ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนระดับประเทศ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตามที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ได้ประกาศยกระดับการปฏิบัติการจัดการในช่วงสถานการณ์วิกฤตโดยบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ทั้งกระทรวง องค์กรปกครองท้องถิ่นทำงานร่วมกันผ่าน 9 มาตรการ เพื่อจัดการปัญหาลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน และสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด สำหรับช่วงสถานการณ์วิกฤตในช่วงเมษายนปีนี้ องค์กรเอกชนในภาคเกษตร อย่างบริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน)ผู้จัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อผลิตอาหารสัตว์ให้กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ร่วมสนับสนุนมาตรการของรัฐบาล โดยการประกาศนโยบายไม่รับซื้อและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่บุกรุกป่าและเผาแปลง นำระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดมาใช้ในกระบวนการจัดหาข้าวโพดตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นมา ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพโปรดิ๊วส หยุดรับซื้อผลผลิตจากพื้นที่บนภูเขาลาดชัน รับซื้อผลผลิตที่มาจากแปลงปลูกมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ส่งผลให้ปัจจุบันข้าวโพดที่รับซื้อในประเทศไทยทั้งหมดสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงพื้นที่ปลูกได้ 10
ซีพีเอฟ จับมือ กรุงเทพโปรดิวซ์ เดินหน้าตามนโยบายเครือซีพี “นโยบายไม่รับซื้อและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่า และพื้นที่ที่มาจากการเผา” รณรงค์หยุดเผา เปิดแอปพลิเคชั่น “ฟ.ฟาร์ม” แจ้งเบาะแสเผาแปลงข้าวโพด หวังพิชิตฝุ่น PM 2.5 พร้อมตอกย้ำรับซื้อเฉพาะ “ข้าวโพดปลอดเผา” บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรให้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมมือโรงงานอาหารสัตว์บก เดินหน้าตามนโยบายเครือซีพี “ไม่รับซื้อและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่าและพื้นที่ที่มาจากการเผา” เปิดแอปพลิเคชั่น ฟ.ฟาร์ม แจ้งเบาะแสเผาแปลง โดยมี ผู้บริหารและพนักงานโรงงานอาหารสัตว์บก อาทิ โรงงานอาหารสัตว์บกลำพูน โรงงานอาหารสัตว์บกปักธงชัย โรงงานอาหารสัตว์บกโคกกรวด โรงงานอาหารสัตว์บกพิษณุโลก เป็นต้น ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ชวนคนไทยพบการเผาแปลง แจ้งผ่านแอปพลิเคชั่น ฟ.ฟาร์ม (For Farm Application) ป้องกันการเผาแปลงข้าวโพด ตอกย้ำความมุ่งมั่นว่าโรงงานอาหารสัตว์บกซีพีเอฟทุกแห่งรับซื้อข้าวโพดที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งปลูกที่ไม่รุกป่าและไม่เผาเท่านั
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงภาพรวมสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 1 และรุ่น 2 ปีเพาะปลูก 2567/68 ของ 6 จังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์ แพร่ และน่าน ซึ่งจากข้อมูลของ สศท.2 ณ 25 มกราคม 2567 มีเนื้อที่ปลูกรวม 1,830,889 ไร่ ลดลงจาก 1,841,036 ไร่ ของปีที่ผ่านมา (ลดลง 13,713 ไร่ หรือ ร้อยละ 0.71) เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญคาดว่าในช่วงต้นฤดูเพาะปลูกปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรบางส่วนกังวลว่าจะกระทบแล้ง จึงปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่า และยางพาราที่สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปี ผลผลิตรวม 1,257,148 ตัน ลดลงจาก 1,265,842 ตัน ของปีที่ผ่านมา (ลดลง 8,694 ตัน หรือร้อยละ 0.69) ผลผลิตเฉลี่ย 690 กิโลกรัม/ไร่ ลดลงจาก 691 กิโลกรัม/ไร่ ของปีที่ผ่านมา (ลดลง 1 กิโลกรัม/ไร่ หรือร้อยละ 0.14) เนื่องจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 1 มีสัดส่วนการเพาะปลูกมากกว่า ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ทำให้ต้นข้าวโพดเจริญเติบโต และออกดอกติดฝักไม่ดี ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้า
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด หรือ ซีพีเอฟ ได้พัฒนาและใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มาตั้งแต่ปี 2559 นับเป็นบริษัทแรกของไทยที่นำระบบนี้มาใช้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการจัดหาวัตถุดิบหลักทางเกษตรสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งปลูกที่ไม่มีการตัดไม้ทำลายป่าและการเผา ตามนโยบายของเครือซีพี “ไม่รับและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่า และพื้นที่ที่มาจากการเผา” เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมแก้ปัญหาหมอกควัน และฝุ่น PM 2.5 ระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด (Corn Traceability) ช่วยให้บริษัททราบถึงข้อมูลสำคัญของเกษตรกรและที่มาของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงพื้นที่ปลูกที่ไม่ได้มาจากการตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงวิธีการปลูก ตลอดจนสามารถติดตามการเผาแปลง ซึ่งปัจจุบัน มีเกษตรกรปลูกข้าวโพดกว่า 40,000 ราย และพ่อค้าพืชไร่ อีกกว่า 600 ราย เป็นผู้รวบรวมข้อมูลเกษตรกร ลงทะเบียนซื้อขายผลผลิตผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับ ครอบคลุมพื้นที่ปลูก กว่า 2 ล้านไร่ ปัจจุบัน การจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สำหรับกิจการในประเทศไทยของ
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ให้คู่ค้าของบริษัททั่วประเทศทุกรายใช้ข้อมูลจุดความร้อนจากภาพถ่ายดาวเทียม ตรวจจับการเผาแปลงข้าวโพดของเกษตรกรแบบระบุเป็นรายแปลง และกำกับดูแลห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายและแผนงานของโครงการ “Partner To Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” ที่ทางบริษัทเปิดตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2566 ที่ผ่านมาเพื่อลดการเผาในพื้นที่เกษตร หนึ่งในต้นเหตุปัญหาฝุ่นและหมอกควัน นายวรพจน์ สุรัตวิศิษฎ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) หรือ บีเคพี กล่าวว่า ขณะนี้ทางบริษัทเดินหน้าทำงานร่วมกับคู่ค้าทุกรายทั่วประเทศใช้ระบบตรวจจับแปลงเผา ติดตามจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในแปลงข้าวโพดของเกษตรกรที่จำหน่ายผลผลิตให้บริษัทผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับ กรณีพบจุดความร้อนในแปลงเกษตรกร คู่ค้าพันธมิตรจะต้องลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรภายใน 7 วัน หลังจากได้รับการรายงาน เพื่อชี้แจงมาตรการการรับซื้อตามนโยบาย “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” นอกจากนี้ บีเคพี
30 ตุลาคม 2566 – จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับองค์กรภาครัฐ และ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) หรือ บีเคพี ภายใต้กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรให้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดตัว โครงการ “Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” สนับสนุนคู่ค้าผู้รวบรวมและจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เครือข่ายของบีพีเค ในเขตภาคเหนือ ใช้ข้อมูลจากระบบตรวจสอบย้อนกลับและภาพถ่ายดาวเทียมติดตามการเผาแปลง และร่วมดูแลห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ปลอดการเผาตอซังในงานเปิดตัวโครงการฯ ได้รับเกียรติจาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดฯ โดยมี นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้ง ผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และคู่ค้าพันธมิตรในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ร่วมงาน ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จ.เชียงใหม่ให้ความสำคัญสูง
เครือเจริญโภคภัณฑ์และบริษัทในเครือ ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (corn traceability) ตั้งแต่ปี 2560 ยืนยันได้ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่จัดหา 100% ในกิจการประเทศไทยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งปลูกมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ปราศจากการบุกรุกพื้นที่ป่า ตลอดจนขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ปลูกรายย่อย ปลูกจิตสำนึกการไม่เผาหลังเก็บเกี่ยว และหาแนวทางเพื่อร่วมแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 สร้างหลักประกันการจัดหาข้าวโพดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นายไพศาล เครือวงศ์วานิช ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ในฐานะเป็นผู้จัดหาสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบหลักทางการเกษตรของเครือซีพี กล่าวว่า ซีพีให้ความสำคัญกับการสร้างห่วงโซ่การผลิตอาหารที่ยั่งยืน และมุ่งมั่นในการจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรอย่างรับผิดชอบสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าจากแหล่งปลูกที่ถูกกฎหมาย ไม่ตัดไม้ทำลายป่า และไม่เผา สนับสนุนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” ทั้งนี้ เครือซีพีได้พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Corn Traceability)
กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ (Feed Ingredients Trading Business Group : FIT) เครือเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำเทคโนโลยีระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (corn traceability) สอดคล้องกับมาตรฐานสากลมาใช้ สร้างหลักประกันการจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปราศจากการบุกรุกป่าและไม่เผา ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบและประสบความสำเร็จอย่างดีในประเทศไทย และยังได้ส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีการเพาะปลูกข้าวโพดจำนวนมาก นำระบบดังกล่าวไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมียนมา สปป.ลาว และเวียดนาม นายไพศาล เครือวงศ์วานิช ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ในฐานะเป็นผู้จัดหาสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบหลักทางการเกษตรของเครือซีพี กล่าวว่า ซีพีและซีพีเอฟให้ความสำคัญกับการสร้างห่วงโซ่การผลิตอาหารที่ยั่งยืน และสนับสนุนการแก้ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดน โดยมุ่งมั่นจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งปลูกที่ปราศจากการบุกรุกพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทาง “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” ตลอดจนได้พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์(Corn Traceabilit
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ และ กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์เครือซีพี (Feed Ingredient Trading : FIT) ร่วมมือกับคู่ค้าธุรกิจ และเกษตรกร หนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวรับกระแสโลก เพาะปลูกด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกและการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการไถกลบตอซังหรือเศษวัสดุแทนการเผา ช่วยรักษาดินให้ชุ่มชื้น ร่วมแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ส่งผลดีต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและผู้บริโภค นายวรพจน์ สุรัตวิศิษฏ์ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ กล่าวว่า ในฐานะเป็นผู้จัดหาสินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบหลักอาหารสัตว์ ได้ร่วมมือกับคู่ค้าผู้รวบรวมวัตถุดิบทางการเกษตร และเกษตรกรรายย่อยในการสร้างห่วงโซ่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืน รวมถึงแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ผ่านการดำเนินโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรที่เพาะปลูกในพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องสามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีแนวปฏิบัติในการเพาะปลูกที่ปลอดฝุ่นและปลอดเผา เน้น
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเลย แหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แหล่งใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจากการลงพื้นที่ของ สศก. โดยทีมสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2565 พบว่า ฤดูการผลิตปี 2565/66 ทั้ง 2 จังหวัด มีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รวมประมาณ 0.98 ล้านไร่ (นครราชสีมา 615,213 ไร่ และ เลย 369,149 ไร่) คิดเป็นร้อยละ 14.46 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ ซึ่งลดลงจากปี 2564/65 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูกรวมประมาณ 1 ล้านไร่ หรือลดลงร้อยละ 2 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จากราคาปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดแมลงและวัชพืช รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกมันสำปะหลังที่มีต้นทุนต่ำและให้ผลตอบแทนดีกว่า ด้านผลผลิตรวมของทั้ง 2 จังหวัด คาดว่ามีปริมาณ 0.74 ล้านตัน (นครราชสีมา 497,871 ตัน และเลย 246,100 ตัน) คิดเป็นร้อยละ 15.02 ของผลผลิตรวมทั