ขมิ้นชัน
นานแล้วที่คนพื้นบ้านตำนานไทยว่าไว้ ถึงภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับ “ขมิ้นชัน หรือขมิ้นเหลือง” กันอย่างมาก เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณทางยา เรียกว่า เป็นตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน และเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารประจำครัว นานจนดูเหมือนว่าจะเป็นพืชไทยมาแต่โบราณกาลเก่าก่อน แท้จริงเลย เรารู้จักขมิ้นกันมาตั้งแต่สมัยไหนสมัยใดแล้ว ถ้ามีใครสืบค้นต้นตอ และบันทึกไว้ อาจจะเจอเป็นหลักฐานโบราณเลยก็เป็นได้ จนถึงวันนี้สารพัดประโยชน์จากขมิ้น มีมากมายหลายด้าน หลากหลายสรรพคุณ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสมุนไพร ขมิ้นชัน มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว ขมิ้นเหลือง ขมิ้นดี เข้าหมิ้น ภาคใต้เรียก ขี้มิ้น ละมิ้น เป็นพืชในวงศ์เดียวกับ ขิง ข่า คือ ZINGIBERACEAE มีชื่อสามัญ Turmerie ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma domestica (C.longa) ขมิ้นมี 2 อย่าง คือ ขมิ้นชัน กับ ขมิ้นอ้อย มีสรรพคุณเหมือนกัน แต่ขมิ้นอ้อยจะนำมาเป็นยารักษาโรค ขมิ้นชันจะนำมาเป็นยาสมุนไพร และเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารหลายอย่าง ใช้ได้ทั้งหัวแง่ง และใบแก่ ใบอ่อน ทางภาคใต้ แกงเหลือง หรือแกงส้ม ทางเหนือ แกงฮังเล เครื่องหมักไก่ปิ้งสีสวย กลิ่นหอมมาก ใส่ห่อหมกปลา ใบรองหม้อนึ่
ตลาด ‘’ พุ่ง! กรมการแพทย์แผนไทยฯ หนุน ผู้ผลิตไทยต่อยอดผลิตภัณฑ์ความงามส่งออก สร้างมูลค่าในตลาดโลกสูง 450.24 ล้านบาท แนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เติบโตเฉลี่ยปีละ 11.4 % ดันไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านสมุนไพร เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจประเทศได้มหาศาล นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขมิ้นชัน นอกจากนำมาช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อแล้ว ยังมีศักยภาพในด้านความงามและผิวพรรณ เนื่องจากมีสารเคอร์คิวมินอยด์ (Curcuminoids) โดยเฉพาะ สารเคอร์คิวมิน (Curcumin) ช่วยลดการอักเสบของผิว บรรเทาอาการระคายเคือง ลดเลือนจุดด่างดำ ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดสิว จึงสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ด้านความงามและผิวพรรณได้เป็นอย่างดี นพ.สมฤกษ์ กล่าวว่า ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่นิยมแพร่หลายในตลาดโลก โดยในปี 2567 มีมูลค่าถึง 7,977.82 ล้านบาท ประเทศไทย มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.6 ด้วยมูลค่าตลาด 450.24 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึง ปี 2570 ที่มูลค่าตลาดทั่วโลกจะทะลุ 10,958.15 ล้านบาท ขณะที่ ประเทศไทยคาดว่า จะมีมูลค่าถึง 550 ล้านบาท หรือ เติบโ
บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด นำโดย นายจูนจิ โอตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เดินหน้าเปิด “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-เขานาใน” ความภาคภูมิใจครั้งยิ่งใหญ่แห่งแรกของภาคใต้ สร้างชุมชนต้นแบบด้วยนวัตกรรมการปลูกพืชสมุนไพร ร่วมกับ นางหนูเรียง จีนจูด ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านเขานาใน ภายใต้บทบาทการส่งเสริมองค์ความรู้ด้วย KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS นวัตกรรมเกษตรครบวงจรของสยามคูโบต้า เพื่อลดต้นทุน เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต สร้างรายได้ที่ยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดงาน นอกจากนี้ ยังชูจุดเด่นผลผลิต “ขมิ้นชัน” จากแหล่งปลูกที่ดีที่สุดของไทย สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูป ถ่ายทอดให้เกษตรกรและผู้สนใจ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-เขานาใน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากซ้าย – ขวา 1. นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด 2. นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ ที่ปรึกษา สำนักงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บร
บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด จับมือ วิสาหกิจชุมชนบ้านเขานาใน สร้างชุมชนต้นแบบด้านการเกษตร เดินหน้าเปิด “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า – เขานาใน” ความภาคภูมิใจครั้งยิ่งใหญ่แห่งแรกของภาคใต้ ภายใต้บทบาทการส่งเสริมองค์ความรู้ด้วยระบบ KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS นวัตกรรมเกษตรครบวงจรของสยามคูโบต้า ในการปลูกพืชสมุนไพร ชูจุดเด่น Womenomics พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน ด้วยบทบาทกลุ่มเกษตรกรหญิงแกร่งแห่งวิสาหกิจชุมชนบ้านเขานาใน พร้อมต่อยอดผลผลิต “ขมิ้นชัน” จากแหล่งปลูกที่ดีที่สุดของไทย สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูป สร้างแหล่งงานและรายได้ที่ยั่งยืนให้แก่เกษตรกร พร้อมต่อยอดให้เกิดการถ่ายทอดให้เกษตรกรและผู้สนใจต่อไป ในโอกาสนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายบันดาล สถิรชวาล ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า – เขานาใน ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายจูนจิ โอตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงการเข้าไปสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสู่การเป็น ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคู
ประโยชน์ของขมิ้นชัน ยารักษาโรค อาหาร และ เครื่องสำอาง วิถีของท้องถิ่น วิถีของอาหารใส่ขมิ้นชัน โดยนิยมใช้ขมิ้นแต่งกลิ่นและรส ได้แก่ อาหารทางภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอด ขมิ้นข้าวซอย ขมิ้นชัน อาหารสำคัญของคนใต้ เช่น ปลาทอดขมิ้น เหง้าขมิ้นตำด้วยเกลือทาตัวปลาแล้วนำไปทอด ที่ได้มากกว่าความอร่อยคือสุขภาพ ขมิ้นชัน ยาสำคัญของสตรีมุสลิม “กูยิ” หรือ “ขมิ้นชัน” คือสมุนไพรที่สตรีหลังคลอดทุกคนต้องรับประทาน โดยเมื่อคลอดหมอตำแยจะนำขมิ้นที่เตรียมไว้แล้ว ให้รับประทานทันทีและรับประทานตลอดระยะเวลา 40 วัน เชื่อว่าสรรพคุณคือ การรักษาแผลข้างในให้กับสตรีหลังคลอดนั่นเอง วิธีการเตรียมทำโดยง่าย ด้วยการตำขมิ้นให้ละเอียดแล้วผสมน้ำเล็กน้อยให้ดื่ม ขมิ้นชัน ยังป้องกันหน้าท้องลายหลังคลอด เป็นยาประคบท้องให้สตรีหลังคลอด โดยนำขมิ้นกับเกลือตำให้ละเอียด พันหน้าท้องในช่วง 30 วัน หรือช่วงการอยู่ไฟ ขมิ้น ดับกลิ่นคาวหลังคลอด ทำโดยการนำข้าวสารมาแช่ แล้วนำเหง้าขมิ้นมาตำพร้อมข้าวสารที่แช่ไว้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วทาตัวก่อนนอน ขมิ้นชัน ยารักษาโรคกระเพาะ นางมือลอ มะแซ สตรีสูงอายุวัย 90 ปี ของหมู่บ้านกำปงบือแน อำเภ
“ขมิ้นชัน” เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันดีในทุกภาค มีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยนิยมนำมาปรุงช่วยเพิ่มสีสันแต่งกลิ่นและรสชาติของอาหาร มีตำรับอาหารและตำรับยามากมายเป็นทั้งยาภายนอกและยาภายใน สำหรับยาภายในใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น ส่วนยาภายนอก เชื่อว่าขมิ้นชันช่วยรักษาและสมานแผล ทำให้แผลไม่เป็นหนอง และขมิ้นชันยังเป็นสมุนไพรเครื่องสำอางได้ดีอีกด้วย “ขมิ้นชัน” เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้กันมายาวนานของคนไทย กล่าวได้ว่าคนในตระกูลไตที่กระจายกันอยู่แถบเอเซีย ทั้งในรัฐอัสสัม พม่า ไทย จีน ลาว ต่างรู้จักในชื่อเดียวกันทั้งสิ้น “ขมิ้นชัน” ไม่ใช่ยารักษาโรคแต่ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรเครื่องเทศ ที่ใส่ในอาหารในชีวิตประจำวัน โดยนำมาปรุงแต่งและใช้ประกอบอาหารซึ่งพบมากทางภาคใต้ จะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้มักมีสีออกเหลืองแทบทุกอย่าง สำหรับคนใต้ขมิ้นชันเป็นเครื่องเทศที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะนอกจากช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีแล้ว ยังเป็นสมุนไพรปรุงรส และช่วยสมานแผลได้อีกด้วย คนใต้ส่วนใหญ่จะใช้เหง้าใต้ดินของขมิ้น (หัวขมิ้น) มาผสมในเครื่องแกงต่างๆ รวมทั้งใช้ปร
ชื่อสามัญ…ขมิ้นชัน (Turmaric) ชื่อวิทยาศาสตร์…Curcuma longa L. วงศ์…Zingiberaceae “ขมิ้นแป้งแต่งละลายชโลมทา ให้ผ่องผิวสุนทราเจริญวัย… หาฤกษ์โกนผมไฟต้องตามวัน …” (เครดิต : หนังสือย้อนรอยสยาม…) เมื่อเอ่ยถึง ขมิ้น น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะขมิ้นเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมาแต่โบราณ พิธีกรรมแห่งการเกิดก็มีขมิ้นมาเกี่ยวข้องด้วย การอาบน้ำของคนไทยในสมัยโบราณที่ยังไม่มีสบู่ใช้ ใช้ผ้าถูเอาไคลออก ก็ใช้ “ขมิ้นผง” ทาให้ทั่วตัว ถ้าเป็นเด็กๆ ที่โกนผมก็จะทาขมิ้นที่หัวด้วย แล้วใช้ส้มมะขามเปียกทาทับลงไปอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้รสเปรี้ยวของมะขามกัดสีของขมิ้นที่จับหนาอยู่ตามผิวหนังให้จางลง สักพักจึงอาบนํ้าล้างส้มมะขามให้หมด จึงเป็นที่มาของสำนวน “หัวยังไม่สิ้นกลิ่นขมิ้น”…“ปากยังไม่สิ้นกลิ่นนํ้านม” ซึ่งมีไว้เรียกเด็กที่แสดงความอวดดีอวดรู้เกินวัย ส่วน คำว่า “ขมิ้นกับปูน” ก็มีที่มาจากขมิ้นซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ส่วนปูนมีฤทธิ์เป็นด่าง เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนส่วนผสมนั้นเป็นสีแดง ซึ่งก็คือ ปูนแดง ที่ใช้กินกับหมากนั่นเอง ขมิ้นชัน เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี จัดอยู่ในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเน
ขมิ้นชันเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมาแต่โบราณ โดยนำมาใช้แต่งสี แต่งกลิ่น และรสของอาหาร เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา การใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร ขมิ้นผงเป็นแหล่งสีธรรมชาติให้ความปลอดภัยมากกว่าสีสังเคราะห์ ตลอดจนเป็นสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ จัดอยู่ในวงศ์ขิงข่า เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเหนือดินเป็นลำต้นที่เกิดจากการอัดตัวกันของกาบใบ ลำต้นจริงอยู่ใต้ดินเรียกเหง้าขมิ้น ประกอบด้วย เหง้าหลักใต้ดินที่เราเรียกว่า หัวแม่ ซึ่งมีรูปไข่และแตกแขนงทรงกระบอกออกด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ที่เราเรียกว่า แง่ง เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองมีกลิ่นเฉพาะ ขมิ้นชัน ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่ที่เหมาะสมควรเป็นดินที่ระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง ถ้าเป็นดินเหนียวควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 1 ตัน/ไร่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดิน การเตรียมดินควรไถพรวนก่อนต้นฤดูฝน และหลังจากพรวนดินให้มีขนาดเล็กลงแล้ว ก็ใช้ไถยกร่องปลูกระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ขมิ้นชันสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 9-11 เดือน การขุดต้องพยายามไม่ให้จอบโดนเหง้า เสร็จแล้วเคาะเอาดินออกจากหัว ตัดใบและรากทิ้ง แล้วล้างน้ำให้สะอาด การทำแห้งทำได้โดยนำขมิ้นที่ล้างส
ขมิ้นชัน (Turmeric) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa L.จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าสีเหลืองเข้มถึงแสดจัดอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด มีองค์ประกอบหลักสำคัญที่นำมาใช้ประโยชน์ 2 ชนิด คือ น้ำมันหอมระเหย (termeric oil) และสารที่ให้สีเหลือง คือ curcuminoid ในภาคใต้นิยมนำขมิ้นชันมาเป็นส่วนประกอบหลักในเครื่องแกง เช่น แกงเหลือง ช่วยเพิ่มสีสันให้น่ารับประทาน และให้กลิ่นเครื่องเทศที่เป็นเอกลักษณ์ ในด้านเภสัชกรรมถูกจัดอยู่ในตำรายาสมุนไพรของแพทย์แผนไทย มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในลูกประคบ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการจากโรคผิวหนัง คุณเกรียงศักดิ์ นุ้ยสี และ คุณชัสมา นุ้ยสี สองสามีภรรยา Smart farmer และ Young Smart farmer ตำบลนาเมืองเพชร อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 128/2 หมู่ที่ 2 ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เดิมเป็นพนักงานโรงงานปาล์มน้ำมันในพื้นที่ใช้เวลาว่างทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตยางพาราแผ่น ก่อนตัดสินใจออกจากงานประจำ มาทำลานรับซื้อปาล์มน้ำมัน ไม้ยางพารา และมามุ่งทำการเ
ตะไคร้ ช่วยให้ผมดกดำ ลดปัญหาผมแตกปลาย ตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเส้นผมให้คุณได้อย่างปลอดภัย เพียงแค่คุณนำต้นตะไคร้มาสัก 3-4 ต้น นำมาล้างให้สะอาด จากนั้นแกะเปลือกนอกที่แข็งๆ ของตะไคร้ออก สัก 2-3 เปลือก แล้วนำมาหั่นเป็นท่อนเล็กๆ จะตำหรือใส่เครื่องปั่นก็ได้ แต่ต้องทำให้ได้เนื้อตะไคร้ที่ละเอียดๆ จากนั้นคั้นเอาแต่น้ำตะไคร้เข้มข้นที่ได้จากการปั่นหรือตำจนละเอียด นำน้ำตะไคร้ที่ได้มาใส่ผมที่สระสะอาดแล้ว หมักทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ใช้น้ำตะไคร้หมักผมหลังสระผมทุกครั้ง ควรทำติดกันเป็นเวลา 1-2 เดือน ผลที่ได้ก็คือ คุณจะมีผมที่ดกดำเงางาม และไม่มีปัญหาเส้นผมแตกปลาย แถมยังทำให้เส้นผมของคุณมีน้ำหนักอีกด้วย สมุนไพรรักษารากผม ทำให้ผมหงอกช้า กระเทียม กระเทียมสามารถช่วยทำให้รากผมของคุณแข็งแรงและหงอกช้าได้ เพียงแค่คุณนำกระเทียม 3-4 กลีบหรือหัวมาปอกเปลือกออก แล้วนำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด จากนั้นนำไปผสมรวมกันกับน้ำมันมะกอกประมาณ 5-8 ช้อนโต๊ะ แล้วนำส่วนผสมที่ได้ใส่ถ้วยหรือขวดปิดฝาให้แน่นทิ้งไว้ 1-2 วัน จากนั้นนำมาใช้ได้โดยการนำมานวดให้ทั่วหนังศีรษะที่สระสะอาดแล้ว จากนั้นหมักทิ