ประมงพื้นบ้าน
28 พฤศจิกายน 2567 – นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เป็นประธานเปิด “การประชุมสัมมนาชาวประมงพื้นบ้านประเทศไทย ครั้งที่ 10 (ประจำปี 2567)” มอบนโยบายการดำเนินงานที่มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน พร้อมตั้งโต๊ะเสวนาระหว่างภาครัฐและชาวประมงเพื่อร่วมกันวางแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน ขานรับนโยบายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอัครา พรหมเผ่า ที่เร่งผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาประมงพื้นบ้าน ส่งเสริมและต่อยอดด้านความมั่นคงทางอาหารอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยภายในงานมี นายปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ชาวประมงพื้นบ้าน รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมอานนท์ กรมประมง นายบัญชา เปิดเผยว่า “การประมงพื้นบ้าน” มีความสำคัญต่อภาคสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมากและเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของผู้บริโภค กรมประมงจึงมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง โดยส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกา
เมื่อเร็วๆนี้ นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล นายประจวบ โมฆะรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งที่ 7 นาวาเอกแสนย์ไท บัวเนียม รองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย นายบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมทะเลไทย และอีก 5 ชุมชน ในพื้นที่ ต.ทุ่งหว้า ต.นาทอน ต.ขอนคลาน และ ต.ทุ่งบุหลัง ร่วมงาน “ซีพี ร้อย รักษ์ โลก ฟื้นฟูหญ้าทะเล” ภายใต้โครงการซูเปอร์มาร์เก็ตชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง-สตูล เพื่อเพิ่มปริมาณหญ้าทะเล แก้ไขปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรมบริเวณอ่าวไม้ขาวให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารให้แก่พะยูน แหล่งที่อยู่อาศัยอนุบาลสัตว์น้ำ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ ถือเป็นหนึ่งในแหล่ง Blue Carbon ร่วมกับระบบนิเวศทางทะเลอื่นๆ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักรู้ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชา
“อาหารทะเล” จังหวัดตราด เมืองชายทะเลภาคตะวันออก พื้นที่ติดทะเลยาว 165 กิโลเมตร ไม่รวมกับชายทะเลรอบเกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก และเกาะเล็กเกาะน้อยอีกกว่า 50 เกาะ ทำให้พื้นที่ทะเลอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติสัตว์น้ำนานาชนิด กุ้ง หอย ปู ปลา หมึก กั้ง อำเภอคลองใหญ่เป็นอำเภอที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งทำประมงมากที่สุดของจังหวัดตราด ทั้งเรือประมงขนาดใหญ่และเรือประมงชายฝั่ง มีชุมชนประมงพื้นบ้านตามชายหาดต่างๆ ตลอดแนวชายฝั่ง เป็นที่ซื้อ-ขายอาหารทะเลสดๆ เช้าตรู่จะมีเรือประมงพื้นบ้านที่ออกไปจับปลานำเรือเข้าฝั่ง และมีแม่ค้าพ่อค้ามารอรับซื้อปลา ทำให้อาชีพประมงพื้นบ้านที่รับสืบทอดต่อๆ กันมายังคงอยู่เห็นในวันนี้ วิถีชีวิตชาวประมงร่วม 30 ปี คุณสุบิน บุญลอย ชาวประมงพื้นบ้านวัย 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1/8 หมู่ที่ 3 ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เล่าว่า ได้ทำอาชีพประมงมากับพ่อตั้งแต่อายุ 15-16 ปี ถึงปัจจุบันทำเป็นอาชีพหลักให้กับครอบครัว ร่วม 30 ปีแล้ว โดยหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 มีชุมชนชาวประมงอยู่ใกล้กัน 3 แห่ง คือ ชุมชนสะพานปลา หาดศาลเจ้า และหาดทรายแดง จำนวนเกือบ 200 ครัวเรือน ประกอบอาชีพทำประมงพื้นบ้านใช้เรือขนา
“บ้านน้ำราบ” เป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลบางสัก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เดิมมีชื่อเรียกว่า “บ้านน้ำรอบ” เนื่องจากบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยล้อมรอบไปด้วยน้ำทุกทิศทาง ที่นี่มีทั้งสวน มีป่า มีเขา มีทะเล และมีทรัพยากรป่าชายเลนผืนใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ทะเลหลากหลายชนิด เช่น ปู ปลา ปลาหมึก จึงทำให้การทำประมงพื้นบ้านเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านที่นี่ ต่อมาได้เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านน้ำราบ มีสมาชิกจำนวน 237 คน และได้อาศัยจุดแข็งของชุมชนพัฒนาเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้คนในชุมชน คุณหลงเฝียะ บางสัก หรือ บังเดียะ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านน้ำราบ เล่าว่า เมื่อก่อนพื้นที่แห่งนี้ ชุมชนมีการต่อสู้กันต่างๆ มากมาย ในเรื่องของป่าชายเลน แม่น้ำลำคลอง กับเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย แต่ตอนนี้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมันหมดไปแล้ว ชาวบ้านมีแต่ความตระหนัก ความหวงแหน และการฟื้นฟูป่าชายเลน ซึ่งป่าชายเลนที่ชุมชนได้ดูแลอยู่มีทั้งหมด 3,200 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่เป็นป่ากันลม ป่ากันคลื่น เขตอภัยทาน และพื้นที่อยู่อาศัย การรวมตัวกันของชาวประมงที่ตระหนักแ
“เรือผีหลอก” เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาชาวบ้านของตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ที่ใช้ในการจับปลามาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันการจับปลาโดยใช้ “เรือผีหลอก” นับเป็นของที่หาดูได้ยากแล้ว นายเสนาะ พันธ์น้อย ชาวบ้านตำบลบ้านกล้วย ได้สืบทอดวิธีการทำเรือผีหลอก มาจากรุ่นปู่ รุ่นพ่อ ซึ่งในอดีตใช้เป็นเรือไม้ ปัจจุบันนายเสนาะได้ประยุกต์ดัดแปลงเป็นเรือสเตนเลส ความยาวเรือ ยาว 32 ศอก พร้อมอุปกรณ์สำคัญในการหลอกปลาและสัตว์น้ำ คือ กระดานไม้ ทาด้วยสีขาวประมาณ 60 เซนติเมตร ปล่อยลงข้างลำเรือ โดยหันแผ่นไม้สีขาวเข้าหาตลิ่ง เพื่อหลอกปลาให้ตกใจแล้วกระโดดขึ้นมาบนเรือ และมีตาข่ายกันปลากระโดดข้ามเรือ นายเสนาะใช้วิธีนี้หาปลา กลับบ้านเป็นจำนวนมาก วิธีการหาปลาแบบเรือผีหลอกของนายเสนาะ จะใช้วิธีการล่องเรือไปตามแนวตลิ่งของคลองชลประทาน ชัยนาท-ป่าสัก โดยใช้เวลาล่องเรือเพียง 1 ชั่วโมงเศษ ก็ได้ปลาน้อยใหญ่กลับมาเต็มลำเรือ เพราะเมื่อเรือวิ่งผ่านไปตามแนวตลิ่ง ปลาก็จะพากันกระโดดขึ้นลำเรือเอง ก่อนจะไปชนตาข่ายด้านข้างอีกฝั่งของเรือและตกลงมาในท้องเรือ ในแต่ละคืน ที่นายเสนาะหาปลาด้วยวิธีนี้ ได้ปลากลับมากว่า 100 กิโลกรัม มีรายได้
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน เป็นอย่างไรกันบ้างหนอ สุขภาพกาย สุขภาพใจยังแข็งแรงกันอยู่ใช่ไหมครับ ท่องไว้นะครับ กินร้อน ช้อนเรา เข้าบ้าน จะออกไปไหนก็สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ล้างมือ ใช้แอลกอฮอล์ เรื่องราวแบบนี้หากทำประจำ ก็จะชินจนเป็นอัตโนมัติ ไม่มีใครตอบได้ว่า เราจะอยู่กับบรรยากาศเช่นนี้ไปอีกนานเท่าใด แต่สิ่งที่สำคัญคือ เราต้องช่วยกันเองด้วย ช่วยตัวเรา ช่วยสังคมชุมชนของเรา ในยุคโควิด-19 ย่างกรายเข้ามา จนเป็นส่วนหนึ่งในสังคมโลกในทุกวันนี้ ได้เปลี่ยนแปลงหลากหลายสรรพสิ่ง บ้างก็ดีขึ้น บ้างก็ละเลยจนหายไป หลายอาชีพจำต้องปลดระวาง หลายอาชีพเกิดใหม่ แต่ทุกอย่างล้วนเป็นไปในแบบปรับตัวและพัฒนาสู่สิ่งที่ดีกว่า โลกได้พักบ้าง จากการถูกย่ำยีทุกวันด้วยสารพัดสารเคมีที่มนุษย์กระทำต่อโลก ในวันนี้เราจึงได้เห็นสัตว์ป่าเริ่มมีเสรีภาพในการเดินไปทั่วป่า หรือทะเลที่สงบ สะอาด และเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำมามากมาย การกอบโกยโดยทำลายในสิ่งที่มี ได้สร้างปัญหาต่อเนื่องมาจนต้องหาทางแก้ไข ผมได้รู้จักกับชาวประมงคนหนึ่ง ผู้มีชื่อว่า จิรศักดิ์ มีฤทธิ์ (เบอร์โทร. 062-839-3236) ที่ตั้งแต่เกิดก็ได้กลิ่นไอเค็มข
การถนอมอาหารเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานาน ชาวบ้านที่ปลูกผักก็จะดองผักเก็บไว้กินได้นานๆ เนื่องจากสมัยก่อนตู้เย็นไม่ได้มีประจำบ้านกันทุกบ้านเหมือนปัจจุบันนี้ ส่วนคนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำจืดก็จะมีการยกยอในหน้าฝนได้ปลามามากแจกจ่ายกันกินแล้วก็ไม่หมดจึงได้ทำปลาแห้ง หมักน้ำปลา ปลาร้าก็เป็นภูมิปัญญาของเรา ชาวประมงติดทะเลก็มีวิถีชีวิตของเขา การหมักกะปิ ทำน้ำปลา ปลาแห้ง ปลาเค็มก็เป็นวิถีชาวบ้านเช่นกัน สมัยนั้นได้แค่เก็บไว้กินให้ตลอดปีหรือไม่ก็แจกญาติพี่น้อง อาจพอได้แลกปัจจัยอย่างอื่นที่ตัวเองไม่มีก็พอได้ แต่ปัจจุบันอะไรๆ ก็ต้องซื้อหาแล้ว ชาวประมงพื้นบ้าน บ้านแหลมสัก ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ทุกบ้านรู้จักการถนอมอาหารด้วยการทำปลาแห้ง ปลาเค็ม มาตั้งแต่ปู่ย่าตายายสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิถีพื้นบ้านของชุมชน ในฤดูที่ปลามีให้จับอุดมสมบูรณ์ก็ได้แปรรูปปลาสดให้เป็นของแห้งที่สามารถเก็บไว้กินได้นานวันโดยไม่เสียคุณค่าทางอาหาร ถ้าปลาแห้งที่ทำได้มีจำนวนมากในสมัยก่อนก็ใช้แลกกับอาหารและของใช้ที่จำเป็นอย่างอื่น ซึ่งเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย มีโอกาสได้ไปจัดหวัดกระบี่โดยไปเป็นกรรมการตัดสิ
กลุ่ม ปตท.ระยอง ยกขบวนผู้นำชุมชน ลงพื้นที่ สวนสามพราน จ.นครปฐม ศึกษาวิถีชีวิตแบบไทย เรียนรู้คุณค่าการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่ม ปตท.จ.ระยอง โดยคณะผู้บริหาร พร้อมด้วย ทีมเจ้าหน้าที่งานชุมชนสัมพันธ์ (CSR) พาผู้นำชุมชน ในเขตเทศบาลมาบตาพุด และ บ้านฉาง จ.ระยอง ภายใต้โครงการสัมมนาผู้นำชุมชน กลุ่ม ปตท. ประจำปี 2562 ศึกษาดูงานวิถีชีวิตแบบไทย ผ่านการขับเคลื่อนสามพรานโมเดล ของสวนสามพราน โดยมี คุณศรัญยา ชัชวาลพาณิชย์ หนึ่งในผู้บริหารกลุ่ม ปตท.จ.ระยอง นำทีม การศึกษาดูงานภายใต้โครงการดังกล่าว มีทั้งหมด 5 รุ่นด้วยกัน จาก 88 ชุมชน รวมแล้วกว่า 900 คน ที่อยู่รอบๆ สถานประกอบการใน จ.ระยอง เข้าร่วมกิจกรรม โดยรุ่นแรก เป็นกลุ่มประมงเรือเล็ก (ประมงพื้นบ้าน) จำนวน 80 คน คุณศรัญยา กล่าวว่า กลุ่มปตท.พยายามรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า และเรียนรู้วิธีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายในชุมชน ซึ่งมองว่าสวนสามพรานมีฐานความรู้ที่น่าสนใจแบบครบวงจร ทั้งในด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และกระบวนการทำเกษตรอินทรีย์ ที
กรมประมง ใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ประกาศปิดอ่าวฝั่งอันดามัน 4 จังหวัด นาน 3 เดือน ในฤดูวางไข่ ระหว่าง วันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2561 หากฝ่าฝืนทำประมงจะถูกลงโทษ กรมประมง ปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน ระหว่าง วันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2561 ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 5,000 ตารางกิโลเมตร จ.ภูเก็ต พังงา กระบี่ และ จ.ตรัง ตามมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน โดยห้ามใช้เครื่องมืออวนลากทุกประเภทและทุกขนาดที่ใช้ประกอบเรือกล หากฝ่าฝืนต้องโทษปรับ ตั้งแต่ 10,000 – 30 ล้านบาท ตามขนาดของเรือประมง หรือ 5 เท่า ของมูลค่าสัตว์น้ำที่จับได้ และจะถูกริบเครื่องมือทั้งหมด ส่วนสำนักงานประมง จ.ตรัง ได้แจ้งเตือนผู้ประกอบการ ห้ามทำประมงในฤดูปลาวางไข่ ตามประกาศปิดอ่าว 3 เดือน พร้อมจัดกำลังลาดตระเวนทางทะเล หากพบกระทำความผิดจะดำเนินคดีทางกฎหมายอย่างเข้มงวด
กระทรวงเกษตรฯ ออกประกาศกระทรวงใช้อวนรุนเคยประกอบเรือยนต์ทำการประมงฉบับใหม่ใช้อวนตาห่างจากเดิมได้เล็กน้อย กำหนดพื้นที่และระยะเวลาทำประมง ให้ชาวประมงพื้นบ้านจับ “เคยโกร่ง” ในระยะที่ใกล้ชายฝั่งมากขึ้น ตามวิถีที่เคยทำมาปลอดภัยในการเดินเรือมากขึ้น นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ตามที่ชาวประมงพื้นบ้านเสนอขอใช้อวนตาห่างขึ้น เดิมที่กำหนดให้เรือประมงพื้นบ้านขนาดต่ำกว่าสิบตันกรอสทำการประมงนอกเขตระยะ 1,000 เมตร ส่วนเรือประมงพาณิชย์ที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งประมาณ 5,400 เมตร นับจากขอบน้ำตลอดแนวชายฝั่งทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล โดยกำหนดขนาดใช้ตาอวน ขนาด 2×2 มิลลิเมตร เท่านั้น แต่ชาวประมงพื้นบ้านต้องการขยายตาอวนเพื่อจับ “เคยโกร่ง” ซึ่งเป็นเคยขนาดใหญ่ ประมาณ 7-32 มิลลิเมตร จึงขอผ่อนปรนให้ใช้ตาอวนขนาด 2×4 มิลลิเมตร นายกฤษฎา กล่าวว่า ได้ประชุมหารือกับ นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรฯ และปลัดกระทรวงเกษตรฯ พร้อมเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ควรให้ยกเลิกประกาศกระทรวงฯ พ.ศ. 2559 และให้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใหม่ เพื่อ