จังหวัดชัยภูมิ
นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (สศท.5) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จังหวัดชัยภูมิเป็นแหล่งผลิตส้มโอที่สำคัญ มีเนื้อที่ปลูกมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566) พบว่า มีเนื้อที่ปลูก จำนวน 4,640 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 65.98 ของเนื้อที่ปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส้มโอเป็นสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพด้านการผลิตและสร้างมูลค่าให้กับจังหวัด โดยแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ที่อำเภอบ้านแท่น มีเนื้อที่ปลูก จำนวน 2,937 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 63.30 ของเนื้อที่ปลูกในจังหวัดชัยภูมิ พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก คือ พันธุ์ทองดี มีรสชาติกลมกล่อมเป็นเอกลักษณ์ เนื้อกุ้งสีขาวอมชมพู ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI) เมื่อปี 2562 จำหน่ายภายใต้ชื่อ “ส้มโอทองดีบ้านแท่น” ซึ่งเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของสินค้า โดยจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างมาก รวมถึงสร้างมูลค่าให้กับจังหวัดชัยภูมิ 45 ล้านบาท/ปี จังหวัดชัยภูมิได้คัดเลือกส้มโอทองดีบ้านแท่นให้เป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูงเพื่อส่งออ
นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (สศท.5) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “อะโวกาโด” เป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ ได้รับความนิยมสูงจากผู้บริโภคซึ่งปัจจุบันพบปลูกในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยโซนแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า “สวนเทพนา” บ้านเทพพนา ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เป็น 1 ใน 7 ของผู้ปลูกอะโวกาโดพันธุ์แฮสส์ (Hass) ของประเทศไทย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก ทั้งคุณภาพและราคา ผลผลิตต้านทานการเจาะทำลายของแมลงได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่น อีกทั้ง ยังเป็นสายพันธุ์เดียวที่สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันอะโวกาโด โดยจับมือกับภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา จัดทำโครงการพัฒนาสายพันธุ์อะโวกาโดด้วยการเปิดศูนย์เรียนรู้เพื่อสร้างมาตรฐานการผลิตต้นพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา การแปรรูป และยังวางเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ให้ดีขึ้น สศท.5 ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การผลิตอะโวกาโดของสวนเทพนา พบว่า มีเนื้อที่ปลูกทั้งหมด 30 ไร่ ปลูกทั้งหมด 1,500 ต้น (เฉลี่ย 50 ต้น/ไร่) เริ่มดำเนินการในปี 2562 ซึ่งทางสวนปลูกอะโวกาโดด้วยร
วช.สนับสนุนนักวิจัย มก. พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลระดับตื้นและการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดชัยภูมิ ช่วยอนุรักษ์น้ำบาดาลให้มีใช้อย่างยั่งยืนและลดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดร.วิภา รัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหลายจังหวัดที่ประสบปัญหาภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค อย่างเช่น จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับโครงการ “การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลระดับตื้นและการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดชัยภูมิ” ภายใต้แผนงานหลักการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการความมั่นคงของน้ำ ระยะเวลาโครงการ 1 ปี ซึ่งมี รศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ จากภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เป็นหัวหน้าทีมวิจัย เพื่อศึกษาความเหมาะสมพื้นที่ในการจัดทำระบบเติมน้ำใต้ดินของจังหวัดชัยภูมิ และดำเนินการนำร่องในการจัดสร้างระบบเติมน้ำใต้ดินในจังหวัดชัยภูมิโดยชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งใ
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย นายชาญชัย ศรศรีวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ และเครือข่ายวิจัยภูมิภาค: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ร่วมประชุมเตรียมการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “อารยะศิลป์ ชัยภูมิ”พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ (เฮือนคำมุ) ณ ศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมล้านช้างในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน เป็นการดำเนินงานของ วช. ร่วมกับเครือข่ายวิจัยภูมิภาคทั้ง 4 ภูมิภาค เพื่อเป็นกลไกในการสร้างความยั่งยืนในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนและคุณภาพชีวิตให้กับท้องถิ่น บูรณาการความร่วมมือในการจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยชุมชน”ในภูมิภาคต่าง ๆโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ชุมชน หรือสังคม ได้เข้าถึงงานวิจัยและนวัตกรรม และสามารถนำไปใช้งานได้จริง เชื่อมโยงพัฒนาการประกอบอาชีพ และวิถีชีวิตความเป็น
จากเหตุการณ์น้ำท่วมเมืองชัยภูมิในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ภัยพิบัติหลายครัวเรือน แม้ว่าน้ำจะลดลงบ้างแล้วแต่ก็ยังมีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ หลายหมู่บ้านยังคงเดินทางเข้าออกไม่ได้ นายไชยกร นิธิคณาวุฒิ ประธานกรรมการบริษัทจินดาสมุนไพร จำกัด กล่าวว่า จินดาสมุนไพร มองเห็นความเดือดร้อนของประชาชน อีกทั้งยังมีหมู่บ้านของพนักงานจินดาสมุนไพรได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ด้วย จึงได้จัดหาสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นอย่างน้ำดื่ม สินค้าอุปโภค บริโภค ยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์แชมพู โดยสิ่งของทั้งหมดมีลูกค้า และผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสมทบทุนจัดซื้อเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้ ทั้งนี้ จินดาสมุนไพร ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้าน บ้านโนนหว้านไพล ต.ชีลอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ ที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง หลายบ้านยังคงจมน้ำอยู่ และสิ่งของจำเป็นเหล่านี้น่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ในช่วงนี้เป็นต้นไปจนถึงเดือนตุลาคม หากใครมีโอกาสผ่านไปที่อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ไม่ควรพลาดที่จะไปลิ้มรสทุเรียนรสชาติคล้ายเนยที่สวนนราทอง ซึ่งเป็นสวนทุเรียนแห่งแรกของจังหวัดชัยภูมิที่ได้รับการรับรองแหล่งผลิตตามมาตรฐาน GAP จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชัยภูมิ กรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 โดยมีนายธงชัย นราทอง และนางสอาด นราทอง เป็นเจ้าของสวนทุเรียนซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ อย่างไรก็ตาม ก่อนจะมาเป็นสวนทุเรียนในวันนี้ เจ้าของสวนรายนี้เคยประกอบอาชีพค้าขายแตงโมมาก่อนที่จะเริ่มปลูกทุเรียนในปี พ.ศ. 2556 เนื่องจากอำเภอเทพสถิตมีสภาพพื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของทุเรียน และยังเป็นพืชที่เป็นที่ต้องการของตลาดและให้ผลตอบแทนสูง โดยเริ่มต้นจากปลูกทุเรียนในพื้นที่ 200 ไร่ ซึ่งขั้นตอนแรกของการผลิตทุเรียนให้ประสบผลสำเร็จนั้นนายธงชัยบอกว่าจำเป็นต้องมีการจัดการเรื่องระบบน้ำที่ดีจึงติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ และขุดบ่อน้ำขนาดพื้นที่ 14 ไร่ จากอีกฝั่งของสวนเพื่อส่งน้ำมายังสวนทุเรียนให้เพียงพอต่อความต้องการน้ำในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต โดยมีการให้น
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เดินหน้าสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน และผลิตอาหารปลอดภัย ชู “โครงการสร้าง สาน สุข วิถีชุมชน ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านซับรวงไทร จังหวัดชัยภูมิ” ปลูกผักปลอดสารเคมี 100% ต้นแบบเกษตรอินทรีย์ สร้างอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน สอดรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ นายปราโมทย์ รู้ทวีผล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน 3 เสาหลัก คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ พร้อมทั้งปลูกฝังให้พนักงานคิดสร้างสรรค์โครงการเพื่อตอบแทนสังคมและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ ซึ่งโครงการ สร้าง สาน สุข วิถีชุมชน ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านซับรวงไทร จังหวัดชัยภูมิ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่สนับสนุนเกษตรกรและชุมชน หมู่ที่ 4 ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ รวมตัวกันปลูกผักปลอดภัยปราศจากสารเคมี 100% เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน ผลิตอาหารปลอดภัย สร
หากใครอยากทำเกษตร โดยใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มที่และคุ้มค่า ขอแนะนำให้ทำเกษตรในรูปแบบ “เกษตรยกกำลัง 2” ซึ่งใครๆ ก็ทำตามได้ไม่ยาก ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ 1 ไร่ ควรปลูกพืช ตั้งแต่ 2 ชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ใช้พริกเหลืองอินโดเป็นฐาน ปลูกแซมด้วยดาวเรือง เป็นพืชเสริมรายได้ หลังจากปลูกดูแลประมาณ 2 เดือน เกษตรกรสามารถเก็บดอกดาวเรืองออกขายได้ ทุก 3 วัน ต่อ 1 ไร่ จะมีรายได้เฉลี่ย 3,000-5,000 บาท คำนวณง่ายๆ 1 เดือน จะมีรายได้ประมาณ 2 หมื่นบาทนั่นเอง วิสาหกิจชุมชนตลาดเกษตรลอยฟ้า อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ( โทร. (063) 574-6172) แนะนำให้เกษตรกรปลูกและเก็บดาวเรืองดอกสดออกขายตลาด ส่วนดอกเสีย ให้ผลิตเป็นดอกดาวเรืองแห้งแปรรูป ส่งจำหน่ายกับวิสาหกิจชุมชนตลาดเกษตรลอยฟ้า ที่รับซื้อผลผลิตดอกดาวเรืองแห้งจำนวนมาก ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถปลูกและเก็บดาวเรืองประมาณ 2 เดือน ก็จะหมดดอก พริกเหลืองอินโดที่ปลูกไว้จะเริ่มสุก เก็บต่อเนื่องไปทุก 3-5 วัน โดยทั่วไปพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 80-100 กิโลกรัม สามารถขายได้ในรายได้ประกัน 60 บาท ต่อกิโลกรัม จะขายได้ 6,000 บาท ต่อครั้ง หรือต่อ 5 วัน เก็บนาน 3 เ
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563 พลตำรวจเอกเฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พร้อมด้วยนายกุลพัชร ภูมิใจอวด รองผู้อำนวยการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ บจธ. นายเอก วรรณประทีป รองผู้อำนวยการ นายศรีชา ม่วงไข่ ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการที่ดิน 2 นายสุทธิโรจน์ คำมั่น ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล ประชุมชี้แจงภารกิจ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินและบูรณาการการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดขัยภูมิ นายกอบชัย บุญอรณะ และหัวหน้าส่วนราชการ รวมทั้งผู้แทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ นายกอบชัย อธิบายว่าพื้นที่ชัยภูมิส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ มีที่ดินทำกินประมาณร้อยละ 50 และเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิคือฉโนดที่ดินและ นส.3 ก เพียงครึ่งหนึ่งของที่ดินทำกิน ปัญหาจึงต่างกับจังหวัดอื่นๆ แต่การมาของบจธ. ถือว่าเป็นช่องทางที่ดีมาก เพราะประชาชนที่เดือดร้อนจากการจำนอง จำนำที่ดินมีจำนวนมาก “ ทางจังหวัดอยากเสนอให้ บจธ. มีเจ้าหน้าที่มาประจำ เพื่อประสานกับจังหวัดและจะเร่งจัดประชุมคณะกรรมการเรื่องที่ดินและป่าไม้ ขอให
นักวิจัยถอดบทเรียน “ปลูกพริกพื้นที่น้อย เหลือเงินมาก” หนุนโครงการพริกแปลงใหญ่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแพร่ ถือเป็นตัวอย่างที่นำนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ของรัฐบาลมาดำเนินการและได้ผลดีเพราะมีการรวมกลุ่มวิสาหกิจดำเนินงานบนฐานงานวิจัย “พริกปลอดภัย” สกสว. และหน่วยงานรัฐสนับสนุนต่อเนื่อง หลังจากประสบความสำเร็จในการทำโครงการ “พริกปลอดภัย” ที่จังหวัดชัยภูมิในปี 2553 อาจารย์วีระ ภาคอุทัย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ประเมินภาพรวมทั้งจังหวัดพบว่ามีมูลค่าการขายพริกประมาณ 900 ล้านบาท มูลค่าจ้างเก็บพริกประมาณ 300 ล้านบาท ทำให้มีการขยายผลโครงการไปยังพื้นที่อื่นๆ เช่น พริกผลใหญ่และพริกใหญ่พันธุ์ลูกผสม อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ และ พริกพันธุ์พื้นเมืองใน เภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งประสบปัญหาโรคและแมลงอย่างมากทั้งโรคกุ้งแห้ง ยอดเน่า รากเน่าโคนเน่า เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงวันทองพริก หรือแมลงวันพริกและหนอนเจาะผล เป็นต้น ส่งผลให้ผลผลิตน้อยและราคาพริกที่เกษตรกรขายได้มีราคาตกต่ำ นักวิจัยระบุว่าปัญหาหลักเกิดจากเมล็ดที่เก็บไว้เองมีเชื้อรา ทำให้เกิดโรคกุ้งแห้งติดอยู่ การปลูกพริกหลังฤดูกาลปลูกข้าวโพ