ประมง
สมัยนี้การเลี้ยงปลาเนื้อกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะในหลายภูมิภาค หลายๆ คนให้ความสนใจในเรื่องของการทำเกษตรมากขึ้น จึงต้องมีการเตรียมบ่อน้ำและแหล่งน้ำในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้มองโอกาสที่จะซื้อลูกพันธุ์ปลามาปล่อยเลี้ยง เมื่อโตก็สามารถจำหน่ายหรือนำมาประกอบอาหารภายในครัวเรือนได้ ส่งผลให้ตลาดเพาะพันธุ์ปลาในบ้านเรามีผู้ประกอบเกิดขึ้นมากมาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างแหล่งโปรตีนชั้นดีที่บริโภคได้ทุกเพศทุกวัย คุณธีระกิจ เมณร์กูล เจ้าของ สุเม่นฟาร์ม ตั้งอยู่เลขที่ 241 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ยึดอาชีพเพาะพันธุ์ปลาตามที่เขาร่ำเรียนมา ส่งผลให้เป็นอาชีพที่มั่นคงสามารถเลี้ยงครอบครัว ด้วยความมุ่งมั่นอุตสาหะในอาชีพของตนเอง เมื่อสำเร็จแล้ว เขาจึงเปิดฟาร์มเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษาฝึกงานจากสถาบันต่างๆ ได้เข้ามาฝึกงานจากประสบการณ์จริงในฟาร์มของเขา คุณธีระกิจ เล่าให้ฟังว่า หลังจบการศึกษาได้ทำงานเป็นพนักงานบริษัทเอกชน แต่ไม่ชอบการทำงานที่ต้องขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์มากนัก จึงหันมามองหาอาชีพที่เป็นนายตัวเอง คือ การเพาะพันธุ์ปลาขาย เพราะสมัยที่เขาเรียนไ
คุณอนิวรรตย์ สมชีวิตา นักวิชาการประมงปฏิบัติการ สำนักงานประมงจังหวัดนครนายก ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน ทางประมงจังหวัดนครนายกได้นำนโยบายเกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิตในการทำประมงมาปรับใช้ภายในพื้นที่ของเกษตรกรผู้ทำประมงในจังหวัดนครนายก ซึ่งจังหวัดนครนายกมีพื้นที่การเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมาณ 700,000 กว่าไร่ เกษตรกรทั้งหมดประมาณ 3,000 กว่าราย โดยส่วนใหญ่จะทำการประมงแบบกึ่งพัฒนา คือการเลี้ยงแบบผสมผสาน ภายใน 1 บ่อ มีปลาหลายชนิดอยู่รวมกัน “การเลี้ยงปลาแบบบ่อรวม จะมีการเลี้ยงกระจายทั่วจังหวัด ซึ่งในอำเภอองครักษ์ก็มีการเลี้ยงปลาแบบบ่อรวมค่อนข้างเยอะพอสมควร ประมาณ 300 กว่าราย และในปี 2561 เราจะมีการจัดให้พื้นที่แถวนี้เข้าโครงการแปลงใหญ่ เพราะการเลี้ยงปลาในลักษณะนี้ค่อนข้างมีปลาให้จับได้หลากหลาย เวลาที่เกษตรกรจับขายก็สามารถขายแยกชนิดกันได้ ซึ่งตอนนี้เกษตรกรบางรายก็จะมีการปล่อยกุ้งขาว นำมาเลี้ยงภายในบ่อปลาด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ทำประมงได้อีกทาง พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการเลี้ยงแบบลดต้นทุนมากขึ้น ก็เป็นการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย พร้อมทั้งเลี้ยงแบบในฟาร์มมีมาตรฐานตามที่ก
ผลจากการเรียนจบมาทางด้านสัตวแพทย์ ก็ทำให้ น.สพ. ตุลา ตรงเมธีรัตน์ เข้าใกล้ชิดสัตว์บางชนิดมากขึ้น ไม่เฉพาะแค่ระบบร่างกายของสัตว์ชนิดนั้น แต่กลับเป็นเรื่องของการจัดการระบบการเลี้ยง การดูแล การส่งเสริม รวมถึงการขาย น.สพ. ตุลา ตรงเมธีรัตน์ เป็นคนรุ่นใหม่ที่เรียนจบทางด้านสัตวแพทย์ แต่ไม่เปิดคลินิกรักษาสัตว์ กลับเข้าทำงานในบริษัทเอกชน ที่ให้บริการส่งเสริมการเลี้ยงปลาครบวงจร ในตำแหน่งนักวิชาการของบริษัท ทำให้รู้และเข้าใจระบบการเลี้ยงปลาอย่างถูกวิธี จึงมีแนวคิดทำอาชีพอิสระด้วยการเลี้ยงปลากระชัง ตามความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่มี “แหล่งน้ำสำหรับเลี้ยงปลา เป็นประการสำคัญประการแรกที่ควรคำนึงถึง” น.สพ. ตุลา บอก การเลี้ยงปลาที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่สนใจต้องการเลี้ยงปลา หรือมือใหม่ที่เริ่มก้าวเข้ามาเป็นเกษตรกรเลี้ยงปลา ควรเลือกแหล่งเลี้ยงที่เหมาะสม เพราะเป็นประการสำคัญที่มีปัจจัยต่อความเสียหายของการเลี้ยงอย่างมาก น.สพ. ตุลา เลือกลำน้ำพอง เป็นแหล่งเริ่มเลี้ยงปลากระชัง และเลือกปลานิล ปลาทับทิม เพราะเห็นว่าเป็นปลาที่สามารถจำหน่ายได้ทั่วไปในท้องตลาด ซื้อ-ขายง่าย และระยะเวลาการเลี้ยงต่อรอบจับจำหน่ายไม
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า นโยบายธนาคารสินค้าเกษตร เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการบริหารจัดการผลผลิตการเกษตร เพื่อให้ชุมชนเกษตรกรในแต่ละพื้นที่มีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการผลผลิตการเกษตร สนองต่อความมั่นคงด้านอาหารและสร้างรายได้ในครัวเรือน ซึ่งโครงการธนาคารผลผลิตเกษตรด้านการประมง เป็นหนึ่งในโครงการธนาคารสินค้าเกษตร ที่มีกรมประมง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยอาศัยแหล่งน้ำชุมชนเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ จากความร่วมมือของชุมชนเกษตรกร มีระยะเวลาดําเนินโครงการตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2560-2564 โดยกำหนดเป้าหมายจัดตั้งธนาคารปีละประมาณ 20 แห่ง และขยายจนครบทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ สำหรับการดำเนินโครงการ จะมีการจัดหาแหล่งน้ำชุมชนแบบระบบปิดที่เหมาะสม จัดตั้งเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีคณะกรรมการประจำแหล่งน้ำ จัดระบบการจัดการบริหารผลผลิตแบบธนาคาร และมีการพัฒนาความรู้ให้กับชุมชนและเกษตรกรให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบริหารจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมไปถึงการจัดการแหล่งน้ำชุมชนให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น
จากสภาวะเศรษฐกิจไม่กี่ปีมานี้ ส่งผลให้สินค้าเกษตรหลายชนิดราคาตกต่ำ จึงทำให้เกษตรกรมีการปรับตัวมากขึ้น โดยทำเกษตรแบบผสมผสานที่ไม่เน้นทำเป็นเกษตรเชิงเดี่ยวมากเกินไป เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของราคาที่ผันผวนแล้ว ยังสามารถมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดทดแทน จึงช่วยเสริมรายได้สลับไปมาในแต่ละช่วงการผลิต จึงเกิดรายได้หลากหลายส่งผลให้ไม่มีหนี้สิน คุณขาว เสมอหัต อยู่บ้านเลขที่ 58/3 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีอาชีพหลักทำนาด้วยราคาข้าวที่ผลิตได้ไม่แน่นอน จึงได้หาอาชีพเสริมเข้ามาช่วย คือการเลี้ยงปลาดุก โดยใช้บ่อน้ำที่มีอยู่เดิมจากการขุดไว้ใช้ภายในสวน มาเลี้ยงปลาให้เกิดประโยชน์มากขึ้น พร้อมทั้งใช้เหยื่อสดต้นทุนต่ำมาเป็นอาหารให้ปลากิน ทำให้ปลาเติบโตดีตลาดต้องการ จำหน่ายได้ราคา อาชีพหลักทำนา เลี้ยงปลาดุกเสริมรายได้ คุณขาว เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ประกอบสัมมาอาชีพมาถึงปัจจุบัน รายได้หลักของครอบครัวคือเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว โดยยึดการทำนามานานหลายสิบปี แต่ด้วยบางปีราคาข้าวที่ได้ไม่แน่นอน จึงเกิดความคิดที่อยากจะเสริมรายได้ เห็นบ่อน้ำที่อยู่บริเวณบ้านว่าง
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในการสัมมนา ทิศทางประมงพื้นบ้านไทยในอนาคต ว่า ภาคการประมงปัจจุบันที่มีเรื่องการค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวประมงพื้นบ้าน ต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง โดยต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ทางการค้ามากขึ้น แต่เป้าหมายโดยรวมไม่ใช่เพื่อให้ไทยหลุดพ้นจากใบเหลือง ของการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือไอยูยู ของสหภาพยุโรปหรืออียู แต่การปรับเปลี่ยนทั้งหมดนี้มีเป้าหมายหลักคือเพื่อการทำประมงอย่างยั่งยืน องค์ประกอบการทำประมง เรื่องประมง คน และเครื่องมือ ทั้งหมดนี้ต้องออกกฎหมายรองรับ โดยเรือทุกลำ แรงงานทุกคนต้องขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง และใช้เครื่องมือที่ไม่ทำลายล้าง ผู้ที่กระทำความต้องถูกดำเนินคดีและใช้ ซึ่งประมงพื้นบ้านก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์นี้ เพื่อร่วมกันใช้ทรัพยากรอย่างเสมอภาค ตามที่ประมงได้จัดสรร โควตาการจับปลา ที่มาจากการประเมินผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY)ทุกปี ตามการรายงานของกลุ่มเรือประมงพาณิชย์ พบว่า หลังที่รัฐบาลไทยให้ความเข้มงวดไอยูยู ในปี 2560 ประมงไทยสามารถจับปลาได้ 1.17 ล้านตัน ปี 2561 (ม.ค.- ต.ค.) มีการจับปลาได้มากกว
การเลี้ยงหอย นับเป็นอีกหนึ่งอาชีพของชาวบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่นิยมทำกัน ทั้งนี้เพราะพื้นที่หลายอำเภอติดกับอ่าวบ้านดอน อ่าวบ้านดอน เป็นอ่าวขนาดใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ ทั้งนี้ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ และสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ รวมไปถึงแร่ธาตุทางอาหารและผลผลิตทางชีวภาพ จึงเป็นแหล่งสะสมอาหารที่มีประโยชน์ต่อสัตว์น้ำทางทะเลทางเศรษฐกิจหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นกุ้ง หอย ปู ปลา ด้วยความสด อร่อยและมีอาหารทะเลให้เลือกมากมาย จึงทำให้บรรดานักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศต่างชื่นชอบมารับประทานอาหารทะเลของจังหวัดนี้เมื่อมีโอกาส ดังนั้น ชาวบ้านบริเวณอ่าวบ้านดอนจึงมีอาชีพทำประมงกันเสียส่วนใหญ่ กาญจนดิษฐ์ เป็นหนึ่งในหลายอำเภอที่อยู่ในอ่าวบ้านดอน ชาวบ้านในอำเภอนี้ส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพประมงทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ภาพรวมการทำอาชีพประมงของชาวบ้านในอำเภอกาญจนดิษฐ์มีทั้งการทำประมงน้ำจืดและประมงในทะเล สำหรับสัตว์น้ำที่เลี้ยงมีทั้งกุ้ง ปลากะพงขาวในบ่อดิน และในกระชัง ส่วนการเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเลตามพื้นที่อนุญาตจะมีฟาร์มเลี้ยงหอยแครง หอยนางรม และหอยแมลงภู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งหอยนางรมถือเป็นตัว
ปัญหาเรือประมงพาณิชย์แย่งกันจับสัตว์น้ำ เรือใหญ่เข้ามาทำกินในพื้นที่ของเรือประมงพื้นบ้านที่มีขนาดเล็ก ที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศของบ้านคลองมะขาม ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เกิดความเสื่อมโทรม ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง ไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพประมงที่เป็นอาชีพหลักได้ การเปิดพื้นที่ให้คนในชุมชนเขามาร่วมพูดคุย เพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่เรื่อง่าย ต้องอาศัยการเปิดใจจากทุกฝ่าย แต่ชาวบ้านคลองมะขามก็สามารถรวมกลุ่มกันเป็น “องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นตำบาลหาดเล็ก” ผนึกพลังกลุ่มเรือประมงถึง 5 กลุ่ม พวกเขาทำอย่างไร ติดตามได้ใน “เสียงจากแผ่นดิน” #ประมง #ประมงท้องถิ่น #มูลนิธิปิดทองหลังพระ #ธนาคารปู #ตราด #ข่าวสด #Khaosod
คุณอนันต์ หิมารัตน์ อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 4 ตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่มากด้วยประสบการณ์ เพราะปัจจุบันเขาไม่ได้เลี้ยงแต่ปลากรายเพียงอย่างเดียว แต่ยังทำงานด้านการเกษตรอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้อีกด้วย คุณอนันต์ เล่าให้ฟังว่า อาชีพหลักเริ่มแรกคือ ทำสวนผลไม้เป็นรายได้ ต่อมา ปี 2537 จึงได้มาทดลองเพาะพันธุ์ปลาแรด สาเหตุที่ทดลองเพาะพันธุ์ปลาดู เกิดเนื่องมาจากที่บ้านได้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแรดไว้ จึงได้นำไข่ปลาแรดมาทดลองเพาะพันธุ์ก็ยังไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร “ตอนมาทดลองเพาะพันธุ์ ก็มีตายบ้างช่วงนั้น ก็หาวิธีมาเรื่อยๆ เพื่อดูไม่ให้ตาย พอเราลองแล้วประสบผลสำเร็จดี ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้น คนที่รู้ก็สนใจลูกพันธุ์ปลาแรดก็มาซื้อไปเลี้ยง ต่อมาประมาณ 3 ปี ก็ได้ไปรู้จักกับคนที่เขาทำเพาะพันธุ์ปลากรายที่สุพรรณบุรี เราก็ซื้อลูกปลาจากเขามาเพื่ออนุบาลจำหน่ายลูกพันธุ์ ก็ผลตอบรับดี จำหน่ายได้ คราวนี้เราก็ไม่อยากทำแต่ลูกพันธุ์ ประมาณปี 40 ก็เริ่มทดลองเลี้ยงเองบ้าง” คุณอนันต์ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการได้เริ่มเลี้ยงปลากราย ในขั้นตอนแรกที่จะเลี้ยงปลากรายในบ่อดินนั้น คุณอนันต
“ปัจจุบันโครงการบ้านปลาเข้าสู่ปีที่ 7 มีจิตอาสาเข้าร่วมแล้วกว่า 10,000 คน วางบ้านปลาสู่ใต้ทะเลไปแล้ว 1,400 หลัง เกิดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลกว่า 35 ตารางเมตร ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรี และจันทบุรี ที่มีชุมชนอาศัยอยู่มากกว่า 100 ครัวเรือน” โดยวัสุดุที่ใช้สร้างบ้านปลา คือ ท่อ PE100 ซึ่งเป็นท่อที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลิเอทีลีนเกรดพิเศษ ของธุรกิจเคมิคอลส์ ที่เหลือจากการขึ้นรูป ซึ่งท่อชนิดนี้ใช้เป็นท่อส่งก๊าซ มีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานกว่า 50 ปี และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “บ้านปลารุ่นต่อไปจะนำขยะพลาสติกมาผสม เพื่อช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก ตอนนี้อยู่ในระหว่างการทดลอง คิดว่าอีก 1-2 เดือนข้างหน้าจะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น” “การออกทะเลเมื่อ 7-8 ปีก่อนต้องขับเรือไปไกล 10-15 ไมล์ทะเล หลังมีบ้านปลาชาวประมงในพื้นที่ไม่ต้องออกไปหากินไกล จะออกไปแค่ 700 เมตร หรือไม่เกิน 1.5 กิโลเมตรประมาณนี้ ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น ลูกหลานกลับมาทำงานที่บ้านเกิด รายได้เพิ่มขึ้น จากแต่ก่อนไม่ถึงพันบาท ตอนนี้สูงสุด 4 พันบาทต่อวันแล้ว” การสร้างบ้านปลาสมัยก่อนจะใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลัก ซึ่งเป็นภูมิปัญญา