นวัตกรรมใหม่
โซน Better Community ภายในงานมหกรรมแสดงสินค้ายิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน “Sustainability Expo 2022 (SX 2022)” ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับ Green and Digital Solutions โดยบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก องค์กรระหว่างประเทศและในประเทศ พร้อมทั้งนำเสนอแนวคิดการสร้างเมืองอัจฉริยะในอนาคตด้วยชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์ ผู้เข้าชมงานจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างเมืองเพื่ออนาคตที่ไม่ใช่แค่เรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังบอกเล่าถึงแนวคิดการบริการจัดการดี เพื่อสังคมสมดุลใหม่ เช่น กระบวนการจัดการขยะในเมือง การสร้างและขยายพื้นที่สีเขียวในเมือง ตลอดจนการฟื้นฟูย่านชุมชนเก่าให้กลมกลืนกับวิถีชีวิตปัจจุบัน มาอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับความยั่งยืนว่ามีอะไรกันบ้าง เช่น “Future of Work” อนาคตของการทำงาน ของ Microsoft วิธีที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA), Tencent, Salesforce และ Dell ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ IOT เพื่อบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน เข้าสู่โลกเสมือนจริงของ Accenture และ Metaverse ด้วยแว่น VR จาก Oculus การแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าและเก็
คุณกอบแก้ว ระวิเรือง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นำใบข้าว-ข้าวหอมมะลิ มาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยใช้ชื่อแบรนด์ “ไทยสุวรรณ” ปัจจุบัน มีสมาชิก 83 ราย มีพื้นที่เพาะปลูก 1,200 ไร่ ซึ่งล่าสุดได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ในการประกวดผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากข้าวด้วยนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและกระทรวงเกษตรฯ ในงานวันเกษตรภาคอีสาน ปี 2562 ขณะที่ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2559 ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิ (นวัตกรรมใหม่) ในงานเทศกาลข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 17 ที่ จังหวัดร้อยเอ็ด ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีหลากหลาย อาทิ เครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ 105 เครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ 105 ผสมสมุนไพร แบ่งเป็นเครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ 105 และดอกพะยอมอบแห้ง, เครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ 105 และดอกดาวเรืองอบแห้ง รวมทั้งเครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ 105 และมะนาวอบแห้ง ครีมผงข้าวหอมมะลิธรรมชาติ ใช้เป็นครีมชงกับเครื่องดื่มแทนครีมเทียมที่คนรักสุขภาพต้องการหลีกเลี่ยง เครื่องดื่มจมูกข้าวข้าวหอมมะลิ คุณกอบแก้ว เล่าว่า กลุ่มก่อตั้งเมื่อ ปี 2555 แรงบันดา
สยามคูโบต้า สร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ของคูโบต้าในอาเซียน ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา รวบรวมองค์ความรู้ทั้งส่วนอาคารนิทรรศการและ 9 โซนสร้างประสบการณ์จริง นำเสนอนวัตกรรมเกษตรครบวงจรให้ทุกคนได้เข้าถึง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและภาคเกษตรกรรมให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน คุณสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า คูโบต้าฟาร์ม มีจุดเริ่มต้นจากการที่สยามคูโบต้าได้คำนึงถึงการพัฒนาภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน ซึ่งมีความสําคัญต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาประเทศ ในปี พ.ศ. 2561 สยามคูโบต้าจึงได้ต่อยอดแนวคิด KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS เกษตรครบวงจรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้า พัฒนาพื้นที่ 220 ไร่ ณ ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ให้กลายเป็น “คูโบต้าฟาร์ม” โดยมุ่งหวังให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่คำนึงถึงความต้องการของเกษตรกรเป็นหลัก เสมือนจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้การบริหารจัดการนวัตกรรมเกษตรทั้งเทคนิคด้านการเกษตร (A
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์แบรนด์ Tropica King (ทรอปิก้า คิงส์) ในโครงการ Startup Voucher (โครงการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรม) ประจำปี 2561 ช่วยต่อยอดธุรกิจด้านการตลาด เพิ่มโอกาสเข้าถึงและขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงบริการของหน่วยงานต่างๆ ผู้ประกอบการชี้ ธุรกิจนวัตกรรมนี้มีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่สินค้าล้นตลาดหรือขายไม่ทันช่วง COVID-19 เป็น “มะม่วงน้ำดอกไม้พร้อมปั่นแบบซอง” นวัตกรรมคนไทย 100% คุณสุรวิชญ์ ทิพยารมณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลพาร์ทเนอร์อินเตอร์ฟู้ด จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เข้าร่วมโครงการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ หรือ Startup Voucher ประจำปี 2561 ของ สวทช. ซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัท ภายใต้แบรนด์ Tropica King (ทรอปิก้า คิงส์) ได้นำเทคโนโลยีการแปรรูปใหม่ๆ เข้าไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ร่วมนำผลงานวิจัย 6 โครงการ ร่วมนำเสนอในงานสัมมนาด้านการสร้างแบรนด์ระดับโลก SB Chantaboon 2020 Moonshots to Dreamfood ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัด จันทบุรี ผศ.ดร.ร่วมจิตร นกเขา หัวหน้าโครงการข้าวไร่ กล่าวว่า ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับข้าวไร่มากว่า 15 ปี ทั้งทำการสำรวจพันธุ์ รวบรวมพันธุ์ อนุรักษ์พันธุ์ คัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ โดยในปัจจุบันเราได้นำข้าวไร่ที่เราสำรวจได้มาเป็นพันธุ์ข้าวไร่ชุมพร ที่มีลักษณะที่ดี 11 พันธุ์ และได้นำไปจดทะเบียนพันธุ์กับกรมวิชาการเกษตร ซึ่งข้าวไร่ทั้ง 11 พันธุ์ นั้นทุกพันธุ์มีคุณค่าทางอาหารสูง และยังได้ถ่ายทอดให้กับเกษตรกรทั้ง 4 ภาค ของประเทศไทย ซึ่งพันธุ์ข้าวไร่ของเรายังเป็นที่นิยมของเกษตรกรและยังให้ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน สาเหตุที่ทำวิจัยข้าวไร่ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ เพราะมีพื้นที่นาน้อยและพื้นที่ส่วนใหญ่ก็จะไปปลูกยางพาราและปลูกปาล์มน้ำมัน ทำให้พื้นที่ภาคใต้มีข้าวบริโภคไม่เพียงพอ ต้องนำข้าวจากภาคอื่นมาบริโภค ฉะนั้น ข้าวไร่นี้จึงเป็นพันธุกรรมพืชที่มีความสำคัญ เนื่องจากสามารถปลูกไ
งานเกษตรแฟร์ 2563 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดขึ้น วันที่ 31 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ 2563 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรไทยยั่งยืน” ได้มีการจัดทำสัญลักษณ์การจัดงานเกษตรแฟร์ให้สอดคล้องกับประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ จึงใช้สัญลักษณ์ “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” หมายถึง น้ำ (สีฟ้า) ปลา (สีส้มและเขียว) นา (สีเขียวเข้ม) ข้าวพืชผลและเมล็ดพันธุ์ (สีเหลือง) ดร. ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหารกิจการภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในการแถลงข่าวการจัดงานเกษตรแฟร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเผยแพร่ความรู้ทางเกษตร ผลงานนวัตกรรม งานวิจัยสู่เกษตรกรและประชาชน เป็นกิจกรรมที่เน้นในการนำผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ จากงานวิจัยในสาขาต่างๆ มาจัดแสดง โดยแบ่งเป็น 10 กลุ่ม รวม 97 ผลงาน เช่น กลุ่มเกษตรและแปรรูป ผลงานเรื่อง “ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม พันธุ์ Kwsx5901 มาจากการผสมระหว่างข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์ 4041และ 709 เป็นการสร้างพันธุ์ผสมเปิดที่มีฐานพันธุกรรมกว้าง แล้วสกัดสายพันธ์ุอินบรีด ( Inbred Line ), ข้าวโพดหวานสีม่วงลูกผสมเดี่ยวเคยู คอร์นเบอรี่ พันธุ์ Kspsx5903 กลุ่มอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์ขนมไข่ คุกกี้
ไข่เยี่ยวม้าสีทอง เป็นนวัตกรรมใหม่ทางด้านอาหารหมักของไทยที่มีการพัฒนากระบวนการผลิตเชิงบูรณาการร่วมกันระหว่างอาหารหมักดองพื้นบ้านและแนวคิดในการพัฒนาทางด้านอาหารที่มีความปลอดภัย เพื่อการบริโภค ปัจจุบันได้พบปัญหาไข่เยี่ยวม้ามีการปนเปื้อนของสารตะกั่วมากขึ้น โดยผู้ผลิตมีการเติมสารตะกั่วเพื่อเร่งให้ไข่มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเร็วขึ้น สีที่ใช้พ่นหรือเคลือบผิวเปลือกไข่มักจะเป็นสีที่ไม่ปลอดภัยในการใช้สำหรับอาหาร จึงส่งผลให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผศ.ดร.ชุตินุช สุจริต อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง จึงมีแนวคิดในการผลิตไข่เยี่ยวม้าที่มีการเลือกใช้วัสดุส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติ เพื่อลดคอเลสเตอรอลในไข่แดง ไม่พบสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค สามารถเก็บรักษาได้ยาวนานมากกว่า 6 เดือน จึงเป็นการยืดอายุในการตลาดเพื่อการค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคเน้นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพตามแนวคิดในเรื่อง 3 รักษ์ กล่าวคือ รักษ์สุขภาพ ใช้สารเคมีที่ปลอดภัย รักษ์ความเป็นไทย สีในการย้อมเปลือกไข่เยี่ยว
ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรชาวสวนยางพาราต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตสูง แต่ขายยางได้ราคาต่ำจนแทบไม่พอกิน หลายครอบครัวต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อให้มีเงินรายได้หมุนเวียนเข้ามาเลี้ยงดูครอบครัว แต่ในวันนี้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (มสด.) ได้พัฒนานวัตกรรมใหม่ “โฟมโปรตีนดับเพลิงจากเมล็ดยางพารา” ช่วยเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรชาวสวนยางพารามากขึ้น เพราะในอนาคตพวกเขามีโอกาสและความหวังที่จะขาย “เมล็ดยางพารา” ของเหลือทิ้งจากสวนยางให้กลายเป็นสินค้าตัวใหม่ นอกเหนือจากการขายน้ำยางสด แผ่นยางดิบ หรือไม้ยางพาราเหมือนในอดีต ผศ. ดร. ณัฐบดี วิริยาวัฒน์กับโฟมโปรตีนดับเพลิงจากเมล็ดยางพารา “สวนดุสิต” ปลื้มผลงานคว้าระดับโลก ที่เจนีวา “โฟมโปรตีนดับเพลิงจากเมล็ดยางพารา” เป็นหนึ่งในนวัตกรรมไทยที่ได้รับรางวัลจากการประกวดในเวทีระดับนานาชาติ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และเครือข่ายบริหารงานวิจัยจึงได้จัดงานนิทรรศการผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมไทยที่ได้รับรางวัลจากการประกวดในเวทีระดับนานาชาติ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส และรัฐเปอร์ลิส สหพันธรัฐมาเลเซีย นำม
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่อาคารเคเอกซ์ ศูนย์ HATCH มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดงาน “pathway to digital innovation” เปิดตัวนักศึกษา มจธ.ที่ผ่านเข้ารอบและได้รับรางวัลต่างๆ จากศูนย์ HATCH รวมถึงกิจกรรมเสวนาย่อย ในหัวข้อ “ภาคอุตสาหกรรมให้การสนับสนุนนวัตกรรมระดับนักศึกษาอย่างไร” โดยมี รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์, นายอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ ดิจิทัล เวนเจอร์ส, นางสาวศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด, นางสาวชลธิชา นิลตระการกุล Marketing Communication Manager จาก G-ABLE, นพ.พีรุทย์ เชียรวิชัย อาจารย์คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และนายสัญญา จินดาประเสริฐ Digital Manager บริษัท เอสซีจี เคมิคอลล์ จำกัด ร่วมเสวนา งานนี้มีนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมงานจำนวนมาก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดงานครั้งนี้ เพื่อเปิดตัวนักศึกษาจาก มจธ.ที่ผ่านเข้ารอบและไ
การออกแบบและพัฒนาระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช เป็นหนึ่งผลงานวิจัยใหม่ถอดด้ามของกรมวิชาการเกษตร ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผลงานวิจัยดีเด่น ประเภทงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์คิดค้น โดยผลงานดังกล่าว ได้รับรางวัลจาก พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2559 ของกรมวิชาการเกษตร ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “สานพลังประชารัฐ พัฒนาเกษตรไทย” ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี เมื่อเร็วๆ นี้ “ห้องเย็นสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช” ที่คิดค้นขึ้นโดยนักวิจัยสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม และศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก กรมวิชาการเกษตร สามารถขยายผลต่อยอดสู่กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ต้องการลดต้นทุนการผลิตด้วยการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพดี อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเสริมขีดความสามารถ และพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชของไทยให้เป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ (Seed Hub) ของอาเซียนในอนาคต นายอานนท์ สายคำฟู วิศวกรการเกษตร สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษต