นวัตกรรมเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ อุทยาน ร.2 เชิญชวนผู้สนใจชมนวัตกรรมเกษตร ร่วมประกวดปลูกพืช และรับต้นพันธุ์พริกฟรี 9-10 ก.พ.62 นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประจำปี 2562 ณ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร.2) อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมจัดแสดงนิทรรศการการเกษตร ภายใต้แนวคิด “เกษตรกรรุ่นใหม่ อนาคตเกษตรไทย” และนิทรรศการที่มีชีวิตในแปลงสวนเกษตร ซึ่งแบ่งเป็นซุ้มไม้เลื้อย แปลงปลูกพืชผักผสมผสานไม้ดอกและไม้ผล แปลงผักสวนครัว แปลงพืชพื้นถิ่นแม่กลอง แปลงปลูกพริกบางช้างซึ่งเป็นพริกที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีกลิ่นหอม สีสวยสด และรสชาติไม่เผ็ดมากนัก นิยมใช้ประกอบอาหารชาววังในสมัย ร.2 และการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวในร่องสวน ซึ่งมี QR code ให้ผู้เข้าชมงานแสกนเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพันธุ์พืชและพันธุ์ปลานั้น ๆ ตลอดจนการแสดง ผลงานของกลุ่มยุวเกษตรกรจากโรงเรียนต่าง ๆ ผลงานของ Young Smart Farmer ด้านการผลิตทางการเกษตรและการสร้างนวัต
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เปิดประชุมทบทวนแผน วทน. สู่ภูมิภาค “กลุ่มภาคเหนือ” พร้อมระดมความคิดสร้างความเข้มแข็งชุมชนเศรษฐกิจฐานราก ตอบรับการพัฒนา ตามยุทธศาสตร์ชาติ อย่างยั่งยืน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (สส.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผน วทน. สู่ภูมิภาค (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564) : กลุ่มภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เดินหน้าทบทวนกรอบแนวทางขับเคลื่อนงานด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สู่การพัฒนาภูมิภาค รวมถึงทบทวนแผนงานและโครงการในระยะ 4 ปี เพื่อให้คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายได้จัดทำข้อเสนอโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึง 2564 ตามกรอบห่วงโซ่คุณค่าหลัก พร้อมทั้งสร้างการบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่าย โดยได้รับเกียรติจาก ดร. อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ในปีที่ผ่านมา สส. ดำเนินการปรับกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนงานด้วย วทน. สู่การพัฒนาพื้นที่ ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ผ่านความร่วมมือกับเครื
ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย ซึ่งผลิตและส่งออกทำรายได้มูลค่ามากกว่าแสนล้านบาท ในปี 2553-2555 เกษตรกรขายยางพาราได้ราคาดี จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกยางพารานับล้านไร่ในทุกภูมิภาคของประเทศ โดยไม่มีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลก ในช่วงปี 2557-2561 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลง ประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา ยุโรปฯลฯ จึงหันไปใช้ยางสังเคราะห์ที่มีราคาถูกเพื่อลดต้นทุน ทำให้ราคายางพาราในช่วง 5 ปีหลังปรับตัวลดลงเรื่อยๆ สวนทางกับปริมาณผลผลิตยางพาราภายในประเทศของไทยที่มีจำนวนมากขึ้น ปัญหาราคายางตกต่ำส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราจำนวนมาก รัฐบาลจึงออกมาตรการต่างๆ มาช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนยางพร้อมสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ หันมาใช้ยางพาราเพิ่มมากขึ้น สร้างถนนยางทุกหมู่บ้านทั่วไทย เดือนธันวาคม 2561 รัฐบาลประกาศเดินหน้า “โครงการถนนยางพารา 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร” โดยสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำน้ำยางพาราไปใช้สร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ ทั่วประเทศ จำนวน 75,032 หมู่บ้าน หมู่บ
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการที่ นายดะกัน อโลนี ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการค้า สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล เข้าพบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 เพื่อหารือแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรระหว่างประเทศอิสราเอลกับเกษตรกรไทย โดยทางประเทศอิสราเอลจะจัดให้ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีระบบจัดการน้ำ การจัดการฟาร์ม เพื่อการเกษตรมาประเทศไทยเพื่อพบกับเกษตรกร ผู้แทนองค์กร ผู้นำเกษตรกรของไทย “การเติบโตของอุตสาหกรรมการเกษตรประเทศอิสราเอลนั้นเริ่มมาจากความร่วมมือระหว่างนักวิจัย ภาคธุรกิจ เกษตรกร รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ความพยายามเหล่านี้ได้นำไปสู่ความสำเร็จที่ก้าวหน้า ด้วยความสำเร็จนี้ประเทศอิสราเอลได้ทำการตลาดทางด้านเทคโนโลยีด้านการเกษตรผ่านการส่งออกไปยังนานาประเทศทั่วโลก ผลได้ที่รับคือ การเกษตรสมัยใหม่ผ่านกระบวนการคิด ระบบ และผลิตภัณฑ์ จากประเทศเล็กๆ ที่เกือบทั้งประเทศปกคลุมไปด้วยทะเลทราย เขาก้าวข้ามการขาดแคลนน้ำ ที่ดิน สู่ประเทศอุตสาหกรรมการเกษตร จึงเป็นความน่าสนใจอย่างยิ่ง จึงนำมาสู่การจัดงานแสดงนวัตกรรมการเกษตรอิสราเอล “Israeli Agriculture Roadshow
นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า การจัดมหกรรม “ภูมิพลังแผ่นดิน” ครั้งใหญ่ประจำปี และงานวันดินโลก ระหว่างวันที่ 1 – 7 ธันวาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น. โดยภายในงานมีการจัดนิทรรศการพระราช กรณียกิจ พระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทยในด้านต่างๆ ในนิทรรศการ “พระเจ้าแผ่นดิน” ซึ่งจัดแสดงด้วยสื่อ แสง เสียง และเทคนิครูปแบบต่างๆ นิทรรศการ “ดินโลก ดินเรา” นิทรรศการมีชีวิตถ่ายทอดประสบการณ์การน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ถ่ายทอด โดยจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ นำเสนอเรื่องราวพระอัจฉริยภาพด้านการแก้ปัญหาเรื่อง ดิน (ดินดี ดินมีชีวิต) น้ำ (มีน้ำ มีชีวิต) ป่า (ร้อยป่า ร้อยชีวิต) และคน (พัฒนาคน พัฒนาแผ่นดิน) ให้กับพสกนิกรไทย ที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนดิน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน นิทรรศการนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง กว่า 50 รูปแบบ นวัตกรรมพลังงาน
งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2561 ผ่านไปแล้ว มีการนำสิ่งประดิษฐ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มานำเสนอ รวมถึงการนำเสนอเรื่องราวเหตุการณ์ในรอบปีมาเป็นแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน เด็กๆ เยาวชน ตามนโยบายวิทยาศาสตร์สร้างคนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำพาประเทศไทยเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างมั่นคง ทุกๆ ปี เราจะได้เห็นบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ดีเด่น หรือ “ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูประถัมภ์ ให้เป็นบุคคลดีเด่นหนึ่งเดียวของประเทศไทยที่ทำคุณประโยชน์ ผู้คิดค้นสร้างสรรค์ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อเข้ารับโล่พระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2561 เพื่อเป็นเกียรติประวัติอันสูงสุดของการรับราชการครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ บุคคลตัวอย่างทางด้านวิทยาศาสตร์ดีเด่น แห่งปีที่จะกล่าวถึงนี้คือ ครูผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่ ครูพิมลพรรณ พรหมทอง ผู้ก้าวผ่านความท้าทาย ผ่านความเหนื่อยยากกับการทุ่มเท ต้องเดินลุยโคลน ตากแดด ตากฝน เพ
นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน KUBOTA Showcase 2018 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Power of Agri – Lnnovation” หรือ “พลังแห่งนวัตกรรมเกษตร” ในโอกาสที่สยามคูโบต้าครบรอบ 40ปี ณ อิมแพคเมืองทองธานี ฮอลล์ 5 บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ตอกย้ำการเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต จัดงาน KUBOTA Showcase 2018 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Power of Agri-Innovation” หรือ “พลังแห่งนวัตกรรมเกษตร” ครั้งแรกในประเทศไทย งานแสดงนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรแม่นยำอย่างครบวงจร ทั้งพืชข้าวและพืชไร่ ที่ล้ำสมัยจากคูโบต้าประเทศญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์เกษตรยุค 4.0 ให้แก่ผู้เข้าเยี่ยมชมงาน ระหว่างวันที่ 1- 2 กันยายนนี้ ณ อิมแพคเมืองทองธานี ฮอลล์ 5 นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ในโอกาสที่สยามคูโบต้า ครบรอบ 40 ปี บริษัทฯ จึงได้จัดงาน “KUBOTA Showcase 2018” ขึ้น เพื่อจัดแสดงนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรแม่นยำอย่างครบวงจร ทั้งพืชข้าวและพืชไร่ นำเสนอการใช้งานเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมกับการเพ
บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด นำโดย นายฮิโรโตะ คิมุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ที่ 4 จากซ้าย) และ นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ (ที่ 3 จากขวา) กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส พร้อมคณะผู้บริหาร ประกาศแผนธุรกิจในทศวรรษหน้า เพื่อยกระดับแบรนด์สู่การเป็น “นวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต” ภายใต้ 4 หลักการทางธุรกิจในการเริ่มต้นพัฒนานวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรรองรับการทำเกษตรแม่นยำสูง พร้อมนำระบบ Big Data มาใช้ควบคู่กัน เพื่อสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในทุกภาคส่วน ณ โรงแรมพาร์ค ไฮแอท กรุงเทพ
นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวว่า “พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่บูรพระมหากษัตริย์และพระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ด้านการเกษตร และเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร สถาบันการเรียนรู้ภูมิปัญญา และนวัตกรรมการเกษตร ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีความร่วมมือในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพิพิธภัณฑ์ฯ ซึ่งพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ มีการจัดแสดงนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ในอาคาร พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีเกษตรต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์การที่สร้างสรรค์ภูมิปัญญาสังคมเกษตรไทย ให้ยั่งยืนบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต” พิพิธภัณฑ์ในอาคาร 6 พิพิธภัณฑ์ จัดแสดงด้วยสื่อเทคโนโลยีทันสมัย แสง สี เสียง ภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เกม Interactive วิถีเกษตรไทย โฮโลแกรม ที่สามารถเข้าเรียนรู้ได้ทุกวัย นอกจากนี้ ยังมีฐานเรียนรู้พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเกษตร
สถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรนวัตกรรม กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดตัวแคมเปญ “ iLIKE” ปลุกกระแสสังคมออนไลน์โซเชียลมีเดียให้คนไทยรู้จักและหันมาสนใจสินค้าเกษตรนวัตกรรม และให้ผู้ประกอบการได้เห็นโอกาสในการนำนวัตกรรมมาต่อยอดผลผลิตทางการเกษตร เน้นให้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-based Economy) ตามนโยบายของรัฐบาล นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตามที่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ ในคุณค่าสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทย ทั้งในด้านคุณประโยชน์ ความหลากหลาย คุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้ทัดเทียมสินค้านำเข้าจากต่างประเทศนั้น กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนผู้ประกอบการสินค้านวัตกรรมได้จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทย จึงได้จัดกิจกรรมภายใต้แคมเปญ “iLIKE” ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทย ที่คุณป