ปลูกผักอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์นอกจากจะเป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนรักสุขภาพแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังนับเป็นนวัตกรรมการเกษตรอีกรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากมีลักษณะเด่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการผลิตใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความยั่งยืน และในบางแง่มุมสามารถเกี่ยวโยงกับเทคโนโลยีได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การฟื้นฟูธรรมชาติ ใช้กระบวนการที่ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี หรือการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อรักษาคุณภาพดิน การปรับกระบวนการผลิต ใช้เทคนิคการจัดการศัตรูพืชโดยไม่พึ่งพาสารเคมี เช่น การใช้ชีวภัณฑ์หรือศัตรูธรรมชาติ การมุ่งเน้นความยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างระบบเกษตรที่ยั่งยืน แม้เกษตรอินทรีย์จะไม่ได้พึ่งพาเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเหมือนเกษตรสมัยใหม่ แต่สามารถรวมกับเทคโนโลยีบางอย่างได้ เช่น การตรวจสอบคุณภาพดิน ใช้อุปกรณ์วัดค่าความเป็นกรด-ด่างในดินเพื่อปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับพืช การจัดการข้อมูล ใช้แอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มดิจิทัลในการวางแผนการผลิตและจัดการผลผลิต และ การตลาดออนไลน์ เชื่อมโยงเกษตรอินทรีย์กับผู้บริโภคผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล คุณแอม พรมศักดิ์ หรือ
คุณสุวรรณ วัฒนาวงศ์ (คุณป็อป) อายุ 44 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 339/52 หมู่ที่ 3 บางกรวย-ไทรน้อย เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบัน คุณสุวรรณเป็นเจ้าของฟาร์มไส้เดือนผักกินดี ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรเพาะไส้เดือน ปุ๋ยมูลไส้เดือน และปลูกผักปลอดสารพิษ คุณสุวรรณ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นความเป็นมาของฟาร์มไส้เดือนผักกินดี เริ่มมาจากตนเองทำงานประจำและทำงานเสริมเป็นช่างถ่ายภาพ หลังจากเวลาว่างจึงอยากหารายได้เสริมเพิ่มที่สามารถทำที่บ้านได้ จึงเริ่มมองดูพื้นที่บริเวณบ้าน เนื่องจากเป็นพื้นที่อยู่อาศัยพื้นที่บริเวณบ้านจึงอยู่ใต้หลังคา จึงได้หาข้อมูลพืชที่สามารถปลูกในร่มได้ และใช้ระยะเวลาในการปลูกไม่นาน จึงตัดสินใจว่าจะปลูกต้นทานตะวันอ่อน เริ่มจากปลูกทานเอง เมื่อเหลือก็นำไปจำหน่ายให้กับคนในพื้นที่ จึงตั้งชื่อฟาร์มในตอนแรกว่า ผักกินดี ถือว่าเป็นรายได้เสริมอีกทางที่เข้ามาและยังเป็นกิจกรรมยามว่างให้กับลูกได้ดีอีกด้วย แต่แน่นอนว่าทุกสิ่งที่ลงมือทำกว่าจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ต้องมีปัญหาเข้ามาให้ได้แก้ไข คุณสุวรรณ กล่าวว่า เมื่อเข้าช่วงฤดูฝน ต้นอ่อนที่ปลูก พบเจอกับปัญหาเชื้อราหนักมาก พยายามหาวิธีแก้ปัญห
🌱 เกษตรอินทรีย์ ทางเลือกเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรอินทรีย์ไม่เพียงแต่ช่วยลดสารเคมีตกค้างในอาหาร แต่ยังช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์และลดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความยั่งยืน 🌍✨ . 👩🌾 คุณดาด้า-ณัฐรินี สกุลจงเกษมสุข เจ้าของไร่เกษมสุขผักอินทรีย์ ปลูกผักด้วยใจเพราะอยากให้ครอบครัวและลูกค้าได้กินของดี มีความปลอดภัยและได้คุณภาพ พร้อมกับส่งต่อผลผลิตสดใหม่จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหารตลอดทั้งปี ในราคาคงที่ 150 บาทต่อกิโลกรัม สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงและเป็นอาชีพที่ยั่งยืน! 🥗💚
“พี่ตั้งสโลแกนไว้เลยนะว่าพี่อยากให้ที่นี่เป็น “หลุมหลบภัย” เพราะพี่เข้ามาที่นี่จากพื้นที่แห้งแล้ง เราจะทำให้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหาร เป็นที่ที่สงบร่มเย็น เอาไว้สำหรับครอบครัว และคนที่รักกันเข้ามาหา เขาก็จะได้พักผ่อนหย่อนใจ มีผักที่ดีๆ กลับไป เพราะเชื่อว่าในอนาคตทุกอย่างจะขาดแคลน ไม่ใช่เฉพาะแค่อาหาร แต่ที่เราจะขาดแคลนกันมากคือความสุขสงบ เราจะเริ่มหากันได้ยากขึ้น พี่เลยอยากทำให้ที่นี่มีความสุขสงบ ในขณะที่เราก็อิ่มท้อง และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหาร เราจะต้องมีทั้งผักระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว หากเกิดภาวะวิกฤตต่างๆ เราก็สามารถอยู่ตรงนี้ได้โดยที่ไม่ต้องดิ้นรนหรือเดือดร้อนอะไร” พี่แอน เจ้าของฟาร์มผักเกษตรสุข ณ. ทุ่งเขาเขียว อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เกษตรกรหัวใจสีเขียวผู้หลงใหลในธรรมชาติ และมีความปรารถนาอันแรงกล้าในการปลูกผักอินทรย์เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ และฟื้นฟูธรรมชาติให้อยู่คู่กับโลกไปได้อีกยาวนาน #เกษตรอินทรีย์ #ปลูกผักอินทรีย์ #เทคนิคปรุงดินปลูกผัก #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban
เกษตรอินทรีย์ หมายถึง ระบบการจัดการ การผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ รวมทั้งไม่ใช้พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูป ด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน ดังเช่น คุณอนิวรรตน์ พาน้อย เกษตรกรที่ผ่านประสบการณ์จากการไปค้าแรงงานต่างประเทศ อาชีพผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยหันหลังให้กับอาชีพดังกล่าว กลับมาพลิกพื้นดินที่เป็นมรดกของพ่อแม่ ให้เป็นแผ่นดินที่ปลอดภัยจากสารเคมี มาเป็นเกษตรอินทรีย์หนึ่งเดียวของจังหวัดหนองบัวลำภู คุณอนิวรรตน์ พาน้อย เดิมทีมีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง รับสร้างบ้าน เกิดปัญหาสภาวะความผันผวนทางด้านการเงิน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรงงาน ทำให้อาชีพผู้รับเหมาก่อสร้างมีปัญหามากมาย แต่ไม่คิดย่อท้อต่อชะตาชีวิต สู้ไปเรื่อยๆ เมื่อ ปี พ.ศ. 2556 จึงได้วางแผนมาทำการเกษตรในพื้นที่ของตนเองต่อจากพ่อและแม่ ในพื้นที่ จำนวน 25 ไร่
คงไม่มีกรอบหรือข้อจำกัดใดๆ สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการมาทำเกษตรอินทรีย์ว่าจะต้องมี ความรู้ ร่ำเรียนมาเฉพาะสายเกษตร เดี๋ยวนี้หากสนใจสามารถหาข้อมูล ทั้งเนื้อหา ภาพ เสียง จากสื่อออนไลน์จำนวนมาก ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มีความรู้ระดับไหน ก็สามารถเข้าถึงวงการเกษตรได้ไม่ยาก ขอเพียงใส่ใจให้เต็มที่เท่านั้น อย่างเรื่องราวการทำเกษตรอินทรีย์ของหญิงสาวชาวราชบุรีท่านนี้ ที่ร่ำเรียนจนมีดีกรีปริญญาตรี ด้านบัญชีแล้วเบื่ออยู่กับตัวเลขที่นั่งทำงานในห้องแอร์ แต่กลับมาชอบเข้าสวนตากแดดปลูกผักอินทรีย์ ส่งขายกลุ่มลูกค้ารักสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น พร้อมจับมือกับกลุ่มสมาชิกขยายผลส่งพืชผักผลไม้เข้าโมเดิร์นเทรด คุณผกามาศ เพิ่มแสงสุวรรณ หรือ คุณนก เจ้าของไร่ทรงสุวรรณ อยู่เลขที่ 48/1 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เล่าที่มาของความชอบทำเกษตรว่า แต่เดิมทำงานด้านบัญชีอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยนิสัยที่ชื่นชอบปลูกต้นไม้ จึงใช้เวลาในวันหยุดกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด แล้วทำสวนปลูกพืชไว้เป็นงานอดิเรก เนื่องจากที่บ้านมีพื้นที่ในการเลี้ยงวัวนมอยู่ ภายหลังลงมือปลูกพืชผักหลายชนิดจนประสบความสำเร็จ ทำให้ยิ่งมีความรู้สึกส
คุณสุจิตรา ฉ่ำเพชร หรือ ป้าอร หญิงเหล็กของวงการผักอินทรีย์ จังหวัดลพบุรี เปิดเผยเคล็ดลับในการทำเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตที่ดี ป้าอร บอกว่า “ดินเป็นปัจจัยการปลูกที่สำคัญ เกษตรอินทรีย์เน้นที่การเตรียมดินให้สมบูรณ์ เนื่องจากที่สวนเลี้ยงหมูป่าไว้ ก็จะเอาฉี่ของหมูป่านี่แหละมาใส่ถังไว้ในถัง 20 ลิตร ส่วนมูลหมูป่าตัดใส่ถุงปุ๋ยปิดปากถุง นำมาใส่ในถังนี้ด้วย ใส่ พด.1 ไป 1 ซอง เติมฉี่หมูไปเรื่อยๆ จนเต็มถัง ปิดฝาไว้ในร่มไว้ประมาณ 1 เดือน ก็จะนำมาใช้ได้ อัตราการใช้ 1 กระป๋องปลากระป๋อง ต่อน้ำ 20 ลิตร รวมจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 กระป๋อง และน้ำส้มควันไม้อีก 2-3 กระป๋อง ของทั้ง 3 อย่างรวมกันแล้วนำมาราดบนดิน แล้วใช้จอบพรวนดินให้เข้ากันก็สามารถหว่านเมล็ดผักได้เลย ส่วนมูลหมูในถุงก็เอามาหว่านในแปลงเช่นกัน สำหรับเมล็ดพันธุ์ของผักซองที่ซื้อมาให้ล้างด้วยน้ำเปล่าลงในโถส้วมเพื่อไม่ให้สารที่เคลือบเมล็ดมาปะปนในแหล่งน้ำหรือในดินของเราอีก ส่วนเมล็ดที่มีขนาดเล็ก เช่น ผักขม ผักสลัด ผักชีลาว ไม่ต้องล้าง” น้ำลายปลวก ทุกๆ ครั้งที่มีการเก็บผักก็จะทำเช่นนี้กับแปลงในมุ้ง เมื่อเก็บผักได้ 2 รอบ ก็จะนำน้ำลายปลวกซึ่งป้าอรได้ทำไว้
“ศูนย์การเรียนรู้ผักออร์แกนิค (เสลี่ยงทองออร์แกนิค)” ของโรงเรียนบ้านเสลี่ยงทอง ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงานของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED) ที่มีเป้าหมายยกระดับคุณภาพการจัดการการศึกษาของไทย โดยมี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน “เสลี่ยงทองออร์แกนิค” เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากซีพีเอฟ สร้างโอกาสให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวนนักเรียน 111 คน เปิดการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการปูพื้นฐานน้องๆ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัติ สามารถนำความรู้ไปใช้พัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ ถ่ายทอดการเรียนรู้ได้จากรุ่นต่อรุ่น ปลูกฝังทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีของนักเรียนต่ออาชีพเกษตร ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดี และยังสามารถพัฒนาสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน คุณครูสุพจน์ สิทธิ์ขุนทด คุณครูที่รับผิดชอบ “โครงการศูนย์การเรียนรู้ผักออร์แกนิค (เสลี่ยงทองออร์แกนิค)” เล่าที่มาของการทำโครงการปลูกผักปลอดสารเคม
“คนพิการ” หลายคนเข้าใจว่าเป็นภาระของสังคม ด้วยไม่สามารถประกอบอาชีพต่างๆ ได้เหมือนคนปกติ และถ้าเป็นคนพิการที่สูงอายุ น่าจะทำให้บุคคลเหล่านี้เป็นภาระกับสังคมเพิ่มขึ้น ประกอบกับตัวผู้พิการเองอาจจะเก็บตัวไม่กล้าเข้าสู่สังคม เนื่องจากร่างกายผิดปกติ ทว่า “ชมรมคนพิการอำเภอบ่อไร่” จังหวัดตราด ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนพิการรวมกลุ่มกันหันมาสู้ชีวิต พึ่งพาตัวเอง พยายามฝึกฝน เรียนรู้การประกอบอาชีพ สามารถสร้างรายได้เล็กๆ น้อยๆ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยสนับสนุน ทำให้คนพิการมีคุณค่า ไม่เป็นภาระกับสังคม และบางรายสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้ ก่อตั้งชมรม ดึงคนพิการออกจากบ้านทำงานสร้างรายได้ คุณสมเกียรติ วรโชติสกุลวงษ์ ประธาน “ชมรมคนพิการอำเภอบ่อไร่” จังหวัดตราด อายุ 48 ปี เล่าว่า บ้านเกิดอยู่สุโขทัย แต่แม่มาทำสวนอยู่ที่ ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ เมื่อ 18 ปีที่แล้ว อาชีพเดิมทำงานเป็นช่างซ่อมรถยนต์บริษัทแห่งหนึ่ง แต่ได้รับอุบัติเหตุแขนขวาขาด จึงเปลี่ยนมาเป็นพนักงานของบริษัทประจำสำนักงานที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ปี 2557 จึงกลับมาทำสวนอยู่กับแม่ที่ตำบลบ่อพลอย และได้เ
สุขใจฟาร์ม ฟาร์มปลูกผักอินทรีย์ของ คุณภัทราพล วนะธนนนท์ สมาชิกโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพเกษตรที่ต้องการ ซึ่งเป็นนโยบายของ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง เปิดเผยเรื่องราวของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่กลับมาทำอาชีพเกษตรกรรมถิ่นฐานบ้านเกิด เพื่อสานต่ออาชีพการเกษตรและยังได้ดูแลครอบครัว คุณภัทราพล วนะธนนนท์ สมาชิกโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน แห่งสุขใจฟาร์ม ฟาร์มปลูกผักอินทรีย์ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง กล่าวว่า ผมอยู่ในวงการทำเกี่ยวกับวงการแฟชั่น ทำภาพยนตร์ ได้รู้จักผู้คนมากมาย แต่เมื่อทำไปเต็มที่แล้วยังไม่มีความสุข แม่ก็แก่ชราลงทุกวัน เมื่อมีโครงการพาลูกหลานกลับบ้าน ที่เป็นนโยบายดีๆ ของท่านมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็เลยตัดสินใจเข้าร่วมโครงการและได้มาอยู่กับแม่กับครอบครัว กับสิ่งที่ตัวเองทำ มีความสุขครับ ด้าน นายบรรจง ชัยขุนพล ผอ. กองพัฒนาระบบสนับสนุนการสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่มีโอกาสได้อยู่ในพื้นที่และเป็นผู้บริหารของสหกรณ์จังหวัดลำปาง ได้กล่าวว่า นับเป็นโครงการที่สานฝันให้คนรุ่นใหม่