ปลูกผัก
คุณบรรลือ แสวงผล หรือ ลุงลือ เป็นเจ้าของที่ทำสวนในตำบลบางหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี มีรายได้ที่มั่นคงได้ด้วยการทำเกษตรปลูกผักกาดหอมขายส่งตามท้องตลาดตั้งแต่สมัยยังหนุ่มๆ ปัจจุบัน ได้ทำการเกษตรปลูกพืชผักขายส่งอย่างเต็มตัว ลุงลือ เล่าว่า การเตรียมดินนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก ผลผลิตจะออกมาดีหรือไม่นั้นก็อยู่ที่การเตรียมการที่จะปลูก ซึ่งพืชผลในแต่ละรอบจะปลูกแตกต่างกันไปตามความต้องการของตลาดหรือลูกค้าที่สั่งเข้ามา การพรวนดินนั้นจะทำให้ดินร่วนซุยทำให้รากของพืชที่เราจะปลูกนั้นเดินได้สะดวก และทำให้พืชผักเจริญเติบโตได้เร็วมากยิ่งขึ้น เทคนิคในการปลูกพืชผักแต่ละชนิดขณะที่ยังเป็นเมล็ดก็คือ ก่อนนำเมล็ดลงดินคือ หาปุ๋ยอินทรีย์มาทำการรองพื้นก่อน จากนั้นใส่ปูนขาวเพื่อลดกรดในดิน จากนั้นนำฟางมาคลุมหน้าดินและรดน้ำให้ฟางและดินเกิดความชุ่มชื้น หลังจากที่รดน้ำจนฟางกับดินชุ่มได้ที่แล้วขั้นตอนต่อไปคือ หว่านเมล็ดลงที่ต้องเพาะปลูกลงไป สาเหตุที่ต้องใช้ฟางคลุมหน้าดินก่อนเพราะว่าขณะที่โปรยเมล็ดเพาะปลูกลงไปนั้น เมล็ดเพาะปลูกจะได้ไม่ไหลลงข้างๆ ลุงลือ ยังบอกต่ออีกด้วยว่า ต้นผักกาดหอมเป็นพืชที่ไม่ต
หากเอ่ยชื่อ จินตนา ไพบูลย์ หรือ “ป้านุ้ย” สาวใหญ่วัย 50 ปี แห่งบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ในแวดวงเกษตรกรรมแนวเศรษฐกิจพอเพียงของชุมพรคงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเธอถือเป็นผู้หญิงแถวหน้า ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที ที่เคยฝากผลงานด้านเกษตรกรรมผสมผสาน รวมทั้งการปกป้องสิ่งแวดล้อมให้ชาวชุมพรและบุคคลทั่วไปได้รู้จักมาแล้วมากมาย ป้านุ้ย เป็นชาวชุมพร ที่เกิดในครอบครัวชาวสวนแห่งหมู่บ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร เธอจึงเติบโตมากับพืชผัก ผลไม้ แทบทุกชนิดที่พ่อแม่ปลูกไว้กินและขายเป็นรายได้หลักของครอบครัว ปัจจุบันป้านุ้ยมีพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 30 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นสวนทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มังคุด และกล้วยเล็บมือนาง ซึ่งป้านุ้ยทำมาได้ประมาณ 25 ปี จนในปี 2549 ป้านุ้ย ได้เดินทางไปเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรกรรมธรรมชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเพลิน ภายในชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท 2 วัน 1 คืน จึงได้รับความรู้มากมาย เช่น การทำน้ำส้มควันไม้ การทำเตาเผาถ่านอิวาเตะ การเลี้ยงกบคอนโดฯ การเลี้ยงหมูหลุม การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ฯลฯ โดยวิทยากรคุณภาพท
ที่อยู่อาศัยในเมืองมีขนาดเล็กและแออัด ในสมัย 30-40 ปีก่อนหมู่บ้านจัดสรรจะเป็นบ้านเดี่ยวเสียส่วนใหญ่ พอที่ดินในเมืองใหญ่มีราคาสูงขึ้น ทำให้ขนาดบ้านเล็กลง เป็นบ้านแฝด เป็นทาวน์เฮ้าส์หรือบ้านแถว จนกระทั่งปัจจุบันที่ดินในเมืองกลายเป็นคอนโดเสียหมด พื้นที่ใช้สอยยิ่งมีขนาดเล็กลง ไม่ต้องถามถึงเรื่องพื้นที่ว่างรอบบ้าน หมู่บ้านจัดสรรที่เป็นลักษณะบ้านเดี่ยวจึงมีราคาค่อนข้างแพง หลังหนึ่งเป็นสิบล้านบาท ทำงานเดือนนึงไม่ได้เป็นแสนอย่าคิดหวังจะมีปัญญาอยู่บ้านเดี่ยว คนในเมืองที่พอมีฐานะจึงมักจะมีบ้านสองแห่ง แห่งแรกเป็นคอนโดอยู่ใกล้ที่ทำงาน ไว้อยู่อาศัยวันจันทร์ถึงศุกร์ พอเสาร์อาทิตย์ก็จะไปอยู่บ้านชานเมืองไกลออกมา พื้นที่บ้านเดี่ยวชานเมือง เนื้อที่สัก 100 ตาราวา รวมกับตัวบ้าน ยังพอมีที่เหลือสำหรับปลูกผักไว้กินอย่างเพียงพอ และอาจเหลือสำหรับคนอื่นอีก ตัวอย่างของการปลูกผักข้างบ้าน ผู้เขียนได้นำเสนอไว้หลายเรื่องแล้ว วันนี้เป็นช่วงที่ให้เก็บตัวอยู่กับบ้าน จึงขอนำเสนอการปลูกผักข้างบ้านไว้พอเป็นไอเดีย รศ. กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ อดีตรองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา และหัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสต
วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง เกิดจากการรวมตัวของสมาชิกที่มีความสนใจในการทำพืชผักอินทรีย์ เมื่อปี 2558 ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เดิมทีในอดีตพื้นที่แห่งนี้มีการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรกลุ่มนี้ นับเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ขานรับนโยบายของภาครัฐในการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ปัจจุบัน กลุ่มแห่งนี้เข้าสู่ระบบการทำเกษตรอินทรีย์อย่างมั่นคงกว่า 10 ปี มีสมาชิกที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว สามารถส่งออกพืชผักบางชนิดไปยังตลาดต่างประเทศได้ ทางกลุ่มเป็นเครือข่ายของสามพรานโมเดล มีการประชุมกลุ่มทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สมาชิกได้แบ่งปันความรู้และเมื่อเกิดปัญหาก็จะมาร่วมกันแก้ไข นอกจากนี้ เครือข่ายสามพรานโมเดลได้นำระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมพีจีเอสกับกลุ่มผู้ผลิตในเครือข่าย เป็นการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รูปแบบหนึ่ง รับรองเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกลุ่มโดยองค์กรผู้ผลิตเอง เทคนิคการเตรียมดินก่อนปล
สำนักงานเกษตรอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ปลูกผักตามโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ใช้ชีวิตแบบพอเพียง เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จพระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง บริเวณหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงม่วน อันจะเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรในอำเภอนำไปขยายผลต่อไป สำหรับแฟนๆ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน หากต้องการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านรายปักษ์ ส่งตรงถึงบ้าน รวดเร็วทันใจอ่านได้ในทุกๆ 15 วัน สามารถสมัครสมาชิกได้ที่ คลิกลิ้ง https://shorturl.asia/0zJwQ 📲- Line: @matichonbook หรือ สำนักพิมพ์มติชน เลขที่ 12 ถนนเทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ติดต่อฝ่ายขาย 02-589-0020 ต่อ 3354
ด้วยสถานการณ์ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจหลักอย่างข้าวและยางพารา ส่งผลให้เกษตรกรหลายรายมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำสวนแบบใหม่จากเดิมปลูกพืชเชิงเดี่ยว ก็ปรับเปลี่ยนหันมาปลูกพืชผสมผสานเพื่อสร้างรายได้หมุนเวียน อย่างเช่นเกษตรกรหญิงเก่งรายนี้ ที่ได้ปรับผืนนาให้กลายเป็นสวนผสมผสาน ปลูกพืชผักผลไม้มากกว่า 30 ชนิด เพื่อสร้างระบบนิเวศและความมั่นคงทางอาหาร และนอกจากผลผลิตคุณภาพสร้างรายได้ไม่ขาดมือแล้ว ยังมีผลพลอยได้ที่ธรรมชาติได้สรรค์สร้างขึ้นมาให้โดยที่ไม่ต้องลงทุน คือการที่มีผึ้งมาอาศัยทำรังอยู่ในสวน เข้ามาช่วยผสมเกสรให้ผลผลิตภายในสวนออกดอกติดผลได้มากกว่าปกติ รวมถึงรายได้เพิ่มจากการขายน้ำผึ้งจำนวนไม่น้อย คุณสกาวเดือน จิ้มปุ๋ย หรือ พี่ผึ้ง อยู่ที่หมู่ที่ 4 บ้านห้วยน้อย ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เกษตรหญิงเก่งหัวก้าวหน้าแห่งเมืองนครสวรรค์ ใช้เวลาลองผิดลองถูกเริ่มต้นพัฒนาผืนนามรดกของพ่อกับแม่เปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน ช่วยให้ครอบครัวหลุดพ้นจากปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ ให้กลับมาลืมตาอ้าปากได้อีกครั้ง พี่ผึ้ง เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรว่า ตนเองเป็นลูกหลานชาวน
หนึ่งในยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี ของประเทศไทย (พ.ศ. 2560-2579) ได้ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 12 ซึ่งว่าด้วยการผลิตและบริโภคด้วยความรับผิดชอบ (Responsible Consumption and Production) ขณะที่ในวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบันยังเต็มไปด้วยปัญหาทางมลพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคผัก ผลไม้ และอาหารปลอดภัย ซึ่งทางออกของปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน คือ การทำเกษตรปลูกผักผลไม้บริโภคเองในครัวเรือน แม้แต่ชุมชนในเขตต่างจังหวัด ก็ยังประสบปัญหาสุขภาวะ ที่เป็นผลพวงจากการขาดแหล่งบริโภคอาหารปลอดภัย โดยพบว่ายังมีเด็กๆ อีกเป็นจำนวนมากที่รับประทานผักได้ไม่ถึง 400 กรัม ต่อวัน ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) แม้ที่ผ่านมาหลายโรงเรียนจะเข้าโครงการอาหารกลางวัน เพื่อให้เด็กๆ ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน แต่ก็ยังพบว่าเด็กๆ ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเฉพาะแต่ในมื้อกลางวันที่ทางโรงเรียนจัดให้ และผัก ผลไม้ส่วนใหญ่ในชุมชนก็ยังเต็มไปด้วยการปนเปื้อนของสารพิษจากยาฆ่าแมลง จึงเป็นที่มาของโครงก
ทุ่งกุลาร้องไห้ มีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล 2.1 ล้านไร่ ใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ มหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ทุ่งกุลราร้องไห้อยู่ในพื้นที่ อำเภอปทุมรัตต์ เกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ และอำเภอโพนทราย รวมพื้นที่ 9.7 แสนไร่ คุณอุทัย และ คุณสมคิด สาวแก้ว สามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 118 ม.7 บ้านทุ่งทรายทอง ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45130 ประสบความสำเร็จในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ทีมงานจากสำนักงานเกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ เดินทางผ่านทุ่งนาที่เวิ้งว้าง กว้างใหญ่ไพศาล น้ำมันรถยนต์เต็มถัง เครื่องยนต์ดี ยางดี หมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันมาก เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มี คุณหลวงเกตุ บุญอรัญ เป็น ผญบ. เจ้าของบ้านให้การต้อนรับดีมากๆ พร้อมบอกว่าตนเองทำนาปีละครั้ง นาข้าว 100 ไร่ เป็นพื้นที่ ส.ป.ก. 4-01 นาอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ฤดูแล้งดินเค็มส่าเกลือระเหิดจากใต้พื้นพสุธา ต้นไม้ที่ขึ้นได้ดีคือ ต้นยูคาลิปตัส ตนเองเป็นสายเลือดของ “ทุ่งกุลาร้องไห้” น้อมนำโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่พื้นที่นาข้าวหลังบ้านพัก 3 ไร่ โดยการส่งเสริมของ คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ กรมส่งเสริมการเกษต
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการตู้เย็นข้างบ้านต้านภัย COVID-19” ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่ารัฐบาลรวมทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรและประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ทั้งภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ภาคธุรกิจ รวมถึงภาคการเกษตรของประเทศ ซึ่งไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ เกิดภาวะการว่างงาน และทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้น จึงมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรที่มีบทบาทภารกิจในการช่วยเหลือดูแลเกษตรกร จัดทำ “โครงการตู้เย็นข้างบ้านต้านภัย COVID-19” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร กับ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด เป็นการนำร่องเพื่อสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวที่มีลักษณะเติบโตเร็ว อายุสั้นถึงอายุปานกลาง ให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจทำการเกษตรในการปลูกพืชผักสวนครัว และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยเปิดลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ของกรม
กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือกับเมล็ดพันธุ์ตราศรแดงเปิดตัวโครงการ “ ตู้เย็นข้างบ้าน “ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวให้แก่เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบ COVID-19 เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2563 บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อส่งมอบเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง และ องค์ความรู้ด้านการปลูกพืชผักสวนครัว และร่วมกันพัฒนาหลักสูตรเรียนรู้การปลูกพืชผักผ่านเครือข่าย Yong Smart Farmer และ โรงเรียนยุวเกษตรกร ภายใต้โครงการ “ตู้เย็นข้างบ้าน” เชิญชวนคนไทย ปลูกผัก เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ระหว่างเก็บตัวจากการระบาดของโรค COVID-19 โดยมีผู้บริหารบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด และกรมส่งเสริมการเกษตร ให้เกียรติร่วมในพิธีลงนาม ณ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด (สำนักงานใหญ่ ) อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี นาย เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจำนวนมากไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ เกิดภาวะการว่างงานและทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว กรมส่งเสริมก