลื่อนไหว ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีกำหนดขอฟังคำตอบ ในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ และหากคำตอบไม่เป็นที่พอใจก็พร้อมที่จะยกระดับความเคลื่อนไหว เนื่องจากทิศทางราคานั้นยังมีแนวโน้มตกต่ำลงอีก สวนกระแสกับปริมาณมากกุ้งที่เข้าสู่ตลาดน้อยและมีความต้องการในตลาดโลกอีกจำนวนมาก ล่าสุด นายครรชิต เหมะรักษ์ ประธานชมรมกุ้งสงขลา-นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า คณะกรรมการชมรมกุ้งสงขลา-นครศรีฯ ร่วมจัดประชุมชี้แจงติดตามปัญหาราคากุ้งตกต่ำ รวมถึงได้ชี้แจงถึงความคืบหน้าและมาตรการแก้ป
วันที่ 25 เมษายน ที่จังหวัดตรัง ผู้สื่อข่าวรายงานหลังจากสถานการณ์ราคากุ้งตกต่ำลงอย่างมาก ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ทำให้เกษตกรเลี้ยงกุ้งในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะสงขลา นครศรีธรรมราช และตรัง ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาล และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความช่วยเหลือ ล่าสุดพบปัญหาเพิ่มคือ กุ้งที่เลี้ยงภายในบ่อของเกษตรกร ต.สุโส๊ะ อ.ปะเหลียน เกิดอาการป่วยกะทันหัน และตายไปเป็นจำนวนหลายบ่อ สาเหตุเบื้องต้นน่าจะมาจากสภาพอากาศที่ร้อนอย่างมาก กุ้งที่เลี้ยงไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จึงมีการช็อกและตายอย่างรวดเร็ว เหมือนกับโรค อีเอ็มเอส (โรคกุ้งตายด่วน) ที่มักจะเกิดกับกุ้งเป็นประจำทุกปี นายห้าหรน กองข้าวเรียบ อายุ 50 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ต.สุโส๊ะ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง กล่าวว่า ปีนี้ตนเลี้ยงกุ้งขาว จำนวน 12 บ่อ ตายไปแล้ว 7 บ่อ ที่เหลือ 4-5 บ่อ จับไม่ได้ เพราะยังไม่ถึงเวลา ปกติจะจับได้ บ่อละ 5 ตัน แต่ขณะนี้จับได้ 2-3 ตัน เท่านั้น ก่อนหน้านี้หวังว่ากุ้งจะมีราคาดี แต่กลับมาขาดทุน ก่อนที่กุ้งจะตายยกบ่อก็ต้องรีบจับ แม้ว่าจะไม่ได้ตามขนาดที่ต้องการก็ตาม “รอบ
เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่สหกรณ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจังหวัดตรัง ต.บ้านนา อ.ปะเหลีน จ.ตรัง นายเกียรติศักดิ์ เกษมพันธุ์กุล ประมงจังหวัดตรัง ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายเจริญ หยงสตาร์ที่ปรึกษาสหกรณ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจังหวัดตรัง กรรมการสหกรณ์ฯ สมาชิกร่วมประชุมหารือหลังจากที่ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดตรังเดือดร้อนอย่างหนัก จากปัญหาราคากุ้งตกต่ำอย่างต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นตามลำดับ ทั้งที่ต้นทุนการเลี้ยงสูง แต่ราคายังคงลดลงอย่างน่าใจหาย จากเดิมราคา กิโลกรัมละ 160 บาท ขณะนี้ลดลงเหลือ กิโลกรัมละ 105 บาท นายห้าหรน กองข้าวเรียบ อายุ 50 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ต.สุโส๊ะ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งประสบปัญหาเดือดร้อนอย่างมาก สืบเนื่องมาจากราคาตกต่ำ จากราคากิโลกรัมละ 150 บาท ลดลงเหลือกิโลกรัมละ 100 บาท ไม่เกิน 110 บาท ถ้าหากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้เกษตรกรอยู่ไม่ได้ ปัญหาที่ประสบอยู่ในขณะนี้นอกจากราคาตกต่ำแล้วยังเจอโรคที่มากับกุ้งอีกด้วย ขนาดกุ้งที่ขาย 100 ตัว เมื่อก่อนขาย กิโลกรัมละ 160 บาท ตอนนี้มาเหลือกิโลกรัมละ 105 บาท วันที่ 25 เมษายน ที่จะมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้หน่วยงา
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ซื้อหุ้น 40% มูลค่า 547 ล้านบาท ในบริษัท Camanor Produtos Marinhos Ltda. ซึ่งดำเนินธุรกิจฟาร์มและแปรรูปกุ้งชั้นนำของบราซิล เพื่อขยายธุรกิจกุ้งครบวงจร เป็นฐานการผลิตป้อนตลาดภายในประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตสูง นายอดิเรก ศรีประทักษ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร ซีพีเอฟกล่าวว่า ซีพีเอฟ ได้ลงนามในสัญญาซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนกับ Camanor Produtos Marinhos Ltda. เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2561 จำนวน 4,666,667 หุ้น คิดเป็น 40% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง มูลค่ารวม 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 547 ล้านบาท ซึ่งคาดว่ารายการจะเสร็จสมบูณ์ภายใน 1 เดือนนับจากวันที่ลงนามในสัญญา Camanor เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจฟาร์มกุ้งและแปรรูปกุ้งชั้นนำในบราซิล มีผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ กุ้งสดและกุ้งแปรรูปแช่แข็ง และมีช่องทางจำหน่ายสินค้าภายในประเทศบราซิลและส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส และเป็นบริษัทมีประสบการณ์ทางการตลาดสูงและเป็นเจ้าของนวัตกรรมการเลี้ยงกุ้งความหนาแน่นสูงในระบบปิด AquaScience ซึ่งเป็นระบบการเลี้ยงกุ้งที่ทันสมัยให้ผลผลิตต่อพื้นที่การเลี้ยงสูงและเป็นมิต
ผู้เลี้ยงกุ้งโอดราคากุ้งดิ่งลงอย่างต่อเนื่องหลังกระแสข่าวการอนุมัตินำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ สร้างความกังวลใจให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอย่างหนัก วอนยกเลิกการนำเข้ากุ้ง 5 หมื่นตัน หวั่นกระทบอุตสาหกรรมกุ้งไทยเจ๊งระนาว หลังกรมประมงอนุมัติให้มีการนำเข้ากุ้งจากประเทศอินเดียเป็นเวลา 1 ปี จำนวน 5 หมื่นตัน โดยชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในหลายจังหวัดภาคใต้ได้ร่วมกันยื่นหนังสือข้อเรียกร้องให้ยกเลิกการนำเข้ากุ้งดังกล่าวเนื่องจากเกรงจะเกิดผลกระทบกับอุตสาหกรรมกุ้งไทย ไปยังรัฐบาล ทั้งนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกรมประมง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธนัท ย่องเซ่ง เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา นำเข้าชมการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบัน ซึ่งเกษตรกรมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทุกด้าน ทั้งในเรื่องของการปูพื้นยางภายในบ่อเลี้ยงกุ้ง เพิ่มเครื่องตีน้ำให้ออกซิเจน รวมถึงพนักงานในการดูแลกุ้งตลอด 24 ชั่วโมง ในระบบ 3 สะอาด ที่จะเน้นความสะอาดในบ่อเลี้ยงกุ้งและระบบน้ำ หลังจากก่อนหน้านี้ประสบปัญหาโรคตายด่วน หรือโรคอีเอ็มเอส ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งขาดทุนจนหลายรายต้องเลิกเลี้ยงไปและเพิ่งจะมาเริ่มต้นเล
รายงานข่าวจากจังหวัดสงขลาเมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 19 กุมภาพันธ์นี้ นายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุ้งจังหวัดสงขลา ร่วมกับ ชมรมกุ้งจังหวัดสงขลา-นครศรีธรรมราช พร้อมตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ในจังหวัดสงขลา เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดสงขลาเพื่อยื่นหนังสือเรื่องการขอให้ยกเลิกการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอกฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ รองนายกรัฐมนตรี และนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่าน นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา โดยหนังสือดังกล่าวนั้น อ้างถึงกรณี กรมประมงได้อนุมัติให้มีการนำเข้ากุ้งขาวจากประเทศอินเดีย 1 ปีจำนวน 50,000 ตัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อแก้ปัญหาห้องเย็นขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งในการแปรรูปเพื่อส่งออก ซึ่งการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศนั้น จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย ใน 4 ประเด็น คือ เชื้อโรคระบาดที่อยู่ในตัวกุ้ง จะเข้ามาแพร่ในประเทศไทย ,ยาปฏิชีวนะ สารปนเปื้อน สารตกค้าง จะทำลายการส่งออกของกุ้งไทย, ทำให้ราคากุ้งไทยราคาตกต่ำ ไร้เสถียรภาพ และ กุ้งไทยนั้นเป็นกุ้งที่มีคุณภาพ ไม่มีสารตกค้าง เป็นที่ยอ
นายสุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ผลผลิตกุ้งของไทยในปีนี้คาดว่าจะทำได้เพียง 3 แสนตันเท่านั้น มูลค่า 75,000 ล้านบาท ไม่เป็นไปตามเป้าที่คาดว่าจะได้ถึง 3.5 แสนตัน แต่เพิ่มขึ้นเมื่อทียบกับปีที่ผ่านมาที่ผลิตได้ 2.7 แสนตัน ทั้งนี้ แม้ว่าไทยจะสามารถควบคุมการระบาดของโรคตายด่วนหรือ อีเอ็มเอสได้ แต่ในปีนี้ความรุนแรงของโรคขี้ขาว หรือ White feces syndrome มีมากขึ้น ทำให้กุ้งทะยอยตาย เกษตรกรไม่กล้าลงทุนการปรับปรุงบ่อเพื่อเลี้ยงกุ้งรอบใหม่ เนื่องจากต้องใช้เงินเยอะจากการสร้างระบบป้องกัน “ขี้ขาวเป็นโรคประจำถิ่น ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านไม่โดดเด่น เพราะความรุนแรงของโรคอีเอ็มเอสมีมากกว่า การป้องกันคือปล่อยกุ้งลงบ่อในจำนวนที่น้อยลง จึงต้องทำความเข้าใจกับเกษตรกรมากขึ้นร่วมกับการใช้เทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อสร้างอัตรารอดให้กับกุ้ง คาดว่าในปี 2561 เกษตรกรที่พร้อมจะปรับตัว จะทำให้การเลี้ยงกุ้งได้ผล” นายสุจินต์ กล่าวว่า กุ้งของไทยยังมีคุณภาพ ไซซ์ใหญ่ และราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับกุ้งประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอินเดี
คุณประเสริฐ อนุเวช เป็นเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตราดอีกหนึ่งคนที่ให้ความสนใจ ปรับเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา มาประกอบธุรกิจทำฟาร็มเพาะเลี้ยงกุ้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 12 หมู่ 3 ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี คุณประเสริฐ เล่าให้ฟังว่า ก่อนจะหันมาเลี้ยงกุ้งขาวแบบระบบปิด ตนเคยทำสวนผลไม้และทำสวนยาง แต่ด้วยราคาผลไม้ขึ้นๆลงๆไม่แน่นนอน บางปีก็ขาดทุน พอในปี 2533 ได้เข้ามาเป็นลูกค้าสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากธนาคารจึงเปลี่ยนมาทำฟาร์มกุ้งกุลาดำ จากชาวสวน สู่อาชีพประมง “เลี้ยงมาได้ประมาณ 10 ปี ก็ต้องประสบปัญหา กุ้งโตช้า ตายง่าย เลี้ยงยาก อีกทั้งสถานที่เพาะเลี้ยงเปิดทำให้เกิดโรคง่าย จึงหยุดเลี้ยงและหันมาเลี้ยงกุ้งขาวระบบปิดในพื้นที่หมู่บ้านรำภูลาย ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง แทน เนื่องวิธีการเลี้ยงและระยะเวลาเลี้ยงได้ผลผลิตที่ไว้กว่า อีกทั้งตลาดมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญเราสามารถควบคุมโรคที่มากับน้ำภายนอกได้เป็นอย่างดี เพราะระบบปิดนี้จะไม่ทิ้งน้ำ แต่จะนำกลับมาบำบัดด้วยสารบีเคแอล เติมแร่ธาตุที่กุ้งจะส
สศก. เปิดผลการศึกษาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกุ้ง เจาะพื้นที่จันทบุรีและตราด แหล่งผลิตกุ้งสำคัญของประเทศ โชว์ผลศึกษา ครบ 3 มิติ ได้แก่ ต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ เผย เกษตรกรยังขาดทักษะและความเชี่ยวชาญในการเลี้ยงและจับกุ้ง แนะ ดึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพมาปรับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกุ้ง ใน 3 มิติ คือ มิติต้นทุน มิติเวลา และมิติความน่าเชื่อถือ โดยมีพื้นที่เป้าหมาย คือ จังหวัดจันทบุรีและตราด ที่มีผลผลิตกุ้งมากเป็นอันดับ 2 และ 3 ของประเทศและถือเป็นพื้นที่สำคัญตามโครงการระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ประชารัฐสมัยใหม่ (กุ้ง) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง สถาบันเกษตรกร และหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานประมงจังหวัด สำหรับผลการประเมินตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์กุ้ง 3 มิติ พบว่า มิติต้นทุน ต้นทุนโลจิสติกส์รวมต่อยอดขายของเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 4.84 และสถาบันเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 5.37 ตา