ขมิ้นชัน
“ขมิ้นชัน” เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันดีในทุกภาค มีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยนิยมนำมาปรุงช่วยเพิ่มสีสันแต่งกลิ่นและรสชาติของอาหาร มีตำรับอาหารและตำรับยามากมายเป็นทั้งยาภายนอกและยาภายใน สำหรับยาภายในใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น ส่วนยาภายนอก เชื่อว่าขมิ้นชันช่วยรักษาและสมานแผล ทำให้แผลไม่เป็นหนอง และขมิ้นชันยังเป็นสมุนไพรเครื่องสำอางได้ดีอีกด้วย “ขมิ้นชัน” เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้กันมายาวนานของคนไทย กล่าวได้ว่าคนในตระกูลไตที่กระจายกันอยู่แถบเอเซีย ทั้งในรัฐอัสสัม พม่า ไทย จีน ลาว ต่างรู้จักในชื่อเดียวกันทั้งสิ้น “ขมิ้นชัน” ไม่ใช่ยารักษาโรคแต่ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรเครื่องเทศ ที่ใส่ในอาหารในชีวิตประจำวัน โดยนำมาปรุงแต่งและใช้ประกอบอาหารซึ่งพบมากทางภาคใต้ จะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้มักมีสีออกเหลืองแทบทุกอย่าง สำหรับคนใต้ขมิ้นชันเป็นเครื่องเทศที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะนอกจากช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีแล้ว ยังเป็นสมุนไพรปรุงรส และช่วยสมานแผลได้อีกด้วย คนใต้ส่วนใหญ่จะใช้เหง้าใต้ดินของขมิ้น (หัวขมิ้น) มาผสมในเครื่องแกงต่างๆ ร
ราว 20 กว่าปีก่อน อยู่ๆ ผมก็มีอาการโรคแผลในกระเพาะอาหาร ที่พูดกันว่า อิ่มก็ปวด หิวก็ปวดนั่นแหละครับ สมัยนั้นยังเป็นยุคทองของยาเคลือบกระเพาะอาหาร จำได้ว่าผมก็เหมือนคนเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารทั่วไป คือเทียวไปซื้อยาน้ำที่ว่านี้มากินหมดไปเป็นลังๆ ก็ไม่ทุเลาลงแต่อย่างใด จนกระทั่งผมไปอ่านพบว่า ขมิ้นชัน (Turmeric) สามารถรักษาอาการนี้ได้ โดยเฉพาะหากกินควบคู่กับน้ำคั้นกะหล่ำปลีสดจะยิ่งช่วยได้มาก จึงได้หาซื้อขมิ้นชันแคปซูล ขนาด 250 มิลลิกรัม จากร้านขายยามาลองกินหลังอาหาร ครั้งละ 3-4 เม็ด ภายใน 2 สัปดาห์ อาการปวดท้องก็เริ่มหายไปอย่างไม่น่าเชื่อ จากที่ปวดทรมานเป็นประจำ ก็ค่อยๆ กลายเป็นนานๆ ครั้งจะมีอาการเสียทีหนึ่ง และเมื่อเป็นขึ้นมา อาศัยกินขมิ้นชันแคปซูลเข้าไปก็จะทุเลาอาการได้ในเวลาไม่นาน ผมเลยรู้จากการทดลองกับตัวเอง ว่าแผลในกระเพาะอาหารนั้น ถ้าใครยังเป็นไม่มาก สามารถรักษาโดยกินขมิ้นชันเป็นประจำ ตั้งแต่นั้น เมื่อรู้ว่าเพื่อนคนไหนมีอาการ ผมก็มักแนะให้ลองกินดู แล้วก็ล้วนแต่ทุเลาอาการด้วยความแปลกใจเกือบทุกรายไป ข้อมูลสรรพคุณทางยาของขมิ้นชันมีระบุไว้ค่อนข้างตรงกัน เช่น ในหนังสือเครื่องเทศ ของคุณนิจศ
ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์ เขียนไว้ในคอลัมน์ “พืชใกล้ตัว” อภัยภูเบศรสาร ปีที่ 18 ฉบับประจำเดือนตุลาคม 2563 ว่า เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านเคยผ่านประสบการณ์โรคลำไส้แปรปรวนมาก่อน แต่อาจจะไม่รู้ตัว เนื่องจากโรคนี้โดยปกติอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยจะทำงานร่วมกันกับสมอง ผ่านการทำงานของฮอร์โมน แต่เมื่อระบบในร่างกายทำงานไม่สัมพันธ์กัน ลำไส้ก็อาจเกิดบีบตัวหรือเคลื่อนไหวผิดปกติ จะส่งผลทำให้เกิดการปวดในทางเดินอาหาร ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะแสดงอาการปวดท้องส่วนล่าง โดยอาการหลักๆ ที่พบบ่อยนอกจากนี้คือ จุกเสียด อ่อนเพลีย ไปจนถึงอาการกระวนกระวายหรือซึมเศร้าได้ ซึ่งอาการเหล่านี้มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษาอาการปวดท้องจากลำไส้แปรปรวนแบบไม่ใช้ยานั้น ทำได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อลำไส้ เลี่ยงอาหารประเภทแป้งหรือผลไม้ที่ย่อยยาก เพราะอาจทำให้เกิดการดึงน้ำเข้าสู่ลำไส้แล้วเกิดอาการท้องเสีย อาหารที่ควรเลี่ยงเมื่ออาการปวดท้อง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัว ถั่วแดง ถั่วเขียว ขนมปัง แอปเปิ้ล แตงโม เป็นต้น ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านทั้งในประเทศและต่างประเทศ แนะนำให้รับประทานขมิ้นชัน สำหรับรักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเ
ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นปัญหากระทบต่อสุขภาพ มีสมุนไพรทางเลือกหลากหลายชนิดที่มีข้อมูลว่าช่วยต้านพิษจากฝุ่น PM 2.5 ได้ เช่น หญ้าดอกขาว รางจืด มะขามป้อม ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น ในคอลัมน์นี้ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งคือ ขมิ้นชัน จากการศึกษาพบว่า การรับประทานแกงที่มีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบ มีผลดีต่อระบบทางเดินหายใจ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพของปอด และเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง ขมิ้นชันจึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ผู้เขียนอยากแนะนำให้ประชาชนได้ใช้ดูแลสุขภาพในช่วงวิกฤตของสถานการณ์มลพิษจากฝุ่นละออง การศึกษาเกี่ยวกับอาหารที่มีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบกับการทำงานของปอดในผู้สูงอายุชาวเอเชีย ปัจจุบัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสารอาหารที่มีผลต่อสุขภาพระบบทางเดินหายใจในมนุษย์ยังมีไม่ชัดเจนนัก ในขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมินที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่ดี และมักถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารของชาวเอเชียเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นที่มาของแกงที่มีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบกับการทำงานของปอดในผู้สูบบุหรี่ ผู้เคยสูบบุหรี่ และผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นผู้สูงอายุชาวจีน จำนวน 2,478 คน ที่มีอาย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี เพื่อพิจารณาคัดเลือกผลงานที่มีกระบวนการนำเสนอที่มีความโดดเด่นในรูปแบบที่หลากหลายและสามารถเชื่อมโยงส่งต่องานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อไป การจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติครั้งล่าสุด มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล จากผลงาน “การพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกขมิ้นชันปลอดโรค และสารสำคัญสูงด้วยระบบ Substrate Culture” เจ้าของผลงานคือ ผศ.ดร.ระวิวรรณ์ เจริญทรัพย์ หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เทคโนโลยีการปลูกขมิ้นชันปลอดโรค เนื่องจากขมิ้นชันเป็นหนึ่งในสมุนไพรไทยที่มีการใช้ประโยชน์อย่างยาวนาน หลากหลายรูปแบบทั้งเป็นส่วนประกอบในอาหาร ยารักษาโรค และความงาม ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับการสนับสนุนโครงการบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SME
ขมิ้นชันมีสารสำคัญสีเหลืองชื่อ เคอร์คูมิน (Curcumin, Volantile Oil) เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณ แก้ท้องอืด ขับลม ช่วยระบบย่อยอาหาร ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ ขับน้ำดี แก้ท้องเสีย รักษาแผลหลังผ่าตัด คุณรุจิรา หิรัญสาลี อดีตพยาบาลคนเก่ง อยู่บ้านเลขที่ 33/113 หมู่ที่ 2 ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แปรรูปขมิ้นจำหน่าย ได้รับความนิยมอย่างมาก คุณรุจิรา อยู่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่วัตถุดิบ แปลงปลูกขมิ้น อยู่เขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขมิ้นเขาวง มีสารสำคัญคือเคอร์คูมิน สูงเป็นพิเศษ เมื่อนำมาแปรรูปจึงมีประสิทธิภาพสูง คุณรุจิราแปรรูปขมิ้นเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ รู้จักกันดีในนามขมิ้นแปรรูปศาลาไทย ผลิตภัณฑ์กว่า 100 อย่าง “อดีตรับราชการอยู่โรงพยาบาล เริ่มทำตอนอยู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี…เราได้รับการพรีเซนต์จากพื้นที่อำเภอบ้านตาขุน ว่าขมิ้นชันที่นี่มีสารสำคัญสูง ประจวบกับชอบแพทย์แผนไทยพอดีก็เลยไปเรียนแพทย์แผนไทยมาในช่วงนั้น ก็เอาขมิ้นของกลุ่มวิสาหกิจขมิ้นชันปลอดสารพิษตัวนี้มาแปรรูปเป็นยาขมิ้น
เคยรู้สึกไม่สบายท้อง รับประทานอะไรเข้าไปก็แน่นท้อง เป็นๆ หายๆ บ้างไหม? ทราบหรือไม่ว่าอาการดังกล่าว คือ อาการหนึ่งของโรคกระเพาะอาหาร! ที่หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าโรคกระเพาะอาหาร คือ โรคที่เกิดจากกระเพาะโดนน้ำย่อยกัดจนเป็นแผล แต่ความจริงแล้วมีผู้ป่วย 60-90% เป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล พบเพียงการอักเสบเล็กน้อยของกระเพาะอาหารเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะเป็นโรคกระเพาะอาหารแบบมีแผลหรือไม่มีแผล อาการของโรคก็มีความคล้ายคลึงกัน คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ หรือบริเวณเหนือสะดือ ท้องอืด อาการมักเป็นๆ หายๆ มักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว อาการปวดหรือแน่นท้องจะดีขึ้นหลังทานอาหาร หรือได้รับยาลดกรด บางรายจะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้องหรือรู้สึกไม่สบายในท้อง มีลมมากในท้อง ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น หรืออาจมีคลื่นไส้อาเจียน หรืออาการแสบร้อนยอดอกร่วมด้วย เเล้วรู้หรือไม่ว่าโรคกระเพาะอาหารเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ? เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร มีการหลั่งกรดในกระเพาะมากเกินไป หรืออาจเกิดจากความเครียด การทานอาหารรสจัด การดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และคา
กรดไหลย้อน เป็นโรคในระบบทางเดินอาหารหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคนสูงวัยและวัยทำงานที่มีความเครียดเป็นเหตุ การที่น้ำย่อย ซึ่งประกอบด้วยกรดเกลือในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไประคายต่อหลอดอาหาร และบริเวณลำคอ ทำให้มีอาการแสบลิ้นปี่ คล้ายเป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง โรคนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูดที่อยู่ตรงส่วนล่างของหลอดอาหาร ซึ่งกล้ามเนื้อหูรูดนี้จะคลายตัวเมื่อมีอาหารไหลผ่านลงไปในกระเพาะอาหาร เมื่ออาหารผ่านลงกระเพาะอาหารจนหมดแล้ว หูรูดนี้จะหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้กรดที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนนั้น กล้ามเนื้อหูรูดตรงส่วนล่างของหลอดอาหารนี้จะหย่อนสมรรถภาพ ทำให้มีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารมากกว่าปกติ โดยคนปกติไหลย้อนได้ 1-4 ครั้ง แต่ไม่ทำให้เกิดอาการแต่อย่างใด สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากความเสื่อมตามอายุ และมีความสัมพันธ์กับความอ้วน ภาวะตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน และโรคไส้เลื่อนกะบังลม โดยปัจจัยเสริมนั้นมาจากการที่มีแรงดันภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น รัดเข็มขัดแน่นเกินไป มีแก๊สมากจากอาหารที่ไม่ย่อย หรืออาหารที
ในสหรัฐอเมริกา ผู้คนเสียชีวิตด้วยสาเหตุจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง คิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด มีการคาดการณ์ว่า ปี 2020 จะมีคนเสียชีวิตประมาณ 12 ล้านคนจากโรคมะเร็ง ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีการประกาศสงครามกับโรคมะเร็ง การค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จึงเป็นแนวทางการเอาชนะโรคมะเร็งที่เหล่านักวิจัยได้มีการศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ จากความเชื่อที่ว่ามะเร็งนั้น หากพ่อแม่เป็น ลูกจะมีโอกาสสูงที่จะเป็นด้วย ความจริงแล้วปัจจัยด้านพันธุกรรมมีผลประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปัจจัยเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารก่อมะเร็งอย่างต่ำ 50 ชนิด กลไกการก่อมะเร็งของบุหรี่ เรายังไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ทราบว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกายได้ ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า Curcumin ที่สกัดจากขมิ้นชัน สามารถยับยั้งกระบวนการอักเสบที่ถูกกระตุ้นจากการสูบบุหรี่ได้ ปัจจัยด้านการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์อาจไม่ใช่สารก่อมะเร็งโดยตรง แต่ถือว่าเป็นผู้ร้ายร่วมที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดลม ถ้าสูบบ
วว. เพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทย วิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต้านอนุมูลอิสระ ผลสำเร็จจากการนำ วทน. เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้เกษตรกร เสริมแกร่งเศรษฐกิจประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดสมุนไพรไทย ระบุผลทดสอบผ่านมาตรฐานระดับสากล ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ระบุเป็นผลสำเร็จในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม เข้าไปเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย เสริมแกร่งเศรษฐกิจประเทศยั่งยืน ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า จากความเชี่ยวชาญในการสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรของ วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ประสบผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระจากสารสำคัญของสมุนไพรที่นำมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น ทั้งนี้หากมีการใช้ผลิตภัณฑ์แพร่หลายทั้งภายในและต่างประเทศ จะเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มโอกาสการสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับเกษตรกรจากการปลูกสมุนไพรนำส่งโร