น้ำหมักชีวภาพ
มะม่วง เป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย สําหรับภาคกลางนิยมปลูกในจังหวัดราชบุรี นครปฐม อ่างทอง และสุพรรณบุรี ปัจจุบันการส่งเสริมการปลูกมะม่วงในเชิงธุรกิจนั้น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก สวนมะม่วงของผู้ที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวจะมีใบ GAP รับรองความปลอดภัยของสินค้าเกษตร มะม่วงที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย มันเดือนเก้า และโชคอนันต์ โดยเฉพาะมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ผู้ปลูกเป็นอย่างดี สร้างรายได้ปีละหลายแสนบาท คุณสุนทร สมาธิมงคล ได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อลดต้นทุนการผลิตในการซื้อปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกัน กําจัดศัตรูพืช สําหรับสวนมะม่วง ดังนี้ การปลูกมะม่วง คุณสุนทร เล่าว่า ตนเองนั้นได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านทําปุ๋ย หมักโดยผสมกับน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ เพื่อทดแทนการใช้ ปุ๋ยเคมีในสวนมะม่วง ซึ่งจะใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุมก่อนปลูก ประมาณ 200 กรัม เมื่อนํากิ่งพันธุ์ปลูกแล้วรดน้ำทันที จากนั้นให้รดน้ำประมาณ 4-5 วันต่อครั้ง โดยการทําปุ๋ยหมักจะใช้น้ำหมักจากผลไม้มาผสมด้วยเพื่อเร่งการย่อย สลาย
เริ่มแล้ว !!! การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ทุ่มงบ 12 ล้าน ซื้อปลาหมอคางดำ เฟส 2 เป็นวันแรก (7 กุมภาพันธ์ 2568) ผ่านแพปลา-จุดรวบรวมที่ลงทะเบียนกับกรมประมง ตั้งเป้ารับซื้อปลาได้กว่า 600,000 กิโลกรัม ส่งผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพฯ ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำยางและพืชผลการเกษตรอื่นๆ นายสุขทัศน์ ต่างวิรยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า การยางแห่งประเทศไทยมีความพร้อมดำเนินการรับซื้อปลาหมอคางดำ ภายใต้โครงการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง ต่อเนื่องเป็นเฟสที่ 2 โดยใช้งบประมาณเงินทุนหมุนเวียน มาตรา 13 รับซื้อปลาหมอคางดำจากแพปลาหรือจุดรับซื้อที่ประกาศโดยกรมประมง ซึ่ง กยท. จะจ่ายเงินให้กับจุดรับซื้อ ในราคา 20 บาทต่อกิโลกรัม (แบ่งเป็นค่าปลาที่จ่ายให้กับชาวประมงหรือผู้จับปลามาขาย 15 บาทต่อกิโลกรัม และจ่ายให้กับแพปลาที่กรมประมงประกาศเป็นจุดรับซื้อ เป็นค่าบริหารจัดการรวบรวมขนส่งไปยังจุดผลิตน้ำหมักชีวภาพฯ 5 บาทต่อกิโลกรัม) ซึ่งกรมประมงมีการเปิดรับสมัครแพปลาที่สนใจเป็นผู้รวบรวมปลาหมอคางดำ ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา และจะประกาศจุดรับซื้อปลาภายในวันนี
โดยปกติการทำข่าวเรื่องการเกษตร คนที่ให้ข่าวถึงเป็นเกษตรกรก็จริงแต่ 9 ใน 10 ไม่ได้เป็นคนที่จบทางด้านการเกษตรโดยตรง นานๆ จะมีคนจบด้านเกษตรโดยตรงมาให้ความรู้ด้านการเกษตรสักที ผมก็ไม่รู้คนที่จบจากการด้านการเกษตรส่วนมากเขาไปทำงานด้านไหนกัน อาจเพราะงานด้านเกษตรเป็นงานหนักและต้องกรำแดดกรำฝนทำให้คนเหล่านั้นหนีหายไปประกอบอาชีพอื่น น่าเสียดายกับวิชาชีพเกษตรที่เรียนมาทำให้คนที่ไม่ได้เรียนเกษตรมะงุมมะงาหราทำการเกษตรกัน แต่ด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ทำให้ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะคนที่เรียนมา ดังนั้น คนที่ไม่เรียนมาก็อย่าได้ถอดใจ มีโอกาสได้เจอ คุณเฟิร์น หรือ คุณนันทลี เอี้ยนไธสง ที่จบเกษตรโดยตรงจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งปริญญาตรีและโทด้านพืชสวน ได้ทำงานศูนย์อนุรักษ์ดินและน้ำอยู่ประมาณ 1 ปีในตำแหน่งวิชาการเกษตร ต่อมาได้ย้ายมาเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ประจำสำนักงานเกษตรอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2563 ด้วยความที่เป็นครอบครัวเกษตรกรมาก่อนมีความสนใจเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ เพราะเห็นพ่อที่ทำเกษตรเคมีมาโดยตลอด ไม่อยากเห็นพ่อใช้สารเคมีที
ปัจจัยสำคัญในการผลิตภาคการเกษตรนอกจากต้นทุนจากพันธุ์พืชและการบำรุงรักษาในแปลงเกษตรแล้ว ยังมีต้นทุนเกี่ยวกับค่าปุ๋ย ทำให้เกษตรกรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ด้านชีวภาพในการสะสมอินทรีย์อาหารพืชจากซากพืชซากสัตว์ อย่างวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรศรีสะเกษเกื้อกูล ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มีการคิดค้นนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์น้ำหมักชีวภาพอาหารพืชสูตรเข้มข้นเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและยังช่วยลดทุนในกระบวนการผลิต ซึ่งขณะนี้มีการขยายผลต่อยอดสร้างเครือข่ายของกลุ่มเกษตรกรแบบครบวงจรเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.เป็นองค์กรของรัฐที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้การสนับสนุนงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้นหรือนวัตกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และสามารถถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้สนับสนุนในภาคการผลิตต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ด้วยสภาพภูมิประเทศของไทยที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพทางการเกษตรตามลักษณะทางกายภาพ และภูมิอากาศในแต่ละภูมิภา
ที่บ้านน้อยจอมศรี อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำการเกษตร ทำนา ทำไร่ ส่วนใหญ่ใช้น้ำจาก “เขื่อนน้ำอูน” สำหรับทำการเกษตร ฉะนั้น ผู้ที่เดินทางไปจังหวัดสกลนคร จะพบพื้นที่เขียวชอุ่มไปด้วยข้าวนาปรัง พืชฤดูแล้ง ตลอดจนบ่อเลี้ยงปลาและเลี้ยงกบ ห่างตัวเมืองสกลนคร ประมาณ 12 กิโลเมตร มีหมู่บ้านเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของเมืองสกลนคร คือ บ้านน้อยจอมศรี ต.ฮางโฮง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่มีกลุ่มอาชีพหลากหลาย อาทิ กลุ่มทำหมอนขิด กลุ่มเกษตรกรทำนา กลุ่มเลี้ยงปลา และกลุ่มเลี้ยงกบ โดยเฉพาะกลุ่มเลี้ยงกบ ที่มีมากที่สุดของจังหวัดสกลนคร กว่า 10 ราย คุณรัตนา ศรีบุรมย์ และ คุณกมลชัย ศรีบุรมย์ อยู่บ้านเลขที่ 218 ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สองสามีภรรยา เป็นหนึ่งในกลุ่มเลี้ยงกบ ที่มีกบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ว่า 3,000 ตัว โดยคุณรัตนา เล่าว่า ก่อนเลี้ยงกบเป็นอาชีพ ได้ทำนาและทำไร่มาก่อน รวมทั้งเป็นลูกจ้างกรรมกรในตัวเมือง “นอกจากทำนาปลูกข้าวแล้ว ชาวบ้านแห่งนี้ยังมีอาชีพเสริมคือ ทำการเกษตรปลูกพืชฤดูแล้ง เลี้ยงสัตว์ และบางส่วนเลี้ยงกบ ขายพันธุ์กบเป็นส่วนน้อย เน้นขายตัวอ่อนของกบหรือฮวก (ลูกอ๊อด)
สวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ ในช่วงที่ราคายางและปาล์มสูง เกษตรกรมีความสุข เดิมทีการกรีดยางในระยะแรก ใช้แรงงานครอบครัวกรีดยางกันเอง ต่อมามีแรงงานชาวอีสานหันมารับจ้างกรีดยาง โดยแบ่งสัดส่วนรายได้ ระหว่างเจ้าของสวนยางกับแรงงานอยู่ที่ 60 : 40 เป็นมาตรฐาน โดยเจ้าของสวนได้ 60% คนกรีดได้ 40% อาจมีแตกต่างกว่านั้นแล้วแต่ตกลงกัน เมื่อชาวอีสานเริ่มปลูกยางได้ ก็พากันกลับบ้าน คนงานต่างด้าวซึ่งเป็นชาวพม่าเข้ามาแทนที่ ในจังหวะที่ราคายางสูงลิบ ทั้งคนงานและเจ้าของสวนต่างมีความสุขดี เมื่อเจอภาวะยางราคาตก ชาวพม่าค่อยๆ หนีไปทำงานก่อสร้างในเมือง ทิ้งให้ชาวสวนยางกรีดกันเอง เมื่อเจ้าของสวนลงมือกรีดยางเอง จึงพบว่า ช่วงที่ราคายางแพงนั้น ลูกจ้างชาวพม่าเอายาเร่งน้ำยางทามีดกรีดเพื่อให้ได้น้ำยางเยอะๆ ต้นยางจึงโทรมเร็ว ไม่สามารถกรีดได้ครบ 25 ปี จึงเกิดวลีคำหนึ่งว่า “พม่ากรีด ไทยตัด” คือหลังพม่ากรีดยางแล้ว ไทยต้องโค่นยางทิ้งปลูกใหม่ เพราะต้นยางโทรมมาก คุณชาตรี แสงทอง เกษตรกรชาวสวนยาง อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 87 หมู่ที่ 3 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โทรศัพท์ 086-497-7665 คุณชาต
นายถวิล มั่งนุ้ย รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านปฏิบัติการ ลงพื้นที่จังหวัดตรัง ตรวจเยี่ยมแปลงเกษตรกรเครือข่ายศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน สถานีพัฒนาที่ดินตรังของ นายมนตรี แสงแก้ว หมู่ที่ 2 บ้านโหละท่อม ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ซึ่งได้ปลูกทุเรียนจนประสบความสำเร็จและได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นทุเรียน ไม้ผลอื่นๆ มีพื้นที่รวม 15 ไร่ มีการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยสารปรับปรุงดิน การปรับปรุงบำรุงดินและลดต้นทุนการผลิตด้วยปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพด้านการพัฒนาที่ดินอย่างต่อเนื่อง ตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ มีไส้เดือนดินและมูลไส้เดือนดินในแปลงเป็นจำนวนมาก ผลผลิตทุเรียนมีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 8 ไร่ ได้ผลผลิต 17 ตัน มีรายได้สุทธิจากทุเรียนประมาณ 1.33 ล้านบาท และได้มอบบัตรดินดี (ID DINDEE) ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งให้กำลังใจกับเกษตรกรและหมอดินอาสาในการปฏิบัติงานขับเคลื่อนงานและโอกาสด้านการพัฒนาที่ดินในพื้นที่จังหวัดตรัง ช่วงบ่ายวันเดียวกัน รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ตรวจเยี่ยมศูนย
“ข้าว” คือต้นธารแห่งวัฒนธรรมของคนไทย เป็นรากฐานของชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีชีวิตและสังคมของไทย แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปมาก สังคมไทยที่เคยเป็นสังคมเกษตร ปัจจุบันต้องพบกับปัญหา เนื่องจากรายได้ภาคเกษตรมีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อมองถึงความมั่นคงทางอาหารของสังคมไทย จึงไม่ควรมองความสำคัญจากมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือคิดเป็นมูลค่าจากจำนวนเงินเท่านั้น เพราะสถานะภาคเกษตรมีความสำคัญในการเกื้อหนุนชีวิตแรงงานภาคเกษตร ซึ่งปัจจุบันอาชีพชาวนาต้องพบกับปัญหา เนื่องจากลูกหลานชาวนาส่วนใหญ่ต่างเข้ามาทำงานในเมือง หรือเคลื่อนย้ายสู่แรงงานนอกภาคเกษตรมากขึ้น เพราะเห็นว่าอาชีพทำนาเป็นงานที่หนัก ต้องพึ่งพาธรรมชาติ เกิดความสูญเสียจากภัยพิบัติบ่อยครั้ง ต้นทุนการผลิตที่สูง ราคาและรายได้น้อยไม่แน่นอน และไม่มีสวัสดิการที่มั่นคง เหลือแต่ชาวนาสูงวัย จึงทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่า อนาคตข้างหน้าอาจกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ดังนั้น การเรียนรู้การทำนาอย่างถูกต้อง โดยยึดหลัก 3 ป. คือ ประหยัด ปลอดภัย และปฏิบัติได้ จะส่งผลให้ชาวนามีความสุข และม
ศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ โครงการตามพระราชดำริฯ มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือเกษตรกร ให้เกิดเป็นรูปธรรมมากที่สุด เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร และรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9และดำเนินกิจกรรมตามแนวทางพระราชทาน ภายใต้ร่มพระบารมี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ที่ทรงมีพระเมตตา พระราชทานโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน ซึ่งศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ ได้น้อมนำแนวทางการทำงานพระราชทานนี้ เป็นปณิธานในการปฏิบัติงานเพื่อพี่น้องประชาชนตลอดมา โครงการ “หนึ่งใจ บูโอโน่ ผลิตน้ำหมักรักษ์สิ่งแวดล้อม” กิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ตามแนวทางพระราชทานในรัชกาลที่ 10 ตามพระราโชบายโดยมีต้นแบบคือ โครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” นั้น เป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการนำสิ่งเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของ บริษัท บูโอโน่ ประเทศไทย จำกัด มาศึกษาวิจัยและพัฒนา ให้เกิดเป
ประเทศไทยเราได้องค์ความรู้ก่อเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการลองผิดลองถูกจากหนึ่งคนหนึ่งความคิดจนกลายเป็นความชำนิชำนาญ ภาษาราชการเรียกว่า “ปราชญ์” ปราชญ์ต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ปราชญ์เกษตร ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งมีหลากหลายภูมิปัญญาองค์ความรู้อยู่ในภูมิลำเนา ทั่วท้องถิ่นไทย บุคคลเหล่านี้หากได้รับการต่อยอดสนับสนุนจากภาครัฐหรือภาคเอกชน ประเทศไทยเราคงจะเจริญก้าวหน้าไปมากกว่าที่เป็นอยู่… หนึ่งตัวอย่างจากผู้หญิงตัวเล็กๆ ครูพิมลพรรณ พรหมทอง เธอไม่ใช่ “ปราชญ์” แต่เป็น “ครูวิทยาศาสตร์” ที่นำสิ่งเล็กๆ จากมูลไส้เดือนมาศึกษาทดลองวิเคราะห์วิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์ใช้เวลามานานแรมปี คิดค้นจนตกผลึกเป็นที่แน่ชัดว่า ได้ผลจริงกับการทดลอง จึงส่งผลงานเข้าประกวดในโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษาระดับประเทศในหัวข้อ ชื่อเรื่องว่า “การทำน้ำหมักชีวภาพจากมูลไส้เดือนเพื่อเพิ่มขนาดของดอกดาวเรือง” ในนามสถาบันวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ในที่สุดผลงานวิทยาศาสตร์ของครูพิมลพรรณ ก็ผ่านด่านระดับเขต ระดับภาค จนทะลุเข้าถึงรอบชิงระดับประเทศ ไม่น่าเชื่อว่าเจ้าสิ่งเล็กๆ จะเข้าตากรรมการต่างเทคะแนนให้มาเป็นอันดับหนึ่งชนะเลิศในการประก