ตลาดปลานิล
การเพาะเลี้ยงปลาปัจจุบัน มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งที่เห็นและนิยมกันคือ การเพาะเลี้ยงในบ่อดินขนาดใหญ่ ในกระชังริมแม่น้ำ บ่อซีเมนซ์ และอื่นๆ (เชิงพาณิชย์) ซึ่งการเพาะเลี้ยงตามที่กล่าวมา สามารถควบคุมปริมาณ น้ำหนัก อีกทั้งยังสามารถเร่งการเจริญเติบโต ใช้ระยะเวลาเลี้ยงเพียง 4-5 เดือน ก็สามารถจับไปจำหน่ายทำเงินไว้กว่าการเลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงปลาในเชิงพาณิชย์ แต่ละรอบการผลิตต้องใช้ต้นทุนสูง ทั้งเรื่องของอาหาร วิตามินเสริมต่างๆ ตลอดจนค่าจ้างแรงงานในการจับปลาไปจำหน่าย ทำให้เกษตรกรหลายรายหันมาปรับสูตรการเพาะเลี้ยงปลา หันมาพึ่งพิงธรรมชาติ เพื่อต้องการลดต้นทุนการผลิต คุณพรปวีร์ แสงฉาย เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่หันมาให้ความสนใจกับอาชีพเพาะเลี้ยงปลาเบญจพรรณควบคู่กับการทำนาในพื้นที่ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง “พื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ลุ่ม เหมาะที่จะเพาะเลี้ยงปลามากว่าอาชีพอื่นๆ เนื่องจากมีระบบชลประทานที่พร้อม เพียงเปิดน้ำเข้าบ่อก็สามารถเพาะเลี้ยงปลาได้แล้ว ประจวบเหมาะในช่วงนั้นทางญาติฝ่ายแม่เลี้ยงกันอยู่ ทำให้เราได้เห็นได้สัมผัสและศึกษาวิธีการเลี้ยงจนเกิดความชำน
ปลาแรด เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำ โดยในช่วงที่ยังโตไม่เต็มที่จะกินอาหารจำพวกสัตว์น้ำตัวเล็กๆ เป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเจริญเติบโตได้เต็มที่ปลาชนิดนี้จะนิยมกินพืชมากกว่า เช่น ผักบุ้ง กล้วย พันธุ์ไม้น้ำ หรือผักต่างๆ จึงนับได้ว่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายในเรื่องของการกินอาหาร นอกจากนี้ ปลาแรดยังเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ได้มีการเพาะเลี้ยงเป็นเชิงการค้าในหลายพื้นที่ คุณภานุวัฒน์ ห้วยเรไร อยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 4 ตำบลศรีษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นผู้ที่มีความชื่นชอบในการเลี้ยงปลา จึงได้สนใจที่อยากจะเพาะพันธุ์ปลาแรดเป็นอาชีพ ด้วยสมัยยังเป็นเด็กค่อนข้างมีความชอบในเรื่องของการเลี้ยงปลา จึงได้มีโอกาสมาทำอาชีพทางด้านนี้ได้อย่างประสบผลสำเร็จสำเร็จ คุณภานุวัฒน์ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนอาชีพดังเดิมเน้นเกี่ยวกับการทำสวนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อเขาเจริญวัยจนสามารถประกอบอาชีพได้ จึงมีโอกาสไปอยู่กับญาติที่เพาะพันธุ์ปลากรายจำหน่าย ทำให้ได้เรียนรู้และมีเทคนิคการเพาะพันธุ์ปลาติดตัวมา เมื่อได้กลับมาอยู่บ้านจึงได้นำวิชาความรู้ที่มีมาเพาะพันธุ์ปลาแรด และเริ่มทำเป็นธุรกิจอย่างจริงจังประมาณปี 2548
ปลานิล ปลาน้ำจืดตระกูลทิลาเปีย คือ Nile Tilapia จำนวน 50 ตัว ที่ได้จากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะแห่งญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งพระอิสริยะยศมกุฎราชกุมาร ได้น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี 2508 ซึ่งพระองค์ได้ทรงนำไปเลี้ยงไว้ที่บ่อปลาสวนจิตรลดา โดยมีกรมประมงดูแลในเรื่องการเพาะขยายพันธุ์ได้ผลเป็นอย่างดี ในเวลาต่อมาพระองค์ได้พระราชทานลูกปลานิล ขนาด 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมง นำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ที่แผนกทดลอง และเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลางบางเขน และสถานีประมงต่างๆ อีกจำนวน 15 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมให้กับประชาชนต่อไป จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้ปลานิลกลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย คุณทองนาค สีเคนา อยู่บ้านเลขที่ 70 บ้านนาคำน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ได้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลานิลจนประสบผลสำเร็จ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวอย่างมีความสุข จึงทำให้ฟาร์มแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจการเลี้ยงปลานิล ได้เข้ามาศึกษาและนำไปปฏิบัติจนเป็นงานที่สร้างรายได้สืบต
ปลานิล เป็นปลาน้ำจืด ที่มีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยในพื้นที่เลี้ยงต้องมีปริมาณน้ำที่เพียงพอ ก็สามารถเลี้ยงได้อย่างไม่มีปัญหา นอกจากน้ำที่สำคัญแล้ว การเลือกหาซื้อลูกพันธุ์ต้องคำนึงด้วยเช่นกัน ถ้าได้ลูกพันธุ์ปลาดีมีคุณภาพมาเลี้ยงควบคู่ไปกับน้ำที่ดี อาหารดี การจัดการดี จะช่วยส่งเสริมให้ปลาเจริญเติบโต เป็นปลาที่มีมาตรฐาน สามารถจำหน่ายได้ราคาตามไปด้วย ปัจจุบัน การทำประมง หรืออาชีพเลี้ยงสัตว์น้ำ นิยมนำมาทำเป็นอาชีพเสริมรายได้มากขึ้น เพราะไม่ต้องมีการดูแลตลอดทั้งวัน โดยผู้เลี้ยงสามารถทำอาชีพหลักอย่างอื่นไปพร้อมกันได้ อย่างเช่น คุณอมฤต สำรวย อยู่บ้านเลขที่ 165 หมู่ที่ 8 ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ยึดการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเป็นอาชีพเสริม พร้อมทั้งมีการเลี้ยงแบบลดต้นทุน ทำให้เกิดผลกำไรมากขึ้นจากการเลี้ยงปลานิลจนประสบผลสำเร็จ อันเกิดจากวิธีที่เขาลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง คุณอมฤต เล่าให้ฟังว่า เห็นการเลี้ยงปลานิลมาตั้งแต่จำความได้ ตอนอายุ 5 ขวบ เพราะครอบครัวคือคุณพ่อเริ่มเลี้ยงมานานแล้ว ในช่วงนั้นเขาเองก็เรียนหนังสือในสาขาวิชาช่างกล ตามที่ตนเองสนใจ และไปประกอบอาชีพใน
คุณนนท์ปวิธ ออกแดง นักวิชาการประมงปฏิบัติการ สำนักงานประมงจังหวัดชัยภูมิ ให้ข้อมูลว่า อาชีพการทำประมงในจังหวัดชัยภูมิที่มีผู้ขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจัดได้ว่ามีเกษตรกรผู้เลี้ยงขึ้นทะเบียนมากที่สุดในประเทศไทย ประมาณ 28,000 ราย ซึ่งการเลี้ยงส่วนใหญ่เน้นเพื่อบริโภคในครัวเรือน และอีกส่วนก็ทำการเลี้ยงเป็นเชิงพาณิชย์มีทั้งการเลี้ยงในกระชังและบ่อดิน การใช้น้ำเลี้ยงของเกษตรกรจะพึ่งน้ำจากธรรมชาติคือน้ำฝนเป็นหลัก และบางส่วนมีพื้นที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำต่างๆ ก็จะสามารถเลี้ยงได้ทันที อย่างช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาปัญหาภัยแล้งกำลังเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น การรับมือในเรื่องของปริมาณน้ำที่ขาดแคลนจึงเฝ้าระวังแล้วประกาศเตือนเกษตรกรอยู่เสมอ “ปัญหาแล้งช่วงนี้เป็นปัญหาสำคัญมากของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ดังนั้น เราก็จะมีการเตือนภัยและเฝ้าระวังออกประกาศให้เกษตรกรอยู่เสมอ เพื่อให้เกษตรกรได้รับมือได้มากขึ้น นอกจากนี้แล้ว สำนักงานประมงจังหวัดยังได้มีการส่งเสริมในเรื่องของการทำประมงให้ปลอดภัยด้วยการให้ข้อมูลการเลี้ยงที่มีมาตรฐานมากขึ้น มีการรับรองมาตรฐานต่างๆ ก็จะช่วยให้เกษตรกรเลี้ยงปลาได้อย่างมีคุณภาพ และสินค้าเป็น
ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดที่มีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยในพื้นที่เลี้ยงต้องมีปริมาณน้ำที่เพียงพอ ก็สามารถเลี้ยงได้อย่างไม่มีปัญหา นอกจากน้ำที่สำคัญแล้วการเลือกหาซื้อลูกพันธุ์ก็ต้องคำนึงด้วยเช่นกัน ถ้าได้ลูกพันธุ์ปลาดีมีคุณภาพมาเลี้ยงควบคู่ไปกับน้ำที่ดี อาหารดี การจัดการดี จะช่วยส่งเสริมให้ปลาเจริญเติบโต เป็นปลาที่มีมาตรฐานสามารถจำหน่ายได้ราคาตามไปด้วย คุณจรูญ ทนุรัตน์ อยู่บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 1 ตำบลไสหมาก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ยึดการเลี้ยงปลานิลเป็นอาชีพเสริม โดยนำความรู้มาปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง จนสามารถพัฒนาการเลี้ยงปลานิลให้มีคุณภาพ และที่สำคัญรวมกลุ่มเกษตรกรภายในพื้นที่สร้างกลุ่มเข้มแข็ง สามารถต่อรองในเรื่องของการทำตลาดได้เป็นอย่างดี คุณจรูญ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะเริ่มมาเลี้ยงปลานิลอย่างเช่นทุกวันนี้ สมัยก่อนในพื้นที่นี้มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำกันอย่างแพร่หลาย ต่อมาน้ำเค็มที่ใช้เลี้ยงกุ้งไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่ได้ ประมาณปี 2553 จึงได้นำบ่อที่ปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้างหลังจากเลิกเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มาปรับปรุงเสียใหม่เพื่อทดลองเลี้ยงปลานิลในเวลาต่อมา “ช่วงนั้นเรามอ
ณ ปัจจุบัน การจับปลาเพื่อบริโภคเหมือนสมัยก่อนอาจเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ปลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณที่ลดน้อยลง จึงมีการเลี้ยงปลาเพื่อบริโภคกันมากขึ้น รวมทั้งเลี้ยงเป็นเชิงการค้าที่เกิดเป็นงานสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว เหมือนเช่น คุณสุมาลี เวชกามา อยู่บ้านเลขที่ 266 หมู่ที่ 5 ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ คุณสุมาลี เล่าให้ฟังว่า มีอาชีพขายอาหารสัตว์ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2555 เมื่อทำกิจการด้านนี้ได้ลงตัว จึงรู้สึกมีความสนใจที่อยากจะเลี้ยงปลานิล เพราะปลาจัดได้ว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่สามารถกินได้ทุกเพศทุกวัย ถือว่าเป็นอาหารที่ย่อยได้ง่ายเหมาะกับผู้ที่รักสุขภาพ และที่สำคัญปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติก็เริ่มมีจำนวนที่ลดลง จึงเห็นถึงการประกอบอาชีพทางด้านนี้ “ช่วงแรกก่อนที่จะมาเลี้ยง ก็จะศึกษาเรื่องของตลาดก่อนว่า เราเลี้ยงแล้วเราจะขายยังไง และที่สำคัญการเลี้ยงของเราจะลดเรื่องต้นทุนอย่างไรได้บ้าง ก็เลยได้ลองศึกษาในเรื่องตรงนี้ดู เพราะเราขายเรื่องอาหารสัตว์อยู่แล้ว ความรู้เรื่องนี้เราก็จะชัดเจนมาก ส่วนวิธีการเลี้ยงก็จะมีคนมาสอน เราก็จะไปฝึกอบรมกับเขาเพื่อศึกษาความรู้” คุณสุมาลี เล่าถึงที่มาของการ
ปลานิล เป็นปลาน้ำจืด ที่มีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยในพื้นที่เลี้ยงต้องมีปริมาณน้ำที่เพียงพอ ก็สามารถเลี้ยงได้อย่างไม่มีปัญหา นอกจากน้ำที่สำคัญแล้ว การเลือกหาซื้อลูกพันธุ์ก็ต้องคำนึงด้วยเช่นกัน ถ้าได้ลูกพันธุ์ปลาดีมีคุณภาพมาเลี้ยงควบคู่ไปกับน้ำที่ดี อาหารดี การจัดการดี จะช่วยส่งเสริมให้ปลาเจริญเติบโต เป็นปลาที่มีมาตรฐานสามารถจำหน่ายได้ราคาตามไปด้วย คุณจรูญ ทนุรัตน์ อยู่บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 1 ตำบลไสหมาก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ยึดการเลี้ยงปลานิลเป็นอาชีพเสริม โดยนำความรู้มาปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง จนสามารถพัฒนาการเลี้ยงปลานิลให้มีคุณภาพ และที่สำคัญรวมกลุ่มเกษตรกรภายในพื้นที่สร้างกลุ่มเข้มแข็ง สามารถต่อรองในเรื่องของการทำตลาดได้เป็นอย่างดี คุณจรูญ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะเริ่มมาเลี้ยงปลานิลอย่างเช่นทุกวันนี้ สมัยก่อนในพื้นที่นี้มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำกันอย่างแพร่หลาย ต่อมามีน้ำเค็มที่ใช้เลี้ยงกุ้งไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่ได้ ประมาณปี 2553 จึงได้นำบ่อที่ปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้างหลังจากเลิกเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มาปรับปรุงเสียใหม่เพื่อทดลองเลี้ยงปลานิลในเวลาต่อมา “ช่วงนั้น
คุณจิรทีปต์ คงทอง อยู่บ้านเลขที่ 6/1 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองตีนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่เพาะพันธุ์ปลานิลที่มีคุณภาพ ทำให้ลูกพันธุ์ปลาที่ได้เป็นที่ต้องการของตลาด เกิดเป็นรายได้ให้กับคุณจิรทีปต์มากว่า 20 ปีทีเดียว โดยมีการผลิตเป็นแบบปลานิลแปลงเพศและปลานิลแบบปกติที่ลูกค้าสามารถนำไปเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไปได้ คุณจิรทีปต์ คงทอง คุณจิรทีปต์ เล่าให้ฟังว่า ผู้ที่ริเริ่มมาดำเนินการประกอบอาชีพทางการประมง คือ คุณแม่ โดยในช่วงแรกนั้นยึดการเลี้ยงเป็นปลาเนื้อเพื่อส่งขายให้กับพ่อค้าแม่ค้า เมื่อเลี้ยงมาได้สักระยะปลาที่อยู่ภายในบ่อเลี้ยง เริ่มมีการขยายพันธุ์กันเองออกมาเต็มบ่อ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณแม่ของคุณจิรทีปต์นำลูกพันธุ์ปลาที่ได้นำมาใช้ทดแทน ไม่ต้องซื้อลูกพันธุ์ปลาจากที่อื่นเข้ามาใช้ภายในฟาร์ม และนำส่วนที่เหลือออกขายให้กับเกษตรกรรายอื่น จึงเกิดเป็นรายได้หลากหลายช่องทาง “ช่วงนั้นที่บ้านก็เน้นเลี้ยงปลานิลเป็นหลัก มีปลาชนิดอื่นด้วย แต่พอคิดที่จะเพาะพันธุ์เพื่อเป็นการค้า ก็เลือกเป็นปลานิลที่จะเพาะพันธุ์ โดยรวมแล้วปลานิลนี่ถือว่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ลูกค้าสมัยนั้นนิยมเลี
คุณจิรทีปต์ คงทอง อยู่บ้านเลขที่ 6/1 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองตีนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่เพาะพันธุ์ปลานิลที่มีคุณภาพ ทำให้ลูกพันธุ์ปลาที่ได้เป็นที่ต้องการของตลาด เกิดเป็นรายได้ให้กับคุณจิรทีปต์มากว่า 20 ปีทีเดียว โดยมีการผลิตเป็นแบบปลานิลแปลงเพศและปลานิลแบบปกติที่ลูกค้าสามารถนำไปเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไปได้ คุณจิรทีปต์ คงทอง คุณจิรทีปต์ เล่าให้ฟังว่า ผู้ที่ริเริ่มมาดำเนินการประกอบอาชีพทางการประมงคือ คุณแม่ โดยในช่วงแรกนั้นยึดการเลี้ยงเป็นปลาเนื้อเพื่อส่งขายให้กับพ่อค้าแม่ค้า เมื่อเลี้ยงมาได้สักระยะปลาที่อยู่ภายในบ่อเลี้ยง เริ่มมีการขยายพันธุ์กันเองออกมาเต็มบ่อ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณแม่ของคุณจิรทีปต์นำลูกพันธุ์ปลาที่ได้นำมาใช้ทดแทน ไม่ต้องซื้อลูกพันธุ์ปลาจากที่อื่นเข้ามาใช้ภายในฟาร์ม และนำส่วนที่เหลือออกขายให้กับเกษตรกรรายอื่น จึงเกิดเป็นรายได้หลากหลายช่องทาง “ช่วงนั้นที่บ้านก็เน้นเลี้ยงปลานิลเป็นหลัก มีปลาชนิดอื่นด้วย แต่พอคิดที่จะเพาะพันธุ์เพื่อเป็นการค้า ก็เลือกเป็นปลานิลที่จะเพาะพันธุ์ โดยรวมแล้วปลานิลนี่ถือว่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ลูกค้าสมัยนั้นนิยมเลี้