จังหวัดสงขลา
“ ละมุดเกาะยอ และ ละมุดบางกล่ำ” เป็นพืชอัตลักษณ์สำคัญของจังหวัดสงขลาจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าขายดี เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไป เช่นเดียวกับ จำปาดะสะบ้าย้อย กาแฟสะบ้าย้อย ทุเรียนพื้นบ้านนาหม่อม ส้มโอหอมหาดใหญ่ ส้มจุกจะนะ มะม่วงเบาสิงหนคร ฯลฯ ละมุดเกาะยอ ละมุดบางกล่ำ ไม้ผลรสอร่อยของเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ได้ขึ้นชื่อว่า มีละมุดอร่อยที่สุดของประเทศ โดยมีแหล่งผลิตละมุดที่มีชื่อเสียงอยู่ 2 แห่งคือ ละมุดเกาะยอ และละมุดบางกล่ำ ชาวสงขลาเรียกละมุดในภาษาถิ่นว่า “ สวา ” โดยนิยมปลูกต้นละมุดผสมผสานร่วมกับไม้ผลและไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ ละมุดที่นิยมปลูกแพร่หลาย คือ พันธุ์ไข่ห่าน ที่มีลักษณะเด่นคือ ให้ลูกดก ผลมีขนาดใหญ่ รสชาติหวาน เก็บขายได้ทั้งปี ต้นละมุดพันธุ์ไข่ห่าน มีลักษณะลำต้นสูง 5-15 เมตร ลำต้นมีกิ่งและใบ มาก จนแลดูเป็นทรงหนาทึบ การออกดอกแต่ละช่วงจะใช้ระยะเวลาประมาณ 30-35 วัน หลังจากดอกบานจนกระทั่ง
ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยานในการรับมอบ บ้านรัตนพฤกษ์ ชอว์ โดยผู้บริจาค ได้แก่ ผู้บริจาค บ้านรัตนพฤกษ์ ชอว์ คุณวรรณี รัตนพฤกษ์ ชอว์ คุณวิลเลี่ยม ชอว์ และ นายแพทย์คาร์ล ชอว์ มอบบ้านหลังนี้ให้กับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ที่จะสามารถดูแลอาคารนี้ได้เป็นอย่างดีถูกต้องตามหลักทางวิชาการ ตลอดจนสามารถใช้ประโยชน์จากบ้านหลังนี้ทำงานร่วมกับภาคีคนรักเมืองสงขลา เพื่อกิจกรรมทางการเรียนการสอน ตลอดจนการทำวิจัย บ้านหลังนี้เป็นอาคารตึกสองชั้นสร้างแบบสถาปัตยกรรมจีนผสมไทยร่วมสมัย (Contemporary Thai Chinese Architecture) เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรับน้ำหนักด้วยเสาและคาน ตั้งอยู่ ณ ถนนรามัญ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
“เกาะยอ” จังหวัดสงขลา แม้มีฐานะเป็นเพียงตำบล แต่เกาะเล็กที่มีขนาดพื้นที่ 15 ตารางกิโลเมตรแห่งนี้ ยังมีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจหลายเรื่อง โดยเฉพาะงานหัตถกรรมทอผ้าที่โดดเด่นคือผ้าทอ “ลายราชวัตร” ชาวบ้านเกาะยอมีความสามารถทางด้านการทอผ้าเป็นอย่างดี งานหัตถกรรมทอผ้าเกาะยอสืบทอดภูมิปัญญากันต่อมา มีอายุเป็นร้อยปี และลายทอผ้าที่เลื่องชื่ออย่างมากคือ ลายก้านแย่ง หรือลาย คอนกเขา ครั้นสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองสงขลาและแหลมมลายู ทรงพอพระราชหฤทัย จึงได้พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “ลายราชวัตร” ซึ่งแปลว่า กิจวัตรหรือการกระทำ จึงเป็นชื่อทางการของผ้าทอเกาะยอที่เรียกสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ในนามผ้าทอ “ลายราชวัตร” เป็นที่น่าตกใจเมื่อพบว่าอาชีพทอผ้าซึ่งเป็นมรดกทางภูมิปัญญาตกทอดกันมาได้เหลือน้อยลง เนื่องจากประสบปัญหาความเปลี่ยนไปของยุคสมัย ทำให้ขีดความสามารถเพื่ออนุรักษ์งานหัตถกรรมทอผ้าเป็นสิ่งที่ยากและลำบาก ฉะนั้น จึงมีชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่ยึดอาชีพนี้อยู่ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มทอผ้าเกาะยอ โดยตั้งปณิธานที่จะสืบสานอนุรักษ์งานหัตถกรรมผ้า
ตามที่สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยและสถาบันคลังสมองของชาติ ร่วมกันจัดโครงการ TOP 100 U2T Projects by Ent มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ส่งไปร่วมประกวด และผ่านการคัดเลือกเป็น Top15 จำนวน 3 ผลงาน โดยแต่ละผลงานมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพสร้างรายได้ให้กับชุมชนให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) พื้นที่ตำบลคลองเส อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านที่ 1 การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อวยพร วงศ์กูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีการดำเนินงานกิจกรรมยกระดับสินค้า OTOP 3 ได้แก่ กาแฟสด เครื่องแกง และสบู่น้ำผึ้ง กิจกรรมอบรมทักษะอาชีพ (ด้านอาหารและงานผ้า) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน 3 ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการอบรมเพิ่มศักยภาพผู้ขายสินค้าชุมชนและส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน การอบรมผลิตสารฆ่าเชื้อและมอบอุปกรณ์ป้องกันการระบาดของโรค COVID-19 เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการมีอาชีพเสริม โดยเฉพาะกล
สวพ.8 นำร่องการวิจัยการจัดการธาตุอาหารปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่โซนนิ่ง ยกระดับผลผลิตในจังหวัดสงขลา นายจิระ สุวรรณประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 สงขลา (สวพ.8) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายด้านการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีการผลิตสินค้าเกษตรตามความเหมาะสมของพื้นที่ ใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ที่มี ศักยภาพ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 (สวพ.8) กรมวิชาการเกษตรจึงได้จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชตามเขตความเหมาะสมของดิน (Zoning By Agri-Map) โดยดำเนินงานวิจัยด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันตามเขตความเหมาะสมของดินนำร่องในแปลงของเกษตรกรในจังหวัดสงขลาขึ้น โดยโครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้การสนับสนุนเงินงบประมาณวิจัยจาก สกสว. ในปี 2562-2564 เนื่องจากเห็นว่าจังหวัดสงขลามีชั้นความเหมาะสมของดินสำหร
ผู้คนส่วนใหญ่ รู้จัก “จังหวัดสงขลา” ในฐานะแหล่งท่องเที่ยว และศูนย์กลางการค้าสำคัญของภาคใต้ ความจริง จังหวัดสงขลา เป็นแผ่นดินทองทางการเกษตร มีพืชเศรษฐกิจสำคัญหลายชนิด ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน นาข้าว พืชผักผลไม้และสินค้าประมง สร้างอาชีพและทำรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรจำนวนมากมาอย่างยาวนาน สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและอนุรักษ์พืชประจำถิ่น หรือพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดสงขลามากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีแนวทางส่งเสริมการปลูกพืชในประเทศ ซึ่งเป็นพืชอัตลักษณ์และพืชทางเลือกใหม่ เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น พืชอัตลักษณ์ของจังหวัดสงขลา สำหรับพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดสงขลา จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าขายดี เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไป ได้แก่ 1. จำปาดะสะบ้าย้อย 2. ละมุดเกาะยอ, ละมุดบางกล่ำ 3. กาแฟสะบ้าย้อย 4. ทุเรียนพื้นบ้านนาหม่อม 5. ส้มโอหอมหาดใหญ่ 6. ส้มจุกจะนะ 7. มะม่วงเบาสิงหนคร ส่วนพืชเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกใหม่ ได้แก่ 1. มะละกอฮอลแลนด์ 2. กล้วยหอมทอง 3. พุทรานมสด 4. ชมพู่ทับทิมจันทร์ 5. เมล่อน 6. มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง 7. มันเทศญี่ปุ่น เป็นต้น สวา (ละมุด) สงขลา อร่อยมา
กรมชลประทาน เข้าร่วมประชุมหารือกรณีปัญหาความเสื่อมโทรมของ “ทะเลสาบสงขลา” พร้อมหาแนวทางแก้ไข หวังให้สภาพแวดล้อมของทะเลสาบสงขลากลับมาดีขึ้นดั่งเช่นในอดีต นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เข้าร่วมประชุมหารือกรณีปัญหาความเสื่อมโทรมของ “ทะเลสาบสงขลา” และแนวทางแก้ไขปัญหา โดยมี พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจราชการแผ่นดิน เป็นประธานการประชุมฯ ร่วมกับ นายวรณัฏฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง และ นายเดช เล็กวิชัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 16 พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ห้องประชุม โรงแรมต้นอ้อย แกรนด์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การประชุมในครั้งนี้ เพื่อรับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และปัญหาความเสื่อมโทรมของ “ทะเลสาบสงขลา” การดำเนินงานต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดหลายปีที่ผ่านมา เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาวินิจฉัย และนำเสนอข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐต่อการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของทะเลสาบสงขลา ซึ่งในส่วนของกรมชลประทาน ไ
ยางพารา เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดสงขลา ช่วงที่ยางพาราขายได้ราคาดี เกษตรกรหันมาปลูกยางพารากันแทบทุกอำเภอ เมื่อเกิดปัญหาราคายางพาราตกต่ำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกษตรกรหลายรายตัดสินใจตัดโค่นต้นยางทิ้ง เพื่อปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่หลายคนเลือกที่จะรักษาอาชีพการทำสวนยางพาราต่อไป พร้อมกับมองหาอาชีพใหม่ๆ เพื่อเป็นรายได้เสริมเลี้ยงดูครอบครัว อำเภอบางกล่ำ นับเป็นแผ่นดินทองทางการเกษตรที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 39 หมู่บ้าน ในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกล่ำ ตำบลท่าช้าง ตำบลแม่ทอม และตำบลบ้านหาร ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นแห่งนี้มีรายได้หลักจากการทำสวนยาง ปลูกพืชร่วมสวนยางและทำเกษตรผสมผสานเป็นรายได้เสริม เช่น ตำบลบางกล่ำ ปลูกละมุด ขณะที่ชาวบ้านในตำบลแม่ทอม ปลูกส้มโอเป็นจำนวนมาก ส่วนตำบลท่าช้าง ชาวบ้านนิยมทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ (แบบประยุกต์) ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน “กศน. อำเภอบางกล่ำ” ส่งเสริมอาชีพชุมชน เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมในเวลาว่างจากการทำอาชีพเกษตรกรรม นางสาวอังสิยาภรณ์ อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตา
อาชีพทำเกษตรอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยพื้นที่มากๆ เหมือนเช่นแต่ก่อน มีชาวบ้านหันมาทำเกษตรกรรมแบบครัวเรือนด้วยการปรับพื้นที่บริเวณบ้านสำหรับปลูกพืชผัก ไม้ดอกที่ดูแลง่าย เลือกให้เหมาะและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ตลอดจนดินฟ้าอากาศเพื่อสร้างรายได้เสริม อย่างราย คุณวรรณี บุญศิริ บ้านเลขที่ 11/2 หมู่ที่ 4 ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 90140 โทรศัพท์ (086) 104-3126 ใช้พื้นที่บริเวณบ้านสร้างรายได้ด้วยการปลูกดาวเรืองกับพืชผักสวนครัว อย่างมะเขือเทศ พริก มะเขือ และอื่นๆ สลับหมุนเวียนส่งขายตลาดในชุมชน รวมถึงยังปลูกแคนตาลูปอีกด้วย คุณวรรณีปลูกดาวเรืองขายดอกเป็นหลัก ปลูกครั้งละ 300 ต้น เมล็ดพันธุ์ซื้อมาจากร้านเกษตรในตลาดใกล้บ้าน ลักษณะการปลูกดาวเรืองของคุณวรรณีต่างจากชาวบ้านรายอื่นที่มักปลูกเต็มพื้นที่แบบแปลง แต่เธอปลูกในพื้นที่รอบบ้านที่ว่างซึ่งมีขนาดไม่เท่ากัน หรือปลูกใส่กระถาง หรือในภาชนะต่างๆ โดยต้องเพาะต้นพันธุ์ในถาดหลุมก่อน ให้หยอดเมล็ดลงในหลุมถาดเพาะ พรมน้ำเล็กน้อยทุกวัน ประมาณ 3 วันต้นอ่อนจะโผล่ แล้วให้รดน้ำต่อไปประมาณ 18-20 วันจึงย้ายลงปลูกในแปลงหรือกระถาง หรือภาชนะที่หาได้สะดวก ทั้งนี้ จะปรุง
พื้นที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ในอดีตเป็นพื้นที่สีแดง ที่ภาครัฐต้องเข้าไปจัดระเบียบและควบคุม เพื่อให้พื้นที่ปรับเปลี่ยนสภาพ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเกษตรกรรมและเป็นที่อยู่อาศัย แม้จะผ่านเนิ่นนานมาหลายสิบปี มีประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานจำนวนมากแล้ว แต่ปัจจุบันพื้นที่เกือบทั้งหมดก็ยังคงเป็นพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ แม้จะมีประชาชนอยู่อาศัยในรูปของชุมชนและหมู่บ้าน และเมื่อมีชุมชน แน่นอนว่าสถานศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น จึงมีการก่อตั้งสถานศึกษาเพื่อรองรับประชากรที่จะเพิ่มขึ้น โรงเรียนลำดับต้นๆ ของอำเภอสะเดา เป็นโรงเรียนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 จังหวัดสงขลา ชื่อโรงเรียนจึงมีคำว่า “ตำรวจตระเวนชายแดน” รวมอยู่ด้วย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านบาโรย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 11 ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา แม้จะขึ้นตรงกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 จังหวัดสงขลา แต่ก็เป็นโรงเรียนที่อยู่ในพระราชานุเคราะห์ฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรโครงการฝึกอาชีพ การสาธิตการเรียนการสอน ห้องเรียนวิชาคอมพิวเตอร์