จับปลา
โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านทรายทอง ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร เป็นหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรแบบผสมผสาน เช่น การปลูกพืชผัก ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ เลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ ปลูกป่าเป็นแหล่งอาหารชุมชนแล้ว ยังเป็นแหล่งจ้างงาน และแหล่งถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้แก่ชาวบ้านนำไปประกอบอาชีพอย่างถูกวิธี และมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ลดปัญหาการละทิ้งถิ่นฐาน เพื่อไปรับจ้างในเมืองอีกด้วย “การสร้างลานปลา” เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าเรียนรู้ในโครงการแห่งนี้ การสร้างลานปลาแบบโบราณของชาวสกลนคร ไม่มีขั้นตอนยุ่งยากอะไร ผู้สนใจสามารถนำองค์ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป หรือสระน้ำทุกพื้นที่ เริ่มจากนำไม้ไผ่มาปัก 4 มุม ในระยะกว้าง 20 เมตร ยาว 15 เมตร นำตาข่ายสีเขียวหรือสีดำ ขนาดความถี่ ประมาณ 1 เซนติเมตร มาผูกกับไม้ไผ่ทั้ง 4 ด้าน ปล่อยให้ตาข่ายจมอยู่ใต้ผิวน้ำ หลังจากนั้น นำกิ่งไม้มาลอยสุมอยู่เหนือตาข่าย เมื่อสร้างลานปลาเสร็จแล้ว ปล่อ
“เก็บเอาไว้เถอะเก็บเอาไว้ ยังมีคนต้องการ ผ่านวันนี้มาจากเมื่อวาน ยังมีวันต่อไป…” บทเพลง รักต้องสู้ ของ วงคาราบาว ดังแว่วมาจากท้องทุ่ง ลมแล้งพัดแผ่วผิว แดดในยามสายส่องแสงร้อนแรง จนต้องสวมเสื้อแขนยาวสวมหมวกมิดชิด ผมมองระยิบแดดที่เริ่มแผดกล้าขึ้น ครอบครัวหนึ่งกำลังง่วนอยู่กับการขุด ล้วง แคะ แหย่ และหยิบ เสียงพูดคุยเย้าแหย่หัวร่อต่อกระซิกมีไม่ขาดสาย “ทำอะไรกันน้อ วัตร” “ขุดปูนาครับพี่ ต้องเร่งมือ สายกว่านี้เดี๋ยวจะร้อน” “ได้เยอะไหมล่ะ” “พอได้ครับพี่ คงหลายสิบโคมอยู่ครับ” “โคม เป็นยังไงหนอ” “เดี๋ยวไปดูที่บ้านครับ สักพักก็จะพากันกลับแล้ว ต้องไปจัดปูเข้าคีบเข้าโคมรอส่งแม่ค้ากันต่อ” นิวัตร ปรีสมบัติ หนุ่มอีสานลูกเมืองน้ำดำ – กาฬสินธุ์ ผู้ผ่านงานมาสารพัด ตั้งแต่เป็นทหารเกณฑ์ กระทั่งปลดประจำการ แล้วก็หอบหิ้วความรู้ระดับ ม.6 เข้าไปหางานในเมืองกรุง ด้วยความหวังอยากมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตั้งใจว่าจะมุ่งมั่นทำงานเก็บเงิน เผื่อในวันข้างหน้าจะได้สร้างฐานะให้คนในครอบครัวสุขสบายมากขึ้น ชีวิตเริ่มต้นก็สวยงามด้วยตำแหน่งงานที่ดี หัวหน้างานจะเลื่อนตำแหน่งงานที่สูงขึ้นให้พร้อมกับเงินเดือนที
คุณ TookPhalin Thanandorn ได้โพสต์คลิปภูมิปัญญาชาวบ้าน ล่อปลามาลงหลุมแบบง่ายๆ ในคลิปจะเห็นว่าปลาจำนวนมากไหลตามร่องน้ำที่มีคนขุดไว้มาลงเข่งจนสร้างความตื่นตะลึงให้กับผู้ชมคลิป อย่างไรก็ตาม คุณ ชาญ ชาญ ภาระ ได้มาแสดงความเห็นว่า พอน้ำมาปลาก็จะขึ้น ต้นฝนน้ำมาปลาขึ้นไปหากินวางไข่ ปลายหนาว ปลาต้องลงแม่น้ำเพราะน้ำข้างบนเริ่มหมด หากใครรู้ทางดักปลาก็จะทำไหลเข้ามาในทิศทางที่ดักไว้ได้ไม่ยาก ส่วนหลายคนแสดงความเห็นว่า ปลาอาจได้กลิ่นโคลนจากน้ำลึกจึงได้ว่ายมาหา ที่มา : ข่าวสดออนไลน์
อ่างทองชาวบ้านแห่จับปลาน็อกน้ำในคลองลำท่าแดง สร้างรายได้อย่างงาม วันที่ 18 ต.ค. 60 ชาวบ้านแห่จับปลา โดยการหว่านแหในคลองลำท่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง หลังน้ำในคลองเริ่มเน่าเสีย ไร้ที่ระบายเนื่องจากระดับน้ำในคลอง อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำเจ้าพระยากว่า 1 เมตร ส่งผลกระทบปลาที่อาศัยอยู่ในคลองลำท่าแดง ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากเริ่มขาดออกซิเจนในน้ำ ขาดอากาศน็อกน้ำลอยหัว ขึ้นบนผิวน้ำเห็นเป็นฝูงปลาขนาดใหญ่ ชาวบ้านในพื้นที่ ได้ทำการพายเรือออกไปกลางคลอง พร้อมทำการหว่านแหจับได้แต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก โดยมีประชาชนรอรับซื้อปลาที่หาได้อยู่ที่ริมตลิ่ง ด้าน นายบุญชู สุขถนอม อายุ 40 ปี คนหาปลา กล่าวว่า ในช่วงนี้น้ำในคลองลำท่าแดง เริ่มเน่าเสียไร้ที่ระบาย ทำให้ปลาสร้อย ปลาซ่า ปลากระแหทอง และปลาแขยง เกิดการน็อกน้ำ ลอยหัวขึ้นมาสู่ผิวน้ำเป็นฝูงๆ ทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน จึงจับปลาได้โดยง่าย ซึ่งการหว่านแหลงไปในคลองแต่ละครั้งนั้น ทำให้จับได้เป็นจำนวนมาก นำไปขายสร้างรายได้อย่างงาม โดยมีประชาชนมารอรับซื้อ ถึงที่ริมคลองเมื่อจับได้ปุ๊บก็นำปลาไปขายได้เลย โดยเมื่อแกะออกจากแห ก็จับใส่ถุงกระสอบปุ๋ยที่มีอยู่ ขายกันแบบเหมาไ
ที่บริเวณชายหาดหัวหิน ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมาได้มีประชาชนชาว อ.หัวหิน ใช้อุปกรณ์จับสัตว์น้ำ เช่น อวน แห ฉมวก ลงจับสัตว์ทะเลทั้งกุ้ง หอย ปู ปลาจำนวนมากที่ลอยแพขึ้นหายใจเต็มทะเลหัวหินอย่างคึกคัก ตั้งแต่บริเวณท่าเทียบเรือสะพานปลาถึงริมกำแพงวังไกลกังวล ในเขตเทศบาลเมืองหัวหินระยะทางราว 2 กม. โดยมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติยืนถ่ายภาพแชร์ในสังคมโซเชียล หลังจากชาวบ้านแต่ละรายสามารถจับปลาขนาดใหญ่ ทั้งปลาสร้อย ปลากระเบน ปลาฉลาม ปูม้า และกุ้งทะเล เพื่อนำกลับไปประกอบอาหารที่บ้าน ขณะที่มีแม่ค้าส่วนหนึ่งมารับซื้อปลาที่บริเวณชายหาด บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก สำหรับปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากมีฝนตกหนักในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ทำให้มีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากไหลลงสู่ทะเล จนปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “น้ำเปลี่ยนสี” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “น้ำเบียด-น้ำกัน” ส่งผลให้น้ำทะเลมีค่าออกซิเจนที่น้อยลง สัตว์ทะเลจึงลอยขึ้นเหนือน้ำเพื่อหายใจ และหลังจากนี้หากไม่มีฝนตกต่อเนื่องสถานการณ์ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับสัตว์ทะเลที่นำไปบริโภคชาวบ้านยืนยันว่าไม่มีผลกระทบใดๆ เนื่องจากมีปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทุกปี ที่มา มติชนอ
วันที่ 20 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ ภายหลังจากที่มีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน และชลประทาน จ.อุทัยธานีได้เปิดประตูระบายน้ำของเขื่อนวังร่มเกล้า ต.ทุ่งใหญ่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี ลงสู่ท้ายเขื่อนไปทางตอนล่าง ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณปริมาณน้ำดังกล่าวให้พื้นที่การเกษตรที่เริ่มเข้าสู่การทำนาปีแล้วนั้น ในสายน้ำที่ไหลมายังมีแหล่งอาหารสำคัญคือปลาหลากหลายชนิดที่ไปกับกระแสน้ำด้วย ทำให้กลายเป็นแหล่งช่องทางทำกินอีกหนึ่งช่องทางให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะที่บริเวณฝายน้ำล้นแควตากแดดในพื้นที่ระหว่างบ้านวังสาธิต หมู่ 4 ต.หนองไผ่แบน และบ้านหนองอีเติ่ง หมู่ 8 ต.เนินแจง อ.เมือง มีชาวบ้านทั้งในพื้นที่และต่างพื้นที่แห่นำอุปกรณ์จับปลาชนิดต่างๆ ที่ตนเองมี เช่น ล่อวง ลอบ แห และเบ็ดตกปลา เดินทางมาดักจับปลาที่บริเวณดังกล่าวกันตั้งแต่เช้าจนถึงช่วงกลางคืน โดยแต่ละรายนั้นสามารถดักจับปลาชนิดต่างๆ ได้มากถึงคนละ 10-20 กิโลกรัม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นปลาเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลาตะเพียนขาว ปลาสร้อย และปลาแขยง เป็นต้น
วันที่ 20 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ภายหลังในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีพายุฝนฤดูร้อนตกลงมาต่อเนื่อง ไม่เพียงส่งผลดีต่อเกษตรกรซึ่งประสบปัญหาภัยแล้งมาหลายเดือน ยังส่งผลดีต่อชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งมีอาชีพประมงหาปลาตามลำน้ำโขงขายสร้างรายได้ เนื่องจากระดับน้ำโขงเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2 เมตร ล่าสุดอยู่ที่ระดับประมาณ 4-5 เมตร ส่งผลให้ชาวบ้านหาปลาตามลำน้ำโขงได้มากขึ้น เพราะใกล้เป็นช่วงฤดูกาลวางไข่ ส่งผลให้ตามตลาดสดต่างๆ ในพื้นที่ จ.นครพนม มีพ่อค้าแม่ค้านำปลาน้ำโขง น้ำสงคราม มาวางขายกันคึกคัก สร้างเงินหมุนเวียนสะพัด ส่วนใหญ่จะเป็นปลาน้ำโขง ซึ่งเป็นที่นิยมนำไปปรุงเป็นเมนูปลาน้ำโขง ปลาน้ำสงคราม และปลาตามธรรมชาติ อาทิ ปลาแค้ ปลาคัง ปลายอน ปลานาง ปลาบึก ปลาค้าว ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาเผาะ และอีกหลากหลายชนิด มีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ 100-600 บาท ส่งผลดีต่อชาวบ้านที่มีอาชีพประมงหาปลาน้ำโขงขายมีรายได้มากขึ้น บางรายสามารถขายได้วันละ 5,000-10,000 บาท นอกจากนี้บางส่วนยังได้นำไปแปรรูป ทำปลาแห้ง ปลาร้า ปลาส้ม เป็นสินค้าโอท็อปขาย เป็นของฝาก สร้างรายได้อีกด้วย
เพชรบูรณ์-ชาวบ้านแห่จับปลาในสระน้ำสาธารณะหมู่บ้านเกือบ 1,000 คน เงินรายได้จากค่าเข้าจับปลาหมู่บ้านนำไปใช้ด้านสาธารณประโยชน์ ให้กู้ดอกเบี้ยต่ำทำต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2544 วันที่ 9 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณหนองก้มคลานซึ่งเป็นสระน้ำสาธารณะประโยชน์บ้านวังซองหมู่ที่ 3 ต.ช้างตะลูด อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ มีชาวบ้านเกือบ 1,000 คน พากันแห่ไปจับปลา หลังทางหมู่บ้านเปิดให้ทำการจับปลาปีละครั้ง กระทั่งทำให้บรรดาชาวบ้านโดยเฉพาะพรานล่าปลาถึงกับนำอุปกรณ์จับปลาหลากชนิดไม่ว่าจะเป็นแห ยอ สวิงฯลฯ มาตั้งท่ารอจับตากันจนเต็มขอบสระดังกล่าว นอกจากนี่ยังมีการใช้เรือลอยในสระเพื่อทอดแหจับปลา โดยปลาที่จับส่วนใหญ่จะเป็นปลาปลาค้าว ปลากด ปลาหมอ ปลาแขยง ปลาเนื้ออ่อน ปลาช่อน ซึ่งปลาบางตัวใหญ่น้ำหนักถึงราว 5 กิโลกรัม จนทำให้บรรยากาศการจับปลาเต็มไปด้วยความคึกคัก นอกจากนี้มีแม่ค้าปลามาติดต่อขอรับซื้อถขอบสระอีกด้วย นายไชยยา ดีทุ่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ต.ช้างตะลูด อ.หล่มสัก กล่าวว่า สระน้ำแห่งนี้ ในฤดูฝนน้ำจากแม่น้ำป่าสักจะเข้าท่วมพื้นที่ จึงทำให้ปลาเข้ามาอยู่ในสระเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ทางหมู่บ่านมีข้อตกลงร่วมกันว่าจะยั
วันที่ 18 มีนาคม 2560 เมื่อเวลา 08.00 น. ที่จังหวัดบึงกาฬ มีอากาศร้อนอบอ้าว ชาวบ้านพาครอบครัวพร้อมกับนำอุปกรณ์จับปลานานาชนิดมาลงแขกจับปลาการกุศล บริเวณหนองผือ ภายในหมู่บ้านแสนสำราญ หมู่ที่ 10 ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ที่เปิดให้ประชาชนมาลงแขกจับปลาเพื่อหารายได้ไปเป็นค่าใช้จ่ายในสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ของหมู่บ้าน โดยการจำหน่ายบัตร คิดราคาแหปากละ 50 บาท สะดุ้ง หรือยอ 1 ตัวคิด 50 บาท ส่วนสวิงและสุ่มจับปลาคิด 20 บาทเท่ากัน ส่วนใหญ่มาเป็นครอบครัว เมื่อได้ปลาตัวเล็กก็จะปิ้ง ต้ม กินกันริมหนองน้ำ ส่วนปลาตัวใหญ่ก็จะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อไปประกอบอาหารขายอีกทอด ส่วนปลาที่ชาวบ้านจับได้ก็มีทั้งปลาค้าว ปลาปลาช่อน ชะโด ปลายี่สกเทศ ปลานิล ปลาตองกรายฯลฯ และปลาที่จับได้ตัวใหญ่สุดคือปลาตองกรายมีน้ำหนักถึง 6 กิโลกรัม สำหรับการลงแขกจับปลาในครั้งนี้นอกจากจะนำรายได้เข้าในชุมชนแล้ว ยังเป็นการสร้างความสนุกสนาน ความรัก ความสมัครสมานสามัคคีของคนในหมู่บ้านอีกด้วย
วันที่ 9 มีนาคม หลังเข้าสู่ฤดูร้อนภัยแล้งเริ่มขยายวงกว้าง ทำให้เกษตรกรชาวนาได้รับความเดือดร้อนน้ำไม่พอทำนา ทางหน่วยงานรัฐได้ขอความร่วมมือให้ชาวนาหยุดทำนาปรัง โดยหันไปปลูกพืชผักสวนครัว ซึ่งเป็นพืชล้มลุกอายุสั้นสามารถเก็บผลผลิตนำไปขายสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริม แต่ยังมีชาวนาบางส่วนพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการเช่าบึงน้ำว่างเปล่ากลางทุ่งนาที่น้ำเริ่มแห้งขอด ลงสูบน้ำจับปลานานาชนิดที่มีอยู่ในบึงออกขายสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวยามหน้าแล้ง จากการสอบถามนายสนธิ โพธิ์เตี้ย อายุ 49 ปี ชาวนาในจังหวัดอ่างทอง เปิดเผยว่า ตนเองมีพื้นที่ทำนา 50 ไร่ หลังจากภัยแล้งเริ่มคืบคลานเข้ามาจนน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ น้ำเริ่มแห้งขอดคลองไม่มีน้ำทำนา ประกอบกับหน่วยงานของทางราชการได้ขอความร่วมมือให้ชาวนาหยุดทำนาปรัง หันมาหาอาชีพเสริมทำสร้างรายได้ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวออกขาย แต่ตนเองเห็นว่าในคลอง หนอง บึง ที่มีน้ำแห้งขอดยังมีปลาชนิดต่างๆ ตามธรรมชาติ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าปลาบ่อ ปลานา ถ้าปล่อยไว้ปลาก็จะตายหรือเป็นอาหารให้กับนกตามธรรมชาติ จึงได้ติดต่อขอเช่าบึงจากเจ้าของบึงกลางทุ่งนา หมู่ 2 ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง ในราคา