ดอกไม้
สงกรานต์ปีนี้มาเลือกดอกไม้ที่ทั้งสวย กลิ่นหอม และความหมายดี เหมาะกับการแสดงความเคารพและความรักต่อญาติผู้ใหญ่ ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ (สีชมพูหรือสีแดงอ่อน) ดอกดาวเรือง ดอกพุด ดอกชมนาด ดอกสารภี ดอกบานไม่รู้โรย
คุณณกรณ์ พงศ์เครือไชย หรือ คุณเพชร เจ้าของ KAS Farmstay ตั้งอยู่ที่ 117 หมู่ที่ 1 ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เรียนจบจากคณะรัฐศาสตร์ ผันตัวเป็นเกษตรกร ปลูกพืชผสมผสานอย่างพอเพียง เลี้ยงไก่ไข่สีพาสเทล ควบคู่กับการปลูกดอกไม้กินได้เป็นรายได้หลัก และปลูกพืชผักสวนครัวสร้างรายได้รอง “ชีวิตมีความสุข มีสุขภาพที่แข็งแรง” พร้อมกับมีรายได้เข้ามาจุนเจือครอบครัวอย่างไม่ขัดสน คุณเพชร เล่าให้ฟังว่า การปลูกดอกไม้กินได้ของตนเองนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากนิสัยส่วนตัวเป็นคนชอบปลูกดอกไม้เป็นทุนเดิม และก็มาประจวบเหมาะกับการที่ได้เข้าไปศึกษาเรื่องอาหารกับเพื่อนที่เป็นเชฟเพิ่มเติม ซึ่งเพื่อนเห็นว่าตนเองเป็นคนชอบปลูกดอกไม้อยู่แล้วจึงได้แนะนำให้ทดลองปลูกดอกไม้กินได้ เนื่องจากกำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ ที่ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารหรู ร้านเบเกอรี่ ร้านเครื่องดื่ม ต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีความต้องการดอกไม้กินได้ไปประดับตกแต่งมื้ออาหารให้ดูสวยงามและดึงดูดมากขึ้น ตนเองเห็นว่าน่าสนใจ จึงได้เริ่มลงมือปลูกโดยเริ่มจากดอกไม้ที่มีอยู่แล้วในสวนมาศึกษาว่าดอกไม้ชนิดไหนกินได้ก็ทำการขยายพันธุ์เพิ่ม และอีกส่วนคือการสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์
วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ถูกกำหนดให้เป็น “วันชาติ” และ “ วันพ่อแห่งชาติ” นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 มาจนถึงทุกวันนี้ พุทธรักษา ….ขอให้พระคุ้มครองมีความสงบสุขร่มเย็น เนื่องจาก วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตรงกับ วันจันทร์จึงใช้ “ดอกพุทธรักษา” ซึ่งเป็นดอกไม้สีเหลืองและมีความหมายที่เป็นสิริมงคล แปลว่า ขอให้พระคุ้มครองให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อ นอกจาก ดอกพุทธรักษาแล้ว ยังนิยมใช้ดอกไม้สีเหลืองชนิดอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์ประจำวันพ่อ ที่ลูก ๆ นิยมนำไปมอบให้กับพ่อ เพื่อแสดงถึงความเคารพรัก เช่น ดอกดาวเรือง… ขอให้เจริญรุ่งเรือง หลายคนคงจะคุ้นตากับดอกดาวเรือง ดอกไม้สีเหลือง ที่บานสะพรั่งเหลืองอร่ามทั่วแผ่นดิน ที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และคนไทยทั่วประเทศได้ปลูก เพื่อแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในช่วงที่ผ่านมา ดาวเรือง เป็นไม้ดอกล้มลุก มีทั้งสีเหลืองท
รวม 10 ดอกไม้รับประทานได้ แถมช่วยเพิ่มสีสันความสวยงามให้กับจานอาหารของเราอีกด้วย ซึ่งดอกไม้บางชนิดสามารถนำมาทำได้ทั้งอาหาร และเครื่องดื่มสีสันหวาน หอม คุณประโยชน์จัดเต็ม ซึ่งดอกไม้ที่สามารถรับประทานได้จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย! 🌼ดอกเก๊กฮวย นิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มช่วยดื่มแก้กระหาย เพราะประโยชน์ของเจ้าดอกไม้สีเหลืองเล็กๆ ดอกนี้ช่วยบำรุงร่างกายแก้ร้อนใน มีฤทธิ์เย็นช่วยเพิ่มความสดชื่น 🪻ดอกอัญชัน ต่อด้วยดอกไม้สีน้ำเงินเข้ม แต่ที่เราเห็นว่าน้ำกลายเป็นสีม่วงซึ่งเกิดจากสารแอนโธไซยานินไปทำปฏิกิริยาเมื่อโดนกรด โดยประโยชน์ของเขาคือ อุดมไปด้วยสารอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ และช่วยบำรุงสายตา 🌼ดอกดาวกระจาย ดอกไม้ที่เรามักคุ้นชินว่าเป็นดอกไม้สวยงามปลูกตามริมรั้ว แท้จริงแล้วดอกไม้ชนิดนี้สามารถรับประทานได้ ดอกดาวกระจายมีสรรพคุณช่วยบรรเทาการอักเสบ และใบสดของดอกดาวกระจายยังขึ้นคือว่าเป็น “ราชาแห่งสลัด” อีกด้วย 🌸ดอกพวงชมพู อีกหนึ่งดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ประดับริมรั้ว เพราะด้วยความน่ารักของเจ้าดอกเล็กๆ สีชมพู ซึ่งแน่นอนว่าพวงชมพูสามารถรับประทานได้! แถมใช้เป็นวัตถุดิบในการทำข้าวยำอีกด้วย สรรพคุณของพวงชมพูคือ ช่วย
คุณวันเพ็ญ มานะกุล อาศัยอยู่ที่ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี มีความชื่นชอบดอกเข้าพรรษา จึงหาพันธุ์และปล่อยให้ผสมพันธุ์เองตามธรรมชาติจนเกิดเป็นพันธุ์ใหม่ ที่มีดอกลักษณะสวยงามแตกต่างกันไปเป็นพันธุ์ที่มีดอกรูปแบบใหม่ๆ จนสามารถขยายพันธุ์ทำเป็นอาชีพเสริมเกิดรายได้ให้กับเธอได้เป็นอย่างดี คุณวันเพ็ญ มานะกุล อยากอนุรักษ์ และสร้างพันธุ์ลูกไม้ใหม่ คุณวันเพ็ญ เล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยที่เธอยังเด็กอาศัยอยู่ที่อำเภอพระพุทธบาท ได้เห็นพื้นที่แถวนั้นมีการปลูกดอกเข้าพรรษาเป็นจำนวนมาก เรียกง่ายๆ ว่า เติบโตมากับการเห็นดอกเข้าพรรษาตลอดในช่วงวัยเด็ก จึงเกิดความชื่นชอบในดอกไม้ชนิดนี้เป็นชีวิตจิตใจ ทำให้มีการรวบรวมสายพันธุ์นำมาปลูกเพื่อความสวยงามไปพร้อมๆ กับเป็นการอนุรักษ์ไปด้วย ใส่กระถางก็สวยเป็นกอ “สมัยที่เราเป็นเด็ก เราก็เห็นไม้ชนิดนี้เป็นประจำ ก็มีความหลงใหลและชอบตั้งแต่ได้พบเห็น ต่อมาเมื่อมีครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่อำเภอวังม่วง เราก็ได้นำดอกเข้าพรรษาที่เราชอบตามมาปลูกที่นี่ด้วย เพราะสมัยหลังๆ มานี่ ดอกเข้าพรรษาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เริ่มที่จะค่อยๆ หายไป ทีนี้เราก็มองว่าในเมื่อเราชื่นชอบเป็นทุนเดิ
อาชีพการเกษตร มีความอ่อนไหวต่อสภาพ ดิน ฟ้า อากาศ โดยเฉพาะปีนี้ เกษตรกรไทยจำนวนมากเจอปัญหาฝนแล้งช่วงต้นปี ปลายปีกลับเจอน้ำท่วมซ้ำเติมอีกระลอก ทำให้ผลผลิตเสียหายและเสี่ยงเจอความไม่แน่นอนเรื่องราคาสินค้าเกษตรอีกต่างหาก นับเป็นเรื่องเศร้าที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น หากเป็นไปได้ อยากชวนเกษตรกรนำพืชสมุนไพร ไม้ดอกที่มีกลิ่นหอมนำมาแปรรูปในลักษณะ “ น้ำมันหอมระเหย” เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาด และขยายช่องทางการขายเพิ่มมากขึ้น น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) คือ น้ำมันที่พืชสร้างขึ้นและเก็บไว้ในส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ดอก ใบ ผล ลำต้น ตลอดจนเมล็ด ซึ่งจะพบแตกต่างกันไปในพืชแต่ละชนิด คุณสมบัติที่เด่นชัดคือมีกลิ่นหอมและระเหยได้ง่ายที่อุณหภูมิปกติ ปริมาณและคุณภาพน้ำมันหอมระเหยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ดิน ภูมิอากาศ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความสูงจากระดับน้ำทะเล การเก็บเกี่ยว ตลอดจนเทคนิค และวิธีการสกัดและการกลั่นใส ทุกวันนี้ “ น้ำมันหอมระเหย” เป็นที่ต้องการในวงการอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ทั้งอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง ผงซักฟอก ธุรกิจสปา ฯลฯ ล้วนต้องการใช้น้ำมันหอมระเหย มาช่วยปรุงแต่ง
วิธีการยืดอายุดอกไม้ ให้คงความสดชื่นได้ยาวนานขึ้น ซึ่งควรใส่ใจตั้งแต่เริ่มต้น เริ่มจากเด็ดใบล่างๆ ทิ้งให้หมด เพื่อยืดอายุดอกไม้ให้ยาวนานขึ้น ให้เด็ดใบด้านล่างที่ต่ำกว่าระดับน้ำในแจกันทิ้งให้หมด หากปล่อยใบไม้แช่อยู่ในน้ำ จะทำให้เน่าเร็วขึ้น ควรเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกวัน ก็จะช่วยให้ดอกไม้อยู่ได้นาน และควรตัดปลายก้านดอกไม้แบบเฉียงจะช่วยทำให้ดอกไม้สามารถดูดน้ำได้ดีมากยิ่งขึ้น วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านมีเคล็ดไม่ลับ การเก็บรักษาดอกไม้ มานำเสนอไปดูกันว่ามีไอเดียแบบไหนกันบ้าง 1.น้ำหวานผสมโซดา นำมาผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 : 4 น้ำตาลที่อยู่ในน้ำหวานผสมโซดาจะช่วยให้ดอกไม้ดูสดชื่น หรือจะเลือกใช้น้ำสไปร์ทหรือเซเว่นอัพก็ได้ ซึ่งจะให้ความรู้สึกเหมือนใช้น้ำเปล่าปกติ 2.สารส้ม สารส้มเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่มีประโยชน์สำหรับการยืดเวลาให้ไฮเดรนเยีย วิธีการคือหลังตัดไฮเดรนเยียออกมาจากต้นแล้วให้นำกิ่งไปแช่ในน้ำร้อน จากนั้นจุ่มกิ่งนั้นลงในผงสารส้ม แล้วค่อยๆ เคาะส่วนที่เกินทิ้งไป ก่อนจะนำไปแช่ในน้ำเย็นอีกครั้ง เพียงเท่านี้ไฮเดรนเยียก็จะสดสวยอยู่กับเราได้ยาวนาน 3.น้ำยาซักผ้าขาว ผสมน้ำยาซักผ้าขาวประมาณ 1/2 ช้อนชากับน้ำตาล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hedychium coronarium Roem. ชื่อสามัญ Butterfly Lily, Ginger Lily, White Ginger, Garland Flower. ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE ชื่ออื่นๆ มหาหงส์ หางหงส์ ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ เลเป ยันเต (ระยอง, จันทบุรี) กระทายเหิน ต๋าเหิน หนูถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ทางเพศเกี่ยวกับกลิ่น กลายเป็นว่านสาวมหาเสน่ห์ ทั้งๆ ที่หนูเป็นญาติกับตระกูลขิง ข่า ที่มีหัวหรือเหง้าอยู่ในดิน แตกลำต้นเป็นก้านโผล่ขึ้นมา แปลกใจอยู่ที่ เมื่อเขาขุดพี่ขิง พี่ข่า เขาก็เอาไปต้มยำทำแกง สำหรับหนูเขาบอกว่าหัวใต้ดินมีความหอม เขาจึงเอาไปผสมทำลูกประคบหน้าให้สวย ผิวงามเกลี้ยง ส่วนดอกก็หอม นำไปสกัดทำน้ำมันหอมระเหยและครีมให้ผิวหนังชุ่มชื้น ดังนั้น ขณะที่ประคบหน้าก็ได้กลิ่นหอมรัญจวนจากดอกไปด้วย หนูจึงแปลกใจว่า ลูกเป็ดขี้เหร่อย่างหนูกลับมาดังอยู่ในวงการเสริมสวย ทำสาวทำเสน่ห์กันได้อย่างไร เรื่องคุณสมบัติความหอมเห็นทีจะไม่แปลกใจ เพราะเขาต้องใช้กรรมวิธีหลายขั้นตอนที่จะทำให้หอมและประทินผิว แต่แปลกใจกว่านั้นคือเรื่องชื่อที่เรียกหนูว่า “สะเลเต” ฟังแล้วหนูตกใจเมื่อได้ยินชื่อตัวเอง แทบว่าถ้าใครเรียกจะไม่หันไปมอง แต่เวลาไปดูในทะเบียนบ้านจริงๆ
หนึ่งในความปรารถนาของใครหลายๆ คน คือการมีบ้านที่ล้อมรอบไปด้วยต้นไม้ ดอกไม้นานาพันธุ์ ผู้เขียนก็เป็นหนึ่งคนที่มีความฝันที่จะมีบ้านเล็กๆ สักหลัง แล้วปลูกต้นไม้ ดอกไม้ ล้อมรอบบ้าน เพิ่มพื้นที่สีเขียวขจี อีกทั้งยังเพิ่มสีสันสดใส ที่ได้จากดอกไม้เวลาบานสะพรั่งด้วย แต่ใครบ้างที่จะทราบว่า ดอกไม้แสนสวยที่บ้างก็มีกลิ่นหอมดึงดูดทั้งคนและแมลง บ้างก็มีสีสดสวยดึงดูดสายตาเหล่านั้น นอกจากจะใช้ประดับเพิ่มความงามให้กับบ้านแล้ว ยังเป็นสมุนไพรมากคุณค่าอีกด้วย ตัวอย่างไม้ดอกที่เราพบเจอกันได้บ่อยๆ ที่ไม่ได้เป็นแค่ต้นไม้ประดับ แต่ยังเป็นสมุนไพรที่ช่วยดูแลสุขภาพเราด้วย 1. ปีบ หรือกาสะลอง ต้นไม้สูง ออกดอกขาวโพลนทั้งต้น กลิ่นหอมโชยตามลมอย่างต้นปีบนี้ ไม่ได้แค่สวยและหอมอย่างเดียว เพราะดอกของต้นปีบ ใช้เป็นสมุนไพรในการแก้โรคหอบ หืด ได้โดยการนำดอกมามวนสูบ 2. เบญจมาศ ดอกไม้ที่เป็นไปด้วยกลีบเล็กๆ อัดซ้อนกันจนแน่นอย่างเบญจมาศนี้ ไม่ได้แค่สวยอยู่แต่ในแจกันเท่านั้น เราสามารถนำดอกและใบมาคั้นเป็นยาสมุนไพร ใช้สำหรับรักษาบาดแผล หรือจะนำไปต้มดื่มรักษาโรคนิ่ว โรควัณโรค และโรคที่เกี่ยวกับต่อมน้ำเหลือง 3. บุนนาค ไม้ดอกกลีบบางน่
มีกูรูเรื่องดอกไม้บางคน แบ่งประเภทดอกไม้หลากหลายสายพันธุ์ที่เราสามารถกินได้ ออกเป็น 6 ประเภท แต่ลองอ่านดูแล้วคิดว่าน่าจะแยกแค่ 5 ประเภท เท่านั้นก็พอ ขอแบ่งตามใจตัวเองใหม่ ดังนี้ 1.ดอกของพืชผัก เช่น กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ ดอกกุยช่าย ดอกเก๊กฮวย ดอกผักกวางตุ้ง ดอกต้นหอม ดอกข่า ดอกกระเทียม ดอกฟักทอง ดอกกระถิน ฯลฯ 2.ดอกของไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดอกกุกลาบ ดอกเข็ม พวงชมพู ลั่นทม ดาวเรือง ดาวกระจาย ชบา เฟื่องฟ้า ซ่อนกลิ่น ฯลฯ 3.ดอกของไม้ผล เช่น ดอกทุเรียน ดอกชมพู่ หัวปลี (ดอกกล้วย) ดอกมะละกอ ฯลฯ 4.ดอกของต้นไม้ป่าและไม้ยืนต้นบางชนิด เช่น ดอกพะยอม ดอกงิ้ว ดอกแคบ้าน ดอกแคป่า ดอกแคฝรั่ง ช่อสะเดา ช่อมะกอก ดอกขี้เหล็ก ดอกกระโดน ดอกลำพู ดอกนุ่น ดอกมะรุม ฯลฯ 5.ดอกของวัชพืช เช่น ดอกกะลา ดอกดาหลา ดอกบัวสาย ดอกสลิดหรือดอกขจร ดอกผักปลัง ดอกผักตบชวา ดอกกระเจียว ดอกโสน ฯลฯ ชื่อที่เอ่ยขึ้นมา เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้นนะ คนที่จะรู้ดีว่าดอกไม้ชนิดไหนของต้นอะไรกินได้กินดีไม่มีใครเกินผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่ปู่ย่าตายายของเรา ที่สั่งสมภูมิปัญญาพื้นบ้านถ่ายทอดกันมายาวนานนั่นเอง เรื่องดอกไม้กินได้สำหรับคนโบราณไม่ได้เป็นอะไรที