จังหวัดแพร่
เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2568 กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศรับรองส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งเมืองลอง ให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) ทะเบียนเลขที่ สช 68100246 โดยให้มีผลตั้งแต่วันยื่นคำขอขึ้นทะเบียน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งเมืองลอง เป็นผลไม้อัตลักษณ์จังหวัดแพร่ ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว คือ ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ที่มีทรงผลค่อนข้างกลมนูนสูง ก้นผลเรียบ เมื่อแก่จัดจะบุ๋ม ผลแก่ผิวเปลือกสีเขียวอมเหลือง น้ำหนักผลไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม เมล็ดน้อย แกะง่าย เนื้อกุ้งใหญ่สีน้ำผึ้ง เนื้อแน่น แห้ง ไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว ไม่เฝื่อน ไม่ขม และไม่ช่าลิ้น ค่าความหวานไม่น้อยกว่า 9 องศาบริกซ์ ปลูกในอำเภอลองและอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ มีผลผลิตเข้าตลาดมากในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมของทุกปี ที่มาของพันธุ์ส้มโอเมืองลอง ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง เป็นพืชที่เกษตรกรในพื้นที่อำเภอลองและอำเภอวังชิ้นปลูกมานานกว่า 40 ปี ส่วนแหล่งที่มาของต้นพันธุ์ส้มโอดั้งเดิมมาจาก 2 แหล่ง เริ่มจากปี 2508 นายวงค์ ชมภูมิ่ง หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “พ่อเลี้ยงวงค์” ได้นำกิ่งพันธุ์ส้มโ
กมธ.การอุดมศึกษาฯ วุฒิสภา ผนึกเครือข่าย ผุด “สถาบันนวัตกรรมด้านป่าไม้จังหวัดแพร่” ฟื้น “โรงเรียนป่าไม้แพร่” ยุคใหม่ ต่อยอด พ.ร.บ.ป่าชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้ ให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน หลายสิบปีก่อน หนึ่งในความฝันแรงบันดาลใจของนักเรียนจำนวนมากเมื่อจบ ม.6 คือการได้เรียนต่อแพทย์ชนบท คุรุทายาท และโรงเรียนป่าไม้แพร่ เวลาผ่านไป 30 ปี นับตั้งแต่เมื่อโรงเรียนป่าไม้แพร่ได้ปิดตัวลง เมื่อปี 2536 “โรงเรียนป่าไม้แพร่” กำลังจะกลับมาอีกครั้ง ในชื่อ “สถาบันนวัตกรรมด้านป่าไม้จังหวัดแพร่” ด้วยแนวทางใหม่ที่สอดคล้องยุคสมัย ตอบโจทย์ต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมด้านป่าไม้ จังหวัดแพร่ ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจภายใต้ผืนป่า Economy Under the Forest” ระหว่าง กรมป่าไม้ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ วิทยาลัยชุมชนแพร่ และเทศบาลเมืองแพร่ เกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยมีคณะกรรมาธิการ วุฒิสภา ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ หอประชุมตรีเทพ โรงเรียนป่าไม้แพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ นายอภิชาติ
แก้วมังกรเป็นไม้ผลที่มีอนาคตทางการตลาดไปได้ดี เนื่องจากปลูกและดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก แล้วยังให้ผลผลิตที่ค่อนข้างคุ้มค่าต่อการลงทุน ขณะที่สภาพภูมิอากาศของบ้านเราหลายพื้นที่ก็เอื้อต่อการปลูกแก้วมังกรได้ดีมีคุณภาพ จึงทำให้มีการปลูกแก้วมังกรกระจายไปทั่วประเทศ แต่สิ่งที่น่ากังวลตามมาคือเรื่องราคา หากมีการปลูกแก้วมังกรกันแพร่หลายจนทำให้ผลผลิตออกมาล้นตลาด แล้วขาดการจัดระบบอย่างถูกต้อง เมื่อเป็นเช่นนั้นราคาขายแก้วมังกรจะตกลงเช่นเดียวกับผลไม้หลายอย่างที่เคยประสบ ดังนั้น ผู้ปลูกควรตระหนักถึงตลาดรับซื้อก่อนตัดสินใจปลูกหรือมิเช่นนั้นต้องหาทางออกด้วยการแปรรูปเพิ่มมูลค่า อย่างที่ตำบลบ้านถิ่น จังหวัดแพร่ ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อปลูกขายผลแก้วมังกรแล้วยังนำผลผลิตบางส่วนแปรรูปอบแห้งส่งโรงงานและขายเองสร้างมูลค่า สร้างรายได้ให้กับครอบครัวปีละหลายแสนบาท คุณฤชภูมิ ถิ่นฐาน หรือ คุณต้น อยู่หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นครอบครัวแรกที่นำแก้วมังกรมาปลูกในชุมชนแห่งนี้จนประสบความสำเร็จ ผลผลิตที่ปลูกไม่พอขาย ทำให้ชาวบ้านในชุมชนสนใจร่วมปลูกและขายด้วยกัน กระทั่งจัดตั้ง
กรมชลประทาน เร่งเดินหน้าแผนปรับปรุงฝายแม่ยม ให้เสร็จภายในปี 2566 เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการน้ำ ช่วยชาวเมืองแพร่มีน้ำกินน้ำใช้เพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้ก่อสร้างฝายแม่ยมมาตั้งแต่ปี 2490 แล้วเสร็จทั้งโครงการในปี 2516 เป็นฝายคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ Ogee Weir ยาว 350 เมตร สูง 7.00 เมตร ต่อมาในปี 2529 ได้มีการก่อสร้างฝายยางเหนือฝายคอนกรีต สูง 1 เมตร แบ่งเป็น 5 ช่อง มีตอม่อกลาง บนฝายคอนกรีตพร้อมอาคารควบคุม จนกระทั่งปัจจุบันสภาพฝายยางมีความเสียหายไม่สามารถใช้การได้ ส่งผลต่อการบริหารจัดการน้ำ ดังนั้น สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 5 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จึงได้ดำเนินโครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพหัวงานฝายแม่ยมขึ้น ด้วยการก่อสร้างประตูระบายทรายแห่งใหม่ในบริเวณใกล้เคียงกับฝายเดิม เนื่องจากการก่อสร้างประตูระบายทรายจะให้ประโยชน์ในด้านการใช้งานและมีอายุการใช้งานที่นานกว่าการปรับปรุงฝายเดิม มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี (ปี 2562-2566) หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำได้ดียิ่งขึ้น สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่กา
โรงงานรับซื้อเศษไม้ของ กำนันสนิท สีหมอก ตั้งอยู่เลขที่ 227/3 หมู่ที่ 7 ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ บนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่เศษ กำนันสนิทเนรมิตให้เป็นโรงงานขนาดย่อม เพื่อรับซื้อเศษไม้จากชาวบ้านเพื่อมาย่อยสลายให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงในโรงงานต่างๆ เช่น โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดย่อม ในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ ซึ่งมีอยู่เพียง 2-3 โรงงาน เช่น โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวเพื่อส่งออกไปประเทศจีน ซึ่งก็นับว่าเป็นโรงงานขนาดกลาง มีคนงานประมาณ 700-800 คนเหมือนกัน แรงงานเหล่านี้ก็ล้วนเป็นคนในพื้นที่และแรงงานจากพม่าส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ ก็มีโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ขนาด 1 เมกกะวัตต์ มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท ของ ส.ส.แพร่คนหนึ่ง เอ่ยชื่อใครๆ ก็รู้จักเขา เหตุที่กำนันคิดตั้งโรงงานแปรรูปชีวมวลนี้ขึ้นมา ก็เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากอาชีพทำนา ทำไร่ข้าวโพด ซึ่งก็รู้กันอยู่ว่า เกษตรกรที่ทำนา ทำไร่ข้าวโพดเหล่านี้ต่างก็มีรายได้แบบน้อยนิด หักต้นทุนออกแล้วปีหนึ่งมีรายได้ไม่กี่พันบาท ต่างก็ต้องดิ้นรนไปหางานทำที่อื่น เพื่อให้มีรายได้มาเลี้ยงครอบครัว ผู้เขียนได้ไปพบกับกลุ่มเกษตรกรหลายคนที่นำเศษไม้มาขายให
ไผ่หวานช่อแฮ มีลักษณะหน่อใหญ่ ถ้าหากไผ่อายุได้ 5-6 ปี หน่อจะใหญ่ได้ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ยิ่งหน่อใหญ่ก็จะยิ่งได้ราคา เพราะในภาคเหนือนิยมกินหน่อไม้ในฤดูแล้ง เพราะมีรสชาติหวานและหอมกว่าหน่อไม้ในฤดูฝน หรือแม้แต่ผักหวานป่าที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติบนป่าเขา หากในฤดูแล้งผักหวานจะมีกลิ่นหอมและหวานกว่าผักหวานในฤดูฝน ดังนั้น ชาวบ้านที่หาของป่าขาย จะมีรายได้ดีในการเข้าป่าไปเก็บผักหวานป่าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพราะฤดูแล้งจะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 200-300 บาท เลยทีเดียว คุณสมเกียรติ อุปนันชัย เกษตรกรดีเด่น แห่งตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ปลูกไผ่หวานช่อแฮ เพียง 3 ไร่ มีรายได้อย่างพอเพียง คือทำเกษตรแบบพ่อหลวงสอนไว้ ไม่ต้องทำมากมายเป็นร้อยไร่ ที่ดินทั้งหมด 5 ไร่ คุณสมเกียรติ มีรายได้ตลอดทั้งปี โดยแบ่งปลูกหน่อไม้ไผ่หวานช่อแฮ 1 แปลง 3 ไร่ ปลูกข้าวโพดหวาน ต้มเอง ขายเอง ประมาณ 1 ไร่ มีรายได้วันต่อวัน วันละ 400-500 บาท โดยไม่ต้องจ้างแรงงาน ใช้แรงงานในครอบครัว สามี ภรรยา ลูกชายช่วยในวันหยุด ไม่ต้องมีรายจ่ายเพิ่ม ไม้ไผ่หวานช่อแฮ คุณสมเกียรติ ปลูกห่างกัน 3×3 เมตร 1 ไร่ ปลูกได้ 150 กอ 3 ไร่ ปลูกได้ทั้งห
จังหวัดแพร่ แม้จะมีพื้นที่เหมาะแก่การปลูกผลไม้ได้หลากหลายชนิด แต่ก็ยังไม่มีผลไม้ชนิดใด ที่ยื่นขอจดทะเบียนเป็นสินค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ (GI : Geographical Indications) ทั้งส้มเขียวหวาน ลำไย ลางสาด ลองกอง ทุเรียน แก้วมังกร ส้มโอ หรือแม้แต่กาแฟแพร่ ถ้าหากผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งของจังหวัดแพร่ ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรเป็นผลไม้ GI ย่อมส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาคุณภาพไม้ผลของจังหวัดให้มีมาตรฐาน เกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับผลไม้อย่างแน่นอน ผู้เขียนได้ติดต่อขอข้อมูลกับเกษตรจังหวัดแพร่ เกี่ยวกับแนวความคิด แนวทางที่จะผลักดันการส่งเสริมให้ผลไม้จังหวัดแพร่ ให้ได้รับการจดทะเบียนดังกล่าว แนวความคิดและความเป็นมา ของการผลักดันผลไม้จังหวัดแพร่เป็นผลไม้บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI คุณประภาส สานอูป เกษตรจังหวัดแพร่ ได้กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าสินค้าเกษตรในกลุ่มไม้ผลซึ่งเป็นพืชสวนที่สร้างมูลค่าให้ประเทศไทยได้มาก โดยผลไม้ในกลุ่มเศรษฐกิจหลักที่มีการส่งออกมากที่สุด คือ ทุเรียน (คิดเป็นร้อยละ 46.06) รองลงมา ได้แก่ ลำไย (คิดเป็นร้อยละ 37.49) มังคุด (คิดเป็นร้อยละ 9.50) มะม่วง (คิดเป็นร
แก้วมังกร (Dragon fruit) ไม้ผลรสอร่อย มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกากลาง เข้ามาในประเทศเวียดนามและแพร่หลายในประเทศไทย แก้วมังกร จัดอยู่ในวงศ์ Cactaceae เป็นพืชตระกูลเดียวกับต้นกระบองเพชรหรือตะบองเพชร มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hyloceveusundatus (Haw) Britt. Rose ความมหัศจรรย์ของเจ้าแก้วมังกรก็คือ ไม่มีใบ แต่มีดอกออกผล เนื้อแก้วมังกรมีสารชนิดหนึ่งชื่อ มิวซิเอจ (Muciage) เป็นสารที่ช่วยดูดซับน้ำตาลกลูโคส ช่วยลดคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ต้องการลดน้ำหนัก มีสรรพคุณทางยาช่วยบรรเทาอาการโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และมีสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแก้วมังกรตำบลบ้านถิ่น แก้วมังกรปลูกไม่ยาก ปลูกไม่ถึงปีก็ได้ผลผลิต ใช้พื้นที่ก็น้อย ดูแลง่าย ขยายพันธุ์ง่าย ปลูกเชิงการค้า สร้างรายได้ดี ต้นทุนต่ำ ลงทุนเพียงครั้งเดียว เก็บผลผลิตได้นาน 15-20 ปี ถ้าดูแลจัดการดี จังหวัดแพร่ เป็นแหล่งหนึ่งที่มีการปลูกแก้วมังกรกันอย่างแพร่หลายในอำเภอเมืองแพร่ หนองม่วงไข่ เด่นชัย วังชิ
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2563 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสถาบันคลังสมองของชาติ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แหลมไทย อาษานอก และทีมงานวิจัย สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้ ดำเนินโครงการ “การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าของผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ไม้สักในจังหวัดแพร่” เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ไม้สักของผู้ประกอบการในจังหวัดแพร่ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ในงานวิจัยสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้สักและประชาชนทั่วไป มหาวิทยาลัยจึงจัดการประชุม “คืนความรู้งานวิจัยห่วงโซ่คุณค่าไม้สักสู่เมืองแพร่” โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดการประชุมและร่วมปาฐกถาดังกล่าว โดยมี อาจารย์ ดร. ศุกรี อยู่สุข คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการเปิดเวทีเสวนาพูดคุยแลกเปลี่ยน
“วันๆ หมกมุ่นอยู่แต่ในบ้านไม่ได้นาน ใจมันอยู่ที่สวน ต้องใช้ชีวิตอยู่กับสวน มันเงียบดี อากาศก็บริสุทธิ์ สดชื่น เดินดูโน่น…นั่น…นี่ เห็นใบไม้สีเขียวเป็นมัน เห็นดอกไม้ผลสวยงาม มีกลิ่นหอม รอดูผล แม้ได้เวลาเก็บผลก็ยังเสียดาย อยากให้ติดผลอยู่บนต้นนานๆ มันเป็นชีวิตที่มีความสุข” คำปรารภของ ร.ต. ประเสริฐ ชอบธรรม อดีตทหารผ่านศึก ทำเกษตรไม้ผล ที่แพร่ ร.ต.ประเสริฐ ชอบธรรม ภรรยา คุณไฉน ชอบธรรม มีบุตร 2 คน คนหนึ่งทำงานประจำ อีกคนกำลังศึกษาระดับปริญญาโท ครอบครัวนี้อยู่บ้านเลขที่ 106/1 หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150 โทรศัพท์ 081-299-4674 ร.ต. ประเสริฐ เล่าให้ฟังว่า ครอบครัวคือ พ่อ-แม่ ทำอาชีพเกษตรกรรมอยู่ก่อนแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2527 ตนเองต้องไปเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารเกณฑ์ สังกัด ม.พัน 12 ค่ายพระยาไชยบูรณ์ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ได้ออกสนามรบที่อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ปะทะกับผู้ก่อการร้ายทหารลาวได้รับบาดเจ็บ อวัยวะบางส่วนพิการ จึงเป็นอดีตทหารผ่านศึกได้รับพระราชทานยศ ร้อยตรี อยู่ในการดูแลขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินเลี้ยงชีพ เงินผดุงเกี