จังหวัดสกลนคร
วช. หนุนตั้งศูนย์วิจัยชุมชนทั่วประเทศ เน้นถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม โชว์ศูนย์วิจัยชุมชนผ้าย้อมครามสุขภาพ บ้านดอนกอย จังหวัดสกลนคร ผลงานทีม มรภ. สกลนคร ร่วมกับเครือข่ายวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อยอดองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านสู่การยกระดับผ้าย้อมครามเชิงสุขภาพ ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า การจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยชุมชน” นับเป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของ วช. ที่ได้ร่วมกับเครือข่ายวิจัยภูมิภาคทั้ง 4 ภูมิภาคในการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นตามนโยบายรัฐบาลเมื่อปี 2561 วช.ได้มีการเชื่อมโยงบูรณาการความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ชุมชนสามารถเข้าถึงและนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์หรือประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ โดยจะมีการพัฒนาทักษะและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับคนในชุมชน อย่างเช่น “ศูนย์วิจัยชุมชนผ้าย้อมครามสุขภาพ บ้านดอนกอย จังหวัดสกลนคร” ที่มี ผศ.ดร. พรกมล สาฆ้อง จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นหัวหน้าทีมว
จังหวัดสกลนคร เป็นเมืองที่มีหลักฐานปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นดินแดนแห่งอารยธรรม 3,000 ปี ก่อนประวัติศาสตร์ยุควัฒนธรรมบ้านเชียง สมัยทวารวดี ลพบุรี ล้านช้าง สุโขทัย อยุธยา และจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จากหนังสือ สกลนครสัญจรได้ไม่สิ้นสุด ซึ่งจัดพิมพ์โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร เขียนไว้ว่า ในจังหวัดสกลนครมีแห่งประวัติศาสตร์ทางโบราณคดีถึง 83 แห่ง โดยมีชุมชนโบราณของแอ่งสกลนคร มีอายุ 600 ปี ก่อนพุทธกาล จนถึงพุทธศตวรรษที่ 8 หรือ 3,000-1,800 ปี มาแล้ว จุดเด่นของจังหวัดสกลนคร จึงปรากฏความชัดเจนในเรื่องวัฒนธรรมและวิถีชาวบ้านที่โดดเด่น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ วิถีการทำผ้าย้อมครามอันเลื่องชื่อ และที่พลาดไม่ได้คือ ผ้าย้อมครามของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ความโดดเด่นของผ้าย้อมคราม ซึ่งเป็นวิถีภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมานาน ทำให้วันนี้สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ในพื้นที่เกือบ 10,000 บาท ต่อคน เศรษฐกิจพอเพียง ที่บ้านดอนกอย แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ได้สร้างความสุข และความอิ่มใจให้กับ คุณพอดี เถื่อนโยธา หนึ่งในชาวบ้านดอนกอย จังหวัดสกลนคร ตั้งแต่กำเนิด คุณพอ
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้พิการในสังคม ส่งเสริมให้พึ่งพาตนเอง ลดความเหลื่อมล้ำ เดินหน้าจ้างผู้พิการช่วยเหลืองานในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ให้ภูมิใจในคุณค่าของตัวเอง มีรายได้เลี้ยงตัวเองและสามารถดูแลครอบครัวได้ ซีพีเอฟ ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทฯ มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารและลดความเหลื่อมล้ำ สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) อาทิ การดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ที่บริษัทฯ ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2532 เห็นผลสัมฤทธิ์ทั้งในด้านการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้บริโภคไข่ไก่อย่างเพียงพอ แก้ปัญหาทุพโภชนาการ ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟสนับสนุนการจ้างงานผู้พิการในชุมชนเพื่อช่วยทำงานในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ภายใต้โครงการจ้างงานคนพิการด้วย โดยตั้งแต่ปี 2560 บริษัทฯ ได้จัดจ้างผู้พิการช่วยงานในโรงเรียนที่ร่
อาชีพน่าสนใจอีกอย่างที่ชาวบ้านเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร นิยมกันคือการทำสวนเพาะกล้าไม้ขาย โดยมีการทำกันเป็นจำนวนหลายครอบครัวทั่วทั้งหมู่บ้าน ส่งขายทั้งพื้นที่บริเวณจังหวัดใกล้เคียงและทั่วประเทศ ซึ่งว่ากันว่าที่นี่นับเป็นแหล่งเพาะ-ขายกล้าไม้ขนาดใหญ่อีกแห่งของประเทศ คุณวีระชัย แสนธิจักร เป็นเจ้าของร้านเพาะ-ขายกล้าไม้ชื่อ “สวนแม่แตงพันธุ์ไม้” อยู่บ้านเลขที่ 26 หมู่ที่ 6 ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร โดยสวนของเขาเพาะ-ขายกล้าไม้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นผักหวาน ลิ้นฟ้า ไม้ป่า มะกรูด มะนาว พืชผักสวนครัวต่างๆ รวมถึงไม้ประดับบางชนิด การออกหางานรับจ้างทั่วไปในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้คุณวีระชัยรู้สึกว่าไม่มั่นคง ยิ่งสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปราะบางเช่นนี้ดูเป็นเรื่องเสี่ยงต่อการหารายได้เลี้ยงปากท้องและครอบครัวเป็นอย่างมาก การเพาะต้นกล้าไม้เป็นอาชีพที่ชาวบ้านตำบลเหล่าโพนค้อ หลายครอบครัวทำกันจนมีรายได้ดี อีกทั้งตลาดกล้าไม้กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น แล้วอาชีพนี้ยังไม่ต้องออกไปตระเวนขาย เพราะมีคนมารับซื้อเองที่สวน ขณะเดียวกัน ภรรยาเคยไปทำงานคลุกคลีกับสวนพันธุ์ไม้ จึงพอมีค
ครั้งนี้ได้รับการเชิญชวนจาก คุณนพรัตน์ ไชยอิ่นคำ หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร ไปชม สำนักงานสหกรณ์การเกษตรคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร ที่ยึดและขับเคลื่อนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยการเดินทางมี คุณกรวิภา คงอิ่ม สหกรณ์จังหวัดสกลนคร ร่วมเดินทางและเยี่ยมชมด้วย นัดแนะกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด รวมตัวขึ้นรถพร้อมกัน เป็นรถของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร จัดให้ที่บริเวณหน้าอาคารภูพานเพลซ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เวลาเก้าโมงเช้า มุ่งหน้าไปตาม ถนนสกลนคร-อุดรธานี ใช้เวลา 45 นาที ถึงอำเภอพังโคน สภาพบรรยากาศสองข้างทางยามนี้ มองแล้วหดหู่หัวใจแทนพี่น้องเกษตรกร เนื่องจากสภาพความแห้งแล้ง ปลายเดือนมีนาคม ย่างเข้าสู่เดือนเมษายน เลี้ยวขวาตรงสี่แยกพังโคนไปตาม ถนนสายพังโคน-บึงกาฬ ผ่านอำเภอวานรนิวาส ผ่านมาถึงสามแยกบ้านนาบัว เขตอำเภอวานรนิวาส ก่อนถึงแยกเข้าอำเภอบ้านม่วง จะพบกับตลาดริมทางบ้านนาบัว ที่นี่จะพบรถทั้งขนาดใหญ่และเล็กจอดเรียงรายเปิดไฟกะพริบ จอดลงมาซื้อหาสินค้าที่นี่เป็นแบบดั้งเดิมพื้นเมือง เช่น ฝักบัว ข้าวเม่า ที่ตลาดนาบัว สินค้
ดร. ณธกร ทัศนัส ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมพืชกัญชาและพืชเสพติดสมุนไพรทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการดำเนินโครงการว่า การปลูกกัญชาในรอบแรกนี้ได้ถูกวางแผนเพื่อให้ได้วัตถุดิบสำคัญ 4 ส่วน คือ ดอก ใบ ก้านใบ และราก นับตั้งแต่เพาะเมล็ดเมื่อวันที่ 6 กันยายน 1562 จนถึงวันนี้รวมระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ต้นกัญชามีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ดี ดอกกัญชามีลักษณะที่พร้อมเก็บเกี่ยวตามความต้องการของตำรับยาแผนไทยคือ เกสร (Pistil) เปลี่ยนจากสีขาวใสเป็นสีน้ำตาลมากกว่า 50% ทีมงานเก็บเกี่ยวดอกกัญชาล็อตแรก เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา จำนวน 99 ต้น มีน้ำหนักสดรวม 103 กิโลกรัม พร้อมส่งต่อให้ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร เพื่อนำไปผลิตเป็นยาแผนไทยต่อไป ดร. หทัยรัตน์ โชคทวีพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานและความหลากหลายของพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร กล่าวว่า สำหรับสายพันธุ์กัญชาที่ปลูก ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ในล็อตนี้ ป
วันนี้เป็นอีกวันที่ได้พบปะพูดคุยกับคนมีอาชีพอิสระ คุณขจรศักดิ์ เบ็ญชัย อาชีพทนายความและเป็นอดีต ส.อบจ.สกลนคร เขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เจ้าตัวบอกว่า แม้จะมีอาชีพทนายความ และชอบทางการเมือง แต่สิ่งที่ไม่เคยทิ้งไปคือการทำนา ทำเกษตร เลี้ยงสัตว์ ที่พ่อแม่ และบรรพบุรุษ ยึดทำเป็นอาชีพหลัก และก็ได้ซึมซับเอาไว้ในตนเองตลอดเวลา เมื่อมีจังหวะและโอกาส ก็จะออกไปที่ทุ่งนา ป่าไม้ที่ซื้อหามาด้วยแรงกายของตนเองส่วนหนึ่ง คุณขจรศักดิ์ ได้ทดลองปลูกพืชหลากหลายชนิดในที่ดิน เช่น มะนาว มะละกอ มะม่วง ตลอดจนทุเรียน จำนวนมากว่า 100 ต้น ปรากฏว่าทุเรียนรอดมาเพียงต้นเดียว จึงซื้อวัว เป็ด ไก่ มาเลี้ยง เป็นเกษตรผสมผสาน แต่ก็มักเดินทางไปศึกษาหาความรู้จากเกษตรกรรายอื่นๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการลงทุนทำเกษตร โดยครั้งนี้คุณขจรศักดิ์ ได้ชวนไปศึกษาเกษตรแปลงใหญ่ด้านโคเนื้อ ที่บ้านตาดโตน ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ใช้พาหนะเป็นรถปิกอัพ (กระบะ) มุ่งหน้าจากจังหวัดสกลนคร ตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ผ่านหมู่บ้านดงมะไฟ ที่เป็นหมู่บ้านปั้นเตา ราว 40 กิโลเมตร ผ่านตัวอำเภอพรรณานิคม และวิ่งมาอีก 15 กิโลเมตร เข้าอำเภอพังโ
นายอัครวัฒน์ อัศวเหม ประธานกรรมาธิการพร้อมคณะ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานเรื่อง “ปัญหาการเข้าถึงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมของเกษตรกร” ของคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร โดยมีการศึกษาดูงานในพื้นที่ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีการบรรยายเกี่ยวกับปัญหาการถึงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม โดยมี นางสาวสกุณา สาระนันท์ กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม และ นายสนธยา ผาลลาพัง นักวิชาการศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้บรรยาย และได้ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมงานวิจัยและนวัตกรรม ณ ศูนย์การเรียนรู้และการแปรรูปผลิตภัณฑ์หมากเม่า ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร อีกทั้งยังได้ศึกษาดูงานวิจัยและนวัตกรรม ณ พื้นที่สวนสมุนไพร อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร โอกาสนี้ นาย สายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้แทน วว.ในฐานะอ
วันนี้ได้รับการชวนจาก ดร.ชูพงศ์ คำจวง เจ้าของโครงการ “นอนบ้านมั่งคั่ง นอนนาแก้จน” จาก ดร. มาเป็นเกษตรกร ทำเอง ทำจริงเป็นตัวอย่าง หรือที่เรียกว่า “แหล่งเรียนรู้” จะไปศึกษาดูงานเรื่องที่ดินกับหมอดินอาสา ที่บ้านอีกุด อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ได้รับเกียรติจาก ดร.ชูพงศ์ เป็นสารถีให้นั่งรถ มุ่งหน้าจากตัวจังหวัดสกลนครไปตามถนนสายสกลนคร-นครพนม เลาะเลียบชมความเขียวขจี ท้องทุ่งริมหนองหารยามนี้ ข้าวกล้ากำลังงาม ภาพเขียวขจีมองผ่านต้นไม้ มองเห็นเทือกเขาภูพาน ตระหง่านด้วยสีน้ำเงินเข้ม ยามท้องฟ้าโปร่งใสไร้เมฆหมอก ขับมาไม่นาน ผ่านอุทยาน “หนองหารน้อย” หรือที่เรียกกันว่า “สวนบัว” เข้าสู่ “บ้านท่าแร่” ที่เอ่ยชื่อแล้วหลายคนรู้จักเป็นอย่างดี และใช้เวลาประมาณ 20 นาที ก็เข้าสู่ตัวอำเภอกุสุมาลย์ ดินแดนที่ว่า “ดินแดนดอกกระเจียว เขียวงามผักหวาน ยอดอาหารไข่มดแดง แมงแคงจั๊ักจั่น ลือลั่นวัฒนธรรมไทโส้” อยู่ห่างจากตัวจังหวัดสกลนคร 45 กิโลเมตร พอเข้าเขตเทศบาลตำบลกุสุมาลย์ มีแยกตรงหน้าโรงเรียนบ้านกุสุมาลย์เลี้ยวซ้ายเข้าไป ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านอีกุด ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เป็นบ้านของ คุณ
ค้นเสน่ห์มุมใหม่ที่ถูกมองข้ามกับฝรั่งหัวใจไทย “แดเนียล เฟรเซอร์” ณ เมืองสกลนครสัมผัสความอบอุ่นตั้งแต่ก้าวแรกกับการแสดงต้อนรับ “เชิญบ่าวเที่ยวสกล” พร้อมเยี่ยมชมแหล่ง ท่องเที่ยวสีเขียว สืบสานภูมิปัญญาและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เริ่มต้นการเดินทางด้วยการเสริมสิริมงคล ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ศาสนสถานอันเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร ชมความงดงามยอดฉัตรเหนือองค์พระธาตุ ที่ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ จากนั้นไปสัมผัสธรรมชาติที่หมู่บ้านประชาสุขสันต์ อำเภอเมือง ชมอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำบ่อ และ น้ำตกประชาสุขสันต์ น้ำตกลานหินจากธรรมชาติ จากนั้นไปสัมผัสความอบอุ่นของวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีชื่อว่า “เชิญบ่าวเที่ยวสกล” พร้อมเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อประจำหมู่บ้าน อย่าง ผ้าทอขาวม้า นอกจากนั้นยังได้ดูวิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า พร้อมลิ้มรส แกงเห็ดเผาะ ข้าวเกรียบเห็ด เห็ดสามรส จากนั้นไปชมหัตถกรรมสุดประณีตผ้าฝ้ายย้อมคราม บ้านใหม่หนองผือ อำเภอโพนนาแก้ว มีเอกลักษณ์โดดเด่นคือ “ลายมุกหรือลายยกดอก” ที่จะต้องใช้คนทอถึงสามคน ปิดท้ายความสุขด้วย “จุดชมวิวตะวันรอนที่หนองหาร” หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทะเลสาบน้ำจืด