จังหวัดสมุทรสงคราม
“ส้มแก้ว” เป็นผลไม้มงคลตามความเชื่อและความนิยมของชาวไทยเชื้อสายจีนในการนำไปไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลตรุษจีน สารทจีน และวันขึ้นปีใหม่ โดยจังหวัดสมุทรสงครามเป็นแหล่งปลูกส้มแก้วใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และผลักดันส้มแก้วเป็นสินค้าอัตลักษณ์ของจังหวัด ยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ส้มแก้ว” มีลักษณะคล้ายส้มโอผสมกับส้มเขียวหวาน คือผลกลมแป้น เนื้อเยอะ เนื้อฉ่ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ปลูกส้มแก้ว ประมาณ 60 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที เกษตรกรผู้ปลูก 36 ครัวเรือน แต่ละรายมีพื้นที่สวนประมาณ 3-4 ไร่ เนื่องจากส้มแก้วเป็นไม้ผลที่ต้องการแสงแดดเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงาจากไม้ผลประเภทส้มโอ ลิ้นจี่ ฯลฯ เกษตรกรจึงนิยมปลูกส้มแก้วเป็นไม้ผลร่วมแปลงเฉลี่ยประมาณ 20 ต้นต่อไร่ เกษตรกรสามารถปลูกส้มแก้วได้ตลอดทั้งปีในพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ นิยมปลูกส้มแก้วโดยใช้กิ่งชำ ให้น้ำและปุ๋ย 16-16-16 สม่ำเสมอทุกเดือน หลังจากปลูกประมาณ 2-3 ปี ส้มแก้วจะเริ่มติดผลและจะให้ผลอย่างเต็มที่ประมาณปีที่ 5-7 โดยทั่วไป ช่วงเดือนสิงหาคมต้นส้มแก้วเริ่มผลิดอกอ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2567 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานพิธีเปิดการนำโดรนแปรอักษรส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสมุทรสงคราม “ประเพณีลอยกระทงกาบกล้วย” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกล่าวการสนับสนุนกิจกรรม และ นางสาวกาญจน์สุดา ปานะสุทธะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวต้อนรับ พร้อมนี้ นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ได้ควบคุมการจัดแสดงบินโดรนแปรอักษร ณ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม นายนภินทร กล่าวว่า การจัดงานประเพณีลอยกระทงกาบกล้วยในครั้งนี้ เป็นการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีอันยาวนานของจังหวัดสมุทรสงคราม โดยการนำเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรมาใช้ในการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว ถือเป็นแนวทางสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ จังหวัดสมุทรสงครามแม้จะเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย แต่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจมากมาย เช่น ตลาดน้ำอัมพวา และวัดบางกุ้ง เป็นต้น การนำเทคโนโลยี
ลิ้นจี่แม่กลอง หลายคนแปลกใจว่า จังหวัดสมุทรสงคราม พื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำแม่กลอง เชื่อมต่อกับอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ปลูกลิ้นจี่จนผลิดอกออกผลได้อย่างไร และลิ้นจี่สมุทรสงครามหรือแม่กลองก็มีชื่อเสียงมาช้านาน แต่มาระยะหลัง ด้วยสภาพสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้ลิ้นจี่แม่กลองไม่ค่อยออกผล และมีบางปีไม่ติดผลเลยก็มี หรือบางปีติดผลน้อยมาก จนบางปีหลายคนรอคอยว่าเมื่อไหร่จะได้ลิ้มลอง “ลิ้นจี่แม่กลอง” จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตรพบว่า แต่เดิมเมืองสมุทรสงครามหรือแม่กลอง เป็นเมืองริมแม่น้ำแม่กลอง และแควอ้อมขึ้นอยู่กับมณฑลราชบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์ มลฑลราชบุรีเป็นที่อาศัยของชาวจีนที่มาทำการค้าขายอยู่ลุ่มน้ำแม่กลองบริเวณที่มีชุมชน ด้วยย่านนี้เป็นชุมชนที่มีการค้าขาย มีชาวจีนจากกรุงเทพฯ ติดต่อค้าขายมาตลอด ชาวจีนจากกรุงเทพฯ นำลิ้นจี่จากประเทศจีนมาฝากญาติ พี่ น้อง ที่ราชบุรีและแม่กลองที่ทำสวนและทำมาค้าขาย ต่อมาปี พ.ศ. 2340 มีการพบต้นลิ้นจี่ ที่ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที และตำบลเมืองใหม่ อำเภออัมพวา ลิ้นจี่ที่พบนี้มีอายุถึง 200 ปีและยังยืนต้นให้เห็นอยู่ถึงปัจจุบัน แสดงให
มะพร้าวน้ำหอม ถือเป็นมะพร้าวที่นิยมที่สุด เนื่องจากมีรสชาติที่หวานของน้ำมะพร้าวและเนื้อด้านใน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้แล้วมะพร้าวน้ำหอมยังให้ความสดชื่นอีกด้วย คุณประโยชน์จากมะพร้าวน้ำหอมนั้นมีมากมาย มะพร้าวน้ำหอมถือเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์เย็น รสชาติหวานหอม ช่วยในการดับกระหายได้ดี อย่างในกรณีที่ร่างกายขาดน้ำก็สามารถดื่มน้ำมะพร้าวน้ำหอมแทนเกลือแร่ได้ มะพร้าวน้ำหอมอุดมไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิด ได้แก่ วิตามินซี วิตามินบี กรดอะมิโน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ทันที เป็นต้น มะพร้าวน้ำหอม ยังมีไขมันอิ่มตัวสูง แต่ไม่เพิ่มไขมันในเส้นเลือด ระดับน้ำตาลกลูโคสในมะพร้าวน้ำหอม มีค่าต่ำกว่าระดับน้ำตาลในเลือดของมนุษย์เล็กน้อย ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก็สามารถดื่มน้ำมะพร้าวน้ำหอมได้ด้วย นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคุณประโยชน์ที่ได้รับจากมะพร้าวน้ำหอม คุณกำพล นามพูน อายุ 48 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 173 หมู่ที่ 6 ตำบลนางตะเคียน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ปัจจุบัน คุณกำพล ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร เจ้าของฟาร์มสุขนิยมมะพร้าวน้ำหอม เป็นการเพาะ
หอยแครง เป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีมูลค่าสูงของประเทศไทย แหล่งเพาะเลี้ยงขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ถึงตำบลบางตะบูน และตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นสภาพดินโคลนละเอียดปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์เพราะอยู่ใกล้บริเวณปากแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำเพชรบุรี จึงเหมาะต่อการเจริญเติบโตของหอยแครง เกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ชายฝั่งประกอบอาชีพหลักด้วยการเก็บหอยแครงจากแหล่งธรรมชาติและการเพาะเลี้ยงหอยแครง สร้างรายได้ที่มีมูลค่าสูง แต่การเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทำให้มีการปล่อยของเสียสู่อากาศและแหล่งน้ำ ได้ทำลายสิ่งแวดล้อมต่างๆ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมลง ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำจำนวนมาก จากรายงานสถิติการเลี้ยงหอยแครงของกรมประมง ระหว่างปี 2551-2553 พบว่า มีปริมาณผลผลิตระหว่าง 4,017-5,065 ตัน แต่ในปี 2554-2555 ปริมาณผลผลิตหอยแครงลดลงเหลือเพียง 2,613-2,518 ตัน (สถิติการประมงแห่งประเทศไทย, 2557) ผลจากการเปลี่ยนแปลงและความเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อปริมา
“กรมชลประทาน” เร่งเครื่องลงมือขุดลอกแก้มลิงทุ่งหินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถรับน้ำปริมาณได้มากขึ้น โดยระยะแรกมีปริมาณดินขุด 932,221 ลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2565 ชี้หากโครงการแล้วเสร็จจะช่วยลดและบรรเทาปัญหาการเกิดอุทกภัยให้ประชาชนในพื้นที่กว่า 4,000 ไร่ พื้นที่ได้รับประโยชน์ 5,000ไร่ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ได้สั่งการให้เร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพแก้มลิงทุ่งหิน เพื่อที่จะได้กักเก็บน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้การดำเนินการเป็นนโยบายสำคัญของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ (กนช.) และผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) ที่ได้มีข้อสั่งการเร่งด่วนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการพัฒนาโครงการแก้มสิงทุ่งหิน ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำแล้งและอุทกภัยให้กับประชาชนในพื้นที่จ.สมุทรสงคราม โดยการดำเนินการในระยะแรกมีปริมาณดินขุด 932,221 ลูกบาศก์เมตร ได้วางเป้าหมายแล้วเสร็
“จังหวัดสมุทรสงคราม” แม้เป็นเมืองที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในประเทศ แต่เป็นพื้นที่การเกษตรที่มีศักยภาพสูง ในฐานะ “เมืองสามน้ำ” ทั้ง น้ำจืด-น้ำกร่อย-น้ำเค็ม ผักผลไม้ที่ปลูกในโซนนี้มีรสชาติหวานหอม กรอบ อร่อย ใครได้ชิมก็ต้องติดใจ ผลไม้สมุทรสงครามที่มีรสชาติอร่อยสุดๆ เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศ เช่น ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ มะพร้าวน้ำหอม ลิ้นจี่ค่อมแม่กลอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าเขียว ฯลฯ ปัจจุบัน เกษตรกรจำนวนมากในจังหวัดสมุทรสงครามนิยมปลูกกล้วยน้ำว้าเขียวกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเมือง ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ระบุว่า พื้นที่อำเภอเมือง มีแหล่งน้ำค่อนข้างจะเค็มหรือกร่อยกว่าอำเภออื่น แต่ต้นกล้วยน้ำว้าเขียวเป็นไม้ผลที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามได้อย่างดี ปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตสูง 80-90 เปอร์เซ็นต์ ของการปลูก กล้วยน้ำว้าเขียว ของจังหวัดสมุทรสงครามมีลักษณะเด่นคือ ลำต้นไม่ใหญ่ แต่เครือใหญ่ หวีโต ผลใหญ่ เปลือกสีเขียว ปลายจุกแหลม เนื้อกล้วยมีรสหวาน เมล็ดไม่ใหญ่ ไม่มีปัญหาโรคตายพราย กล้วยน้ำว้าเขียว เข้าข่ายสำนวนไทยที่ว่า
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานพัฒนาแก้มลิง ทุ่งหิน ในพื้นที่ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ประธานอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลาง เป็นประธาน พร้อมด้วย นายขจร ศรีชวโนทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมแม่กลอง ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสมุทรสงครามนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า โครงการเพิ่มประสิทธิภาพแก้มลิง ทุ่งหิน เป็นงานที่กรมชลประทาน ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ การประปาส่วนภูมิภาค กรมทางหลวงชนบท และกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยได้มีการกำหนดแผนหลักการในการดำเนินงานพัฒนาโครงการดังกล่าวเป็น 4 ด้าน ดังนี้ การบริหารจัดการ ได้แก่ การศึกษาเบื้องต้น การสำรวจ การออกแบบ ฯลฯ การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการเกษตร การขุดลอกแก้มลิงทุ่งหิน การก่อสร้างปรับปรุงอาคารท่อรับน้ำ ฯลฯ การปรับปรุงเส้นทางน้ำเข้าโครงการฯ การก่อสร้างอาคารท่อลอดรางรถไฟ การปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่โครงการฯทั้งนี้ จากข้อสั่งการของ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนโครงการพัฒนาจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง “สมุทรสงคราม” ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร พัฒนาแอปพลิเคชันและสื่อ อำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว ลดความแออัดในเมือง เจาะกลุ่มชุมชนขนาดเล็ก หวังช่วยยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและจังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตอบโจทย์นโยบายประเทศด้านการท่องเที่ยวเมืองรองเชิงสร้างสรรค ดร. นิตินันท์ ศรีสุวรรณ แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองรองจากชุมชนเล็กเชื่อมโยงสู่ชุมชนใหญ่ด้วยสื่อดิจิทัล จังหวัดสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า การวิจัยในครั้งนี้ ได้มุ่งสร้างผลผลิตสื่อดิจิทัลที่จับต้องได้ ในรูปแบบสื่อ 3 ประเภท คือ แอปพลิเคชั่นบนมือถือ แผ่นพับแนะนำเส้นทางการท่องเที่ยวพร้อม QR Code และสื่อวีดิทัศน์แนะนำแหล่งท่องเที่ยวสำหรับชาวไทย เพื่อให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มชุมชนที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงนักท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น และเป็นตัวช่วยในการวางแผนการเดินทางในยุค New Normal ให้กับนักท่
หากเอ่ยถึงจังหวัดสมุทรสงคราม สิ่งที่ทุกคนนึกถึงน่าจะเป็นตลาดน้ำอัมพวาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบตลาดน้ำ ที่มีแหล่งสินค้าและอาหารหลากหลายรูปแบบได้ให้ชิมกันในช่วงวันหยุดยาวๆ ของผู้ที่รักการกินอาหารหลากหลายเมนู ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำกับครอบครัว เมื่อชุมชนเมืองได้รุกคืบเข้ามามากขึ้น วิถีชีวิตของคนในชุมชนก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปด้วย จึงทำให้คนหนุ่มสาวสมัยใหม่ เลือกที่จะไปประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาชีพทางการเกษตร จึงทำให้ภูมิปัญญาบางอย่างในจังหวัดสมุทรสงครามค่อยๆ เลือนหายไป อย่างเช่น การทำน้ำตาลมะพร้าวของคนในชุมชน ที่ทำกันแบบธุรกิจครอบครัว คุณปรีชา เจี๊ยบหยู อยู่บ้านเลขที่ 62/1 หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านปรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ให้ข้อมูลว่า เริ่มแรกเดิมทีการทำน้ำตาลมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงครามมีทำกันเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อสังคมเมืองมีการขยายตัว ทุกคนมีทางเลือกมากขึ้น จึงได้ตัดสินใจไปทำอาชีพอื่นแทน จึงส่งผลให้การทำน้ำตาลมะพร้าวค่อยๆ สูญหายไป เขาจึงได้ทำการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง โดยนำชาวบ้านที่มีองค์ความรู้มารวมกลุ่ม จนทำให้ทุกวันนี้การทำน้ำตาลมะพร้าวของกลุ่มสามารถทำรายได้เลี้ยงสมาชิกได้ถึง