ขนุน
ภาพของภาคอีสาน ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาโล่งแจ้ง มีต้นไม้ขึ้นสลับบ้าง ฤดูฝนดูเขียวขจีสวยงาม ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวมีสีเหลืองอร่ามของทุ่งรวงทอง ครั้นเข้าสู่หน้าแล้ง อากาศแห้ง แม้แต่น้ำในร่องริมถนนก็เหือดหายไปจนหมด ดูแตกต่างจากภาคอื่นโดยสิ้นเชิง นั่นเป็นภาพส่วนใหญ่ มีผืนดินของอีสานบางแห่ง อุดมสมบูรณ์ ใกล้เคียงกับภาคตะวันออก ที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ติดชายแดนกัมพูชาและลาว สภาพของดินสีแดงคล้ายดินอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี แถบถิ่นนี้จึงปลูกไม้ผลเมืองร้อน จำพวกเงาะ ทุเรียนได้ผลดี งานสวนของที่นี่พัฒนาอย่างช้าๆ มั่นคง มีผลผลิตตอบสนองคนในท้องถิ่นได้อย่างดี โอกาสต่อไปคงเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น คุณไพศาล ยงปัญญา เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 241 หมู่ที่ 7 ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ 094-274-9931 เป็นเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จในการทำสวนผลไม้มากที่สุดคนหนึ่ง เขาปลูกไม้ผล 4-5 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ชมพู่ ฝรั่ง มะกอกน้ำ ขนุน มะละกอ ด้วยเหตุนี้จึงมีผลผลิตเก็บจำหน่ายได้ทั้งปี ชมพู่ทับทิมจันท์ มีปลูก 40 ต้น ชมพู่ทับทิมจันท์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ประเทศอินโดนีเซีย คุณประเทือง อายุเจ
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมสนใจจะปลูกขนุน เพราะเห็นว่า ปัจจุบันตลาดมีความต้องการสูง มีผู้รู้บอกว่าส่งออกจีนอย่างเงียบๆ ขนุนพันธุ์ดีที่น่าปลูกมีพันธุ์อะไรบ้าง แต่ละพันธุ์นั้นมีลักษณะเด่นและด้อยอย่างใด ขอคำแนะนำด้วยครับ ขอแสดงความนับถือ ณรงค์ศักดิ์ เกิดพิภพ ตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย 64120 ตอบ คุณณรงค์ศักดิ์ เกิดพิภพ ขนุน บ้านเรามีพันธุ์ดีอยู่หลายพันธุ์ ผมขอแนะนำให้รู้จักเพียง 4 พันธุ์ ดังนี้ พันธุ์ทองประเสริฐ มีทรงต้นสูง โปร่ง ใบกลมใหญ่ ปลายมน สีเขียวเข้ม ให้ผลทะวาย ติดผลเมื่ออายุ 2 ปี อายุเก็บเกี่ยวหลังออกดอกแล้ว 140-150 วัน ทรงผลค่อนข้างกลม เปลือกผลสีเขียวถึงเขียวอมน้ำตาล หนามใหญ่ เปลือกบางมาก น้ำหนักผล 12-15 กิโลกรัม ขั้วผลสั้น เนื้อหรือยางสีขาวอมเหลือง เนื้อแน่นและหนา 0.5-0.6 เซนติเมตร ความหวาน 20-27 บริกซ์ ให้เปอร์เซ็นต์เนื้อมาก ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักผล พันธุ์ศรีบรรจง ทรงต้นทึบ ใบเล็ก ปลายใบแหลม เปลือกผลสีเขียวเข้ม ออกผลทะวาย เป็นพันธุ์หนัก ให้ผลเมื่ออายุ 5 ปี เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 140-145 วัน หลังออกดอก ลักษณะผลกลม เปลือกสีเขียวเข้ม หนามใหญ่
ก่อนที่มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั้งในดินแดนประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะลงมือปลูกข้าวทำนาบนลักษณะภูมิประเทศต่างๆ จนมีผลผลิตเป็นข้าวและแป้งอย่างมีความมั่นคงเรื่อยมาตั้งแต่ราว 3,000 ปีก่อนนั้น มนุษย์จำเป็นต้องออกเก็บหาของป่า โดยเฉพาะพืชอาหารที่ให้แป้ง อันเป็นพลังงานสำคัญต่อร่างกาย พวกเขาย่อมต้องตระเวนหาเผือก มัน ตัดฟันสาคูต้น หรือขุดหามันสาคู ขุดกลอยหัวใหญ่ๆ อันเต็มไปด้วยพิษมาหั่น ล้าง แช่น้ำนานนับหลายๆ วัน เพื่อเก็บสำรองไว้ให้พอเพียงในกระท่อมหรือทับถ้ำ โดยเฉพาะสาเก (Bread fruit) ซึ่งนักโบราณคดีได้พบละอองเรณูของมันในชั้นดินอยู่อาศัยที่มีอายุกว่า 4,000 ปีมาแล้ว ที่แหล่งโบราณคดีในจังหวัดตรัง ย่อมเป็นหลักฐานยืนยันวัฒนธรรมการกินแป้งในผลสาเกในดินแดนแถบนี้ได้เป็นอย่างดี มงเซเญอร์ ปาลเลกัวซ์ สังฆนายกมิซซังโรมันคาทอลิกประจำสยามในสมัยรัชกาลที่ 4 เขียนบันทึก Description du Royaume Thai ou Siam ไว้ตอนหนึ่งว่า “ในประเทศสยาม มีผู้รู้จักขนุน (Artocarpus Jacca) อยู่ 2 พันธุ์ ชนิดแรกเป็นต้นไม้มีใบยาว แหว่งลึกเป็นแฉกๆ ผลนั้นกลมและยาว บางทีใหญ่ขนาดเท่าหัวคน ภายในเปลือกอันหนานั้น เนื้อร่วนมีลักษณ
“ขนุน” เป็นผลไม้พื้นบ้านที่รู้จักกันว่าเป็นไม้มงคล กินได้ทั้งผลดิบและผลสุก จึงมีผู้คนนิยมปลูกหลังบ้าน ด้วยชื่อของขนุน จะหนุนนำความเจริญสู่เจ้าของบ้านนั่นเอง ขนุนมีชื่อภาษาอังกฤษว่า แจ็คฟรุ๊ต (Jackfruit) ยังไม่รู้ที่มาที่แน่ชัดของชื่อนี้ แต่ทำให้นึกถึงแจ็คผู้ฆ่ายักษ์ เพราะมีความเชื่อว่า การรับประทานขนุนกับน้ำผึ้งเป็นยาบำรุงกำหนัดชั้นยอด คนไทยจึงไม่นิยมถวายขนุนสุกแก่พระภิกษุสงฆ์ เพราะจะทำให้จิตใจไม่สงบ ส่วนคนจีนเชื่อว่าขนุนสุกช่วยแก้กระหายน้ำ แก้เมาสุรา เป็นยาบำรุงกำลังและช่วยย่อย เนื้อขนุนสุกเป็นผลไม้ให้พลังงานอย่างทันอกทันใจ เพราะมีทั้งซูโครสและฟรุกโตส และอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ วิตามินเอและสารฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่มากในขนุน ทำให้เยื่อบุต่างๆ ในร่างกายและผิวหนังแข็งแรง ป้องกันปอด ช่องปาก และผิวหนังให้ห่างไกลจากมะเร็ง มีวิตามินซีสูงช่วยต้านการติดเชื้อและอันตรายจากรังสี ขนุนยังมีวิตามินบีช่วยบำรุงประสาทซึ่งไม่ค่อยพบในผลไม้ชนิดอื่น อีกส่วนที่มีประโยชน์ของขนุน แต่คนเดี๋ยวนี้มักมองข้ามก็คือ “เมล็ด” ของขนุน ซึ่งเป็นอาหารที่มีประโยชน์ให้พลังงานมาก มีโปรตีนสูง พร้อมทั้งเกลือแร่แล
คุณศรีนวล ยอพระกลิ่น เจ้าของสวนเกษตรศรีนวล 47/1 หมู่ที่ 7 ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ขนุนไร้เมล็ด มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ลักษณะของขนุนไร้เมล็ด ไร้ยาง พี่ศรีนวล บอกว่า คือตรงตามชื่อเลย เป็นขนุนที่ไม่มีเมล็ด ไม่มียาง พันธุ์นี้ทุกอย่างดีหมด ยกเว้น ขนาดของผลเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 8-15 กิโลกรัม แต่การันตีเรื่องรสชาติคือ หวาน กรอบ ซังมีรสชาติเดียวกันกับเนื้อ รู้จักขนุนสายพันธุ์นี้จากเมื่อ 3 ปีที่แล้ว พี่ศรีนวลมีโอกาสไปเปิดร้านขายพันธุ์ไม้ที่สวนหลวง เป็นงานเกษตร แล้วเจ้าของร้านขนุนเขาผ่าให้ชิม แล้วชอบในรสชาติ ที่สำคัญคือ ไม่มียาง เพราะเราเป็นคนไม่ชอบยางขนุนเลย จึงกัดฟันซื้อกิ่งพันธุ์มา 2 ต้น เพราะกิ่งพันธุ์ค่อนข้างแพง ซื้อมาแล้วก็มาขยายพันธุ์ขายต่อ ถือว่าขนุนไร้เมล็ด ไร้ยาง ยังเป็นพันธุ์ใหม่ ผลิตไม่พอขาย เหมาะสำหรับปลูกกินที่บ้านลูกไม่ใหญ่ ปอกง่ายเหมือนแตงโม ทั้งลูกทิ้งแค่เปลือก ที่สวนของพี่ศรีนวล ไม่ได้ปลูกแค่ขนุนเพียงอย่างเดียว ยังมีพันธุ์ไม้แปลกอีกหลายชนิด ลองโทร.เข้ามา สอบถามได้ แต่ที่เชี่ยวชาญที่สุดคือ เรื่องขนุน เพราะทำขนุนส่งออกประเทศจีนด้วย เรียกได้ว่าหากนำใบขนุนมาให้พ
“ขนุน” เป็นผลไม้พื้นบ้านที่รู้จักกันว่าเป็นไม้มงคล กินได้ทั้งผลดิบและผลสุก จึงมีผู้คนนิยมปลูกหลังบ้าน ด้วยชื่อของขนุน จะหนุนนำความเจริญสู่เจ้าของบ้านนั่นเอง ขนุน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า แจ็คฟรุ๊ต (Jackfruit) ยังไม่รู้ที่มาที่แน่ชัดของชื่อนี้ แต่ทำให้นึกถึงแจ็คผู้ฆ่ายักษ์ เพราะมีความเชื่อว่า การรับประทานขนุนกับน้ำผึ้งเป็นยาบำรุงกำหนัดชั้นยอด คนไทยจึงไม่นิยมถวายขนุนสุกแก่พระภิกษุสงฆ์ เพราะจะทำให้จิตใจไม่สงบ ส่วนคนจีนเชื่อว่าขนุนสุกช่วยแก้กระหายน้ำ แก้เมาสุรา เป็นยาบำรุงกำลังและช่วยย่อย เนื้อขนุนสุกเป็นผลไม้ให้พลังงานอย่างทันอกทันใจ เพราะมีทั้งซูโครสและฟรุกโตส และอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ วิตามินเอและสารฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่มากในขนุน ทำให้เยื่อบุต่างๆ ในร่างกายและผิวหนังแข็งแรง ป้องกันปอด ช่องปาก และผิวหนังให้ห่างไกลจากมะเร็ง มีวิตามินซีสูง ช่วยต้านการติดเชื้อและอันตรายจากรังสี ขนุนยังมีวิตามินบีช่วยบำรุงประสาท ซึ่งไม่ค่อยพบในผลไม้ชนิดอื่น อีกส่วนที่มีประโยชน์ของขนุน แต่คนเดี๋ยวนี้มักมองข้ามก็คือ “เมล็ด” ของขนุน ซึ่งเป็นอาหารที่มีประโยชน์ให้พลังงานมาก มีโปรตีนสูง พร้อมทั้งเกลือแร่และวิตามิน
จำปาดะ เป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับ ขนุน หรือสาเก ภาษาอังกฤษก็ใช้คำนี้ Champedak ไม่รู้ใครลอกใคร แต่มาเลเซียเรียกอีกชื่อหนึ่ง ภาษาใต้ เรียกว่า จำดะ นิยมปลูกมากในภาคใต้ ออกผลปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมตอนต้นฤดูฝนของทุกปี ในช่วงหน้าอื่นมีผลบ้างแต่ไม่มากนัก ผลของจำปาดะจะเล็กกว่าขนุน ผิวสีเข้มกว่าผิวขนุนและไม่ค่อยสวยเหมือนผิวขนุน ลักษณะผลจะเป็นทรงกระบอกยาว เนื้อในนิ่มและเหนียวไม่กรอบเหมือนขนุน รสหวานจัด เด็กเล็กและคนชราควรบริโภคอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเนื้อเหนียวจะเคี้ยวไม่ค่อยขาด ตอนกลืนจะติดคอ ครั้งตอนเด็กๆ เมื่อกินจำปาดะผู้ใหญ่จะคอยดูให้กินทีละเมล็ดกลืนเข้าไปแล้วค่อยกินเมล็ดต่อไป จริงๆ แล้วถ้าไม่มีการห้าม เด็กๆ ก็จะกินติดต่อกันหลายๆ เมล็ด เพราะความหวานหอมอร่อยของมัน ซึ่งการกินติดต่อกันหลายๆ เมล็ด โอกาสติดคอได้ง่าย กลิ่นของจำปาดะค่อนข้างแรงน้องๆ ทุเรียน สมัยก่อนที่ใช้บริการรถทัวร์เขาห้ามนำทุเรียนและจำปาดะขึ้นบนรถเด็ดขาด ดมนานๆ บางคนถึงกับเป็นลมทีเดียว ความเป็นมา สวนเก่าแก่ในจังหวัดพังงาส่วนใหญ่ยังเป็นสวนประเภทสมรมอยู่ คือมีการปลูกผลไม้รวมๆ กันหลายชนิด เพื่อนฝูงที่นั่นแนะนำว่า
“ขนุน” เป็นไม้ผลที่ได้รับความนิยมในด้านการบริโภคและการปลูกเพื่อการค้า จึงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณการส่งออกเติบโตเร็ว ตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง โดยเฉพาะประเทศจีน ปัจจุบัน ขนุนมีการปลูกอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบมากที่ภาคตะวันออก รองลงมาภาคตะวันตก ในส่วนของภาคเหนือมีการปลูกขนุนกระจายในหลายพื้นที่ ซึ่งจังหวัดพิจิตรเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่เกษตรกรเริ่มปลูกขนุนเพื่อส่งออกมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร เมื่อปี 2564 พบว่า มีเนื้อที่ปลูกจำนวน 281 ไร่ เกษตรกรผู้ปลูก 163 ราย พันธุ์ที่นิยมปลูกคือ พันธุ์ทองประเสริฐ เนื่องจากให้ผลค่อนข้างใหญ่ ยวงหนา รสชาติหวาน กลมกล่อม และที่สำคัญเป็นพันธุ์ที่ตลาดประเทศจีนต้องการสูง จากการลงพื้นที่ของ สศท.12 เพื่อติดตามสถานการณ์ผลิตและการตลาดขนุนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยติดตามการดำเนินงานของกลุ่มผู้ปลูกขนุนเพื่อการส่งออกจังหวัดพิจิตร อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศ เริ่มรวมกลุ่มเมื่อปี 2563 ปัจจุบัน มีเนื้อที่ปลูกจำนวน 240 ไร่ สมาชิกเกษตรกร 62 ราย โด
“ขนุนทองประเสริฐ” เป็นขนุนกลายพันธุ์ ของ “คุณยงยุทธ วงษ์วิราษฎร์” เกษตรกรชาวอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ประมาณปี 2529 คุณยงยุทธ์ได้นำเมล็ดของขนุนเนื้อดีจากจังหวัดยะลา จำนวน 20 เมล็ด มาเพาะขยายพันธุ์จนแตกต้นนำไปปลูก ปรากฏว่า ต้นขนุน 1 ใน 20 ต้น ที่นำมาปลูกได้กลายพันธุ์ และมีลักษณะเด่นคือ สามารถติดผลดีได้เรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักเฉลี่ย 10-15 กิโลกรัมต่อผล เนื้อสุก มีสีเหลืองทอง เนื้อหนา รสชาติหวานกรอบอร่อยมาก คุณยงยุทธตั้งชื่อพันธุ์ใหม่ว่า “ขนุนทองประเสริฐ” พร้อมจำหน่ายกิ่งพันธุ์ให้แก่ผู้สนใจ ปัจจุบัน เกษตรกรนิยมปลูก “ขนุนทองประเสริฐ” เพื่อแกะเนื้อขายในประเทศ และส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชีย ที่ชื่นขอบการบริโภคขนุนทองประเสริฐอย่างมาก พื้นที่ตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นแหล่งใหญ่อีกแห่งในการปลูกขนุน ซึ่งชาวสวนที่นั่นได้รวมตัวกันทำขนุนแปลงใหญ่ ในนามวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ขนุน ตำบลหนองเหียง เน้นปลูกขนุนพันธุ์ทองประเสริฐ ที่มีลักษณะพิเศษสามารถนำผลเล็กๆ ไปแปรรูปได้ ผลผลิตส่วนใหญ่ของที่นี่ส่งออกต่างประเทศทั้งในรูปแบบผลสดและแบบแกะเนื้อแช่แข็ง ส่
“ขนุน” เป็นผลไม้พื้นบ้านที่รู้จักกันว่าเป็นไม้มงคล กินได้ทั้งผลดิบและผลสุก จึงมีผู้คนนิยมปลูกหลังบ้าน ด้วยชื่อของขนุน จะหนุนนำความเจริญสู่เจ้าของบ้านนั่นเอง ในส่วนของแก่นไม้หรือเนื้อไม้ของขนุนจะมีสีเหลืองเข้มออกน้ำตาล เมื่อนำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าจะให้สีเหลืองน้ำตาล (สมัยก่อนเปลือกนำมาต้มย้อมผ้าจีวรพระ) และนอกจากนั้นไม้ขนุนยังใช้ทำอุปกรณ์เครื่องเรือน และเครื่องดนตรีได้อีกด้วย “ขนุนอ่อน” ตำรับล้างลำไส้ในสำรับ การล้างพิษล้างลำไส้กลายเป็นกระแสที่ฮิตกันมาอย่างต่อเนื่อง ก็เพราะเมือกที่เครือบผนังลำไส้ของคนเราอาจสะสมสิ่งตกค้างหมักหมมจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพ จึงต้องหาเทคนิควิธีการต่างๆ ไปกวาดเอาสิ่งตกค้างออกมา แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ไปกระทบต่อสมดุลของผนังลำไส้ เรื่องแบบนี้คนล้านนาเขามีวิธีให้ลูกหลานล้างลำไส้อย่างแยบยล โดยในวันปากปี๋ หรือวันที่สามของประเพณีปีใหม่ (วันสงกรานต์) คนล้านนาจะกินแกงขนุนกันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนส่งชีวิตให้เจริญก้าวหน้า นับเป็นวัฒนธรรมด้านอาหารและสุขภาพที่น่าสนใจยิ่ง เนื่องจากขนุนอ่อนอุดมไปด้วยเส้นใยที่ดูดซับสารพิษ และเป็นอาหารของโปรไบโอติกส์ในลำไ