ขมิ้นชัน
ขมิ้นชันมีสารสำคัญสีเหลืองชื่อ เคอร์คูมิน (Curcumin, Volantile Oil) เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณ แก้ท้องอืด ขับลม ช่วยระบบย่อยอาหาร ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ ขับน้ำดี แก้ท้องเสีย รักษาแผลหลังผ่าตัด คุณรุจิรา หิรัญสาลี อดีตพยาบาลคนเก่ง อยู่บ้านเลขที่ 33/113 หมู่ที่ 2 ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แปรรูปขมิ้นจำหน่าย ได้รับความนิยมอย่างมาก คุณรุจิรา อยู่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่วัตถุดิบ แปลงปลูกขมิ้น อยู่เขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขมิ้นเขาวง มีสารสำคัญคือเคอร์คูมิน สูงเป็นพิเศษ เมื่อนำมาแปรรูปจึงมีประสิทธิภาพสูง คุณรุจิราแปรรูปขมิ้นเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ รู้จักกันดีในนามขมิ้นแปรรูปศาลาไทย ผลิตภัณฑ์กว่า 100 อย่าง “อดีตรับราชการอยู่โรงพยาบาล เริ่มทำตอนอยู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี…เราได้รับการพรีเซนต์จากพื้นที่อำเภอบ้านตาขุน ว่าขมิ้นชันที่นี่มีสารสำคัญสูง ประจวบกับชอบแพทย์แผนไทยพอดีก็เลยไปเรียนแพทย์แผนไทยมาในช่วงนั้น ก็เอาขมิ้นของกลุ่มวิสาหกิจขมิ้นชันปลอดสารพิษตัวนี้มาแปรรูปเป็นยาขมิ้น
กรมวิชาการเกษตร สบช่องเทรนด์ “ขมิ้นชัน” ในอุตสาหกรรมยา-เครื่องสำอาง-อาหารเสริมมาแรง เร่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์ขมิ้นชันปลอดโรคสายพันธุ์ตรัง 1 และ ตรัง 84-2 เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต-ขยายพันธุ์ดีปลอดโรค พร้อมหนุนส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเชิงการค้ารองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมขมิ้นชันทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ เผยสรรพคุณให้ “สารเคอร์คิวมินอยด์” สูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพร 120 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เป็นที่ต้องการสูง นายสนอง จรินทร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบัน ขมิ้นชัน เป็นพืชสมุนไพรเศรษฐกิจที่กำลังเป็นที่ต้องการสูงของอุตสาหกรรมยาแผนโบราณ-ยาแผนปัจจุบัน อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยในปี 2560 ตลาดอุตสาหกรรมสารสกัดขมิ้นชัน มีมูลค่ารวม 49 ล้านบาท ในขณะที่ปริมาณผลผลิตหัวสดซึ่งยังผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมขมิ้นชันในประเทศ โดยที่ผ่านมาสถาบันวิจัยพืชสวนได้รับการติดต่อจากองค์การเภสัชกรรมเพื่อขอซื้อพันธุ์ขมิ้นชันคุณภาพปลอดโรค เพื่อนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรในเครือข่ายปลูกเชิงการค้า เพื่อเพิ
อาการปวดเข่า เจ็บเข่า เป็นอาการที่พบได้บ่อย บ้างก็เป็นอาการปวดเมื่อยจากการใช้งานหนักทั่ว ๆ ไป แต่บ้างก็อาจจะรุนแรงกว่านั้น คือเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเมื่อเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดหรือกลับมาเป็นปกติได้ แต่สามารถรักษาบรรเทาอาการให้ลดน้อยลงได้ ทั้งโดยการแพทย์แผนปัจจุบัน และการแพทย์ทางเลือกอย่างการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพรต่าง ๆ นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ข้อมูลว่า องค์การอนามัยโลกคาดว่า ปี พ.ศ. 2563 ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อประมาณ 570 ล้านคน สำหรับประเทศไทยจากสถิติกระทรวงสาธารณสุขปี 2558 มีอัตราการเกิดโรคข้อเสื่อม 57.10 ต่อประชาชน 1 แสนคน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า นพ.ปราโมทย์กล่าวว่า ทางการแพทย์แผนไทยเรียกโรคข้อเข่าเสื่อมว่า “โรคลมจับโปงเข่า” แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ โรคลมจับโปงน้ำและจับโปงแห้ง ต่างกันตรงที่จับโปงน้ำจะมีอาการปวดเข่า เข่าบวม อักเสบชัดเจน มีน้ำในข้อเข่า ส่วนจับโปงแห้งจะมีอาการปวดเข่า มีเสียงกรอบแกรบในข้อเข่า ข้อเข่าฝืด สะบ้าติด แพทย์แผนไทยรักษาโรคดังกล่าวด้วยการนวดรักษาเฉพาะจุ
กรมวิชาการเกษตร สบช่องแทรนด์ “ขมิ้นชัน” ในอุตสาหกรรมยา-เครื่องสำอาง-อาหารเสริม มาแรง เร่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์ขมิ้นชันปลอดโรคสายพันธุ์ตรัง 1- ตรัง 84-2 เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต-ขยายพันธุ์ดี ปลอดโรค พร้อมหนุนส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเชิงการค้า รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมขมิ้นชันทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ เผยสรรพคุณให้ “สารเคอร์คิวมินอยด์” สูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพร 120% ทำให้เป็นที่ต้องการสูง นายสนอง จรินทร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบัน ขมิ้นชัน เป็นพืชสมุนไพรเศรษฐกิจที่กำลังเป็นที่ต้องการสูงของอุตสาหกรรมยาแผนโบราณ-ยาแผนปัจจุบัน อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยในปี 2560 ตลาดอุตสาหกรรมสารสกัดขมิ้นชันมีมูลค่ารวม 49 ล้านบาท ในขณะที่ปริมาณผลผลิตหัวสดซึ่งยังผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมขมิ้นชันในประเทศ ที่ผ่านมาสถาบันวิจัยพืชสวนได้รับการติดต่อจากองค์การเภสัชกรรมเพื่อขอซื้อพันธุ์ขมิ้นชันคุณภาพปลอดโรค เพื่อนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรในเครือข่ายปลูกเชิงการค้า เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตใ
“ขมิ้นชัน” เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันดีในทุกภาค มีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยนิยมนำมาปรุงช่วยเพิ่มสีสันแต่งกลิ่นและรสชาติของอาหาร มีตำรับอาหารและตำรับยามากมายเป็นทั้งยาภายนอกและยาภายใน สำหรับยาภายในใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น ส่วนยาภายนอก เชื่อว่าขมิ้นชันช่วยรักษาและสมานแผล ทำให้แผลไม่เป็นหนอง และขมิ้นชันยังเป็นสมุนไพรเครื่องสำอางได้ดีอีกด้วย “ขมิ้นชัน” เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้กันมายาวนานของคนไทย กล่าวได้ว่าคนในตระกูลไตที่กระจายกันอยู่แถบเอเซีย ทั้งในรัฐอัสสัม พม่า ไทย จีน ลาว ต่างรู้จักในชื่อเดียวกันทั้งสิ้น “ขมิ้นชัน” ไม่ใช่ยารักษาโรคแต่ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรเครื่องเทศ ที่ใส่ในอาหารในชีวิตประจำวัน โดยนำมาปรุงแต่งและใช้ประกอบอาหารซึ่งพบมากทางภาคใต้ จะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้มักมีสีออกเหลืองแทบทุกอย่าง สำหรับคนใต้ขมิ้นชันเป็นเครื่องเทศที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะนอกจากช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีแล้ว ยังเป็นสมุนไพรปรุงรส และช่วยสมานแผลได้อีกด้วย คนใต้ส่วนใหญ่จะใช้เหง้าใต้ดินของขมิ้น (หัวขมิ้น) มาผสมในเครื่องแกงต่างๆ รวมทั้งใช้ปร
องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นอีกหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้สมุนไพร โดยเฉพาะขมิ้นชัน เนื่องจากมีการวิจัยพัฒนาสารสกัดขมิ้นชัน ทั้งเพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง แน่นท้อง และล่าสุดผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกยังพบว่าสามารถทดแทนยาแผนปัจจุบันกลุ่มอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม และยังได้ รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาพัฒนาจากสมุนไพรแผนปัจจุบันรายแรกของประเทศไทย จนได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์สมุนไพรดีเด่นระดับชาติ (Prime Minister Herbal Awards PMHA) ประจำปี 2561 แน่นอนว่าความสำเร็จจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวไม่เพียงแต่ให้คนไทยเข้าถึงการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากขึ้น แต่ยังเป็นการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทยอีกด้วย เนื่องจากกว่าจะได้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จำเป็นต้องได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ เห็นได้จาก นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และผู้บริหาร อภ.ได้ลงพื้นที่เพื่อร่วมลงนามสัญญาจะซื้อจะขายขมิ้นชันคุณภาพ ระหว่าง อภ.และ 5 กลุ่มเกษตรกร 3 จังหวัด ประกอบด้วย ลพบุรี 3 กลุ่มเกษตรกรยะลา 1 กลุ่ม และตากอีก 1 กลุ่ม ที่โรงแรมลพบุรีอินนท์ รีสอร์ท เมื่อไม่นานมานี้ พร้อมทั้งยังลงพื้นที่เยี่ยมชมไร่ทหา
นักวิจัย มศว ชูผลศึกษาทางคลินิก กิน ‘ขมิ้นชัน’ ลดเสี่ยงเบาหวาน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ ผศ.พญ.สมลักษณ์ จึงสมาน อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวในงานเสวนา “สารสกัดขมิ้นชันในผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน” ภายในงานสัมมนา “มหัศจรรย์สมุนไพรขมิ้นชัน” ซึ่งจัดโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ว่า สารสกัดจากขมิ้นชันช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งจากการทดลองทางคลินิกในคนที่ยังไม่ป่วยโรคเบาหวาน แต่มีความเสี่ยงที่จะเป็น คือ มีค่าน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติ จำนวน 240 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่กินยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ซึ่งจะรับประทานครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง ขนาดรวม 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 9 เดือน ควบคู่กับควบคุมไลฟ์สไตล์ คือ การควบคุมอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงต้องการเกิดโรค เช่น อาหารรสหวาน ลดน้ำตาล ลดการกินแป้ง และมีการออกกำลังกาย “โดยการทดลองดังกล่าวให้ทั้งสองกลุ่มเริ่มทำก่อนกินยาเป็นเวลา 3 เดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาหลอก ร้อยละ 16.4 ถูกวินิจฉัยว่า เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ขณะที่กลุ่มที่ได้รับ
ดร. วิเชียร กีรตินิจกาล ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักงานอธิการบดี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แนะนำวิธีการปลูกขมิ้นชันให้ได้สารสำคัญสูง ว่าเกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้พลาสติกพรางแสง นอกจากนี้ การปลูกระยะห่าง ที่เคยแนะนำกันว่า ปลูกสัก 75 เซนติเมตร หรือ 50 เซนติเมตร ก็เป็นระยะที่ห่างเกินไป แต่ถ้าปลูกให้ชิด ประมาณ 15X20 เซนติเมตร ผลผลิตขมิ้นชันจะเพิ่มสูงขึ้น ได้ถึง 1 ตัน ต่อไร่ ส่งผลให้สามารถนำไปผลิตเป็นยาแผนโบราณ ก็จะทำให้ได้ราคาถูก สามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาลต่างๆ ได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โทร. 0 2591 7007 ต่อ 1304 ,1309 www.dtam.moph.go.th www.facebook.com/dtam.moph/ Line @DTAM ที่มา : มติชนออนไลน์
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวในงานสัมมนา เรื่องสมุนไพรไทยกับความพร้อมในตลาดโลก จัดโดย สนค. และศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ว่า สนค. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ จัดทำร่างยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพตลาดสมุนไพรไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 ที่กระทรวงสาธารณสุขจัดทำ มีเป้าหมายให้ไทยเป็นประเทศส่งออกวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนำของอาเซียน และมูลค่าของวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัวภายในปี 2564 ในส่วนแผนการส่งเสริมตลาดของสมุนไพรไทย เดิมมีอยู่แต่กระจัดกระจาย กระทรวงพาณิชย์จึงเข้ามาเป็นหน่วยงานหลักดูแลอย่างจริงจัง น.ส.พิมพ์ชนก กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพตลาดสมุนไพรไทยนั้น จะมี 4 สมุนไพรนำร่อง ประกอบด้วย ขมิ้นชัน ไพล บัวบก และกระชายดำ ตามยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการต่อไปคือ 1. การจัดการวัตถุดิบและการแปรรูป 2. การพัฒนานวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มในการแปรรูปผลิต