นาข้าว
จากการที่เกษตรกรเวียดนาม เป็นผู้ริเริ่มในการทำนาครั้งที่สอง แบบหว่านน้ำตมเป็นประเทศแรกของอาเซียน จนหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติจวบจนทุกวันนี้ ปัจจุบันเกษตรกรเวียดนาม ได้พัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการทำนาก้าวหน้าไปมาก ที่เห็นได้ชัดเจนคือ การทำนาแบบพร้อมเพรียงกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นหมู่บ้าน หรือเป็นตำบล ตามคำแนะนำและการประกาศของทางราชการ ทำให้การบริหารจัดการในเรื่องการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การจัดการน้ำ การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการตลาดทำได้ง่าย อย่างเป็นระบบ ช่วยให้เกษตรกรเวียดนามลดต้นทุนการเพาะปลูกข้าวลงได้เป็นอันมาก ขณะเดียวกันการทำนาน้ำตมหรือนาครั้งที่สองแบบหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวงอก ได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นการทำนาน้ำตมแบบปักดำต้นกล้าแทนการหว่านกล้า โดยใช้วิธีการตกกล้าข้าวบนแห้งแทนที่จะตกกล้าในแปลงนาแบบเดิมๆ เหมือนเช่นที่เคยปฏิบัติกันมาแต่ครั้งปู่ย่าตาทวด ที่เกษตรกรเวียดนามส่วนใหญ่ทำได้เพราะเขามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโดยเฉลี่ยครอบครัวละประมาณ 2-3 ไร่ แต่รายใหญ่ก็มีถึงประมาณ 50-60 หรือเป็น 100 ไร่ เช่นกัน ซึ่งในรายใหญ่ก็มีการเอาเครื่องดำนาเข้ามาใช้บ้าง ได้สอบถ
วิทยาลัยเทคนิคเชียงรายในสังกัด สำนักงาน คณะกรรมการอาชีวศึกษาเล็งเห็นว่า ชาวนาประสบปัญหาต้นทุนสูงจากการจ้างแรงงานและ ปัญหาขาดแคลนแรงงานเกี่ยวเก็บข้าวในหลายพื้นที่ จึงได้พัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าวรุ่นใหม่ที่ ดัดแปลงจากเครื่องตัดหญ้า สามารถเกี่ยวข้าวได้อย่างรวดเร็วกว่าการเกี่ยวด้วยเคียวตามปกติ จุดเด่นนวัตกรรม เครื่องเกี่ยวข้าวรุ่นใหม่ที่ ดัดแปลงจากเครื่องตัดหญ้า เป็นผลงานประดิษฐ์ของคณะครูวิทยาลัยเทคนิคเชียงราย นำโดย คุณนิวัฒน์ เตวา หัวหน้าแผนกช่างเทคนิคพื้นฐาน และคุณ คชานนท์ พงษ์สัญการ หัวหน้าแผนกสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ร่วมกับนักเรียนแผนกช่างเทคนิคพื้นฐาน ชั้น ปวช.1 ช่วยกันพัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าวที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาเพียง 300 กรัม คณะทำงานตั้งใจทำงานตามหลักสโลแกนของวิทยาลัยฯ ที่ว่า “ใช้งานได้ ต้นทุนต่ำ” โดยนำ “เครื่องตัดหญ้าแบบสะพาย” ตามท้องตลาด ซึ่งเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่เกษตรกรส่วนใหญ่มีใช้อยู่แล้ว นำมาดัดแปลงใบมีดให้มีความแข็งแรง ทนทานมากขึ้น จากนั้นนำโครงเหล็กรับข้าวมาประกอบกับเครื่องตัดหญ้า เชื่อมต่อกับเหล็กเส้นกลม โดยเสียต้นทุนค่าวัสดุผลิตแค่เพียง 300 บาทเท่าน
“เฉลิมชัย” ย้ำไม่ทอดทิ้งเกษตรกรผู้ประสบภัย เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วม 24 ชั่วโมง พร้อมสั่งการด่วน กำชับทุกหน่วยงานเร่งระดมพลลงพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ล่าสุดเตรียมพร้อมแผนฟื้นฟู-เยียวยาอาชีพรับมือหลังน้ำลด นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงเร่งแก้ปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนที่ประสบอุทกภัยหลังน้ำลดว่า หลังจากได้สั่งการด่วนที่สุด ให้กรมส่งเสริมการเกษตร สำรวจพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายพื้นที่ที่จะประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติอย่างเร่งด่วนทึ่สุด ล่าสุด ยังได้สั่งการด่วน ไปยังหน่วยงานต่างๆ ภายใต้กระทรวงเกษตรฯ ให้เตรียมพร้อมมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติหลังน้ำลดในทันที โดยเบื้องต้นได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือเยียวยาให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้ก่อนเกิดภัย โดยจะจ่ายเงินช่วยเหลือตามจำนวนพื้นที่จริงที่ได้รับความเสียหาย รายละไม่เกิน 30 ไร่ ซึ่งกำหนดให้นาข้าว ได้รับ อัตราไร่ละ 1,113 บาท พืชไร่ ได้รับ อัตราไร่ละ 1,148 บาท พืชสวนและอื่นๆ ได้รับ อัตราไร่ละ 1,690 บาท ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเ
ชาวบ้านทุ่งต้อม ตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ปรับวิธีและเทคนิคการปลูกข้าวที่เคยปฏิบัติกันมาแบบใช้เคมี มาเป็นแนวทางอินทรีย์ อย่างเช่น หยุดเผาตอซัง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักไส้เดือนมาใช้แทนเคมี ฯลฯ พร้อมดึงเทคโนโลยีมาใช้ ช่วยลดต้นทุน ได้ข้าวคุณภาพสูง มีตลาดรับซื้อแน่นอน จนต้องสั่งล่วงหน้าแล้วขายได้ราคาสูงเป็นที่พอใจ คุณสุภาพรรณ วงศ์มูล บ้านเลขที่ 210 หมู่ที่ 5 ตำบลศรีดอนไชย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย หนึ่งในสมาชิกกลุ่มนาข้าวอินทรีย์บ้านทุ่งต้อม บอกว่า ชาวบ้านในชุมชนมีแนวคิดที่ต้องการปลูกข้าวแบบอินทรีย์แทนการใช้เคมีเพราะตระหนักถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพ รวมถึงต้องการรักษาสิ่งแวดล้อม หยุดเผาตอซัง หันมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพิ่มคุณภาพดินในนา การปลูกข้าวอินทรีย์ของกลุ่มฯ เริ่มจากสมาชิกปรับวิธีและกระบวนการปลูกข้าวด้วยการเลิกเผาตอซังหลังเก็บเกี่ยวแล้วนำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง โดยใช้ตอซังในนาพร้อมกับเศษวัชพืชต่างๆ มาเป็นวัตถุดิบ โดยจะใช้เวลาบ่มหมัก ประมาณ 2 เดือน ใช้วิธีเพียงฉีดพ่นน้ำเป็นระยะเท่านั้น พอเข้าสู่ช่วงเริ่มทำนาชาวบ้านก็จะทลายกองปุ๋ยหมักที่ทำไว้ในแต่ละแปลงแล้วไถบำรุง
นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า พื้นที่การทำนาของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงจากการปลูกแบบปักดำมาเป็นการหว่านข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาแรงงานและความต้องการลดต้นทุนการผลิต แต่ด้วยวิธีการปลูกแบบหว่านข้าวนี้ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาวัชพืชเพิ่มมากขึ้นด้วย สาหรับแนวทางการป้องกันกำจัดวัชพืชในนาหว่านข้าว ตามหลักวิชาการถึงแม้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การกำจัดด้วยการใช้แรงงานคนหรือใช้เครื่องทุ่นแรง การใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ปลูกสูงกว่าปกติ การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช อย่างไรก็ตาม วิธีการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มต้นทุนและสร้างความยุ่งยากเพิ่มมากขึ้นให้แก่ชาวนา ดังนั้น ชาวนาหลายพื้นที่โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ทดลองใช้เทคนิคการตัดใบข้าวเพื่อการกำจัดวัชพืช พบว่าได้ผลดีและเริ่มนิยมใช้แพร่หลายมากขึ้น จนปัจจุบันมีงานวิจัยของกรมการข้าว พบว่า “เทคนิคการตัดใบข้าว” ไม่ใช่เพื่อการกำจัดวัชพืชเท่านั้น แต่มีศักยภาพที่จะเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ นาหว่านข้าวได้ด้วย เนื่องจากใบข้าวและวัชพืชที่ตัดออกจะถูกย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ให้กับข้าวเป็นอย่างดี ช่วยลดการแข่งขันของ
กรมส่งเสริมการเกษตร เผยระยะนี้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน หลายพื้นที่เริ่มทำนาเพาะปลูกข้าว เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังหลังได้รับรายงานการระบาดหนอนกระทู้กัดกินต้นข้าวในระยะกล้า พร้อมแนะวิธีป้องกันกำจัดที่เหมาะสม นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับแจ้งรายงานการระบาดของหนอนกระทู้กล้าในหลายพื้นที่ ประกอบกับระยะนี้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน เกษตรกรในทุกภาคของประเทศไทยเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวแล้ว และข้าวส่วนใหญ่อยู่ในระยะกล้า ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะต่อการเข้าทำลายของหนอนกระทู้กล้า ซึ่งอาจทำให้ต้นข้าวได้รับความเสียหายและผลผลิตลดลงได้ ลักษณะอาการและการเข้าทำลายตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้าสีเทาปนน้ำตาล ปีกคู่หนังสีขาว บินเก่งสามารถอพยพได้ไกลเป็นระยะทางหลายสิบหรือหลายร้อยกิโลเมตร วางไข่เป็นกลุ่มบริเวณยอดอ่อนของข้าว ตัวหนอนมีสีเทาถึงเขียวแกมดำ ด้านหลังมีลายตามความยาวของลำตัวจากหัวจรดท้าย แต่ละปล้องมีจุดสีดำ ตัวหนอนฟักจากไข่ช่วงเช้าตรู่ และรวมกลุ่มกันกัดกินส่วนปลายใบข้าว กลางวันจะหลบอยู่ในดินใต้เศษใบพืชในพื้นที่นาที่แห้ง บางส่วนอยู่บนต้นข้าวส่วนที่อยู่เหนือน้ำในนาที่ลุ่มชอบเข
คุณสุจินต์ แสงแก้ว เป็นชาวตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เดิมมีอาชีพทำนาและทำสวน ด้วยมีความสนใจในการเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (กบ) จึงได้เข้ารับการอบรมการเลี้ยงกบนาจากศูนย์การศึกษาห้วยฮ่องไคร้ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 และได้รับปัจจัยการผลิตเป็นวัสดุในการก่อสร้างบ่อกบเป็นบ่อซีเมนต์ จำนวน 2 บ่อ และปัจจัยการผลิตชนิดอื่นๆ ซึ่งบ่อกบได้สร้างไว้ในบริเวณบ้านพักอาศัยพื้นที่ประมาณ 2 งาน โดยเริ่มแรกเลี้ยงกบนา เนื่องจากได้ไปอบรมในการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงกบนากับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ และได้ปัจจัยในการผลิตมา จึงได้พยายามเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์มาเรื่อยๆ และเมื่อมีจำนวนมากขึ้น คุณสุจินต์ จึงได้แจกพันธุ์ฟรีให้แก่ชาวบ้าน แล้วต่อมาได้มีการบอกต่อๆ กัน จึงได้มีการขยายพันธุ์กบต่อมา คุณสุจินต์หันมาขายลูกกบหรือพันธุ์กบระยะ 2-3 เดือน ราคาตามขนาด ซึ่งระยะแรกได้ขายปลีกให้แก่เกษตรกรในหมู่บ้านและในตำบล ต่อมาขยายเป็นเครือข่ายและได้ตั้งกลุ่มเลี้ยงกบนาในตำบลป่าเมี่ยง หากกบไม่เพียงพอจะให้ลูกสมาชิกภายในกลุ่มรวบรวมและจัดส่งให้แก่ลูกค้า ซึ่งในการจำหน่ายพันธุ์กบจะมีทั้งลูกค้าประจำและลูกค้าขาจ
น้ำปัสสาวะ น้ำฉี่ น้ำเยี่ยว แค่พูดถึง หลายคนก็รู้สึกรังเกียจแล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่า น้ำสีเหลืองๆ นี้แหละ มีประโยชน์เหลือหลาย เพราะอุดมด้วย แร่ธาตุ วิตามิน ฮอร์โมน เอนไซม์ ภูมิคุ้มกัน โปรตีน รวมทั้งสารที่มีประโยชน์อีกมาก และยังพบว่าน้ำปัสสาวะตอนเช้าหลังตื่นนอนมีฮอร์โมนเมลาโทนินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ และยิ่งเป็นน้ำปัสสาวะของเด็กจะมีแร่ธาตุมากมาย ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง สังกะสี ไอโอดิน เหล็ก ยูเรีย ซึ่งสามารถต้านการอักเสบ และบำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย ในการแพทย์แผนโบราณได้บ่งบอกถึงข้อดีของการดื่มน้ำปัสสาวะ จึงมีผู้นำน้ำปัสสาวะมาดื่ม เพื่อป้องกันและรักษาโรคต่างๆ เพราะเชื่อว่าในน้ำปัสสาวะมีสารอินเตอร์เฟอรอน เป็นสารต้านมะเร็ง เมื่อน้ำปัสสาวะเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการจึงขับออกมา เมื่อดื่มเข้าไปร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทาน โดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวไล่กินปัสสาวะที่เราดื่มเข้าไป ซึ่งกระจายไปทั่วร่างกาย และเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่กินเชื้อโรค กินมะเร็ง กินสิ่งแปลกปลอมรวม ทั้งสิ่งที่มีพิษในร่างกายอยู่แล้ว ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานเพิ่มมากขึ้น การใช้น้ำปัสสาวะในนาข้
อ่างเก็บน้ำคลองลำกง จังหวัดเพชรบูรณ์ ถือเป็นแผ่นดินทองของการเพาะปลูกพืชและประมง ดินดี น้ำดี อากาศก็ดีอีกต่างหาก เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชและทำนาได้ตลอดทั้งปี ทำเลทองหายากแห่งนี้ เดินทางไปมาได้อย่างสะดวกมากแถมอยู่ไม่ไกลจาก กทม. มากนัก อ่างเก็บน้ำคลองลำกง เป็นโครงการที่กรมชลประทานจัดทำขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ในการเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำบริเวณต้นน้ำเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในช่วงฤดูฝน และเป็นต้นทุนน้ำสำรองสำหรับใช้ในช่วงฤดูแล้ง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรในตำบลท่าแดง ตำบลวังท่าดี ตำบลวังโบสถ์ และตำบลบ่อไทย อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื้อที่รวมประมาณ 50,000 ไร่ ปลูกอะไร ก็ได้ผลผลิตดี คุณพรชัย จันทร์กูล เกษตรกรรายหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำคลองลำกง ครอบครัวพรชัยมีที่ดินทำกินจำนวน 40 ไร่ สามารถเพาะปลูกพืชหลากหลายชนิดได้ตลอดทั้งปี ทั้งการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลูกหอมแดง แตงกวา และทำนาข้าว สำหรับเกษตรกร ที่มีที่ดินทำกินอยู่ช่วงต้นปากน้ำ มักจะปลูกข้าวทำนาเป็นอาชีพเพียงอย่างเดียว ทำให้พื้
จังหวัดภูเก็ต ในฐานะเมืองท่องเที่ยว ที่ดินมีราคาแพงมาก เพราะเป็นทำเลทองของการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ แต่ที่นี่ ยังมีการทำนาปลูกข้าวอยู่นะ ชาวบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง ชุมชนชายทะเลตอนเหนือของเกาะภูเก็ต ยังคงรักษามรดกวัฒนธรรม วิถีชีวิตกึ่งชนบทได้อย่างดีเยี่ยมภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พวกเขาอนุรักษ์วิถีชีวิตการทำนาเช่นเดียวกับรุ่นปู่ย่าตายาย พวกเขาทำเกษตรแบบเรียบง่าย มีความเอื้ออาทรของวิถีชีวิตแบบไทยๆ ที่ต่างชาติเห็นแล้วชื่นชมด้วยความประทับใจ บ้านไม้ขาว อำเภอถลาง “นาผืนสุดท้ายของจังหวัดภูเก็ต” ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านไม้ขาว ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบัน มีพื้นที่ประมาณ120 ไร่ มี นายเนตร เดชากุล เป็นผู้ริเริ่มรวบรวมเพื่อนบ้านหันกลับมาทำนาข้าว ซึ่งเดิมเป็นนาร้าง โดยเสนอผ่าน นายมาโนช สายทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จัดทำโครงการเสนอทางจังหวัดภูเก็ต เริ่มทำเป็นโครงการเชิงอนุรักษ์อาชีพชาวนาภูเก็ตอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. 2554 ในช่วงที่ ดร. ปรีชา เรืองจันทร์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ถือเป็นจุดเริ่มต้นโครงการ “นาผืนสุดท้ายของจังหวัดภูเก็ต” ที่เน้น “ปลูกวันแม่เก็บเก