ปุ๋ยซอยล์เมต
คุณบรรยงค์ คำเรืองศรี เถ้าแก่ไร่อ้อยที่ไม่เหมือนใคร มีวิถีการทำไร่อ้อยยุคใหม่ ที่ใช้ปุ๋ยซอยล์เมตกับทุกนวัตกรรม คอนเฟริ์มว่าได้ผลผลิตจริง ต้นอ้อยสูงกว่า 4 เมตร น้ำหนักดี ความหวานดี แถมเป็นอ้อยรักษ์โลกจนได้รับรางวัลต้นแบบชาวไร่อ้อยดีเด่น 3 ปีซ้อน ฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อพัฒนาอาชีพ ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีแทนแรงงาน คุณบรรยงค์ คำเรืองศรี มีประสบการณ์การทำไร่อ้อยมาแล้ว 30 ปี โดย 10 ปีแรก ปลูกอ้อยตามอย่างที่พ่อแม่ทำ ซึ่งค่อนข้างลำบาก ปีที่ 15 ถึงปีที่ 20 มิตรผลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ส่งเสริมวิถีการทำไร่อ้อยสมัยใหม่ ภายใต้แนวคิด “ มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม” โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีและการบริหารจัดการเข้ามาใช้เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพชีวิต ชาวไร่อ้อยอย่างยั่งยืน คุณบรรยงค์มีโอกาสไปศึกษาดูงานเทคโนโลยีการปลูกอ้อยของประเทศออสเตรเลีย หลังกลับมาไทย ได้ขอผู้บริหารโรงงานอนุมัติจัดซื้อรถเก็บเกี่ยวอ้อย เพื่อลดต้นทุนค่าแรงงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน จากเดิมที่เคยได้ 15 ตันต่อไร่ ก็ได้ผลผลิตเพิ่มมากกว่า 20 ตันต่อไร่ ปัจจุบันแปลงปลูกอ้อย 1,500 ไร่ของคุณบรรยงค์ เป็นอ้อยรักษ์โลก เก็บเกี่ยวสด ไม่ได้
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกง่าย ทนแล้ง ขึ้นได้ดีกับดินเกือบทุกชนิด ที่สำคัญมีแหล่งรับซื้อที่แน่นอน แต่อ้อยเป็นพืชที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เพียงปีละครั้ง ดังนั้น เพื่อให้การปลูกอ้อยในแต่ละรอบการผลิตเกิดประโยชน์สูงสุด เกษตรกรจึงต้องมีการวางแผนและเตรียมการปลูกมากมาย เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การวางระบบน้ำ การบำรุงใส่ปุ๋ย เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี อ้อยลำใหญ่ ใบเขียว ความหวานสูง น้ำหนักดี สร้างผลกำไรงาม คุณอดุลย์ นาเฟีย เกษตรกรมืออาชีพ มีประสบการณ์ปลูกอ้อยมานานกว่า 20 ปี ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น3 จำนวน 280 ไร่ ในพื้นที่อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ให้ความสำคัญกับระบบน้ำ และการบำรุงใส่ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ไว้วางใจใช้ปุ๋ยซอยล์เมตในไร่อ้อยมานานกว่า 10 ปี เพราะใช้แล้วเห็นผลจริง ไม่ต้องใส่บ่อย ใส่ 2 ครั้งเอาอยู่ ประหยัดเวลา ลดต้นทุน ผลผลิตสูง 25 ตันต่อไร่ “ใส่ปุ๋ยที่ใช่ ให้น้ำที่ชอบ” แค่นี้อ้อยก็ถูกใจ ผลกำไรก็งอกงาม แม้ว่าอ้อยจะเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนแล้ง แต่หากขาดการดูแลเอาใจใส่ก็ไม่สามารถให้ผลผลิตที่ดีได้ โดยเคล็ดลับการปลูกอ้อยของคุณอดุลย์อยู่ที่การดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ รดน้ำใ
มันสำปะหลังเป็นพืชหัวที่ปลูกได้ง่ายและไม่ซับซ้อน แต่การเพิ่มน้ำหนักและปริมาณแป้งของมันสำปะหลังให้ได้ตามมาตรฐานและความต้องการของตลาดยังคงเป็นความท้าทายสำหรับเกษตรกรผู้ปลูก ซึ่งจะมาพร้อมกับคำถามที่ว่าถ้าอยากปลูกมันสำปะหลังให้หัวใหญ่ น้ำหนักดี เปอร์เซ็นต์แป้งสูงนั้นต้องทำอย่างไร? วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านจะพาทุกท่านไปล้วงเคล็ดลับของ คุณพรพิมล ใต้อุดม เกษตรกรจากจังหวัดนครราชสีมาที่คลุกคลีกับมันสำปะหลังมานานกว่า 20 ปี บนพื้นที่ 142 ไร่ โดยแบ่งปลูกมันสำปะหลัง 74 ไร่ และที่เหลือปลูกอ้อย คุณพรพิมลประสบความสำเร็จในการปลูกมันสำปะหลังด้วยเทคนิค ดินดี น้ำดี ปุ๋ยดี และการจัดการที่เหมาะสม รวมไปถึงดูแลกำจัดวัชพืชให้ดี ไม่ปล่อยให้รกเกินไปก็จะช่วยให้มันสำปะหลังที่มีคุณภาพ และได้จำนวนผลผลิตต่อไร่ในปริมาณที่สูงตามไปด้วย นอกจากนี้ คุณพรพิมลยังมีเคล็ดลับในการใส่ปุ๋ยที่ใส่เพียงแค่ครั้งเดียว รอเก็บเกี่ยวได้เลย ช่วยลดต้นทุนการปลูกได้มากถึงไร่ละ 1,000 บาท เรียกได้ว่า ถุงเดียวคุ้ม ตามไปดูเคล็ดลับการปลูกมันสำปะหลังของ “คุณพรพิมล ใต้อุดม” ว่ามีวิธีการปลูกอย่างไร ให้ได้มันสำปะหลังหัวใหญ่ น้ำหนักดี เปอร์เซ็นต์แป้งสู
อ้อยเป็นพืชไร่ที่มีอายุการดูแลจนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นั้น ต้องใช้เวลาดูแลประมาณเกือบ 1 ปีเต็ม ซึ่งการปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพและน้ำหนักต่อไร่สูง พร้อมทั้งมีค่า C.C.S. อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การเตรียมดินและการใส่ปุ๋ยบำรุงแต่ละช่วงอายุของการเจริญเติบโต จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ผลผลิตดีสามารถสร้างผลกำไรต่อไร่ได้สูงขึ้น คุณวิชาญ เสวกวิหารี เกษตรกรชาวไร่อ้อย จังหวัดสิงห์บุรี ถือเป็นเกษตรกรผู้คร่ำหวอดในการทำอ้อยมาหลาย 10 ปี จากประสบการณ์และการได้ทดลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ทำให้ปัจจุบันการทำไร่อ้อยได้ผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 18 ตันต่อไร่ ปรับเปลี่ยนจากการทำพืชไร่ชนิดอื่น สู่การเป็นเกษตรกรชาวไร่อ้อยเต็มตัว คุณวิชาญ เล่าว่า สาเหตุที่เลือกมาปลูกอ้อยเป็นอาชีพทำเงินจนถึงปัจจุบัน มองว่าพืชชนิดนี้สามารถสร้างรายได้ที่ดี ซึ่งการปลูกอ้อยก่อนที่จะตัดผลผลิตเข้าโรงงานนั้น เกษตรกรสามารถทราบราคาที่แน่นอนถือเป็นพืชที่รู้ในเรื่องของราคาในอนาคตข้างหน้าได้ และยิ่งมีค่าความหวานที่เพิ่มขึ้นสามารถบวกเป็นจำนวนเงินที่มากขึ้นตามไปด้วย “เริ่มแรกผมทำไร่อ้อยอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ พอประสบผล
ยุคปุ๋ยแพง หากใช้ปุ๋ยผิดวิธี ชีวิตเปลี่ยน เสี่ยงขาดทุน และยากจนลง “ คุณยุพารัตน์ ครองสุขศิริชัย ” หรือ “ คุณดวง ” นักธุรกิจสาวคนเก่ง ผู้เปลี่ยนชีวิตเกษตรกรด้วยเคล็ดลับในการใส่ปุ๋ยอย่างถูกวิธี สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เก็บเกี่ยวได้มากขึ้น และมีผลกำไรสูงขึ้น คุณยุพารัตน์ ดำเนินกิจการด้านการเกษตรแบบครบวงจร ช่วยดูแลเกษตรกรในการทำนาตั้งแต่ต้นจนจบ หลังจากลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับเกษตรกร พบว่า ชาวนาร้อยละ 80 ทำนากันแบบผิดวิธี ใส่ปุ๋ยเยอะเกินไป มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ได้ผลผลิตน้อย จึงชักชวนให้เกษตรกรเปิดใจเรียนรู้การใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี ถูกสูตร ถูกอัตราและถูกเวลา กับระยะการเติบโตของข้าว ปรากฎว่า ได้ผลผลิตมากขึ้น ประหยัดต้นทุน มีผลกำไรมากขึ้น คุ้มค่ากับการลงทุน วิธีการลดต้นทุน และใส่ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพ ในท้องตลาด มีปุ๋ยเคมีอยู่มากมายหลายสูตร ปุ๋ยนาข้าวที่นิยมใช้ทั่วไป ได้แก่ ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0, สูตร16-20-0,สูตร 30-0-0, สูตร 15-15-15 และสูตร 21-0-0 คุณยุพารัตน์แนะนำให้เกษตรกรหว่านปุ๋ย N P K ในแปลงนาข้าวตั้งแต่ระยะเล็กๆ เพื่อบำรุงราก ต้น ใบ ไนโตรเจน ( N ) และโพแทสเซียม
การปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตที่ดี อ้อยลำใหญ่อวบอ้วน ความหวานสูง น้ำหนักดี โดยทั่วไปเกษตรกรจะใส่ปุ๋ยประมาณ 2-3 ครั้งต่อฤดูปลูก โดยใส่ปุ๋ยรองพื้นพร้อมอ้อยปลูกช่วยให้รากแข็งแรง หรือใส่หลังจากเก็บเกี่ยวอ้อยประมาณ 1-2 เดือน สำหรับอ้อยตอ เพื่อช่วยให้แตกกอและหน่อเติบโต อ้อยอายุ 4-5 เดือน เป็นช่วงที่กำหนดขนาดและน้ำหนักของลำอ้อยเป็นช่วงที่อ้อยเจริญเติบโตเร็วที่สุด เป็นระยะสร้างน้ำตาล/แต่งหน้า เน้นธาตุไนโตรเจนสูง ส่วนระยะเพิ่มผลผลิต ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 เพื่อช่วยให้อ้อยลำใหญ่ และน้ำหนักที่สมบูรณ์ เมื่อโลกเปลี่ยนการทำไร่อ้อยก็เปลี่ยนตาม “คุณดนัย ข่ายคำ” อดีตวิศวกรหนุ่มวัย 35 ปี ใช้นวัตกรรมปุ๋ย CRF ปุ๋ยคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น ใส่ครั้งเดียวคุ้ม เติมพลังอ้อยนานถึง 9 เดือนครบทุกช่วงการเจริญเติบโต ตั้งแต่แตกกอ ย่างปล้อง สะสมน้ำตาล ลำอ้อยใหญ่ยาว ค่า C.C.S. สูง อ้อยน้ำหนักดี ได้ผลกำไรมากขึ้น เปิดใจเรียนรู้ “นวัตกรรมปุ๋ย” คุณดนัยสืบทอดอาชีพการทำไร่อ้อยจากรุ่นพ่อแม่ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอ้อยกว่า 320 ไร่ อยู่ในพื้นที่อำเภอหนองปรือ จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกอ้อยตอ ที่เหลือ 100 ไร่ เป็นอ้อยปลูกใหม่ สาย
“อ้อย” เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกและเก็บเกี่ยวได้ปีละครั้ง เพื่อให้การปลูกอ้อยในแต่ละรอบได้ผลผลิตสูงสุด และมีต้นทุนต่ำ ล้วนแต่ต้องการเอาใจใส่และดูแลอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน เพาะปลูกได้ทันช่วงฤดู มีการดูแลรักษาจนถึงการเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง “คุณปัญญา เรืองศรี” เป็นหนึ่งในชาวไร่อ้อยต้นแบบ ที่สืบสานอาชีพการทำไร่อ้อยจากรุ่นพ่อแม่จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 37 ปี ไร่อ้อยของคุณปัญญา เนื้อที่ 142 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกอ้อยตอ สายพันธุ์ขอนแก่น 3 ได้ผลผลิตกว่า 10 ตันต่อไร่ ที่เหลืออีก 50 กว่าไร่เป็นพื้นที่ปลูกอ้อยใหม่ เช่น อ้อยพันธุ์108 และ อ้อยพันธุ์ภูเขียว ได้ผลผลิตประมาณ 20 ตันต่อไร่ คุณปัญญาเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่ใช้ความรู้เดิม ผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เครื่องปลูกอ้อย การใช้โดรนการเกษตรฉีดพ่นปุ๋ยและยากำจัดวัชพืช รถตัดอ้อย และเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเผาอ้อย หันมาตัดอ้อยสดในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว สามารถแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานแล้ว ยังช่วยลดต้นทุน
“ดิน” ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อย การจัดการดินที่ดี โดยเพิ่มอินทรียวัตถุและเพิ่มแร่ธาตุอาหารในดินอย่างเหมาะสม จะทำให้ดินดีมีคุณภาพ ช่วยให้อ้อยเจริญเติบโต ให้ผลผลิตที่ดีคุ้มค่าการลงทุน “เถ้าแก่บอย – คุณสุภัทรชัย จังวิบูลย์ศิลป์” ชาวไร่มิตรผลด่านช้าง ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับปรุงดินว่า เป็นพื้นฐานสำคัญของการเพิ่มผลผลิตอ้อย เถ้าแก่บอยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซอยล์เมต ร่วมกับปุ๋ยเคมีซอยล์เมต เพิ่มความสมบูรณ์ของดิน สามารถเพิ่มผลผลิตในแปลงอ้อยใหม่ได้มากถึง 20 ตันต่อไร่ และอ้อยตอได้ผลผลิต 17 ตันต่อไร่ เถ้าแก่บอยทำธุรกิจต่อจากพ่อแม่ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่นจำนวน 500 ไร่ อยู่ในพื้นที่อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี การทำไร่อ้อยใช้เงินลงทุนประมาณ 12,000 บาทต่อไร่ หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือผลกำไรประมาณ 8,000 บาทต่อไร่ เทคนิคลับของเถ้าแก่บอย ปลูกอ้อยใหม่ให้แตกกอดี แต่ลดต้นทุน ด้วยการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน เคล็ดลับการทำอ้อยหวานของเถ้าแก่บอย เริ่มจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซอยล์เมตฝังลงดิน ทำให้ดินฟู ประสิทธิภาพดินดีขึ้น ขั้นตอนต่อมา รองพื้นอ้อยปลูก ด้วยปุ๋ยเคมีซอยล์เมต สูตร 1