ทุเรียนไทย
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ (สบร.) ให้บริการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 พร้อมสนับสนุนและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นในผลการทดสอบสารย้อมสี Basic Yellow 2 (BY2) และแคดเมียม (Cadmium) ในทุเรียน จากเหตุผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างหนักเมื่อประเทศจีนตีกลับทุเรียนไทย และเพิ่มความเข้มงวดในข้อกำหนดเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมถึงการตรวจสอบสารเคมีที่อาจมีการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลิตผลทางการเกษตร เช่น สารกำจัดศัตรูพืช สารเร่งการเติบโต สารเคมีอื่นๆ โดยเฉพาะ Basic Yellow 2 (BY2) และ แคดเมียม (Cadmium) ซึ่งกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแนวทางการออกใบรับรองสุขอนามัยพื้นฐานสำหรับการส่งออกทุเรียน โดยกำหนดสินค้าส่งออกไปประเทศจีนทุกตู้หรือชิปเม็นท์ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 ต้องมีใบรายงานผลตรวจวิเคราะห์ (Test report) ของแคดเมียม และ สาร BY2 จากห้องปฏิบัติการที่กรมวิชาการเกษตรให้การยอมรับฯ มาแสดงต่อด่านตรวจเพื่อที่จะออกใบรับรองสุขอนามัยพืชทุกครั้
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เผยความคืบหน้าการเปิดทางสะดวกส่งออกทุเรียนไทยไปจีน หลัง “นภินทร” นำทีมสำรวจเส้นทางโลจิสติกส์และอำนวยความสะดวกทางการค้าผลไม้ไทย ล่าสุดทูตพาณิชย์คุนหมิงได้เข้าพบบริษัท Yunnan Nongfa Agriculture ศูนย์กระจายและค้าส่งแห่งใหม่ จีนนำเข้าทุเรียนไทยเพิ่ม เบื้องต้นคาด 20-30 ตู้ต่อวัน พร้อมขอให้ช่วยกระจายไปยังมณฑลใกล้เคียงด้วย นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจลู่ทางการค้า และโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ ตามนโยบาย นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ล่าสุดได้รับรายงานจาก นายณัฐ วิมลจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ถึงผลการดำเนินการต่อเนื่อง ภายหลัง นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้นำคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์เดินทางไปสำรวจเส้นทางโลจิสติกส์และอำนวยความสะดวกทางการค้าสำหรับการส่งออกทุเรียนไทยไปจีนในช่วงฤดูกาลผลไม้ที่กำลัง
ผลวิจัยเผย หมอนทองไหหลำ ทุเรียนจีน สู้ทุเรียนไทยไม่ได้ คุณค่าทางโภชนาการต่างกันลิบ สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ต่างจากของไทยที่มีเพียบ South China Morning Post รายงานข่าวว่า นักวิจัยค้นพบว่าทุเรียนที่ปลูกในจีนขาดสารอาหารสำคัญบางตัว มีความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับที่มาจากประเทศไทย นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรไห่หนาน ประเทศจีน (Hainan Academy of Agricultural Sciences, CAAS) ได้ศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้เมืองร้อนที่ปลูกในไหหลำเป็นครั้งแรก พบว่าทุเรียนที่ปลูกในจีนให้คุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกันอย่างน่าประหลาดใจ เมื่อเทียบกับทุเรียนที่ปลูกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลงานศึกษา ระบุว่า ทุเรียนที่ปลูกในจีนอาจมีสารอาหารหลักบางชนิดต่ำมากหรือขาดหายไป ตัวอย่างเช่น “ทุเรียนหมอนทอง” ที่ปลูกในประเทศจีนไม่มีสารเควอซิติน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระเลย ในขณะที่ทุเรียนของไทยนั้นมีปริมาณมาก ขณะเดียวกัน ทุเรียนที่ปลูกบนเกาะไหหลำ ประเทศจีนนั้นมีหลายสายพันธุ์ที่พบสารเควอซิติน (Quercetin) อย่างเช่น “ก้านยาว” ทว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าพันธุ์เดียวกันที่ปลูกในต่างประเทศถึง 5
(ซินหัว) — ห้วงยามจีนเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจและเปิดกว้างอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ความต้องการทุเรียนของจีนเติบโตตามไปด้วยเช่นกัน โดยการนำเข้าทุเรียนของจีนพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคมของปี 2024 มีการนำเข้าทุเรียนสดสูงเกิน 1.48 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบปีต่อปี “ไทย” ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ส่งออกทุเรียนสู่จีน ยังคงครองตลาดทุเรียนในจีนด้วยสินค้าทุเรียนรสชาติหวานมันส่งกลิ่นหอมเย้ายวนใจผู้บริโภคชาวจีน แต่ขณะเดียวกันมีการนำเข้าทุเรียนจากเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ซึ่งกลายเป็นตัวเลือกใหม่ๆ ของผู้บริโภคชาวจีน ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวซินหัวได้พูดคุยกับพ่อค้าคนกลาง ผู้ค้าปลีก ผู้บริโภค และนักวิจัยตลาดในจีน พบว่าทุเรียนไทยยังคงมีข้อได้เปรียบที่ไม่เหมือนใครและมีแนวโน้มรักษาตำแหน่ง “ผู้นำ” ในตลาดจีนต่อไป หากมุ่งมั่นพัฒนาการควบคุมคุณภาพ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ วิธีทำการตลาด การเพาะปลูกสายพันธุ์ใหม่ และการอุดช่องโหว่ทางอุปทานอย่างต่อเนื่อง ควบคุมคุณภาพเข้มงวด สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า “แม้ทุเรียนก้านยาวของเวียดนามจ
ตลาดทุเรียนโลกในปัจจุบันนับว่าเป็นสมรภูมิที่ร้อนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักของทุเรียนทั่วโลก ซึ่งทุเรียนไทยแม้จะมีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของตลาดมานาน แต่ก็ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามและมาเลเซีย ซึ่งต่างก็พยายามขยายฐานการผลิตและส่งออกทุเรียน เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของทุเรียนไทย ปัจจัยที่ทำให้ตลาดทุเรียนไทย เผชิญความท้าทาย ในการแข่งขันตลาด การแข่งขันด้านราคาโดยประเทศคู่แข่งมักเสนอราคาที่ต่ำกว่า เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่อาจต่ำกว่าหรือมีนโยบายส่งเสริมการส่งออก ทำให้ทุเรียนไทยต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ข้อมูลจากประชาชาติธุรกิจได้รายงานว่า ช่วงปิดฤดูกาลทุเรียนภาคตะวันออก ด้วยยอดส่งออกสะสม 1 มกราคม-30 มิถุนายน 2567 มีผลผลิตปริมาณ 595,681.88 ตัน มูลค่าอยู่ที่ 79,327.93 ล้านบาท ด้วยราคาที่พุ่งแรงตลอดฤดูกาล เพราะมีล้งกว่า 1,500 รายมาแย่งกันซื้อ แม้ท้ายฤดูกาลยังขายได้ราคา 170-190 บาทต่อกิโลกรัม แต่เมื่อถึงฤดูกาลทุเรียนใต้ในช่วงครึ่งปีหลัง ราคากลับดิ่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 140-150 บาทต่อกิโลกรัม แถมยังต้องเผชิญกับสถานกา
“ไตรมาส 3/2567 และไตรมาส 4/2567 ปีนี้ประเทศไทยมีสิทธิเสียแชมป์การส่งออกทุเรียนในตลาดจีนให้เวียดนาม” นั่นเป็นประโยคที่ผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” แม้ว่าช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 ข้อมูลจากฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว แจ้งว่า ทางศุลกากรแห่งชาติจีนได้เปิดสถิติการนำเข้าทุเรียนผลสดว่า ไทยยังคงครองแชมป์อันดับ 1 โดยมีสัดส่วน 66.97% ของปริมาณการนำเข้าทุเรียนผลสดทั้งหมดของจีน ขณะที่เวียดนามนำเข้า 32.81% เนื่องจากผลผลิตของทุเรียนภาคใต้ที่ลดลง ประกอบกับปัญหาทุเรียนอ่อน หนอนเจาะเมล็ด ล่าสุดถูกด่านตีกลับอีก 9 ตู้ นายสริระวิชญ์ จิระวัฒนเมธากุล ที่ปรึกษาการตลาดสมาคมทุเรียนไทยเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ภาพรวมทุเรียนไทยส่งออกไปตลาดจีนตอนนี้ราคาต่ำมาก โดยเฉพาะทุเรียน 3 จังหวัดภาคใต้ มีปัญหาหลักๆ 4 ประการ คือ 1. ตลาดปลายทางจีนระบายของยาก เนื่องจากเศรษฐกิจจีนไม่ดี 2. ปัญหาทุเรียนอ่อนในช่วงต้นฤดูช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 3. ปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนที่ต่อเนื่องมาถึงขณะนี้ และ 4. ปัญหาการแข่งขันกับทุเรียนเวียดนาม ที่จะตามมาในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ ทำให้ล้งของบริษั
“ทุเรียน” ผลไม้ยอดนิยมเอกลักษณ์แห่งซอฟต์พาวเวอร์ไทย สร้างกระแสคึกคักบนสังคมออนไลน์ “หมอนทอง” เป็นสายพันธุ์ยืนหนึ่งที่มีแต่คนพูดถึงมากที่สุด โดยเฉพาะทุเรียนจากสวนจันทบุรี และ “บุฟเฟ่ต์ทุเรียน” เป็นกลยุทธ์การตลาดโดนใจที่ทำให้ “ทุเรียนเลิฟเวอร์” ยอมควักกระเป๋า บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ DXT360 เพื่อฟังเสียงในสังคมออนไลน์ (Social Listening) และนำข้อมูลเรื่องทุเรียนมาวิเคราะห์ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม – 20 มิถุนายน 2567 พบว่ามีการพูดถึง (Mention) ทุเรียน ถึง 10,460 ครั้ง และได้รับการมีส่วนร่วม หรือเอ็นเกจเมนต์ (Engagement) จำนวน 3,556,174 ครั้ง โดยเฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นช่องทางที่ได้รับการ Mention และมี Engagement มากที่สุด “หมอนทอง” สายพันธุ์ทุเรียนยอดฮิต ช่วงฤดูกาลทุเรียน เป็นช่วงที่ทุเรียนออกผลผลิตจำนวนมาก มีทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกสรรตามความชอบ โดยจุดเด่นของทุเรียนแต่ละสายพันธุ์ย่อมแตกต่างกันออกไป ทั้ง หมอนทอง รสชาติหวานมันกำลังดี กลมกล่อม ไม่ได้หวานแหลมจนเกินไป และเนื้อเยอะ ก้านยาว รสชาติจะหวานมัน แต่มีขนาดเม็ดที่ใหญ่ ชะนี รสชาติจะหวานจัด กลิ่น
นายวิทยากร มณีเนตร โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถิติการนำเข้าทุเรียนสดของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2024 ล่าสุด (ข้อมูลจาก Global Trade Atlas : GTA) พบว่าจีนนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 ปริมาณ 121,398 ตัน มูลค่า 717 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากเวียดนามอันดับที่ 2 ปริมาณ 79,186 ตัน มูลค่า 369 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ข้อมูลสถิติการส่งออกทุเรียนสดของไทยในช่วง 4 เดือนล่าสุด (มกราคม-เมษายน 2567) พบว่าไทยสามารถส่งออกทุเรียนสดไปจีนได้ถึง 225,204 ตัน (ข้อมูลสถิติจากกรมศุลกากร) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนพฤษภาคม ซึ่งสามารถมั่นใจได้ว่าไทยยังคงครองแชมป์การส่งออกทุเรียนสดไปยังประเทศจีน นอกจากนี้ยังพบว่าราคาต่อหน่วยของไทยในปี 2567 ปรับตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการทุเรียนไทยในตลาดจีนยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยราคาส่งออกกิโลกรัมละ 6 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 216 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ เนื่องจากนโยบายเชิงรุกของกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการนำของ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ลงพื้นที่ ด
จันทบุรี, 14 พฤษภาคม (ซินหัว) – ภาพคนงานปีนต้นทุเรียนใช้มีดตัดผลผลิตบนยอดสูงชะลูด ก่อนโยนให้เพื่อนคนงานที่รอรับใต้ต้นอย่างชำนิชำนาญด้วยถุงกระสอบ ส่งสัญญาณการเริ่มต้นฤดูเก็บเกี่ยวทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะปลูกทุเรียนแห่งสำคัญของไทย ศศิธร เจ้าของสวนทุเรียนมากกว่า 2,000 ต้น ผู้ทำธุรกิจซื้อขายทุเรียนมานานกว่า 10 ปี เล่าว่า เธอจ้างคนงานตัดผลผลิตทุกวันมากกว่า 40 คนในฤดูเก็บเกี่ยวทุเรียนปีนี้ โดยผลผลิตของปีนี้ลดลงเพราะภัยแล้ง สวนทางกับความต้องการทุเรียนของตลาดจีนที่ยังคงสูง “เราส่งออกทุเรียนหลายสายพันธุ์ ทั้งพันธุ์กระดุมที่สุกพร้อมเก็บเกี่ยวก่อนหน้านี้และพันธุ์หมอนทองที่ชาวจีนนิยม” ศศิธร กล่าว โดยทุเรียนจากสวนของศศิธรถูกขนส่งสู่โรงงานแปรรูปใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว เพื่อคัดเลือก ชั่งน้ำหนัก บรรจุหีบห่อ และเคลื่อนย้ายสู่สายส่ง วีระชัย ผู้จัดการโรงงานแปรรูปทุเรียน บอกกับสำนักข่าวซินหัวว่า จีนเป็นตลาดสำคัญมาก โดยปีนี้ส่งออกทุเรียน 23 ตู้คอนเทนเนอร์แล้ว ส่วนใหญ่ส่งออก 3 ทาง แบ่งเป็นทางอากาศร้อยละ 20 ทางทะเลร้อยละ 40 และทางบกร้อยละ 40 อนึ่ง ไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกทุเรีย
ยามฤดูเก็บเกี่ยวและจำหน่าย “ราชาแห่งผลไม้” อย่างทุเรียนเวียนมาถึง ทุเรียนจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทยอยเข้าสู่ตลาดจีนอย่างต่อเนื่อง โดยรสชาติที่อร่อยและกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ทุเรียนเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของผู้บริโภคชาวจีนเพิ่มขึ้น กลายเป็นหนึ่งในผลไม้ตัวเลือกของหลายครอบครัวชาวจีน “ไทย” ถือเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตและส่งออกทุเรียนแห่งสำคัญของโลก แต่ละปีส่งออกทุเรียนสู่จีนเป็นปริมาณมาก โดยปริมาณการส่งออกทุเรียนของไทยสู่จีนในปี 2023 เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.7 เมื่อเทียบปีต่อปี และทุเรียนที่ส่งออกสู่จีนคิดเป็นร้อยละ 70 ของการส่งออกทุเรียนทั้งหมดของไทย ขณะความนิยมทุเรียนในจีนเพิ่มขึ้นไม่หยุดและความต้องการของตลาดยังคงแข็งแกร่งในปี 2024 “ทุเรียนไทยอร่อยและมีกลิ่นหอมมาก แต่ละปีครอบครัวต้องซื้อทุเรียนหมอนทองของไทยมารับประทานกัน โดยตอนนี้นอกจากทุเรียนไทยแล้วยังมีทุเรียนเวียดนามให้เลือกซื้อ นี่เป็นเหมือนโบนัสของคนรักทุเรียน” หวังอวิ๋นเจวียน ผู้บริโภคในนครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีนกล่าว ยามเดินเข้าตลาดค้าส่งผลไม้ไห่จี๋ซิงในนครหนานหนิงจะพบพ่อค้าแม่ค้ามากมายที่จำหน่าย “