ดิน
การเลือกดินที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การปลูกพืชนั้นประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นผักสวนครัว ผลไม้ หรือพืชดอก การปลูกที่ได้ผลดีต้องอาศัยดินที่ตรงกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด วันนี้เรารวมสูตรดินจากเกษตรกรตัวจริงมาแบ่งปันกัน ซึ่งแต่ละสูตรได้ผ่านการทดลองและใช้จริงมาแล้ว การันตีได้ว่าปลูกอะไรก็งาม! ดินปลูกผัก “ปูเป้ ทำเอง” “ดินปูเป้ทำเอง” เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดอย่างหนึ่งของคุณปูเป้ โดยคุณปูเป้ได้เท้าความว่า ปกติแล้วดินที่ใช้บำรุงพืชผักในสวนของคุณปูเป้ไม่ได้มีสูตรอะไรที่ตายตัว เป็นเพียงการพยายามจัดการขยะในครัวเรือนพร้อมกับความรู้ที่ตกทอดมาว่าเศษอาหารสามารถฝังกลบดินกลายป็นปุ๋ยได้ โดยเริ่มแรกคุณปูเป้ใช้ขี้วัวก่อน และ เริ่มปลูกจากพืชผักสวนครัว เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง เป็นต้น เหตุที่เริ่มปลูกจากผักสวนครัวก่อนก็คือ ตอนเด็กๆ คุณปูเป้ได้เรียนรู้มาว่า มูลสัตว์แต่ละชนิด สามารบำรุง พืชชนิดใดบ้าง เช่น ขี้หมูบำรุงหัว ขี้วัวบำรุงใบ ขี้ไก่บำรุงผล แต่ด้วยความสงสัย ว่าพืชต่างๆ ที่ได้หว่านเศษจากอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อออกดอกออกผลดี จึงทำให้คุณปูเป้กลับมาศึกษาว
หลายคนอยากปลูกสวนครัวไว้ในบริเวณบ้าน แต่ปลูกเท่าไหร่ก็ไม่งาม อยากปรับปรุงดินโดยวิธีธรรมชาติ ทำได้อย่างไร? ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า “ดินดี” ในอุดมคติ เมื่อหยิบหรือตักขึ้นมา 1 ส่วน หรือ 1 ลิตร หรือ 1 ลูกบาศก์เมตร ก็ตาม สมมติเป็น 100 ส่วน ในทั้งหมดนี้มีส่วนประกอบสำคัญ 4 ส่วน โดยปริมาตร คือ 1. เนื้อดิน เกิดจากการแตกหักจนเป็นชั้นเล็กๆ ตามวิถีของธรรมชาติของหิน จำนวนร้อยละ 45 มีบทบาทเป็นตัวกลางให้รากพืชหยั่งลึกและยึดจนยืนต้นอยู่ได้ หากมีสมบัติไม่เป็นกรดจัดหรือด่างจัดจะยิ่งดี คือควรมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 จะเหมาะสมสำหรับเพาะปลูกพืชที่สุด 2. อินทรียวัตถุ ได้จากการย่อยสลายจากเศษซากพืชหรือสัตว์โดยจุลินทรีย์ และทับถมอยู่ในดิน หากมีปริมาณ ร้อยละ 5 จะถือว่าดีที่สุด ปริมาณดังกล่าวจะพบได้ในป่าที่สมบูรณ์ยังไม่เคยมีการนำมาใช้เพาะปลูก มีเศษใบไม้ร่วงหล่นทับถมและเน่าเปื่อยสลายตัว นอกจากจะมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชแล้วยังช่วยปรับโครงสร้างดินให้ร่วนซุย เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อีกมากมายหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในดิน บางชนิดสามารถกำจัดโรคในดินได้ก็มี 3. ความชื้น อ
ดิน เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชและการเกษตรกรรม เป็นที่สำหรับรากพืชได้เกาะยึด เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นแหล่งเก็บความชื้นและน้ำในดิน เป็นแหล่งที่ให้อากาศในดินสำหรับรากพืชใช้เพื่อการหายใจ ดังนั้น การทราบองค์ประกอบของดิน ระดับความอุดมสมบูรณ์และธาตุอาหารในดิน จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก ที่เกษตรกรจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับส่งเสริมธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง รายการเกษตรช่อง 5 พัฒนาชุมชน เมื่อวันพุธที่ 21 เมษายน 2564 เวลา 11.00 น. ออกอากาศทาง ททบ.5 TV5HD1 และไลฟ์สดพร้อมกันทางเพจ “รายการเกษตรช่อง 5 พัฒนาชุมชน” เสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับดิน โดยแขกรับเชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องดิน ผศ.ดร. อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ อาจารย์ ดร. อัญธิชา พรมเมืองคุก จากภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่าเรื่องดินในแง่มุมต่างๆ ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของธาตุอาหารในดินแปลงปลูกของตนเอง การใช้ปุ๋ยประเภทต่างๆ อาทิ ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยเคมี การเลือกใช้ปุ๋ยแต่ละชนิดให้เหมาะกับ
“เมื่อก่อน ปู่ย่าตายายเขาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ในพื้นที่ที่เป็นนาข้าว ถึงฤดูฝนจึงทำนาปลูกข้าว ต้นข้าวเจริญเติบโตดี มีข้าวกิน” “เมื่อโยนเมล็ดถั่ว เมล็ดผักลงในดิน ก็จะงอกขึ้นมาเอง เก็บมากินได้เอร็ดอร่อย ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใส่หรือพ่นสารเคมี” “แต่ระยะหลังนี้ ทำไมต้องมีการสั่งซื้อปุ๋ยเคมี สารเคมีมาจากต่างประเทศ” “หลายคนไม่อยากทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด กลับมาใช้ปุ๋ยเคมี เพราะสะดวก รวดเร็ว หาซื้อได้ง่าย โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนการผลิต” นี่คือคำถามที่จะต้องหาคำตอบ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อสังคม แก้ปัญหาของดินที่เสื่อมโทรม วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียงตำบลสันทราย 60 ภายใต้โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน สำนักงานตั้งอยู่ที่ เลขที่ 41/2 หมู่ที่ 9 ตำบลสันทราย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มรวมตัวกันก่อตั้งเป็นวิสาหกิจชุชนเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 โดยมี คุณนิชกานต์ โตเขียว เกษตรอำเภอสารภี เป็นผู้ลงนามจดทะเบียน สมาชิกเริ่มแรก 18 คน ระดมทุนหุ้นละ 100 บาท และนำเงินสัจจะของหมู่บ้าน คนละ 50 บา
จากสถานการณ์ ไวรัส โควิด-19 ที่ได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว ส่งผลให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของชีวิตกันมากขึ้น สังเกตได้จากการป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากไวรัสด้วยวิธีต่างๆ ทั้งฉีดฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ รวมถึงการสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันไวรัส แต่นี่ก็เป็นเพียงแค่วิธีป้องกันภายนอกเท่านั้น ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่นอกจากจะป้องกันภายนอกแล้ว เขายังมีวิธีป้องกันจากภายในขึ้นมาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของตัวเอง หันมาใส่ใจรายละเอียดกับอาหารที่จะกินมากขึ้น จนถึงขั้นลุกมาปลูกผักกินเอง จนทำให้ใครหลายคนเห็นโอกาสในยามวิกฤตพุดไอเดียสร้างอาชีพให้ตัวเองขึ้นมา เช่นเธอคนนี้ คุณปุณยภัสร์ จิราเมธาฐิติโชติ หรือ พี่นุ่น อยู่บ้านเลขที่ 89/1 หมู่ที่ 7 บ้านตะโก ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผู้ที่สร้างอาชีพใหม่ได้จากวิกฤต โควิด-19 ในครั้งนี้ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นแนวทางการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพ พี่นุ่น เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาทำธุรกิจดินถุงปลูกต้นไม้ ตนทำธุรกิจส่วนตัวมาก่อน แล้วเกิดปัญหาการขาดทุนเป็นจำนวนเงินสูงกว่า 4-5 ล้านบาท กลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่
แฟนเทคโนโลยีชาวบ้านจากจังหวัดเชียงใหม่เขียนจดหมายขอให้ลงเรื่องการให้น้ำต้นไม้ใหญ่ โดยเฉพาะลำไย ช่วงหน้าแล้งในที่ดอน เลยขอให้ผมนำเรื่องดังกล่าวมาลง เผอิญผมมีโอกาสไปเชียงใหม่ แล้วไปหา ผศ.พาวิน มะโนชัย ผู้เชี่ยวชาญ เรื่องลำไย ซึ่งกรุณามอบข้อมูลของ อาจารย์สมชาย วงศ์ประเสริฐ นำมาให้ท่านได้ทราบกัน วิธีการให้น้ำแก่สวนลําไยที่ชาวสวนทํากันแบ่งออกได้ 3 วิธี คือ วิธีให้น้ำทางผิวดิน วิธีโดยสปริงเกลอร์ และวิธีโดยน้ำหยด โดยการให้น้ำทั้ง 3 วิธี มีเป้าหมาย คือ ต้องการให้น้ำซึมลงเปียกดินในทรงพุ่ม ถึงความลึกประมาณ 40 เซนติเมตร ขึ้นไป เพราะรากลําไยส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ในดินที่ระดับความลึกนี้ การให้น้ำแก่ต้นเล็ก ที่มีอายุ 1-2 ปี การให้น้ำแก่ต้นลําไยปลูกใหม่ในระยะ 2 ปีแรก เกษตรกรจะให้โดยวิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ แหล่งน้ำ และทุนทรัพย์ที่จะลงทุน ตั้งแต่การหาบน้ำรด ใช้ปั๊มน้ำท่อยางหรือวางระบบสปริงเกลอร์เล็กหรือน้ำหยด ถ้าจะวางระบบสปริงเกลอร์หรือน้ำหยดก็ควรพิจารณาวางระบบเผื่ออนาคตที่ต้นโตขึ้นด้วย โดยทั่วไปแล้วปริมาณน้ำที่ต้องรดให้แก่ต้นที่ปลูกในปีแรก ประมาณ 20 ลิตร ต่อระยะ 4-5 วัน (รดให้ดินเปียกน้ำก
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการสั่งงานผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ถึงผู้บริหารและเพื่อนข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าในช่วงวันหยุดนี้ ผมขอมีส่วนร่วมในการคิดแนวทางการทำงานเพื่อดูแลช่วยเหลือเกษตรกรไทยของเรา ดังนี้ ๑.ในช่วงนี้นอกจากสินค้าผลผลิตทางการเกษตรที่กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วประเทศ เช่น ยางพารา ข้าว พืชเกษตรและผลไม้ต่างๆ แล้ว สิ่งที่เป็นรากฐานสำคัญของการเกษตรบ้านเราคือ การจัดหาหรือพัฒนาแหล่งน้ำหรือการหาน้ำให้มีประจำพื้นที่แก่เกษตรกร คนไทยเราผูกพันกับแหล่งน้ำมาโดยตลอด จนมีคำกล่าวที่ว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าวจึงขอให้ท่านอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ได้พิจารณารวบรวมข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็กเช่น บ่อหรือสระที่กรมฯได้ไปดำเนินการไว้ในพื้นที่ต่างๆว่า ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยของ ปชช.มากน้อยเพียงใด ที่ไหนบ้างโดยแยกเป็นรายจังหวัดหรือรายภาคคร่าวๆก็ได้ เพื่อให้เห็นภาพว่าพื้นที่ใดมีแหล่งน้ำเพียงพอแล้วหรือไม่อย่างไป ขณะนี้ กษ.และ กยท.มีนโยบายให้ชาวสวนยางลดพื้นที่ปลูกยางหรือปลูกพืชอื่นๆแซมสวนยางหรือปรับเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นๆ ซึ่งเป็นนโยบายที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้สั่งการไว้แล้
อดีตพนักงานจัดสวน และยังเป็นเจ้าของสวนยางพารา อาศัยอยู่ที่อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา หัวใสนำกาบมะพร้าวเหลือใช้มาทำดินคุณภาพสูงขาย ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ดินนาหม่อม” ขายดิบขายดี ต้องสั่งจองล่วงหน้า นอกจากนั้นยังปลูกผักสวนครัวในวัสดุเหลือใช้ อย่างเช่น ตะกร้า กระสอบปุ๋ย รางน้ำเก่า สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ถูกจริตคนกรุงแห่มาขอซื้อ เพราะสวยงามและกินได้ อนาคตต่อยอดเปิดร้านอาหารเพื่อสุขภาพ คุณอมร ตรีรัญเพ็ชร ปัจจุบันอายุ 55 ปี บอกกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า ในอดีตประกอบมาแล้วหลายอาชีพ ล่าสุดหันมาทำสวนยางพารา 10กว่าไร่ ที่ตำบล นาหม่อม อำเภอ นาหม่อม จังหวัดสงขลา จากการสังเกตเห็นว่า แถวบ้านมีกาบมะพร้าวเหลือใช้เยอะมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่มักเลือกที่จะเผาทิ้ง เลยคิดนำมาใช้ประโยชน์ นั่นเป็นที่มาของการทำดินขาย “ผมเห็นแถวบ้านมีกาบมะพร้าวแห้งเหลือใช้เยอะมาก เลยคิดว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการทำดินปลูกต้นไม้ ส่วนผสมมี กาบมะพร้าวแห้งสับ ขุยมะพร้าว หน้าดิน ขี้เถ้าแกลบ ขี้ไก่แกลบ น้ำหมักชีวภาพ นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน กลายเป็นดินใช้ปลูกต้นไม้ได้ทุกชนิด อาทิ ไม้ดอก ไม้ผล ไม้ประดับ” สำหรับน้ำหมักชีวภาพ คุณอมร ผสมเ
คุณนคร ตระกูลรังสิ อยู่ที่คลอง 12 ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอธัญบุรี จ.ปทุมธานี เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนคุณพ่อคุณแม่มีอาชีพปลูกสวนส้มอยู่ในย่านนี้ ต่อมาสวนส้มที่ปลูกเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาด จึงทำให้เริ่มมองหาอาชีพใหม่คือเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการผสมดิน “ช่วงนั้นพอเรียนจบแล้ว เราก็มีเวลาว่าง เลยมีความคิดที่อยากจะหาอาชีพทำ ก็เลยมาทำธุรกิจทางด้านนี้ดู โดยครั้งแรกก็ทำแบบเล็กๆ ก่อน เมื่อเห็นว่าประสบผลสำเร็จดีแล้ว ก็ค่อยๆ ขยายพื้นที่ทำออกไปเรื่อยๆ จนตอนนี้เรียกว่า เป็นการค้าที่กว้างขวางมากขึ้น เป็นธุรกิจที่ทำกันในครอบครับ” คุณนคร เล่าถึงที่มา ในช่วงแรกทำเป็นอุตสาหกรรมเล็กๆ ได้คิดสูตรดินเองตามที่คิดขึ้น คุณนคร บอกว่า ช่วงนั้นก็ลองผิดลองถูกหลายขั้นตอนเหมือนกัน โดยนำคำติชมของลูกค้ามาพัฒนาให้มีดินที่ผสมมีคุณภาพดียิ่งขึ้น เมื่อขายได้ปริมาณมากๆ ก็จะผสมตามสูตรเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยให้สอดคล้องกับปริมาณ โดยดินที่ผสมใช้ปลูกพืชของที่นี่จะเน้นทำ 2 สูตร คือ ดินสูตรชีวภาพและดินใบก้ามปู โดยส่วนประกอบหลักๆ คือ 1.หน้าดินที่ผ่านการร่อนจนละเอียด 2.ขุยมะพร้าว 3.ขี้เถ่า 4.แกลบดิบ นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน พร
ทุกชีวิตต้องก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมกับเวลาที่เหลืออยู่ตลอดเวลา จะก้าวช้าบ้าง เร็วบ้าง ก็ช่างมันเถอะ ขอเพียงทุกฝีก้าวที่ก้าวออกไปต้องพยายามให้ดีกว่าเดิมเป็นใช้ได้ บนถนนชีวิตของเราไม่ต้องไปตามคนอื่น ชีวิตใครชีวิตคนนั้น พยายามเดินไปตามความต้องการในแบบฉบับของเราเอง เราเท่านั้นคือผู้กำหนดดวงชะตาชีวิตเราเอง ขอแค่ให้เริ่มต้นเชื่อเป็นเบื้องแรกเสียก่อนว่า นี่คือเรื่องจริงของชีวิตในวันนี้ที่ยังหายใจดีอยู่ ทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนแต่เราสะสมและสร้างขึ้นมาทั้งสิ้น ขอให้เราคิดเสมอว่าทุกก้าวนั้นจะสามารถช่วยเติมเต็มได้กับการก้าวเดินไปกับชีวิตของเราได้เสมอ แม้บางครั้งการก้าวเดินในบางช่วงเวลาจะชะงักไปบ้าง ช่างมันเถอะ ขอเพียงไม่หยุดเดินเท่านั้นเป็นพอ แต่สิ่งที่จำเป็นที่ต้องเน้นมากๆ คือความขยันและอดทนที่จะขาดไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะทุกเรื่องราวที่ผ่านมานั้น เราสามารถเรียนรู้ได้ว่ามันจะไม่เป็นอย่างที่เราคิด แต่จะเป็นอย่างที่เราทำ อย่ามัวช้า ขอให้ลงมือทำ อย่าเพียงแค่รอว่าจะ และจะทำ สุดท้ายขอให้มั่นใจได้เลยว่าเส้นทางที่สามารถ เดินห่าง…จากความจน ก็จะอยู่ไม่ไกลเกินกว่าที่จ