ท่องเที่ยวเกษตร
ติดปีกบินข้ามฟ้ามาใกล้เทือกเขาหิมาลัยขนาดนี้ บรรยายไปเฉพาะเรื่องของวิถีชีวิตที่สำรวจมาได้ ตาทั้งสองข้างยังไม่พอ คงต้องพูดถึงเป้าหมายของการมาเนปาลครั้งนี้ว่า แท้ที่จริงแล้ว มาเพื่ออะไร ประการแรก เพียงเพื่อให้ได้มา เนปาล ประเทศที่อยู่ในห้วงใจลึกๆ ส่วนประการอื่น ขึ้นกับหัวหน้าทริปและผู้ร่วมเดินทางอีก 14 คน ซึ่งได้ทราบก่อนเดินทางเพียง 1 สัปดาห์ ว่า เป้าหมายการเดินทางครั้งนี้คือ การดูนก และเก็บภาพนกที่หายากหรือไม่พบแล้วในเมืองไทย โดยผู้เดินทางทุกคน ยกเว้นผู้เขียน มีประสบการณ์การดูนก การถ่ายภาพ และการถ่ายภาพนกระดับมือโปรทั้งนั้น อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ว่าการเดินทางจากเมืองกาฐมาณฑุ เมืองหลวง มายังเมืองโพคารา ใช้เวลาเดินทาง 7-8 ชั่วโมง ทำให้การเดินทางในวันแรกหมดลงอย่างน่าเสียดาย เข้าที่พักก็ค่ำ ไม่ทันเห็นความศิวิไลซ์ที่น้อยนิดของเมืองโพคารา ที่จัดว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวของเนปาล เมื่อเป้าหมาย คือ การดูนก เก็บภาพนก เราจึงพุ่งเป้าไปที่ Dhampus ห่างออกจากตัวเมืองไปเกือบ 1 ชั่วโมง เมื่อเดินทางด้วยรถบัส ยิ่งนั่งรถออกนอกตัวเมืองโพคาราเข้าใกล้ Dhampus มากเท่าไร เหมือนเดินเข้าใกล้เทือกเขาอันนะปุรณะ
“กาแฟ” เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้ก้อนโตให้แก่ชาวเชียงรายมานานกว่า 40 ปี ชาวบ้านเริ่มปลูกกาแฟตั้งแต่ ปี 2516 ภายใต้โครงการปลูกพืชทดแทน และพัฒนาเศรษฐกิจชาวไทยภูเขา ไทย/สหประชาชาติ ที่ส่งเสริมการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ทดแทนการปลูกฝิ่น ผสมผสานกับไร่ชาอัสสัม ที่ให้ผลผลิตที่ดีและสร้างรายได้ที่มั่นคง ทำให้ปริมาณการผลิตฝิ่นลดลงไปมาก ต่อมามีการทดลองปลูกชา กาแฟ ไม้ผลเมืองหนาวอีกหลายชนิด ณ พื้นที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ดอยตุง สถานีทดลองเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงราย หลังจากนั้นมีการแจกจ่ายพันธุ์พืชคุณภาพดีสู่เกษตรกรและชาวไทยภูเขา ทำให้ผลผลิตชาและกาแฟคุณภาพดี กลายเป็นเศรษฐกิจหลักของจังหวัดเชียงรายจนถึงทุกวันนี้ กาแฟ สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดีในพื้นที่สูง เพราะมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี ทุกวันนี้ จังหวัดเชียงรายมีแหล่งกาแฟ จำนวน 35 หมู่บ้าน ในพื้นที่ 10 ตำบล 7 อำเภอ โดยมีพื้นที่ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้ามาเป็น อันดับ 1 ของประเทศไทย พื้นที่ปลูกรวมทั้งสิ้น 42,566 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย ไร่ละ 215 กิโลกรัม เมื่อปี 2557 ให้ผลผลิตสูง 9,328 ตัน มีเกษตรกรปลูกและผู้แปรรูปกาแฟรวม 4,277 ราย โดยมีพ
“ท่องเที่ยวชุมชน” เป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก กระจายรายได้สู่ชุมชน ให้ชาวบ้านได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน : อพท.) เป็นองค์กรหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนพัฒนาส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ทั้งหมด 6 แห่ง เมื่อ 17-23 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา อพท. 3 ได้นำคณะกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดตราด 4 ชุมชน คือ ชุมชนเกาะหมาก ชุมชนท่าระแนะ ชุมชนตำบลไม้รูด และชุมชนตำบลคลองใหญ่ รวม 40 คน จัดกิจกรรมเชื่อมโยงกับ อพท. 5 จังหวัดเลย ที่อำเภอเชียงคานและอำเภอด่านซ้าย คุณสุธารักษ์ สุนทรวิภาต รองผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 3 (ตราด) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการให้องค์ความรู้โดยสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ส.พ.ส.) ผสมผสานกับประสบการณ์ตรง ศึกษาดูงานพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น เพื่อส่งเสริมด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานและพัฒนาการอย่างยั่งยืนต่อ รวมทั้งให้ชุมชนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์เพื่อนำมาปรับใช้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนเชื่อมโยงกั
เมื่อกระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นที่นิยมทั่วโลก นโยบายของภาครัฐได้สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) พื้นที่ภาคตะวันออก ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด เป็นเป้าหมายที่ภาครัฐส่งเสริมพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 1-7 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดตราด ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดอบรม “หลักสูตรนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ หลักสูตร 60 ชั่วโมง” โดย อาจารย์สืบสกุล ขุนเทพ จากสถาบัน ขุนเทพ คลินิกแพทย์แผนไทยจังหวัดจันทบุรี เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานทางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกระจายรายได้ให้เข้าถึงชุมชน โดยผู้เข้าอบรมทั้ง 30 คน สามารถให้บริการนวดฝ่าเท้าที่ถูกวิธี และนำงานวิจัยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมครีมสกัดจากสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ในการนวด ซึ่งงานวิจัยผลิตภัณฑ์นี้เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และภูมิปัญญาที่ผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ งานวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สร้างงาน สร้างรายได้ เข้าถึงชุมชน รศ.ดร. พรรณี สวน
นายอนิรุจ นุชมี ประธานกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ชาวชุมชนทุ่งครุในพื้นที่พุทธบูชา ซอย 36 ซึ่งเป็นชุมชนที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่จำนวนมาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะเลี้ยงแพะและแกะ ซึ่งดั้งเดิมของชาวทุ่งครุ หรือที่รู้จักกันแต่ก่อนว่าบางมด คือการทำนา ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนมาทำสวนส้ม ตั้งแต่ปี 2508 พื้นที่นาจึงเปลี่ยนสภาพเป็นสวนส้ม ซึ่งส้มบางมดมีชื่อเสียง เนื่องจากรสชาติหวานไม่เหมือนส้มจากพื้นที่อื่น เพราะปลูกในเขตพื้นที่ที่เป็นดินสองน้ำ เป็นดินน้ำกร่อย ที่ผสมระหว่างดินจากแม่น้ำเจ้าพระยากับน้ำทะเล และปีหนึ่งจะได้บริโภคส้มบางมดเพียงหนเดียว เนื่องจากใช้เวลาออกผล 8 เดือน จึงจะสามารถเก็บขายได้ ปัจจุบัน ส้มบางมดเหลือน้อยลง เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งครุจึงรวมตัวกัน เพราะต้องการให้อนุรักษ์พื้นที่ทำการเกษตรในเขตทุ่งครุ อนุรักษ์น้ำและลำคลองที่กำลังจะหมดไป และคนต้องการให้คนทั่วไปรู้ว่าส้มบางมดยังคงเหลืออยู่และชาวบ้านจะร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่กับพื้นที่แห่งนี้ ปัจจุบัน ชาวบ้านที่นี่ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายใต้ชื่องาน “กัมปงในด
นายอนิรุจ นุชมี ประธานกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ชาวชุมชนทุ่งครุในพื้นที่พุทธบูชา ซอย 36 ซึ่งเป็นชุมชนที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่จำนวนมาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะเลี้ยงแพะและแกะ ซึ่งดั้งเดิมของชาวทุ่งครุ หรือที่รู้จักกันแต่ก่อนว่าบางมด คือ การทำนา ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนมาทำสวนส้ม ตั้งแต่ ปี 2508 พื้นที่นาจึงเปลี่ยนสภาพเป็นสวนส้ม ซึ่งส้มบางมดมีชื่อเสียง เนื่องจากรสชาติหวานไม่เหมือนส้มจากพื้นที่อื่น เพราะปลูกในเขตพื้นที่ที่เป็นดินสองน้ำ เป็นดินน้ำกร่อย ที่ผสมระหว่างดินจากแม่น้ำเจ้าพระยากับน้ำทะเล และปีหนึ่งจะได้บริโภคส้มบางมดเพียงหนเดียว เนื่องจากใช้เวลาออกผล 8 เดือน จึงจะสามารถเก็บขายได้ ปัจจุบัน ส้มบางมดเหลือน้อยลง เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งครุจึงรวมตัวกัน เพราะต้องการให้อนุรักษ์พื้นที่ทำการเกษตรในเขตทุ่งครุ อนุรักษ์น้ำและลำคลองที่กำลังจะหมดไป และคนต้องการให้คนทั่วไปรู้ว่าส้มบางมดยังคงเหลืออยู่และชาวบ้านจะร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่กับพื้นที่แห่งนี้ ปัจจุบัน ชาวบ้านที่นี่ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายใต้ชื่องาน “กัมปงใ
“เส้นทาง สุดทางบูรพา” เป็น 1 ใน 5 เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนบนฝั่ง ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตราด ดำเนินการภายใต้แนวคิดนโยบายภาครัฐ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตราด เป็นการสร้างและการกระจายรายได้สู่พื้นที่ท่องเที่ยวบนฝั่งจังหวัดตราด จากความนิยมของนักท่องเที่ยวที่มุ่งสู่เกาะต่างๆ คุณไพโรจน์ โสภาพร พัฒนาการจังหวัดตราด กล่าวว่า หลังการเตรียมพร้อมทั้ง 5 เส้นทางแล้ว ถึงขั้นตอนกิจกรรมทดสอบเส้นทาง (Press Tour) เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเพื่อเตรียมประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน เพี่อเพิ่มและกระจายรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมกับคณะเดินทางสำรวจ ทดสอบ เส้นทางชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดตราด : เส้นทางที่ 5 “สุดทางบูรพา” เมื่อกลางเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่หมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจะมีความพร้อมทางด้านการท่องเที่ยว เพราะจังหวัดตราดเป็น 1 ใน 10 เมืองรอง ได้รับการพัฒนาส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวจากหน่วยงานต่างๆ มาบ้างแล้ว และที่สำคัญชุมชนมีศักยภาพทางธรรมชาติ มีความเข้มแข็ง มีอัตลักษณ์ของตัวเองที่เป็นเสน่ห์น่าสนใจ การเข้ามา
ชื่อของจังหวัด “น่าน” ถูกบรรจุเป็นแหล่งท่องเที่ยวในใจนักท่องเที่ยวมากขึ้น ด้วยจุดขายเมืองที่รุ่มรวยไปด้วยวัฒนธรรมอันเก่าแก่ เสน่ห์เมืองเนิบช้า Slow City คือคำตอบสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีความตั้งใจเดินทางไปท่องเที่ยวจริงๆ เป็นระยะทางถึง 668 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ถึงน่าน เมืองที่เป็นจุดสิ้นสุดชายแดนเชื่อมกับ สปป. ลาว ดังนั้นการเดินทางย่อมต้องใช้เวลานานกว่าจะถึงเป้าหมาย ตอกย้ำว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางมาต้องเฉพาะกลุ่มที่ต้องการเสพความเรียบง่าย วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม และความเป็นธรรมชาติจริงๆ แม้ว่าโครงสร้างเมืองปัจจุบันจะกลายโฉมไปทีละน้อย ทั้งการเปิดโรงแรม เกสต์เฮาส์ ร้านกาแฟ ฯลฯ ก็ตาม ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นมากมายนี้เอง ทำให้นักท่องเที่ยวบางกลุ่มยังคิดหนัก เป็นห่วงจังหวัดน่านว่าจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ถูกกระแสโหมทับของนักท่องเที่ยวจนเกิดภาวะเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวหลายที่ เช่น ที่ปาย เป็นต้น ทว่ามีแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองน่านราว 60 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า คือ “ปัว” อำเภอเล็กๆ กลางหุบเขา ซึ่งหากใครเดิ
หนาวนี้ เช็กอินที่มวกเหล็กกันมั้ย? ‘มวกเหล็ก’ จัดเป็นแม่เหล็กตัวเขื่อง ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปสัมผัสไอหมอกยามเช้า สูดโอโซนบริสุทธิ์ อันดับ 7 ของโลก ให้ชุ่มชื่นปอด ในอุณหภูมิเย็นสบาย ด้วยระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 150 กิโลเมตร อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี จึงเป็นไฮไลต์ด้านการท่องเที่ยวของคนเมือง ที่อยากหลีกหนีความแออัดวุ่นวาย เปิดวาร์ปไปเช็กอินพักกาย ชาร์จแบต ท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติในจุดที่ไม่ไกลและเดินทางสะดวก แต่ได้ดื่มด่ำบรรยากาศเหมือนขึ้นดอย ท่องเที่ยว ‘มวกเหล็ก’ ปีนี้ ได้รับแรงหนุนอันแข็งแกร่ง โดยหอการค้าจังหวัดสระบุรี จับมือกับ กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่หอการค้าจังหวัดสระบุรี (Young Entrepreneurs’ Chamber of Commerce Saraburi หรือ YEC สระบุรี) สมาคมการท่องเที่ยวสระบุรี และ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีสระบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ผลักดัน อำเภอมวกเหล็ก เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีดีไม่แพ้ที่อื่นๆ ทั้งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเชิงวัฒนธรรม เรียกว่ามีของดีต้องบอกต่อ เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หอการค้าจังหวัดสระบุรี จัดทริปลั้นล้าแทรกด้วยสาระเชิงเกษตร นำคณะสื่อมวลชนสัมผัสไอหมอกยามเช้า
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ได้ร่วมเดินทางไปกับสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดตราด และสมาคมโรงแรมและรีสอร์ตจังหวัดตราด สำรวจเส้นทางเชื่อมโยงท่องเที่ยวทางน้ำเชื่อมพื้นที่ชายฝั่งทะเล 3 ประเทศ ไทย กัมพูชา เวียดนาม หลังจากเมื่อ 3 ปีที่แล้ว มีการพัฒนาเชื่อมโยงทางรถยนต์ตามเส้นทางถนน R10 (Southern Coastal Corridor Road) ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวทางด้านจังหวัดตราดเพิ่มขึ้น ซึ่งเส้นทางทางน้ำจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ สำรวจเส้นทาง ทางเรือ 3 ประเทศ คลองใหญ่ (ตราด)-เกาะรง (สีหนุวิลล์)-ฟูก๊วก (เกียนยาง) ด้วยเป็นทริปสำรวจเส้นทางเชื่อมโยงทางเรือ ต่างจากการทัวร์โดยทั่วไป จะเน้นจุดที่แวะพักระหว่างทาง เริ่มต้นจากจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด-เกาะกง กัมพูชา เพราะเป็นด่านสากลที่มีตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร เข้า-ออก สะดวก โดยใช้พาสปอร์ต ส่วนท่าเทียบเรือที่จะใช้เป็นท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ ขนาด 500 ตันกรอส ที่อำเภอคลองใหญ่ อยู่ห่างจากชายแดน 17 กิโลเมตร ที่สร้างเสร็จแล้ว ยังไม่เปิดให้ใช้ การสำรวจจึงใช้เส้นทางรถยนต์เดินทางไป