จังหวัดอุตรดิตถ์
ลางสาด และ ลองกอง ถือเป็นผลไม้ขึ้นชื่ออันดับต้นของจังหวัดอุตรดิตถ์ หากจะเป็นรองก็คงยอมให้ได้เฉพาะ ทุเรียนหลงลับแล และ หลินลับแล ที่โด่งดังไปทั่วโลก แต่จำนวนลางสาดในปัจจุบัน กำลังจะลดน้อยลง โดยสถานการณ์ลางสาดในพื้นที่อำเภอลับแล เหลือพื้นที่ปลูกอยู่เพียง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูกผลไม้ทั้งหมดในอำเภอลับแล สวนที่เคยปลูกลางสาดเดิมกลับกลายเป็นลองกองไปเกือบทั้งหมด จากการโค่นต้นลางสาดเดิม นำยอดพันธุ์ลองกองมาเสียบเปลี่ยนต้นใหม่ เนื่องจากราคาซื้อขายในตลาดของลองกองสูงกว่าลางสาดมาก ขณะเดียวกัน เมื่อถึงฤดูการให้ผลผลิตลองกองแต่ละปี ราคาซื้อขายอาจไม่เท่ากัน เมื่อราคาผันผวนขึ้นลงเช่นนี้ ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลนานกกก อำเภอลับแล ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกลองกองมากที่สุดของอำเภอ ก่อตั้งตลาดกลางสำหรับซื้อขายลองกองให้กับเกษตรกร โดยใช้พื้นที่บริเวณอาคารอเนกประสงค์ หน้าองค์การบริหารส่วนตำบล จัดทำเป็นตลาดกลางซื้อขายลางสาดและลองกอง ผลไม้ขึ้นชื่อของชาวตำบลนานกกก ตำบลฝายหลวง และตำบลแม่พูล ตลาดกลางซื้อขายลางสาดและลองกองแห่งนี้ เปิดให้ชาวสวนนำผลผลิตมาจำหน่ายที่ตลาดในช่วงสายของทุกวัน โดยพ่อค้าและแม่ค้าคนกลางจากจังหวัดต่า
จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองแห่งผลไม้ที่หลากหลายชนิด มีระบบวิถีการเกษตรแบบวนเกษตรไม้ผลที่มีชื่อเสียง ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐกิจสูง แต่เนื่องด้วยลักษณะของการเพาะปลูกแบบวนเกษตรดั้งเดิมกำลังถูกเปลี่ยนมาเป็นระบบพืชเดี่ยว มีการใช้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตด้วยสารเคมีมากขึ้น ผนวกกับลักษณะพื้นที่ปลูกเกือบทั้งหมดอยู่บนภูเขาสูง มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายและเกิดดินถล่มตลอดเวลา และดินมีความเป็นกรดสูง อีกยังมีเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก หน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ จึงได้เข้ามาจัดการถ่ายทอดองค์ความรู้พัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ ตั้งแต่การเตรียมปลูก การกำจัดแมลงและศัตรูพืช จัดการระบบหลังเก็บเกี่ยว แปรรูปสร้างเอกลักษณ์ให้ดึงดูดใจ พร้อมจัดการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อการตลาดและส่งออก แก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ปัจจุบัน สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ยกย่อง “สวนใจใหญ่ ไร่แลตะวัน” ของ พี่นอม หรือ คุณประนอม ใจใหญ่ เป็นหนึ่งในเกษตรกรต้นแบบดีเด่นของจังหวัดอุตรดิถต์ และเป็นแปลงเกษตรที่ได้รับมาตรฐาน GAP สวนใจใหญ่ ไร่แลตะวัน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 18/1 หมู่ที่ 5 ตำบลแม่พลู อำเภอลับแล จังหวั
นายบัญชา อรุณเขต ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ที่ขยายลุกลามไปทั่วส่งผลกระทบและความความเดือดร้อนอย่างหลากหลาย ด้านเกษตรกรเกิดปัญหาสินค้าล้นตลาดและขาดรายได้ในการลงทุนและดำเนินชีวิต สถานการณ์ดังกล่าวสภาเกษตรกรแห่งชาติได้สนับสนุนให้สภาเกษตรกรจังหวัดเข้าช่วยเหลือเกษตรกรและหาช่องทางทำการตลาดเพื่อเกษตรกรจะได้ขายผลผลิตและผลิตภัณฑ์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน สภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลผลิตจากพื้นถิ่นของจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้วยวิธีถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live สภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ หรือการแนะนำจำหน่ายแบบออนไลน์ รวมทั้งการขับเคลื่อนการส่งเสริมและพัฒนาด้านการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยภายใต้ชื่อ “ตลาดพืชผัก อาหารปลอดภัย จังหวัดอุตรดิตถ์” ด้วย ขณะที่ นางนิตยา แก้วคอน เจ้าของผลิตภัณฑ์แบรนด์ “กล้วยพรจากแม่” หนึ่งในเกษตรกรที่สภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ลงพื้นที่สำรวจเปิดเผยว่า ที่บ้านทำสวนกล้วยอยู่ 11 ไร่ เป็นแปลงเกษตรปลอดสารพิษทั้งหมด และส่วนใหญ่ปลูกเป็นสายพันธุ์กล้วยน
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หนุนถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์ นำชมสวนมะยงชิดตัวอย่างในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดการองค์ความรู้ตั้งแต่การเตรียมปลูก การกำจัดแมลงและศัตรูพืช จัดการระบบหลังเก็บเกี่ยว แปรรูปสร้างเอกลักษณ์ให้ดึงดูดใจ พร้อมจัดการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อการตลาดและส่งออก แก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก และคณะ ได้แก่ ดร.นุชนาถ ภักดี และ นายพุทธพงษ์ สร้อยเพชรเกษม ร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์แก่เกษตรกรและผู้สนใจ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ณ สวนใจใหญ่ ตำบลชัยชุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวได้จากโครงการการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะปรางเชิงพาณิชย์ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำหรับองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์นั้น คร
นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (สศท.2 พิษณุโลก) เปิดเผยว่า ทุเรียนหลงลับแลของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ทุเรียนหลงลับแลของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีศักยภาพและโอกาสทางการตลาดสูง โดยทุเรียนหลงลับแลมีลักษณะเด่น คือ มีผลทรงกลม หรือกลมรี ขนาดเล็ก เปลือกบาง เนื้อมาก สีเหลืองเข้ม เนื้อแห้งละเอียดเหนียว มีกลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน เมล็ดลีบเล็ก จุดกำเนิดของทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์มาจากทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีความพิเศษแตกต่างจากทุเรียนพื้นเมืองทั่วไป คือ เป็นทุเรียนที่มีรสชาติดี เมล็ดลีบ ซึ่งภายหลังจากส่งเข้าประกวดทุเรียนและได้รับรางวัลยอดเยี่ยม เกษตรกรจึงได้รับการส่งเสริมให้ปลูกและขยายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายมากยิ่งขึ้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทุเรียนหลงลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ที่ได้รับการร
“มะม่วงหิมพานต์” เป็นพืชอุตสาหกรรมที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย กำลังได้รับความสนใจจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่จะพัฒนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อเป็นสินค้าส่งออก มะม่วงหิมพานต์สามารถเจริญได้ดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศ เนื่องจากเป็นพืชที่ทนแล้ง ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ดูแลง่าย ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดที่ระบายน้ำดี หน้าดินลึกไม่เป็นดินดาน ไม่เป็นดินด่างจัด หรือกรดจัด การปลูกมะม่วงหิมพานต์นอกจากเป็นการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรแล้วยังเป็นการเพิ่มการปลูกป่า ทำให้สภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มะม่วงหิมพานต์ พืชทำเงินของอุตรติตถ์ ปัจจุบัน มะม่วงหิมพานต์ เป็นพืชเศรษฐกิจทำเงินของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเฉพาะอำเภอท่าปลา ซึ่งมีพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกไม้ผลชนิดนี้ เกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์เริ่มปลูกมะม่วงหิมพานต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการไทย-เยอรมัน โดยให้เงินทุนกู้ยืมดำเนินการปลูกมะม่วงหิมพานต์ในพื้นที่ ทั้งในแปลงจัดสรรและแปลงราษฎรเดิม ในอดีตมะม่วงหิมพานต์มีราคาต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ตัดสินใจโค่นต้นมะม่วงหิมพานต์ทิ้งและปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่มีเกษตรกรบางคนที
เทศกาลลางสาดลองกองหวานและสินค้า OTOP จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2563 งานมหัศจรรย์ ผลไม้เมืองอุตรดิตถ์ กำหนดจัดงาน 28 กันยายน – 7 ตุลาคม 2563 ณ สนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินการจัดประกวดลางสาด-ลองกอง และอื่นๆ ชิงรางวัล และค้นหาผลผลิตที่ดีเยี่ยม เพื่อเป็นต้นแบบสินค้าเอกลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ นายประโชติ นิลรัตน์ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดกิจกรรมในงานเทศกาลลางสาด-ลองกองหวาน และสินค้า OTOP จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2563 ในระหว่างวันที่ 28 กันยายน – 7 ตุลาคม 2563 เป็นเวลา 10 วัน 10 คืน ณ สนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งงานเทศกาลลางสาดฯ ดังกล่าวนี้ จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีการจัดมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2528 โดยให้มีกิจกรรมหลัก คือการประกวดลางสาด และผลไม้ หรือผลงานที่มาจากผลผลิตลางสาด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของงาน ที่ได้ปรับยกระดับของงานประกวดที่อำเภอลับแลมาตั้งแต่ ก่อนปี 2528 แล้ว ในส่วนของการจัดกิจกรรมในงานสำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ รับผิดชอบดำเ
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว นายชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นาย อาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และคณะ เดินทางลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ข้าวชุมชนตำบลคอรุม จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี นายพิพัช ประจันเขตต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563 นายประภัตร กล่าวว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีการส่งเสริมและขับเคลื่อนศูนย์ข้าวชุมชนให้เป็นศูนย์กลางในด้านการผลิตข้าวและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในชุมชน โดยศูนย์ข้าวชุมชนมีภารกิจหลักคือการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน ซึ่งในส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์มีศูนย์ข้าวชุมชน 23 ศูนย์ และในปีงบประมาณ 2563 มีการคัดเลือกศูนย์ที่ผ่านหลักเกณฑ์จำนวน 10 ศูนย์ โดยมีเป้าหมายผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 100 ตัน ต่อศูนย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวต่อไปว่า วันนี้ภาครัฐตื่นตัวในเรื่องของพันธุ์ข้าวซึ่งเป็นสิ่งสำค
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับจังหวัดอุตรดิตถ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์และเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคเหนือ จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2563” (Regional Research Expo 2020) เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดหลัก “งานวิจัยเพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมและเศรษฐกิจภูมิภาค” ระหว่าง วันที่ 1-2 มีนาคม 2563 ณ อาคารหอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ลำรางทุ่งกะโล่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายในงานประกอบด้วยการแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ นิทรรศการผลงานวิจัย จำนวนกว่า 100 ผลงาน และการประชุมสัมมนาวิชาการ ตัวอย่างของผลงานเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปมะขามหวานครบวงจร เทคโนโลยีการแปรรูปมะม่วงเชิงพาณิชย์ เทคโนโลยีแปรรูปสับปะรดครบวงจร เทคโนโลยีแปรรูปกาแฟวนเกษตร เทคโนโลยีลางสาด signature ฯลฯ เพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จังหวัดอุตรดิตถ์ มีสภาพภูมิประเทศ 3 ลักษณะ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบระหว่างหุบเขา และเขตภูเขา ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขา ส่งผลให้มีสภา
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับจังหวัดอุตรดิตถ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์และเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคเหนือ จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2563 (Regional Research Expo 2020)” เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดหลัก “งานวิจัยเพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมและเศรษฐกิจภูมิภาค” โดยเชื่อมโยงแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ Luangprabang-Indochina-Mawlamyine Economic Corridor (LIMEC) ระหว่างวันที่ 1 – 2 มีนาคม 2563 ณ อาคารหอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ลำรางทุ่งกะโล่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประธานในพิธีเปิดงานกล่าวว่า วช. จัดงานมหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ในครั้งนี้ เป็นการขยายผลสำเร็จจากการจัด”งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo)” ไปสู่การจัดเวทีในระดับภูมิภาค เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่นักวิจัยและนักวิชาการในระดับภูมิภาค ได้นำเสนอ