จำปาดะ
ถ้าพูดถึงผลไม้ที่มีเปลือกเป็นหนาม กลิ่นรุนแรง หลายคนคงนึกถึงทุเรียนและขนุน แต่ยังมีผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีเปลือกหนามและหากินได้ยาก ส่วนใหญ่จะมีขายให้พื้นที่ภาคใต้ เพราะเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกกันมากในภาคใต้ เรียกได้ว่าเป็นผลไม้ประจำภาคใต้อีกชนิดหนึ่ง นั่นคือ จำปาดะ เป็นพืชที่ชอบความชื้นและฝนชุก ซึ่งภาคใต้ก็มีภูมิอากาศที่เหมาะสมกับพืชชนิดนี้เป็นอย่างดี จำปาดะเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับขนุน ถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินโดนีเซีย จำปาดะจะมีรูปร่างคล้ายขนุน ผิวมีสีเข้ม ผลยาว เมื่อสุกเมล็ดจะเป็นเหมือนขนุน แต่สีเข้มกว่า เนื้อนิ่มและเหนียวกว่า ไม่กรอบเหมือนขนุน จำปาดะมีกลิ่นที่แรงมาก ถ้าใครไม่ชอบกลิ่นอาจทำให้เป็นลมได้เลย แต่ถึงแม้ว่ากลิ่นมันจะแรงแต่รสชาติอร่อยมาก หวานจัด จะกินเป็นผลไม้หรือเป็นขนมหวานก็ได้ อย่างเช่น เมนูยอดฮิตคือ จำปาดะทอด โดยนำจำปาดะมาฉีกเปลือกแล้วแกะใส่จานไว้ ไม่ต้องแกะเอาเมล็ดออก เพราะเราจะทอดทั้งเมล็ด นำแป้งข้าวเจ้า แป้งสาลี ปริมาณเท่าๆ กัน ใส่ถ้วยผสม และใส่เกลือไปเล็กน้อย คนให้เข้ากัน จากนั้นใส่มะพร้าวขูดลงไป คนให้เข้ากันอีกครั้ง ค่อยๆ เติมน้ำเปล่า อย่าให้ข้นเกินไป หรือ
“จำปาดะ” ถือเป็นไม้ผลพันธุ์พื้นเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทย นิยมนำผลสุกมาประกอบอาหารหวานและแปรรูป พบปลูกมากที่สุดในจังหวัดสตูล พื้นที่ปลูกรวม 1,685 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 1,175 ไร่ ซึ่งจำปาดะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวจังหวัดสตูล และเป็นสินค้าอัตลักษณ์ประจำถิ่น ประกอบกับเป็นไม้ผลที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าที่อื่น จึงได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา (สศท.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้ติดตามสถานการณ์การผลิตจำปาดะในจังหวัดสตูล พบว่า แหล่งผลผลิตสำคัญอยู่ที่อำเภอควนโดน เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกจำปาดะพันธุ์ขวัญสตูล เนื่องจากเป็นพันธุ์ทางการค้า ผู้บริโภคนิยม มีลักษณะเด่น คือ เนื้อสีเหลืองออกสีส้ม ยุม (เนื้อผล) ใหญ่ เนื้อหนา ไม่เละ กลิ่นไม่จัด และรสชาติไม่หวานมาก หากปลูกโดยการเพาะเมล็ดจะใช้เวลา 5-6 ปีถึงให้ผลผลิต แต่ถ้าปลูกโดยการเสียบยอด/ติดตา/ทาบกิ่ง จะใช้เวลา 3-4 ปี ถึงให้ผลผลิต เกษตรกรปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน สภาพอากาศเหมาะสม
นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา (สศท.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “จำปาดะ” ถือเป็นไม้ผลพันธุ์พื้นเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทย นิยมนำผลสุกมาประกอบอาหารหวานและแปรรูป พบปลูกมากที่สุดในจังหวัดสตูล พื้นที่ปลูกรวม 1,685 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 1,175 ซึ่งจำปาดะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวจังหวัดสตูล และจากการที่เป็นสินค้าอัตลักษณ์ประจำถิ่น ประกอบกับเป็นไม้ผลที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าที่อื่น จึงได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 สศท.9 ติดตามสถานการณ์การผลิตจำปาดะในจังหวัดสตูล พบว่า แหล่งผลผลิตสำคัญอยู่ที่อำเภอควนโดน เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกจำปาดะพันธุ์ขวัญสตูล เนื่องจากเป็นพันธุ์ทางการค้า ผู้บริโภคนิยม มีลักษณะเด่น คือ เนื้อสีเหลืองออกสีส้ม ยุม (เนื้อผล) ใหญ่ เนื้อหนา ไม่เละ กลิ่นไม่จัด และรสชาติไม่หวานมาก หากปลูกโดยการเพาะเมล็ดจะใช้เวลา 5-6 ปี ถึงให้ผลผลิต แต่ถ้าปลูกโดยการเสียบยอด/ติดตา/ทาบกิ่ง จะใช้เวลา 3–4 ปี ถึงให้ผลผลิต เกษตรกรปลูกช่วงเดื
คุณจรินทร์ ช่วยชิต อายุ 53 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง บอกว่า ตำบลบ้านนา เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ริมเทือกเขาบรรทัดรอยต่อระหว่างจังหวัดพัทลุง กับจังหวัดตรัง โดยเป็นพื้นที่ที่การเกษตร เกษตรกรจะมีรายได้จากการจำหน่ายไม้ผลต่างๆ ทั้งทุเรียน ลองกอง มังคุด จำปาดะ ฯลฯ โดยเฉพาะพื้นที่ได้ปลูกจำปาดะไปแล้วไม่น้อยกว่า 300 ไร่ โดยปลูกรวมผสมผสานกันกับไม้ผลทั่วไป ทั้งนี้ ตั้งแต่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 10 เป็นพื้นที่ปลูกจำปาดะที่เหมาะสม มีคุณภาพดี และอร่อยที่สุดของจังหวัดพัทลุง และมีจำปาดะพันธุ์ “ทองเลี้ยว” ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดใหม่กลับเป็นที่นิยมกันอย่างมากจนได้ราคาดี สร้างรายได้มากกว่าราคาทุเรียนเสียอีก ผลไม้ชนิดต่างๆ ด้วย จำปาดะที่ปลูกกันมากคือ พันธุ์ทองโปรยกับพันธุ์ทองเลี้ยว ซึ่งเป็นพันธุ์ประจำถิ่น และสำหรับพันธุ์ทองเลี้ยว แต่เดิมนั้นมีเพียงต้นพันธุ์ขนานแท้อยู่เพียงต้นเดียว ต่อมาก็มีการขยายพันธุ์นำมาปลูกกันมากขึ้น ทั้งนี้ ทางเทศบาลตำบลบ้านนากับผู้นำท้องถิ่นก็ได้มีนโยบายให้การสนับสนุน จึงได้ขยับขยายพื้นที่ปลูกกันมาก หลังจากที่พันธุ์ทองเลี้ยว
จำปาดะ เป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับ ขนุน หรือสาเก ภาษาอังกฤษก็ใช้คำนี้ Champedak ไม่รู้ใครลอกใคร แต่มาเลเซียเรียกอีกชื่อหนึ่ง ภาษาใต้ เรียกว่า จำดะ นิยมปลูกมากในภาคใต้ ออกผลปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมตอนต้นฤดูฝนของทุกปี ในช่วงหน้าอื่นมีผลบ้างแต่ไม่มากนัก ผลของจำปาดะจะเล็กกว่าขนุน ผิวสีเข้มกว่าผิวขนุนและไม่ค่อยสวยเหมือนผิวขนุน ลักษณะผลจะเป็นทรงกระบอกยาว เนื้อในนิ่มและเหนียวไม่กรอบเหมือนขนุน รสหวานจัด เด็กเล็กและคนชราควรบริโภคอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเนื้อเหนียวจะเคี้ยวไม่ค่อยขาด ตอนกลืนจะติดคอ ครั้งตอนเด็กๆ เมื่อกินจำปาดะผู้ใหญ่จะคอยดูให้กินทีละเมล็ดกลืนเข้าไปแล้วค่อยกินเมล็ดต่อไป จริงๆ แล้วถ้าไม่มีการห้าม เด็กๆ ก็จะกินติดต่อกันหลายๆ เมล็ด เพราะความหวานหอมอร่อยของมัน ซึ่งการกินติดต่อกันหลายๆ เมล็ด โอกาสติดคอได้ง่าย กลิ่นของจำปาดะค่อนข้างแรงน้องๆ ทุเรียน สมัยก่อนที่ใช้บริการรถทัวร์เขาห้ามนำทุเรียนและจำปาดะขึ้นบนรถเด็ดขาด ดมนานๆ บางคนถึงกับเป็นลมทีเดียว ความเป็นมา สวนเก่าแก่ในจังหวัดพังงาส่วนใหญ่ยังเป็นสวนประเภทสมรมอยู่ คือมีการปลูกผลไม้รวมๆ กันหลายชนิด เพื่อนฝูงที่นั่นแนะนำว่า
จำปาดะ เป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับ ขนุน หรือสาเก ภาษาอังกฤษก็ใช้คำนี้ Champedak ไม่รู้ใครลอกใคร แต่มาเลเซียเรียกอีกชื่อหนึ่ง ภาษาใต้ เรียกว่า จำดะ นิยมปลูกมากในภาคใต้ ออกผลปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมตอนต้นฤดูฝนของทุกปี ในช่วงหน้าอื่นมีผลบ้างแต่ไม่มากนัก ผลของจำปาดะจะเล็กกว่าขนุน ผิวสีเข้มกว่าผิวขนุนและไม่ค่อยสวยเหมือนผิวขนุน ลักษณะผลจะเป็นทรงกระบอกยาว เนื้อในนิ่มและเหนียวไม่กรอบเหมือนขนุน รสหวานจัด เด็กเล็กและคนชราควรบริโภคอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเนื้อเหนียวจะเคี้ยวไม่ค่อยขาด ตอนกลืนจะติดคอ ครั้งตอนเด็กๆ เมื่อกินจำปาดะผู้ใหญ่จะคอยดูให้กินทีละเมล็ดกลืนเข้าไปแล้วค่อยกินเมล็ดต่อไป จริงๆ แล้วถ้าไม่มีการห้าม เด็กๆ ก็จะกินติดต่อกันหลายๆ เมล็ด เพราะความหวานหอมอร่อยของมัน ซึ่งการกินติดต่อกันหลายๆ เมล็ด โอกาสติดคอได้ง่าย กลิ่นของจำปาดะค่อนข้างแรงน้องๆ ทุเรียน สมัยก่อนที่ใช้บริการรถทัวร์เขาห้ามนำทุเรียนและจำปาดะขึ้นบนรถเด็ดขาด ดมนานๆ บางคนถึงกับเป็นลมทีเดียว ความเป็นมา สวนเก่าแก่ในจังหวัดพังงาส่วนใหญ่ยังเป็นสวนประเภทสมรมอยู่ คือมีการปลูกผลไม้รวมๆ กันหลายชนิด เพื่อนฝูงที่นั่นแนะนำว่า
“จำปาดะ” เป็นไม้ผลที่มีกลิ่นหอมหวานเฉพาะตัว เติบโตได้ดีในท้องถิ่นภาคใต้ พบได้ทั่วไปในพื้นที่จังหวัดสตูล สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ฯลฯ ชาวบ้านนิยมปลูกไว้รับประทานและจำหน่ายผลสืบทอดกันมานานกว่าร้อยปี ปัจจุบัน จำปาดะ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวจังหวัดสตูลและสงขลา โดยนิยมปลูกต้นจำปาดะผสมผสานกับไม้ผลชนิดอื่นๆ ทุกส่วนของต้นจำปาดะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ผล แปรรูปเป็นอาหารคาว หวาน เปลือกต้น ทำปุ๋ยชีวภาพได้ ไม้จำปาดะใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอย นอกจากนี้ ใบและเนื้อไม้จำปาดะ ยังใช้ทำสีย้อมผ้าได้ ฯลฯ “จำปาดะ” เป็นพืชป่า จําปาดะ จัดอยู่ในวงศ์ (Family) Moraceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus integer (Thunb.) Merr. มีชื่อสามัญว่า Champedak ชาวใต้เรียกสั้นๆ ว่า “จําดะ” เป็นพืชป่าที่ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปในป่าแถบภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย และพม่า จำปาดะ เป็นไม้ยืนต้นลักษณะคล้ายขนุน แต่มีขนาดผลเล็กกว่า ลำต้นสีน้ำตาลและมักมีจุดสีขาวตลอดทั้งต้น ใบและผลของจําปาดะคล้ายขนุน ใบจะมีปุยขนสั้นๆ หากจับดูจะรู้สึกระคายมือ ผลมีลักษณะรูปทรงยาวบ้างสั้น
จำปาดะ เป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับ ขนุน หรือสาเก ภาษาอังกฤษก็ใช้คำนี้ Champedak ไม่รู้ใครลอกใคร แต่มาเลเซียเรียกอีกชื่อหนึ่ง ภาษาใต้ เรียกว่า จำดะ นิยมปลูกมากในภาคใต้ ออกผลปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมตอนต้นฤดูฝนของทุกปี ในช่วงหน้าอื่นมีผลบ้างแต่ไม่มากนัก จำปาดะ “ทองตาปาน” เป็นจำปาดะพื้นถิ่นของ ต.เหมาะ อ.กะปง จ.พังงา ถือเป็นจำปาดะ เบอร์ 1 ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งในภาคใต้ และภาคกลาง ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรครอบครัวละนับแสนต่อปี เนื่องจากมีผลใหญ่สีทอง เนื้อหนาสีเหลืองทอง รสชาติหอมหวาน กลิ่มหอมละมุน จึงได้รับความนิยมรับประทานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นจำปาดะอันดับต้นๆ ของประเทศ นายจรัญ หนูนุ้ย เกษตรกรชาว ม.1 ต.เหมาะ อ.กะปง จ.พังงา เปิดเผยว่า ที่มาของจำปาดะพันธุ์ทองตาปาน มาจากเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว พี่ชายได้ซื้อสวนมาจากญาติ ซึ่งภายในสวนนั้น มีจำปาดะต้นหนึ่งมีลักษณะที่โดดเด่น ไม่เหมือนกับจำปาดะพื้นบ้านทั่วไป จึงได้นำมาขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด และได้นำมาปลูกในสวนของตนเองเองประมาณ 200 ต้น ในพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ เมื่อผลผลิตออกมามีผลและเนื้อใ
วช.ร่วมมรภ.สงขลา นำวิจัยเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากชุมชนสงขลา และสตูล สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนพื้นที่ ในการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ โดยนำงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ แบบพึ่งพาตนเองให้กับชุมชนวิสาหกิจบ้านควนโดน จังหวัดสตูล และชุมชนวิสาหกิจบ้านสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา โดยวางระบบการจัดการและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปพืชเกษตรท้องถิ่น:จำปาดะ เพื่อสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชนให้เข้มแข็ง โดยดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน ณ กลุ่มแปรรูปจำปาดะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร จ.สงขลา เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 โดยมีดร.สุวรรณี พรหมศิริ หัวหน้าโครงการ นำเสนอผลการดำเนินงานภายใต้แผนงานจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากจำปาดะ เพื่อสร้างให้เป็นพืชเศรษฐกิจอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นชุมชนอย่างยั่งยืน
ฉันไม่ได้ลิ้มรสชาติจำปาดะ ขนุนถิ่นใต้มาร่วมยี่สิบปีแล้ว รสชาติจำปาดะครั้งล่าสุดที่อยู่ในความทรงจำคือ จำปาดะทอดกรอบๆ ร้อนๆ หอมจัดด้วยกลิ่นเฉพาะตัวของผลไม้ที่ถูกความร้อนเผาให้กำจายกลิ่นไปทั่ว กลิ่นขนุนสำหรับคนที่ไม่ชอบนั่นก็สุดจะทนแล้ว แต่กลิ่นจำปาดะนี้เข้มข้นรุนแรงยิ่งกว่า ใครที่ไม่รักชอบเอาจริงๆ ถ้าโดนกลิ่นเข้าเต็มจมูกอาจถึงขั้นเป็นลมได้ แม้แต่ฉันซึ่งเป็นคนชอบขนุน พอเจอกลิ่นจำปาดะเข้าก็ถึงกับชะงักกึกเลยทีเดียว น่าสังเกตว่า ในพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด ภาคใต้ดูเหมือนจะมีผักผลไม้รสชาติฉุนเฉียวมากกว่าภาคอื่น โดยเฉพาะกลุ่มที่มี “กลิ่นแรงจัด” นั้นมีเยอะมาก เช่น ทุเรียน จำปาดะ สะตอ ลูกเนียง กระพังโหมต้น ทำมัง (กลิ่นแมงดา) และหมุยหรือหัสคุณ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงพืชผัก “รสขมจัด” ที่มีอยู่มากมายและนิยมกินเฉพาะในหมู่ชาวใต้เท่านั้น คือ สะเดาเทียม หรือ สะเดาช้าง ซึ่งเป็นไม้ป่าโตเร็ว มีเนื้อไม้สวยงามกว่าไม้ยางพารามาก และด้วยรสขมพิเศษนี่เองทำให้ปลวกและมอดแมลงทำลายเนื้อไม้ทั้งหลายไม่ชอบกัดแทะเลย ไม้สะเดาช้างจึงได้รับความนิยมนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน และทุกวันนี้ถูกส่งเสริมใ