จังหวัดฉะเชิงเทรา
เห็นชื่อเรื่องแล้วหลายคนคงอดสงสัยว่า กบ ที่คุณรุ่งเพชร แหลมสิงห์ อดีตนักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังเจ้าของเพลง “ฝนเดือนหก” เป็นชนิดเดียวกันกับที่ชาวบ้านนำไปเลี้ยงแล้วมีรายได้เป็นล้านหรือไม่ คำตอบคือ ใช่ จากเคยเป็นเพียงอาหารธรรมดาของชาวบ้านตามหมู่บ้านท้องถิ่น ตอนนี้กบกลายเป็นเมนูแสนอร่อยของคนทุกเพศทุกวัยไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กบทอด ยำกบ ผัดพริกกบ ฯลฯ จนทำให้ตลาดผู้บริโภคมีความต้องการมาก ขณะที่ได้เกิดอาชีพเลี้ยงกบกันอย่างแพร่หลายแล้วเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงนับได้ว่ากบเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน ถึงแม้กบจะเลี้ยงไม่ยาก แต่การเลี้ยงกบให้มีคุณภาพเพื่อเกิดรายได้ดีจำต้องมีเทคนิคควบคู่ไปด้วย เช่นเดียวกับชาวบ้านที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวมกลุ่มกันเลี้ยงกบแบบครบวงจร ส่งขายตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทำให้มีรายได้กันเป็นแสนเป็นล้านบาทต่อปี แล้วยังถือเป็นแหล่งเพาะ-ขายพันธุ์กบแห่งใหญ่ของประเทศด้วย แต่อะไรคือเหตุผลที่ชาวบ้านกลุ่มนี้ถึงได้มีศักยภาพในการเลี้ยงกบจนได้โกอินเตอร์เช่นนี้ คุณวรมิตร ศิลปชัย นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำ
นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รศ.ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ นายวิบูลย์ พึงประเสริฐ นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย นางสมจิตร์ พันธุ์สุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลท่าข้าม และ นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ผู้บริหารโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ ในฐานะผู้แทนบริษัท ดับเบิ้ลพี แลนด์ จำกัด ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลงานวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ภายใต้ BCG โมเดล เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาล ในการสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและชุมชน ขับเคลื่อนพื้นที่ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี พร้อมนำร่องตำบลท่าข้ามเป็นโมเดลพื้นที่บริหารจัดการวัสดุเหลือทิ้ง/ขยะชุมชน ให้เป็น “Zero waste” และขยายผลสู
“แปลงใหญ่ไผ่ ท่าตะเกียบ” บริหารพัฒนากลุ่มสู่ความสำเร็จ เพิ่มพูนรายได้ยั่งยืน สมคำขวัญ “ถิ่นช้างใหญ่ หน่อไผ่สวย” นายประสิทธิ์ รูปต่ำ ประธานแปลงใหญ่ไผ่ หมู่ที่ 9 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า อำเภอท่าตะเกียบ ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งพื้นที่แถบนี้มักประสบปัญหาช้างป่าเข้ามาทำลายพืชผลทางการเกษตร เนื่องจากมีช้างป่าอาศัยและหากินจำนวนมาก เกษตรกรในพื้นที่จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนมาปลูกไผ่ตงแทนพืชชนิดอื่นที่ช้างชอบกิน เนื่องจากไผ่ในป่าธรรมชาติมีมาก จึงไม่เป็นเป้าหมายของช้างป่า ที่สำคัญเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตไปจำหน่ายได้แทบทุกส่วน ทั้งหน่อ ลำ รวมถึงกิ่งพันธุ์ ต่อมาเกษตรกรจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็น “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่อำเภอท่าตะเกียบ” ขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ 2561 ได้เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยมีเป้าหมายที่จะร่วมกันผลิต ร่วมกันจำหน่าย ปัจจุบันแปลงใหญ่ไผ่มีสมาชิกจำนวน 40 ราย พื้นที่ปลูก 352 ไร่ โดยสมาชิกจำนวนทั้งหมด 40 ราย ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) รายบุคคล นอกจากนี้ ทางกลุ่มแปลงใหญ่ไผ่
จากปัญหาช้างป่าบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร โดยเฉพาะในเขตพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัดของภาคตะวันออก ด้วยมีสาเหตุจากที่ช้างป่าขาดแคลนแหล่งอาหาร ทำให้มีการเคลื่อนย้ายพื้นที่หากิน จึงลงมาที่แปลงเกษตรกรรมของเกษตรกร ทำความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตรของเกษตรกร โดยมีหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จำนวน 22 อำเภอ 56 ตำบล 299 หมู่บ้าน ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่ ในการอยู่ร่วมกันกับช้างป่าท่ามกลางความรุนแรงที่ทวีมากขึ้น โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ คือโครงการสำคัญที่ดำเนินการในการแก้ไขปัญหา เพื่อทำให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับช้างป่าได้อย่างสมดุลในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การจัดการพื้นที่ป่า ด้านที่ 2 การจัดการพื้นที่แนวกันชน และ ด้านที่ 3 การจัดการพื้นที่ชุมชน โดยเน้นกลไกการทำงานร่วมกัน เชื่อมและประสานงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ทุกภาคส่วน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร
นางสาวมุกดา สุวรรณ์เจริญ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เข้าร่วมนำเสนอการประเมินและคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษา เขตภาคกลาง ประจำปีการศึกษา 2563 ณ ห้องประชุมโชคอนันต์ ชั้น 2 อาคารเรียนรวมและอำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
กรมหม่อนไหมนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ภาคตะวันออก โชว์เคสความสำเร็จอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างความมั่นคงในอาชีพให้เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย อำเภอท่าตะเกียบ ยกระดับให้เป็นแหล่งการผลิตได้มาตรฐานสินค้าเกษตร สร้างรายได้เข้าชุมชนปีละกว่า 2 ล้านบาท และพัฒนาเยาวชนในพื้นที่จนได้รางวัลทายาทหม่อนไหมดีเด่นระดับประเทศ ปี 60 กรมหม่อนไหม นำโดย นางนงลักษณ์ เกตุเวชสุริยา รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ภาคตะวันออกที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2563 ตามโครงการสื่อมวลชนสัญจร ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ ภารกิจ รวมถึงผลงานของกรมหม่อนไหม พร้อมทั้งเผยแพร่พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถของของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในงานด้านหม่อนไหม และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อผู้ประกอบอาชีพหม่อนไหม และวงการไหมไทย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหม่อนไหมให้คงอยู่เป็นมรดกประจำถิ่นและเป็นสมบัติของชาติสืบไป รวมถึงการส
จังหวัดฉะเชิงเทรา นับเป็นแหล่งผลิตมะม่วงคุณภาพดี ชื่อดังของประเทศ ผลผลิตส่วนใหญ่ถูกใช้บริโภคภายในประเทศและส่งออกแล้ว มะม่วงส่วนหนึ่งถูกนำมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในลักษณะ “ มะม่วงดอง มะม่วงกวน ” ภายใต้แบรนด์ “วรพร” สินค้าดังกล่าวมีรสชาติอร่อย ขายดี มีวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าชื่อดังทั่วประเทศ และเป็นสินค้าส่งออกขายกว่า 10 ประเทศทั่วโลก ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพให้ชาวบ้านและเกษตรกรได้เป็นร้อยคน นับเป็นผลิตภัณฑ์โอท็อปที่สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้แก่ชาวแปดริ้วจนถึงทุกวันนี้ ธุรกิจหลังบ้าน… โกอินเตอร์ คุณแชมป์ หรือ คุณชัยพร โสธรนบุตร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บริษัท ผลไม้แปรรูปวรพร จำกัด ทายาทธุรกิจมะม่วงแปรรูป แบรนด์ “วรพร” เล่าถึงความเป็นมาของกิจการว่า เมื่อ 60 กว่าปีก่อน อากง “ ไต่ไห้ แซ่โค้ว ” เป็นชาวจีนอพยพได้โล้เรือสำเภามาจากเมืองซัวเถามาขึ้นชายฝั่งประเทศไทยที่ จ.ฉะเชิงเทรา อากงไต่ไห้เห็นว่า ช่วงฤดูร้อน เมืองแปดริ้ว มีผลผลิตมะม่วงจำนวนมาก ขายในราคาถูก จึงได้นำภูมิปัญญาการดองผลไม้ตามตำรับชาวจีนซัวเถามาใช้ดองมะม่วง เพื่อผลิตเป็นสินค้าออกขายหน้าบ้าน โดยนำมะม่ว
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผมโชคดีได้ไปร่วมเป็นคนครัวคนหนึ่งในงานกิจกรรมเล็กๆ ที่บ้านเขาดิน ตำบลเขาดิน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา งาน “วิถีเขาดิน…วิถีแห่งความสุข” จัดขึ้นโดยเครือข่ายเพื่อนตะวันออก มีการพาคณะผู้เข้าร่วมไปดูพื้นที่นิเวศ 3 น้ำ และการทำ “นาขาวัง” ก่อนจะกลับมายังพื้นที่งานช่วงเย็น คือบ้านของ “ไต๋น้อง” คุณประสิทธิ์ ลิ้มซิม ริมคลองอ้อมเขาดิน อันเป็นลำน้ำบางปะกงสายเก่า พูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์พื้นที่ กับร่วมรับประทานอาหารเย็นที่ปรุงด้วยวัตถุดิบท้องถิ่นเท่าที่ยังหาได้ “สถานการณ์” ส่วนใหญ่ก็เป็นข่าวคราวการเปลี่ยนแปลงนโยบายผังเมืองรวม ทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำย่านนี้ถูกจัดสรรในกรอบมุมมองใหม่ และกำลังจะกลายเป็นย่านโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธี่ยมขนาดใหญ่ ที่ย่อมส่งผลให้ชีวิตของชุมชนเดิมที่นี่ต้องพลิกผันเปลี่ยนแปลงไปชนิดสุดหยั่งคาด เรื่องราวทำนองนี้คงต้องออกแรงต่อสู้กันไปอีกนาน อย่างน้อย ผู้คนร่วมโต๊ะที่ได้ชิมสำรับอย่างแกงส้มปูทะเล หลนปูแสมเค็ม เนื้อปลากะพงผัดพริกใบกะเพรา ผัดสายบัว แกงคั่วหัวโหม่ง (ลูกจากอ่อน) หัวปลาต้มกระจับ และปลาหมอเทศแดดเดียวทอด ก็คงได้ร่วมรับรู
ในเดือนพฤษภาคม 2563 บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) นำโดย นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ส่งมอบห้องตรวจปลอดเชื้อความดันบวกและห้องหัตถการแรงดันลบมูลค่า 1.8 ล้านบาท แก่โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยได้รับเกียรติจาก นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานในพิธีรับมอบ พร้อมด้วย นายแพทย์มณเฑียร คณาสวัสดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา และ แพทย์หญิงสมบัติ ชุติมานุกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร ร่วมเป็นสักขีพยาน โรงพยาบาลพุทธโสธร เป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจากภารกิจการให้บริการในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน และรักษาโรคในภาวะปกติแล้ว ตลอดช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาโรงพยาบาลได้ทำงานอย่างหนักเพื่อคัดกรองและตรวจรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดใกล้เคียง เช่น สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร และนนทบุรี โดยทางโรงพยาบาลจะใช้ห้องตรวจปลอดเชื้อความดันบวกและห้องหัตถการแรงดันลบจากบ้านปูฯ เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 รวมถึงผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ซึ่งห้องตรวจนี้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพ
การใช้ชีวิตอยู่บนความฝันของคนอื่น อาจมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ไม่มีความสุข เมื่อความฝันของตัวคุณเองถูกละเลย “คุณมุก – ณัชคิรากร ดำชมทรัพย์” เกษตรกรปริญญาโทเมืองแปดริ้ว จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำในบริษัทเอกชน เพื่อไล่ตามความฝันของตัวเองในฐานะเกษตรกร ที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพได้อย่างน่าทึ่ง จบคอมพิวเตอร์ แต่ได้ดีในสายงานเกษตร คุณมุก นักศึกษาปริญญาโทรายนี้ สนใจเรียนสายเกษตร ตั้งแต่ ม. 3 ช่วงนั้นธุรกิจคอมพิวเตอร์กำลังบูม คุณแม่แนะนำให้เธอเรียนด้านคอมพิวเตอร์เพื่อให้จบแล้วมีงานทำแน่นอน คุณมุกยอมรับว่า ตอนนั้น เธอยังไม่รู้จักตัวเองมากพอ จึงตัดสินใจเรียนในสาขาธุรกิจคอมพิวเตอร์ ตามความต้องการของคุณแม่ หลังเรียนจบในปี 2540 เธอทำงานกับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ได้ประมาณ 2 ปี ก็ตัดสินใจลาออกเพื่อทำอาชีพเกษตรกรที่เธอใฝ่ฝัน จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอมีสภาพภูมิประเทศเอื้อต่อการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา คุณมุกจึงตัดสินใจเช่าบ่อกุ้งร้าง เนื้อที่ 20 ไร่ เพื่อนำมาเลี้ยงกุ้งขาว เพราะเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง เป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป ต่อมาเจอวิกฤตราคากุ้งตกต่ำ และมีปัญหาโรคกุ้ง จึงเปลี่ยน