งานเกษตรแฟร์
มะขามเปรี้ยวพันธุ์ฝักยักษ์ หรือ มะขามเปรี้ยวยักษ์ เป็นสินค้าเกษตรทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะเป็นผลไม้เขตร้อนที่เติบโตได้ดีในบริเวณพื้นที่ราบจนถึงบนภูเขาสูง ปลูกได้ทุกสภาพดิน ทนแล้ง ให้ผลดก ฝักใหญ่เนื้อหนา น้ำหนักดี รสเปรี้ยวสูง ขายดีทั้งมะขามฝักสดและมะขามเปียก แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น มะขามแช่อิ่ม มะขามลอยแก้ว มะขามกวน สบู่อาบน้ำ และเครื่องสำอาง ฯลฯ ในปีนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เตรียมเปิดตัวมะขามเปรี้ยวฝักใหญ่พันธุ์ใหม่จำนวน 3 สายพันธุ์ คือ KU 80-1 KU 80-2 และ KU 80-3 ที่มีจุดเด่นสำคัญคือ ติดฝักดก ฝักใหญ่ เนื้อมาก สีสวย ผลผลิตต่อไร่สูง ขายผลผลิตได้ราคาเพิ่มมากขึ้น มะขามต้นเดียวเก็บเกี่ยวฝักได้ 3 ช่วงอายุ คือ ฝักอ่อน โดยฝักสั้นและบิดเบี้ยวไม่สมบูรณ์ก็สามารถเก็บขายแบบมะขามฝักอ่อนได้ ส่วนฝักแก่ สามารถแปรรูปเป็นมะขามดองหรือแช่อิ่มออกขายได้ ส่วนฝักสุก เนื้อสุกฉ่ำน้ำไม่แห้ง เหมาะสำหรับเก็บเป็นเนื้อมะขามเปียก ใช้ประกอบอาหารหรือใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง KU 80-1 KU 80-2 และ KU 80-3 เป็นผลงานวิจัยของทีมอาจารย์ นักวิชาการเกษตร นำโดย นายเรืองศักดิ์ กมขุนทด นักวิชาการเกษตร ชำน
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2567 เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2567 พร้อมด้วย ผศ.ดร.นุชนาถ มั่งคั่ง รองอธิการบดีฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน ประธานอนุกรรมการฝ่ายตลาดนัดและสิทธิประโยชน์ รศ.ดร.จีมา ศรลัมพ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาอย่างยั่งยืนและสื่อสารองค์กร ผู้แทนประธานอนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมนิสิต ร่วมในการแถลงข่าว ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการจัดงานเกษตรแฟร์ในปีนี้ มุ่งเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยออกสู่สังคม เปิดการเรียนรู้ให้กับนิสิต บุคลากร และอาจารย์ โดยใช้งานเกษตรแฟร์ เป็นห้องปฏิบัติการภาคสนามเพื่อถ่ายทอดความรู้ทุกมิติจากห้องเรียน ช่วยเหลือสังคมประชาชน เป็นช่องทางในการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการให้มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน กลับไปสู่ชุมชนและสังคม สร้างความสุขให้กับครอบครัว การจัดงานในปีนี้ มุ่งยกระดับงานเกษตรแฟร์สู่สากลเป็นปีที่ 2 โดยได้รับ
การจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2566 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อวันที่ 3-11 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งของงานให้กับนิสิต เพื่อออกบูธร้านค้าในโซนนิสิต กองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย ผศ.รัชด ชมภูนิช รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้จัดโครงการ “KU Smart Entrepreneur” เมื่อวันที่ 9-10 มกราคม 2566 ณ ชั้น 4 อาคารเทพศาสตร์สถิตย์ มก. โดยมีนิสิตเข้าร่วมโครงการรวม 919 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่นิสิตที่มาร่วมออกบูธร้านค้างานเกษตรแฟร์ ในหัวข้อต่างๆ อย่างครอบคลุม ได้แก่ “การจัดการบัญชีต้นทุนฉบับ Minimal” โดย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน (ดร.สุวพร ผาสุก), “กลยุทธ์ออกร้านในงานเกษตรแฟร์” โดย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาอย่างยั่งยืนและสื่อสารองค์กร (ผศ.ดร.ศิริรัตน์ โกศการิกา), “ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก โดนใจผู้บริโภค” โดย ดร.ภูฤทธิ์ เงินชัย ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร และ “การประยุกต์ใช้ SDGs กับร้านค้านิสิต” โดย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาอย่างยั่งยืนและสื่อสารองค์กร (รศ.ดร.จีมา ศรลัมพ์) ซึ่งในงานเกษตรแฟร์ปีนี้ ยังได
การจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2566 ที่ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อวันที่ 3 – 11 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งของงานให้กับนิสิต เพื่อออกบูธร้านค้าในโซนนิสิต จากนโยบายของ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ต้องการให้นิสิตออกนอกห้องเรียนเพื่อมาเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการจริงในงานเกษตรแฟร์ ซึ่งเป็นห้องเรียนภาคสนาม หรือ Kasetfair Learning Platform โดยได้มีการติดอาวุธทางปัญญาจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่นิสิตที่มาออกบูธร้านค้า เพื่อการพัฒนาคุณภาพร้านค้านิสิต ฝึกฝนทักษะผู้ประกอบการ การให้บริการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริหารจัดการร้านค้าให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กองพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย ผศ.รัชด ชมภูนิช รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้จัดโครงการ “KU Smart Entrepreneur” เมื่อวันที่ 9 – 10 มกราคม 2566 ณ ชั้น 4 อาคารเทพศาสตร์สถิตย์ มก. โดยมีนิสิตเข้าร่วมโครงการรวม 919 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่นิสิตที่มาร่วมออกบูธร้านค้างานเกษตรแฟร์ ในหัวข้อต่าง ๆ อย่างครอบคลุม ได้แก่ “การจัดการบัญชีต้นทุนฉบับ Minimal” โดย ผู้ช่วย
วันที่ 30 มกราคม 2565 ศ.พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. มอบหมายให้ รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. และโฆษกกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน “อว. BCG Market” ในงานเกษตรแฟร์ ปี 2565 พร้อมเยี่ยมชมบูธผลงานวิจัยกว่า 100 ผลงาน โดยมี ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวต้อนรับ และ ดร. จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวรายงานโครงการ อว. BCG Market” ณ เวที หน้าศาลาหกเหลี่ยม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร พิธีเปิดงาน “อว. BCG Market” ในงานเกษตรแฟร์ ปี 2565 เป็นพิธีเปิดงานที่ให้ผู้มาร่วมงานช่วยกันจับผ้าพันคอและแกะผ้าพันคอที่จัดเตรียมไว้ ใครจับผ้าพันคอผืนไหนก็จะได้ผ้าผืนนั้นกลับไป ถือเป็นการเปิดงานที่พิเศษ และในเวลาต่อมา รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมจัดบูธงาน “อว. BCG Market” ในงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 “เกษตรวิถีใหม่ หลังมหันตภัยโควิด” ระหว่างวันที่ 28 มกราคม–5 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศาลาหกเหลี่ยม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) นำมาพัฒนาคุณภาพและยกระดับให้ได้มาตราฐาน รวมถึงการสร้างสรรค์ สร้างรายได้ช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการ ให้มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ อีกด้วย ผลิตภัณฑ์ในบูธที่ วช. นำมาจำหน่ายในงาน “อว. BCG Market” ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. ทุกผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ อาทิ เบเกอรี่ลดพลังงานจากผลไม้ท้องถิ่น เค้กกล้วยหอมทอง เค้กสับปะรดศรีราชา เค้กขนุน เค้กส้มสายน้ำผึ้ง ร้านสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่, Envi Mask หน้ากากนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 และฝุ่น PM 2.5 ร้าน Envi Mask, กาแฟดอยเจดีย์ DOL CHEDI COFFEE AND GREEN TEA ร้านผลิตภัณฑ์ออแกนิค จังหวัดเชียงราย, น้ำพริกจากหัวปลา
ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม ประเทศไทยเผชิญสภาพอากาศขมุกขมัว เนื่องจากสภาพอากาศนิ่ง ไม่มีกระแสลม ทำให้มีหมอกควันพิษที่เกิดจากการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เกินกว่าค่ามาตรฐาน เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน เพราะฝุ่นละออง PM 2.5 สามารถผ่านทางเดินหายใจสู่ปอดและกระแสเลือดได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคระบบทางเดินหายใจ กระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก ฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล การก่อสร้าง ภาครัฐจึงวางแผน แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นวาระแห่งชาติ เช่น ควบคุมพื้นที่ก่อสร้าง ที่ก่อให้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ลดการเผาวัชพืช ลดการใช้รถเก่าที่ก่อให้เกิดควันดำกิจกรรมการปิ้ง-ย่างอาหาร เช่น หมูกระทะ หมูปิ้ง ไก่ย่าง ปลาเผา ปลาหมึกย่าง ฯลฯ นับเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง PM 2.5 โดยวัดจากค่าอัตราการระบายฝุ่น (Emission rate) มีผลวิจัยยืนยันแล้วว่า กิจกรรมการปิ้งย่างอาหารมีการระบายมลพิษออกสู่บรรยากาศ สามารถสร้างฝุ่นละออง PM 2.5 สูงกว่ารถยนต์ถึง 2 เท่าตัว ดังนั้นร้านขายอาห
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการ พร้อม ช็อป ชิม แชร์ และร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 25 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2562 ณ อาคารวชิรานุสรณ์ (โซน K และ J) คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ประกอบด้วย 1. นิทรรศการ วิถีไทย วิถีเกษตร ช็อป ชิม แชร์ : จำหน่ายอาหาร และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร กว่า 50 รายการ อาทิ ฝรั่งแช่บ๊วย น้ำนมข้าวโพด มะขามป้อมแปรรูป มะม่วงแปรรูป เค้กกล้วยตาก บราวนี่ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ปลานิลแดดเดียว ปลาสลิด ปลาช่อน ข้าวสาร ผักสด สบู่โลชั่นโปรตีนไหมอีรี่ กล้าไม้ ต้นไม้ ชุดปลูกพืช ชุดตรวจสอบดิน ถ่านกะลามะพร้าว น้ำส้มควันไม้ เป็นต้น 2. นิทรรศการเทคโนโลยีทางการเกษตร : นวัตกรรมการผลิตพืชและสัตว์ทางการเกษตร อาทิ ระบบเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อม พืชสวนในสิ่งแวดล้อม ชุดปลูกเมล่อนพลังงานแสงอาทิตย์ ควินัวอาหารทางเลือกในอนาคต ข้าวโพดอุตสาหกรรมและอาหารสัตว์ ประโยชน์จากมันสำปะหลัง แมลงผสมเกสร จุลินทรีย์สุขภาพพืช และปศุสัตว์ 4.0 3. เวทีวิชาการ : อบรม สาธิต และแจกฟรี!!! เอกสาร “อาชีพเสริม เพิ่มรายได้…เข้าใจง่าย…รวยเร็ว”
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิญเกษตรกรและผู้ประกอบการ ร่วมประกวดกล้วยไม้ตัดดอก ในงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2562 ในวันเสาร์ที่ 26 มกราคม 2562 ณ โถงชั้น 1 อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยการประกวดแบ่งเป็น 4 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 กล้วยไม้ตัดดอก 5 ช่อ แบ่งเป็น 6 สกุล ได้แก่ 1. สกุลหวาย 2. สกุลมอคคาร่าและสกุลใกล้เคียง 3. สกุลแวนด้าและสกุลใกล้เคียง 4. สกุลออนซิเดี้ยม 5. สกุลรีแนนเธอร่าและสกุลใกล้เคียง 6. สกุลอื่นๆ หมวดที่ 2 พวงมาลัยดอกกล้วยไม้ 2 ชุด ได้แก่ 1. พวงมาลัยคล้องข้อมือ 2. พวงมาลัยคล้องคอ (ใช้ดอกกล้วยไม้ ไม่น้อยกว่า 80%) หมวดที่ 3 การแข่งขันจัดดอกกล้วยไม้ในภาชนะ 2 ชุด ได้แก่ 1. ภาชนะทรงสูง 2. ภาชนะทรงแบน (ดอกกล้วยไม้ ใบไม้ โอเอซิส แจกัน กรรไกร และมีด จะจัดเตรียมให้ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ผู้เข้าแข่งขันจัดเตรียมมาเอง) รับสมัครเวลา 09.00-12.00 น. (รับจำนวนจำกัด) เริ่มแข่งขันเวลา 13.00 น. หมวดที่ 4 ช่อดอกกล้วยไม้แสดงความยินดี (สำหรับถือ) โดยใช้ดอกกล้วยไม้เป็นหลัก ไม่น้อยกว่า 80% ผู้สนใจสามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ในวันที่ 26 มกราคม 2562 โดยรับผลงาน เวลา 09.00-12.00 น. ตัดส
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2560 ภายใต้แนวคิด “ศาสตร์แห่งแผ่นดิน ทำกินตามคำพ่อสอน” ในระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2560 ณ บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2560 ว่า งานเกษตรแฟร์ ปีนี้ จัดภายใต้แนวคิด “ศาสตร์แห่งแผ่นดิน ทำกินตามคำพ่อสอน” เพื่อน้อมนำศาสตร์พระราชาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานให้คนไทยเป็น เวลายาวนาน มาใช้เป็นแนวปฏิบัติในการทำงาน การดำรงชีพ ดังปรากฎให้เห็นชัดเจน คือ โครงการพระราชดำริ ต่างๆ กว่า 4,000 โครงการ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ หลักการทรงงาน ตลอดจนพระราชดำรัส พระบรมราโชวาทที่พระองค์ได้พระราชทานให้กับหน่วยงาน คณะบุคคล และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มากว่า 70 ปี อยากให้นำสิ่งที่พระองค์ทรงสอนทรงทำเป็นตัวอย่างให้เห็น มาบูรณาการและเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อให้ประเทศชาติได้พัฒนาอย่างยั่งยืน และประชาชนคนไทยได้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีนักวิจัย นักวิชาการที่ได้สร้างศาสตร์แห่งแผ่