ปลา
“ปลานิล” เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญของเชียงราย มีพื้นที่หลายแห่งเลี้ยงปลานิล แต่แหล่งผลิตใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอพาน เนื่องจากมีระบบชลประทานแม่ลาว ในปี 2561 เกษตรกรจำนวน 5,361 ราย เลี้ยงปลานิลได้ 21,563 ตัน สำหรับชาวบ้านตำบลศรีดอนชัย อำเภอเทิง ใช้วิธีเลี้ยงปลานิลแบบต้นทุนต่ำแนวอินทรีย์ช่วยให้มีคุณภาพ ปลอดภัย พร้อมแปรรูปสร้างมูลค่า ส่งขายตลาดสุขภาพ ขุดบ่อสร้างแหล่งน้ำทำเกษตรกรรม แล้วใช้เลี้ยงปลาและสัตว์น้ำหลายชนิด คุณพิชญาภา ณรงค์ชัย ประธานกลุ่มเลี้ยงปลานิลถิ่นล้านนาสู่สากล ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เล่าว่า จุดเริ่มต้นมาจากการที่ชาวบ้านในชุมชนประสบปัญหาน้ำเพื่อใช้ทำเกษตรกรรมไม่เพียงพอจึงร่วมกันขุดบ่อของแต่ละบ้านเอง มีขนาดเล็ก-ใหญ่ ตั้งแต่ 3 งาน ไปจน 1 ไร่ หลังจากใช้ประโยชน์แล้วก็นำปลาไปเลี้ยงในบ่อเพื่อใช้บริโภคก่อน ต่อมาได้พัฒนาวิธีเลี้ยงจนมีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด จึงรวมกลุ่มกันเลี้ยงเป็นอาชีพเพื่อเป็นรายได้ จากเริ่มที่จำนวน 6 บ่อ จนถึงวันนี้มีจำนวน 130 บ่อ ปลาที่เลี้ยงเป็นชนิดกินพืช อย่างปลานิล ปลาตะเพียน โดยไปซื้อพันธุ์ปลามาจากอำเภอต่างๆ รวมถึงที่ศูนย์เพาะพันธุ์ปลาด้ว
การขาดแคลนน้ำสำหรับใช้ทำนายังคงสร้างปัญหาให้แก่พี่น้องเกษตรกรทางภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนาผืนนั้นอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำทางธรรมชาติ หรือไม่ได้อยู่ในเขตชลประทาน ฉะนั้น ทางออกของชาวบ้านที่ดีที่สุดคือ การเปลี่ยนไปทำเกษตรกรรมแบบใช้น้ำน้อย อย่าง คุณวีระชัย ศรีสด อยู่บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 8 บ้านโนนแดง ตำบลยาว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จากเดิมที่เคยมีพื้นที่ทำนาเป็น 100 ไร่ แต่กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากขาดแคลนน้ำ แถมยิ่งทำ ยิ่งมีหนี้สิน จึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพการเกษตรหลายชนิดที่ใช้น้ำน้อย แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนมาจบที่การเพาะพันธุ์ปลาขาย พ่วงด้วยการเพาะพันธุ์กบและเลี้ยงกบเนื้อ สร้างรายได้รวมแล้วปีละเป็นแสนบาท น้ำน้อย ทำนาไม่ได้ เปลี่ยนมาเพาะปลา-เลี้ยงกบ คุณวีระชัย เจ้าของ “วีระฟาร์ม” เล่าว่า เดิมมีอาชีพทำนาบนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ หาเลี้ยงครอบครัว ไม่นานพบว่ามีปัญหาอุปสรรคนานัปการที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งน้ำ ต้นทุนค่าปุ๋ย ยา ค่าแรง รวมถึงราคาข้าวที่ตกต่ำ เพราะยิ่งทำนากลับเพิ่มหนี้สินมากมาย จึงตัดสินใจหยุดชั่วคราวแล้วลองหันมาทดลองเพาะพันธุ์ปลาและเลี้ยงกบ ดังนั้น จึงเริ่
เคยได้ยินกันไหม? ที่ว่ากินปลาแล้วจะฉลาด มีงานวิจัยจากคณะพยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ตรวจสอบการกินปลาของเด็กวัย 9-11 ปีในประเทศจีนจำนวน 541 คน พบข้อสรุปที่น่าสนใจว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 เข้าไปสะสมในสมองช่วยให้เด็กมีสภาพการนอนหลับที่สมบูรณ์ขึ้น ผลที่ตามมาคือพฤติกรรมด้านการเรียนรู้ดีขึ้น ก้าวร้าวน้อยลง ใช้เวลากับการเรียนได้มากขึ้น ความฉลาดจึงเป็นผลพวงที่ตามมาจากสภาพการนอนหลับที่ดีขึ้นนั่นเอง ปลาเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 ที่ดีที่สุด และที่สำคัญปลาของไทยเราก็มีโอเมก้า 3 สูง ไม่แพ้ปลาแซลมอน แถมยังมีราคาที่ถูกและหากินได้ง่าย ในโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ช่วยในเรื่องการทำงานของระบบประสาท ช่วยเพิ่มความจำ ทำให้ฉลาด และไอคิวดี ถ้าอยากได้โอเมก้า 3 ต้องเลือกกินปลาชนิดไหนดี ลองดูปริมาณโอเมก้า 3 ในปลาของไทยแต่ละชนิด มีประโยชน์มากมายขนาดนี้ 🐟ปลาทู ปลาทูมีไขมันทั้งหมด 3.8 กรัม มีโอเมก้า 6 อยู่ที่ 0.06 กรัม มีโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.22 กรัม แต่ถ้าปลาทูนึ่งมีไขมันทั้งหมด 3.0 กรัม มีโอเมก้า 6 อยู่ที่ 0.03 กรัม มีโอเมก้า 3 อยู่ที่ 0.18 กรัม ข้อมูลโภชนาการ ต่อเนื้อปลา 100 ก
“ปลาย่ำสวาท” หรือ “ปลากะรังจุดฟ้า หรือปลากุดสลาด” เป็นปลาที่หายาก มีรสชาติอร่อยสุดยอด เป็นที่ต้องการของตลาดภายในและต่างประเทศ ปัจจุบัน ที่เกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก จังหวัดตราด บริเวณชายฝั่งทะเลเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้าในกระชังธรรมชาติ 5-6 แห่ง โดยเกาะช้างจะเป็นแหล่งที่เลี้ยงมากที่สุด การเลี้ยงใช้ลูกพันธุ์ธรรมชาติ เพราะการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ลูกปลาเชิงพาณิชย์ทำได้ยาก จึงทำให้ราคาปลาย่ำสวาท สูงถึงกิโลกรัมละ 900-1,200 บาท ด้วยรสชาติความอร่อยของเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาดิบ ซาซิมิที่ขึ้นชื่อ ทุกวันนี้มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงหน้ากระชัง และรวมทั้งบรรดาร้านอาหารบนเกาะช้างนำไปทำเมนูรับนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้ชาวประมงพื้นบ้านได้ดีทีเดียว บ้านด่านใหม่ คลองสน เกาะช้าง เลี้ยงมานาน ร่วม 30 ปี ผู้ใหญ่เนรมิตร นพวรรณ หรือ ผู้ใหญ่มิตร อยู่บ้านเลขที่ 47 หมู่ที่ 2 บ้านด่านใหม่ ตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด วัย 50 ปี เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 และผู้เลี้ยงปลากะรังจุดฟ้า หรือชาวบ้านมักเรียกกันสั้นๆ ว่า ปลากะรัง เล่าว่า เดิมครอบครัวทำประมงพื้นบ้าน สวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนทุเรียน การเลี้ยงปลากะรั
“ปลาสลิด” เป็นหนึ่งในบรรดาอาหารประเภทปลาที่ได้รับความนิยมมายาวนาน เพราะเมื่อเปิดดูตำราอาหารแล้วพบว่าปลาสลิดสามารถนำมาเป็นอาหารทั้งชนิดทอด ผัด แกง น้ำพริก หรือดัดแปลงเป็นอาหารสากลรวมแล้วได้เป็นร้อยเมนู อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ถือแหล่งผลิตปลาสลิดที่รู้จักกันช้านาน ต่อมาได้ขยายไปอีกหลายจังหวัดในเขตภาคกลาง ทำให้ผู้บริโภคหาซื้อปลาสลิดได้หลายแห่ง ถึงแม้ทุกวันนี้จะหาซื้อปลาสลิดได้ไม่ยาก แต่มีความสะดวกสบายอีกระดับเมื่อทันทีที่คุณนึกต้องการรับประทานปลาสลิดสามารถซื้อได้จากร้านสะดวกซื้อชื่อดังใกล้บ้าน “ติ๋ม ปลาสลิด” (TIM PLA SALID) เป็นธุรกิจแปรรูปปลาสลิดและปลาแห้งอื่นจากโรงงานมาตรฐาน ถูกหลักอนามัย มีความปลอดภัย รสชาติหอม อร่อย เค็มน้อย ได้รับรองจาก อย. และฮาลาล โดยส่งขาย เซเว่นอีเลฟเว่น และห้างโมเดิร์นเทรด คุณเบญจางค์ จงจิตต์ หรือ คุณก๊อป เจ้าของแบรนด์ ติ๋ม ปลาสลิด (TIM PLA SALID) มาจับอาชีพนี้ต่อจากคุณแม่ พร้อมกับพัฒนาอาชีพที่ละก้าวอย่างเป็นขั้นตอน จากแผงค้าในตลาดสด สู่ร้านขายปลาสลิด มีลูกค้าอุดหนุนมากมาย เมื่อได้รับความนิยมมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าสินค้ามีคุณภาพ มีรสชาติถูกปากจนได้รับค
สงสัยกันไหมว่าปลากะพง มีตั้งหลายชนิด ทั้งปลากะพงขาว ปลากะพงดำ ปลากะพงแดง และปลากะพงลาย แต่ทำไมปลากะพงขาวจึงนิยมกินกันมากที่สุด ก็เพราะว่า ปลากะพงขาว (Lates calcarifer) เป็นปลาชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งของประเทศไทย เนื่องจากสามารถเพาะพันธุ์ได้คราวละมากๆ และมีผู้เพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายลูกพันธุ์ที่หลากหลาย โดยปลากะพงขาวเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ง่าย โตเร็ว มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูง กินอาหารได้หลากหลาย ประกอบกับการที่ปลากะพงเป็นปลาที่มีรสชาติดี มีเนื้อสัมผัสที่ละเอียดนุ่มละมุน จึงเหมาะแก่การนำไปแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลาย อาทิ ต้มยำ ข้าวต้มปลา ปลาเผา ทอดน้ำปลา ฯลฯ อีกหลายเมนูตามแต่วัตถุดิบในแต่ละพื้นที่จะเอื้ออำนวย ทำให้ปลากะพงขาวมีความต้องการทางตลาดสูง โดยปลากะพงขาวที่มีจําหน่ายในท้องตลาดเป็นปลาที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเป็นหลัก โดยนิยมเลี้ยงในกระชังตามแหล่งน้ำกร่อยบริเวณปากแม่น้ำและชายทะเล ซึ่งมีแหล่งเพาะเลี้ยงหลักอยู่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่ปากแม่น้ำ และชายทะเลทางภาคใต้ แต่ทั้งนี้บางพื้นที่มีการเลี้ยงในบ่อดินบริเวณพื้นที่ที่อยู่ใ
ปลาคาร์พ เป็นปลาสวยงามขนาดใหญ่ มักว่ายรวมกันเป็นกลุ่ม เสน่ห์ของปลาชนิดนี้มาจากสีและลายบนลำตัว สร้างความเพลิดเพลินขณะว่ายไป-มา จึงเหมาะกับการเลี้ยงในบ่อ ที่รายล้อมไปด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดนำมาตกแต่งเป็นสวน ยิ่งสร้างบรรยากาศความร่มรื่นชวนพักผ่อน และเพื่อให้เป็นไปตามความตั้งใจ ผู้เลี้ยงปลาคาร์พควรใส่ใจกับการคัดเลือกสายพันธุ์ ตลอดจนแหล่งซื้อที่นำมาเลี้ยงในบ่อด้วย “บางกอกฟาร์ม” เป็นฟาร์มปลาคาร์พนำเข้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 102 ถนนเลียบคลองสอง แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 15 ไร่ คัดสรรปลาคาร์พอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้คุณได้สายพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ แข็งแรง สีสันสดสวย คมชัด แล้วยังจำหน่ายเครื่องมือ อุปกรณ์เลี้ยงปลาคาร์พทุกชนิด พร้อมมีบริการครบวงจรมากมาย ตลอดไปถึงยังจำหน่ายหนังสือคู่มือการเลี้ยงปลาคาร์พ ยารักษาโรค เรียกได้ว่ามีของครบ จบที่เดียว คุณธนะ คิ้วคชา เจ้าของ “บางกอกฟาร์ม” กล่าวถึงความเป็นมาของฟาร์มแห่งนี้ว่า ก่อตั้งโดยคุณพ่อ ซึ่งเป็นคนที่ชื่นชอบงานอดิเรกด้วยการเลี้ยงบอนไซกับเลี้ยงปลาสวยงาม โดยเฉพาะปลาคาร์พที่ซื้อมาจากญี่ปุ่น กระทั่งมีจำนวนมากขึ้นจึงเปิดเป็นฟาร์มจำหน่ายในปี 2525
ปลาสวาย เป็นปลาน้ำจืด ขนาดใหญ่ ที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย ผิวหนังเรียบไม่มีเกล็ด ลำตัวเรียวยาว ลักษณะลำตัวด้านข้างค่อนข้างอวบกลม ปากกว้างทู่มีหนวดสั้นๆ ส่วนปลายหางยาวและเว้าลึกเป็นแฉก ส่วนหลังของตัวปลาสวายมีสีเข้มกว่าด้านท้อง ลักษณะเพศ ตัวผู้จะมีท้องเรียบไม่นูน พื้นท้องแข็งกว่าเพศเมีย ส่วนตัวเมีย มีลักษณะเพศที่สังเกตได้ชัดกว่าเพศผู้ คือมีส่วนท้องอูมเป่งกลมนูนออกมาเห็นได้ชัด จะวางไข่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม นอกจากจะเป็นปลาที่อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว ยังนิยมเลี้ยงในบ่อดินและในกระชังอีกด้วย เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินง่าย เจริญเติบโตได้เร็ว เนื้อของปลาสวายมีรสชาติอร่อย ยังถือว่าเป็นที่ต้องการของตลาด จังหวัดที่นิยมเลี้ยงปลาสวาย ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดนครสวรรค์ มีทั้งเลี้ยงในกระชังขนาดใหญ่เรียงอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ และบ่อดินขนาดใหญ่ จึงถือว่าเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ในเขตพื้นที่ที่ไม่ห่างจากกรุงเทพมหานครมากนัก ยังมีพื้นที่เลี้ยงปลาสวายในบ่อดินสร้างรายได้อย่างเป็นล่ำเป็นสันให้กับเกษตรกรรายนี้ได้เป็นอย่างดี สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ หมู่ที่ 10
ลุงสาย หลวงทิพย์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในบ่อดินแบบผสมผสาน อยู่บ้านเลขที่ 4/2 หมู่ที่ 1 ตำบลดอนใหญ่ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ แต่ด้วยปัญหาแรงงาน และราคาข้าวที่ถูก ลุงสายจึงต้องปรับเปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่จากชาวนา มาเป็นเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาบ่อดิน หลังจากเลิกทำนา ลุงสายตัดสินใจขายที่ดินส่วนหนึ่งไป ส่วนที่เหลือใช้ปลูกที่อยู่อาศัยและขุดบ่อใช้เลี้ยงปลาแบบผสมผสานบริเวณรอบๆ บ้าน ควบคู่กับการให้เช่าพื้นที่ทำบ่อเลี้ยงกุ้ง “แรงจูงใจที่ทำให้ผมต้องเปลี่ยนอาชีพ ก็เนื่องจากต้นทุนการผลิตข้าวที่แพง อีกทั้งยังต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ทำคนเดียวก็ไม่ไหว จึงต้องเลิกและหันมาเพาะเลี้ยงปลาในบ่อดินแทน และด้วยสภาพพื้นที่บริเวณรอบๆ ชุมชนถูกเปลี่ยนเป็นสวนผลไม้เกือบทั้งหมด จะทำนาอยู่เจ้าเดียวก็เจอกับปัญหาของศัตรูธรรมชาติ โดยเฉพาะหนูที่เข้ามาทำลายกัดกินต้นข้าว สร้างความเสียหายทุกปี ทนทำอยู่ก็มีแต่จะขาดทุน จะเลี้ยงกุ้งก็ไม่รวย ที่สำคัญต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ถ้ามาเลี้ยงปลาซึ่งไม่ต้องลงทุนเยอะ เพียงครั้งเดียวก็สามารถเลี้ยงได้ตลอด เป็นเหตุผลที่ทำให้ผมตัดสินใจมาเลี้ยงปลาแบบ
พูดถึงปลาที่เลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจ แน่นอนทุกคนจะต้องนึกถึง ปลาดุก ปลาช่อน และปลาหมอ วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านจะพาไปรู้ลึกถึงวิถีการเลี้ยงปลา และการลดต้นทุนในการเลี้ยงปลา ถอดประสบการณ์จากเกษตรกรที่พลิกผันหันมาเลี้ยงปลาจนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง คุณอุดม ขนุนก้อน เกษตรกรเลี้ยงปลาคนเก่ง จังหวัดปทุมธานี เล่าว่า เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2554 เป็นบทเรียนครั้งสำคัญ เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ส่งผลกระทบและส้รางความเสียหายต่อพื้นที่ทำมาหากิน ทำให้ต้องเร่งฟื้นฟูในการทำการเกษตร จากเดิมที่มีการทำนาเพียงอย่างเดียว หันมาปรับเปลี่ยนทำการเกษตรในเชิงทฤษฎีใหม่ ผสมผสาน คือมีการปลูกข้าว ปลูกผัก หรือแม้กระทั่งการเลี้ยงปลาเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่ในพื้นที่ก็มีการเลี้ยงปลาเชิงเศรษฐกิจมากกว่า เช่น ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาดุก ถือว่าเป็นปลาที่ซื้อขายตามท้องตลาดได้ง่าย อีกทั้งยังมีระยะเวลาในการเลี้ยงที่ไม่นาน จึงไม่แปลกที่เกษตรกรจะหันมาสร้างอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงปลา คุณอุดม บอกว่า ในการเตรียมพื้นที่เลี้ยงปลานั้นอาจจะมีพื้นที่ที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ของแต่ละคน สำหรับพื้นที่ในการเลี้ยงปลาส่วนใหญ่