ท่องเที่ยวเกษตร
ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือวันขัตฤกษ์ หากใครอยากออกไปพักผ่อน ขับรถกินลม ชมวิวทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม หาอาหารทะเลสดอร่อยรับประทาน ในสถานที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เดินทางได้สะดวก ใช้เวลาไม่นาน แบบไปเช้า เย็นกลับ หรือจะพักค้างแรมสักคืนหนึ่ง เพื่อเพิ่มพลังให้กับชีวิต เราจะพาคุณเดินทางลัดเลาะไปตามโครงข่ายถนนเลียบชายฝั่งทะเลของกรมทางหลวงชนบทจากคลองโคน จ.สมุทรสงคราม ไปจนถึงชายหาดชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นถนนสายชมวิว (Scenic route) ที่สวยที่สุดสายหนึ่ง ที่เหมาะจะเป็นเป้าหมายในการเดินทางท่องเที่ยวแบบสบายๆ ถนนเลียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันตก ช่วง “คลองโคน-ชะอำ” เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่จะแนะนำให้ผู้ที่เดินทางลงภาคใต้ ใช้หลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรบนถนนเพชรเกษม ซึ่งเป็นเส้นทางหลักช่วงจากแยกวังมะนาว เพชรบุรี ชะอำ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดจะมีปริมาณการจราจรค่อนข้างมาก ยิ่งหากเป็นช่วงเทศกาลสำคัญ หรือช่วงที่มีวันหยุดต่อเนื่องกันหลายวัน ก็จะมีผู้ใช้เส้นทางหลักอย่างหนาแน่น นอกจากเส้นทางคลองโคน-ชะอำ จะเป็นทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรที่คับคั่งบนถนนเพชรเกษมแล้ว สองข้างทางยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น หาดแหลม
วันที่ 2 มีนาคม 2560 ในงานมหกรรมกินกุ้งใหญ่ กินไข่นกกระทา กินผักปลาปลอดสารพิษ ที่บริเวณหน้าศาลกลางจังหวัดอ่างทอง โดยการแข่งขันไข่ ลงรู แบ่งเป็นทีมๆละ3คน โดยทีมแรก ประกอบด้วย นายวีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายรณชัย จิตรวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง และนายประสิทธิ์ พวงทอง ปศุสัตว์จังหวัดอ่างทอง เข้าร่วมการแข่งขันทีมแรก โดยกฎกติกา ให้เวลาแข่งขัน 2 นาที นำไข่นกกระทาที่ต้มสุกแล้วปล่อยไปให้ไหล ไปตามรางที่ทำจากท่อพีวีซีสองท่อนยาว2 เมตร ให้ไหลมาตามรางแล้วตกลงไปในกระป๋องที่ถืออยู่ด้านล่างปลายท่อพีวีซี ใครได้ไข่นกกระทามากที่สุดเป็นผู้ชนะ โดยความสนุกเฮฮา เริ่มจาก นายวีร์รวุทธ์ เป็นคนปล่อยไข่นกกระทา และมีรองผู้ว่าฯ เป็นคนถือท่อพีวีซีสองท่อน คอยประคองไข่นกกระทา และท่านปศุสัตว์จังหวัดถืออยู่ปลายท่อพีวีซีคอยกะจังหวะให้ไข่นกกระทาที่ไหลมาตามรางตกลงสู่กระป๋อง เมื่อสัญญาณการแข่งขันเริ่มขึ้น ท่านผู้ว่าฯก็ปล่อยไข่นกกระทา ลงมาตามรางท่อพีวีซีอย่างไว ซึ่งท่านรองผู้ว่าฯก็ไม่ทำให้ผิดหวัง ต้องคอยประคองไข่นกกระทาไห้ไหลไปตามรางเพื่อลงรู แต่ที่ปลายท่อพีวีซี มีท่านปศุสัตว์จังหวัด กะจังหวะพ
วันที่ 27 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560 ของเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี พบว่ามีนักท่องเที่ยวที่นิยมชมชอบการท่องเที่ยว เเบบเชิงอนุรักษ์และธรรมชาติ เดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ชื่อ จังเกิ้ลรูท 360 องศา ซึ่งเป็นจุดชมวิวบนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตร สามารถมองเห็นวิวเกาะสมุยแบบรอบด้านแบบ 360 องศา และยังมองเห็นเกาะพะงัน หมู่เกาะอ่างทอง และหมู่เกาะทะเลใต้ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งบนยอดเขานี้นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสอากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติยังได้เรียนรู้การทำอาหารไทย เช่นสอนให้นักท่องเที่ยวได้ทำส้มตำรับประทานเอง และได้เรียนรู้วิถีไทยด้วยการขูดมะพร้าว นายภูมิพงศา บุญต่อ เจ้าของจังเกิ้ลรูท 360 องศา เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า เกาะสมุยเที่ยวได้ทั้งปีไม่ได้มีดีที่ทะเลเพียงอย่างเดียว และที่จังเกิ้ลรูท 360 องศา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในจุดที่มีสวนผลไม้หลากหลายชนิดที่ขึ้นชื่อระดับประเทศ และยังเป็นจุดที่เห็นวิวทะเลได้รอบเกาะสมุย 360 องศา นอกจากนี้ ในบางช่วงยังเห็นทะเลหมอกที่สวยงามมาก ซึ่งเราจะมองทะเลได้ 2 ทะเล คือท
ภูห้วยอีสัน ตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย พร้อมรับนักท่องเที่ยวจะเดินทางมาชมทะเลหมอกเหนือลำแม่น้ำโขง โอบล้อมด้วยภูเขา 2 ฝั่งไทย-ลาว แม้วันไหนที่ไม่มีทะเลหมอก ก็ยังได้ชมวิวที่สวยงามไม่แม้กัน นายศิริศักดิ์ เบ้าแก้ว นายก อบต.บ้านม่วง อ.สังคม จังหวัดหนองคาย กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงปลายฝนต้นหนาว คณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านม่วง ได้ร่วมกันพัฒนาเส้นทางขึ้นภูห้วยอีสัน ซึ่งเป็นจุดชมทะเลหมอกและวิวเหนือลำน้ำโขง พร้อมทั้งได้ติดตั้งป้ายสวย ๆ ที่จะให้นักท่องเที่ยวได้ใช้ถ่ายรูปกันหลายมุม รวมทั้งก่อสร้างห้องน้ำแบบฉุกเฉินจำนวน 1 ห้อง ซึ่งจุดหลักในการชมมีอยู่จุดเดียว แต่หากถึงฤดูกาลท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ก็จะกระจายไปอยู่ในจุดอื่น ๆ ที่เตรียมสำรองไว้อีก 2 จุด สามารถรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 1,000 คน ในส่วนของที่พักนั้น นายก อบต.บ้านม่วง บอกว่า เนื่องจากชาวบ้านยังไม่ทุนประกอบกิจการในเรื่องของที่พักกันมาก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็จะพักในตัวอำเภอสังคม และในตัวจังหวัด ซึ่งสามารถเดินทางมาชมทะเลหมอกที่ภูห้วยอีสันได้อย่างสะดวกสบาย หรือจะมาพักที่รีสอร์ท โฮมสเตย์ และกางเต้นท์ในจุดที
“ลมฝนอันชุ่มฉ่ำแห่งวสันต์ที่ผ่านพ้น คือเริ่มต้นของลมหนาวแห่งเหมันต์” นี่คือคำพูดที่ผู้เขียนเคยได้ยินมาจากเพื่อนนักเดินทางเมื่อไม่นานนี้ มาวันนี้ขณะทอดสายตาไปข้างหน้าเพื่อรอการกลับมาของดวงตะวันในยามเช้าตรู่ แสงอรุณที่สาดมาทำให้ทัศนียภาพข้างหน้าดูเด่นชัดขึ้น จากม่านหมอกสีขาวสะอาดที่ค่อยๆ ลอยขึ้นมา ตัดกับสีเขียวของบรรดาแมกไม้นานาพันธุ์ของป่าสนเขา ทั้งหมดนี้คือความอิ่มเอมทุกครั้งเมื่อได้มาเยือนยังอุทยานแห่งชาติภูเรือ ในเหมันตฤดู ทั้งลมหนาว สายหมอก ดอกไม้ หรือแม้แต่การผิงไฟในยามค่ำของที่นี่ ก็มักทำให้เราได้รู้สึกอิ่มกับบรรยากาศไปได้เองเหมือนดังมนต์มาสะกดก็ไม่ปาน อุทยานแห่งชาติภูเรือมีพื้นที่ประมาณ 120.84 ตารางกิโลเมตร หรือ 75,525 ไร่ ครอบคลุมตั้งแต่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ ของจังหวัดเลย มีอาณาเขตด้านทิศเหนืออยู่ติดกับประเทศลาว ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2522 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 16 ของประเทศไทย ชื่อภูเรือนี้มาจากไหน? เจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ เล่าให้ฟังว่า “ชื่อภูเรือนี้ เรียกกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายแล้ว คงมีที่มาจากลักษณะแหลมคล้ายหัวเรือของภูนั่นแหละ” จากที่ได
นายวุฒิพงษ์ รัตนมนต์ นายกสมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดตราด และประธานสหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปเเละส่งออกจังหวัดตราด เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้รวบรวมผลผลิตผลไม้ หรือ “ล้งผลไม้” ใน 3 จังหวัดคือ ระยอง จันทบุรี และตราด กำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียนที่ขาดตลาด ไม่มีขายให้กับล้งที่รับซื้ออยู่ในขณะนี้ ซึ่งมาจากปัญหา 3 ประการ คือ ทุเรียนออกขาดช่วง เพราะทุเรียนที่เคยออกในเดือนพฤษภาคมทุกปี แต่ปีนี้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้ทุเรียนออกในปลายเดือนมีนาคม และเมษายน จนหมดรุ่นแรก และจะออกมาอีกครั้งในเดือนมิถุนายน อีกปัญหาหนึ่งก็คือ อากาศที่ร้อน และผลกระทบที่ขาดน้ำ ทำให้การติดดอกมีความเสียหายสูงถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมด และสุดท้ายราคาที่รับซื้อมีราคาแพงเกินไปทำให้ผู้ซื้อหรือล้งไม่กล้ารับซื้อ เพราะอาจขาดทุนได้ นายวุฒิพงษ์กล่าวอีกว่า ที่สหกรณ์ฯได้ทำสัญญากับพ่อค้าจีนต้องส่งทุเรียนแปรรูปที่แกะเปลือกทั้งหมด แล้วฟรีซแช่แข็งส่งออกไปจำนวน 2,000 ตัน หรือต้องใช้ทุเรียนดิบทั้งหมด 10,000 ตัน ซึ่งขณะนี้ไม่สามารถรอทุเรียนในจังหวัดตราดได้จึงต้องไปพึ่งทุเรียนในภาคใต้ ซึ่งต้องใช้กว่าร้อยล