ประมง
กนร.เห็นชอบให้ต่ออายุใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าวประมงทะเลและแปรรูปสัตว์น้ำที่จะหมดอายุในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์นี้จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 กนร.เห็นชอบขยายระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและการอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเลและแรงงาน ในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำที่เป็นแรงงานคนเดิมออกไปอีกถึงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ โดยให้เริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ และสิ้นสุดการดำเนินการ ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ และให้ใบอนุญาตทำงานหมดอายุในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เท่ากัน นายสิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวว่า วันนี้ (๑๖ มกราคม ๒๕๖๐) ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม ศ. นิคม จันทรวิทุร ชั้น ๕ อาคารกระทรวงแรงงาน นั้น ที่ประชุมได้พิจารณาปัญหาการตรวจสัญชาติของแรงงานในกิจการประมงทะเลที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ และแรงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำที่ใบอนุญาตทำงาน จะหมดอายุในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์
ไทยยูเนี่ยนถกประชุมนานาชาติ Trust Women Conference 2016 เสนอตั้ง “กองทุนชาวประมง” เพื่อช่วยแรงงงานที่ถูกกดขี่ในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล พร้อมถกประเด็นแรงงานกดขี่ในระบบห่วงโซ่อุปทาน ดร.แดเรียน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU เปิดเผยว่า ในการเข้าประชุมนานาชาติ Trust Women Conference เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งหารือถึงวิธีการที่เป็นไปได้ในการส่งเสริมให้ผู้หญิงลุกขึ้นสู้กับการกดขี่ทั่วโลก เพื่อแก้ไขปัญหาการขจัดแรงงานกดขี่ออกไปจากระบบห่วงโซ่อุปทาน ได้เสนอการตั้งกองทุนชาวประมง (Fishers Fund) ให้เป็นรูปธรรม โดยได้รับการสนับสนุนจาก Trust Women Conference นอกจากการเข้าร่วมงาน Trust Women Conference ของ ดร.แดเรียน แล้ว ในวันนี้ไทยยูเนี่ยนตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนด้วยการเปิดตัวเว็ปไซต์ Seachange® ซึ่งเป็นกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืนของบริษัท ทั้งนี้ กองทุนชาวประมง คือการให้ทุนทรัพย์แก่แรงงานที่ได้รับการช่วยเหลือจากการกดขี่ ไทยยูเนี่ยนทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับองค์กรไม่แสวงหากำไรในประเทศไทย เช่น สถาบันอิศรา เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามช
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยเรียกประชุมใหญ่สมาชิกทั่วประเทศ รับฟังปัญหาและข้อเสนอใน 6 เรื่องเพื่อให้รัฐเร่งแก้ไข ทั้งการขอคืนสิทธิจดทะเบียนเรือ หลังรายงานตัวไม่ทัน เร่งตั้งกองทุนซื้อเรือที่ไม่มีใบอนุญาตทำการประมง การใช้ดุลพินิจมาประกอบการปิดโรงงานได้ อีกทั้งแรงงานต่างด้าวทำบัตรใหม่ไม่ได้ ชี้อาจเกิดปัญหาการค้ามนุษย์ขึ้นมาอีก นายมงคล สุขเจริญคณา นายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในสัปดาห์นี้ สมาคมจะประชุมสมาชิกชาวประมงทั่วประเทศเพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อน และเสนอขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหา ณ ห้องประชุมตลาดทะเลไทย จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับผลกระทบและความเดือดร้อนของชาวประมงในเรื่องต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ได้แก่ เรื่องเรือประมงที่ตกสำรวจที่ไม่สามารถทำการประมงได้ ภายหลังจากสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศให้ใบเหลืองแก่ไทยที่ยังไม่สามารถแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558 โดยภาครัฐประกาศให้เรือประมงทั่วประเทศมารายงานตัวภายใน 1 เดือน แต่มารายงานตัวไม่ทันจำนวน 8,024 ลำ จึงถูกยกเลิกการจดทะ
เปิดจดทะเบียนต่ออายุการทำงานแรงงานต่างด้าวประมงทะเล-แปรรูปสัตว์น้ำที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุปี 2559 ระหว่างวันที่ 1 พ.ย.-30 ธ.ค 2559 สามารถทำงานได้ถึง 1 พ.ย. 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการอยู่ในราชอาณาจักรและอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเลและแปรรูปสัตว์น้ำที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในปี2559ออกไปจนถึง 1 พฤศจิกายน 2560 เพื่อไปตรวจสัญชาติ แต่ไม่ต่ออายุให้แรงงานฯ ที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุในปี 2560 และ 2561 โดยเปิดจดทะเบียนระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 30 ธันวาคม 2559 ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดใน 22 จังหวัดชายทะเลและกรุงเทพมหานครอีก 1 แห่ง ในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ สามารถทำงานได้ถึง 1 พฤศจิกายน 2560 นายสิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) โดยให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ในกิจการประมงทะเลและแปรรูปสัตว์น้ำ (รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของแรงงานต่างด้าวที่อายุไม่เกิน 18 ปี) ซึ่งใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในปี 2559 ออกไ
กระทรวงแรงงานตรวจเข้ม ค้ามนุษย์-แรงงานเถื่อนประมง IUU ดันเข้าแผนปฏิรูปแรงงานระยะที่ 1 ร่วมบูรณาการ 6 หน่วยงานจัดชุดตรวจห้องเย็น-โรงงานแปรรูปอาหารทะเล พบการกระทำผิด 127 แห่งส่วนใหญ่เป็นห้องเย็นขนาดเล็ก ล้ง และแพปลา มีทั้งสั่งดำเนินคดี สั่งปิด ตาม พ.ร.บ.การประมง-พ.ร.บ.โรงงาน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือ IIIegal Unreported and Unregulated หรือ IUU Fishing หลังจากที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้ “ใบเหลือง” ว่า ประเทศไทยมีความคืบหน้าในการแก้ปัญหา IUU ไปมาก ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ซึ่งได้รับมอบหมายให้แก้ปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก และแรงงานทาส ได้ร่วมบูรณาการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมประมง กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ และศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ต่อเนื่อง มีการส่งทีมเจ้าหน้าที่ร่วมตรวจสอบติดตามการออกทำประมงและในโรงงานแปรรูป โดยเฉพาะการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและแรงงานผิดกฎหมายถือเป็น
พ.ต.ท. ฤทธิ์ ศิริเทพ สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรรำมะสัก ต.รำมะสัก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง กล่าวว่า การเลี้ยงปลากระชังเป็นโครงการ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นนโยบายของผู้บังคับบัญชา สนับสนุนให้ตำรวจชั้นผู้น้อย ใช้เวลาว่างหารายได้เลี้ยงครอบครัว ประกอบกับที่หน้าโรงพัก ส.ภ.ต. รำมะสัก มีคลองสีบัวทองมีน้ำไหลผ่านตลอด สามารถที่จะเลี้ยงปลาได้ จึงส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเลี้ยงปลากระชัง โดยเลี้ยงปลาเทโพและปลาดุก ในกระชังขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 4 กระชัง โดยใช้เวลาว่างดูแล กระชังปลา ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงนำร่องการเรียนรู้ เป็นทุนอาหารกลางวันตำรวจ พร้อมนำไปปรับใช้ในการทำอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน
สหภาพยุโรปบี้ไทยนำคดีประมงผิดกฎหมาย 1,000 คดีขึ้นฟ้องศาล ระบุมีผลต่อการพิจารณาให้ใบเหลืองใบแดง IUU รองนายกฯประวิตรสั่งสางปัญหาด่วน เร่งตำรวจ-อัยการทำสำนวนยื่นฟ้อง ชาวประมงวอนรัฐดูเจตนา แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แม้การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing : IUU Fishing) ที่สหภาพยุโรป (EU) ประกาศเตือนโดยให้ใบเหลืองไทยจะมีความคืบหน้าตามลำดับ ทำให้ EU พอใจการดำเนินการของฝ่ายไทย แต่มีบางประเด็นที่ EU ต้องการให้เร่งแก้ไขให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการนำคดีการทำประมงผิดกฎหมายเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ล่าสุด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้รับมอบหมายจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้รับผิดชอบดูแลการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง ศูนย์บัญชาการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เร่งนำคดีที่ก่อนหน้านี้มีการปราบ
ผู้สื่อข่าวเดินทางไปดูวิถีชาวประมงพื้นบ้านที่ประกอบอาชีพจับเคยตามแนวชายฝั่งทะเลจ.ตราด ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประมงพื้นบ้าน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนธันวาคม ที่จะมีชาวประมงพื้นบ้านหลายตำบล หลายหมู่บ้าน ออกหาเคยหรือกุ้งเคย เพื่อนำมาทำกะปิ นายประนอม อ่อนเพชร ชาวประมงพื้นบ้าน บ้านตาหนึก ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ ปกติก่อนหน้านี้ตนเองจะออกหาปู หาปลา ตามแนวชายฝั่ง ซึ่งเป็นอาชีพหลักเลี้ยงปากท้องและครอบครัวมาตลอด แต่ในช่วงนี้เป็นช่วงลมมรสุมหรือมีฝนตก มักจะพบกุ้งเคยจำนวนมาก ไหลตามกระแสตามแนวชายฝั่ง ซึ่งเวลานี้เอง หลังจากหาปูหาปลาเสร็จแล้ว ก็มาจับกุ้งเคย ได้เฉลี่ยวันละ 30-60 กิโลกรัม แต่บางวันได้มากถึง 100 กิโลกรัม นายประนอม กล่าวว่า หลังจากจับกุ้งเคยมาได้แล้ว จะใช้น้ำล้างทรายออก เสร็จแล้วแยกขยะหรือปลาที่ติดมากับอวน ขณะจับกุ้งเคย เมื่อแยกได้เฉพาะกุ้งเคยแล้ว นำไปคลุกเคล้ากับเกลือในอัตราส่วนที่เท่ากัน หรืออัตราเกลือ 1 ส่วน กุ้งเคย 10 ส่วน เป็นต้น แล้วแต่สูตรของแต่ละเจ้า จากนั้นนำไปตากแดด 2-3 แดด จากนั้นนำมาตำให้แหลก และตากแดดอีกครั้ง จนได้กะปิส่งร้านขายชุมชุนในท้องถิ่น ในราคากิโลกรัมละ 70-80 บาท แต่หา