ผักกูด
ในยุคที่ใครหลายคนกำลังมองหาเส้นทางชีวิตใหม่ โดยเฉพาะการที่ต้องกลับมาอยู่บ้านเกิด การมีเส้นทางอาชีพส่วนใหญ่การทำเกษตร จึงเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่หลายๆ คนเลือกที่จะลงมือทำ ซึ่ง คุณเอก-เป็นเอก ปาคำ ชายหนุ่มที่ทิ้งงานบริการและตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิต ด้วยการโบกมือลางานประจำจากเมืองใหญ่ เพื่อกลับมาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น เริ่มต้นชีวิตเกษตรกรเต็มตัวกับพื้นที่เพียง 1 ไร่ แต่สามารถปั้นพื้นที่แห่งนี้จนกลายเป็นแหล่งปลูกผักกูดคุณภาพ ส่งขายทั้งยอดสดและกิ่งพันธุ์ผ่านตลาดออนไลน์ จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เห็นความสำคัญของเกษตร คุณเอก เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนเป็นพนักงานขับรถส่งผู้โดยสารทั่วไปอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ หลังสถานการณ์โควิดระบาด จึงได้กลับมาอยู่ที่บ้านเกิดจังหวัดแพร่ และได้รับจ้างกรีดยางในสวนของพี่สาว พร้อมทั้งได้ทดลองปลูกกล้วยเพื่อจำหน่ายหน่อพันธุ์ ในระหว่างนั้นเห็นช่องว่างในพื้นที่ดงกล้วยว่าสามารถปลูกพืชแซมได้ จึงได้ตัดสินใจนำผักกูดเข้ามาทดลองปลูกจนประสบผลสำเร็จ ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น จึงได้นำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในพื้นที่ 1 ไร่ จนประสบผลสำเร็จเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบัน “
ผักกูด เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งจัดอยู่ในตระกูลเฟิร์น สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู และนอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังใช้เป็นสมุนไพรได้อีกด้วย ผักกูดมักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำมากกว่าในป่าทึบ เจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้แล้ว ผักกูด ยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อม ให้ได้รู้ว่าบริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้น ด้วยสรรพคุณและคุณค่าที่มีมากมาย จึงทำให้ในปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกผักกูดเชิงการค้ามากขึ้น คุณชาญณรงค์ พวงสั้น อยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 7 ตำบลวังจันทร์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เล่าถึงงานปลูกผักกูดว่า เกิดนึกสนใจและมองเห็นอนาคตของผักกูดว่าน่าจะไปได้ดี ผักกูดเป็นผักที่หาได้จากธรรมชาติในสมัยก่อน แต่ในปัจจุบันเริ่มหารับประทานยากขึ้นทุกวัน ตนจึงมองเห็นโอกาสจากตรงนี้ ใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทำงานสวนปลูกผักกูดอินทรีย์แซมสวนสัก โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 คือปลูกพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ดังนั้น ในสวนของคุณชาญณรงค์จะเต็มไปด้วยการปลูกพืชที่เอื้ออำนวยกันไปเป็นลำดับ
โดยธรรมชาติของผักกูดที่มีลักษณะเหมือนเฟินคือชอบขึ้นอยู่ที่ริมน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง มีใบเป็นแผงรูปขนนกคู่ขนานกัน ขณะที่ใบยังอ่อนปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย ตรงส่วนยอดอ่อน คือส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหาร มีสปอร์ซึ่งอยู่ด้านหลังใบที่แก่จัดทำให้แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยการแตกกอใหม่ นอกจากนั้น ยังเป็นผักที่บ่งบอกถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสภาวะแวดล้อม กล่าวคือ บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ หรือมีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ยอมขึ้นหรือแตกต้นใหม่เด็ดขาด อีกทั้งยังเป็นผักที่มีสารเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็กในตัวสูง ดังนั้น เมื่อรับประทานแล้วจึงได้ประโยชน์มากมายดังที่กล่าวข้างต้น อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยเฉพาะริมแม่น้ำเพชรบุรีเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ชาวบ้านหันมายึดอาชีพปลูกผักกูดจำหน่าย อาจเป็นเพราะความที่อยู่ใกล้แม่น้ำเพชรบุรีแล้วยังมีคุณสมบัติของดินที่เหมาะสมจึงทำให้สามารถปลูกผักกูดได้เป็นอย่างดี อย่างกรณีของสามี-ภรรยาคู่นี้ คือ คุณพูนผล ศรีสุขแก้ว และคุณธนพร (ภรรยา) อยู่บ้านเลขที่14 หมู่ 6 ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โทรศัพท์ 081-4338310 อดีตเคยปลูกมะนาวสร้างรายได้ จนเว
ผักป่า ผักบ้าน อย่าง ชะอม ดอกกระเจียว ผักเสี้ยว ผักแขยง ผักแพว ใบขี้เหล็ก ใบเหลียง ฯลฯ ผักที่เหมือนจะหากินง่าย แต่ไม่ง่ายในเมืองกรุง จุดนี้ คุณสากล วงศา หรือ เจ้เอ๋ เจ้าของร้านผักป่าผักพื้นบ้านที่ตลาดสี่มุมเมือง และยังเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มเกษตรกรชุมชน จังหวัดนครนายก เกิดปิ๊งไอเดีย ขายผักพื้นบ้านผักป่าให้คนไกลบ้านได้กินให้หายคิดถึง ก่อนเข้าวงการขายผัก เจ้เอ๋ ทำอะไรมาก่อน เจ้เอ๋ เล่าให้ฟังว่า อาชีพดั้งเดิมคือเปิดร้านสแตนเลส ที่นครนายก รับทำประตูรั้ว รับงานช่างต่างๆ แล้วก็ปลูกผักหวานบ้านควบคู่ไปด้วย โดยส่งให้พี่สาวที่มีร้านอยู่ตลาดสี่มุมเมืองขาย ตอนนั้น ผักหวานบ้านที่ส่งไปขายเป็นที่ต้องการของตลาดมากๆ เรียกว่าติดตลาดเลย มีเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ จึงเกิดแนวคิดรวมกลุ่มเกษตรกชุมชนขึ้นมา ซึ่งผักที่ขายมาจากลูกไร่ในกลุ่มเกษตรกรชุมชน จังหวัดนครนายก โดยกลุ่มเกษตรกรชุมชนนี้เจ้เอ๋เป็นผู้รวบรวมและจัดตั้งขึ้นมาด้วยตัวเอง มีการช่วยเหลือกันในกลุ่มตั้งแต่สอนปลูก สอนหาต้นกล้า ไปจนถึงรับซื้อผลผลิต มีการนัดประชุมในกลุ่มวางแผนการปลูกในแต่ละไตรมาส โดยเจ้เอ๋จะเป็นคนอธิบายสรุปข้อมูลให้กับสมาชิกในกลุ่ม ให้มีทั้งความรู้
คนโบราณนั้นท่านมีความสามารถในเรื่องการกินผักเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคและรักษาได้อย่างลงตัว จนหลายๆ คนในสมัยปัจจุบันต้องยอมรับกันเลยทีเดียว โดยท่านสามารถนำเอาผัก ผักกูด ผักพื้นบ้านที่มีสรรพคุณมากมายมาใช้ปรุงประกอบอาหาร ได้อาหารสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากมาย ผักกูด เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิร์น ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ นอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังนำมาเป็นสมุนไพรได้อีกด้วย ผักกูด มักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำมากกว่าในป่าทึบ และมักพบมากในช่วงฤดูฝนเพราะเป็นช่วงเจริญเติบโตได้ดีที่สุด นอกจากนี้แล้ว ผักกูด ยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อมให้ได้รู้ว่า บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ และผักกูดจะไม่ขึ้น หรือแตกต้นในบริเวณนั้นโดยเด็ดขาด ใบของผักกูดใช้ต้มน้ำดื่ม หรือกินสด ช่วยแก้ไข้ ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และขับปัสสาวะเด็ดขาดมาก ลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด มีสารเบตาแคโรทีน และธาตุเหล็กสูง วิธีการปรุงประกอบอาหารจากผักกูด ส่วนมากมักจะนำเอาใบอ่อน ช่ออ่อน มาทำแ
ผักกูด เป็นพืชที่อยู่คู่กับริมแม่น้ำเพชรบุรี บริเวณริมแม่น้ำจะมีผักกูดขึ้นอยู่เต็มไปหมด แต่การปลูกเป็นแปลงจะน้อย เกษตรกรจะใช้วิธีเก็บผักกูดตามริมน้ำ ซึ่งในฤดูแล้งจะขาดแคลน ผู้บริโภคที่ต้องการก็จะหายาก วิธีการปลูกผักกูด ควรให้น้ำตลอด ดินต้องมีความชื้นตลอด ผักกูดเป็นพืชที่ต้องการน้ำ ดังนั้น ให้น้ำผักกูดตลอด 12 เดือน ผักกูดขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ถ้าใช้วิธีขยายพันธุ์โดยสปอร์ จะค่อยพัฒนาเป็นหน่อเล็กๆ ปลูกในระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 30×50 เซนติเมตร 4 เดือน เริ่มเก็บผลผลิตได้ ผักกูด เป็นพืชที่ให้น้ำหนักดีมาก โดยยอดที่สมบูรณ์ โดยประมาณ 30 ยอด ได้น้ำหนักถึง 1 กิโลกรัม ถ้ายอดเล็กประมาณ 50 ยอด จะได้ 1 กิโลกรัม ปุ๋ย ให้เป็นปุ๋ยคอกอย่างเดียว ปีละครั้ง ระบบน้ำ ดินชื้นไม่ต้องให้ ดินแห้งจึงให้ “ฤดูฝนไม่ต้องให้น้ำ ผักกูดเป็นพืชที่ไม่ชอบแสงแดดมากเกินไป ถ้าน้ำน้อยน้ำขาดจะแห้งเลย ถ้าอยากปลูกผักกูดสร้างรายได้ต้องคำนึงถึงน้ำและร่มเงา ปลูกกลางแจ้งไม่ได้ ข้อจำกัดเขามีอยู่ตรงนี้ อีกวิธีหนึ่งคือใช้ซาแรนคลุมเพื่อลดแสงแดด แต่จะเป็นการเพิ่มต้นทุน ใบไม้ก็สามารถทำเป็นปุ๋ยได้ เมื่อทิ้งไว้นานใบไม้เริ่มเปื่อยใช้ได้ด
ในระยะที่โลกกำลังผจญกับปัญหาภัยคุกคามด้วยโรคติดต่อที่รุนแรงเช่นขณะนี้ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนคนบ้านเราก็หลีกหนีไม่พ้น เกิดความลำบากยากเข็ญ แร้นแค้น การหาอาหารเลี้ยงดูประทังชีวิตก็อยู่ในขั้นขัดสน หมู เห็ด เป็ด ไก่ ไข่ กุ้ง หอย ปู ปลา เกลือ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า น้ำมัน ผงปรุงรส ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม พืชผักนานา ก็ขยับราคาขึ้น ท่ามกลางความทุกข์ยากของชาวชน ชาวบ้านเขาออกหาเก็บ “ผักกูด” ตามแหล่งธรรมชาติ เพื่อเอามาบริโภค หรือเอามาแบ่งปัน หรือขายเป็นรายได้ เมื่อก่อนส่วนใหญ่หาเก็บเอามาทำเป็นอาหาร คนเข้าป่าก็หาผักง่ายๆ เอามาประกอบอาหารกินกัน หาพืชพื้นบ้าน พืชตามป่าเขา ต้นพืชไหนที่นำมากินได้ ก็จะเลือกสรรมาปรุงแต่งประกอบอาหารกิน เรียกพืชที่เอามากินว่า “ผัก” แต่มีพืชกินได้บางอย่างที่ไม่เรียกว่าผักนำหน้า เช่น “หน่อไม้” คือต้นอ่อนไผ่ “หัวปลี” คือดอกกล้วย และพวก เผือก บอน ซึ่งความนิยมชมชอบก็ขึ้นอยู่กับคนกิน ที่ชัดเจนแน่นอนที่สุด คือความผูกพันที่ชาวบ้านกับพืชป่า ผักป่า ผักพื้นบ้าน มีความลึกซึ้งซึมลึกกันมาแต่เนิ่นนาน ยากเกินกว่าจะสืบค้นหาหลักฐานความเป็นมาได้ สันนิษฐานว่าจะมีสัมพันธ์กันมาตั้งแต่
“ตรัง” เป็นจังหวัดแรกที่ส่งเสริมให้คนไทยปลูกยางพารา ทุกวันนี้จังหวัดตรังเป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญของภาคใต้ และมีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดเป็น อันดับ 4 ของประเทศ (พื้นที่สวนยางพารา 1.5 ล้านไร่) ยางพาราจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดตรัง และมีอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราแบบครบวงจรในท้องถิ่น เช่น สหกรณ์กองทุนสวนยางวังคีรี ที่มีผลงานแปรรูปยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมี่ยมที่มีคุณภาพสูง และชุมนุมสหกรณ์ตรัง ผู้นำด้านการแปรรูปยางอัดก้อนจำหน่ายทั้งในและส่งออก อย่างไรก็ตาม ปัญหาวิกฤตราคายางพาราตกต่ำที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่ออาชีพและรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราจำนวนมาก รัฐบาลจึงวางเป้าหมายพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน ส่งเสริมการลดพื้นที่ปลูกยาง โดยการโค่นสวนยางเดิมและส่งเสริมให้ผู้ปลูกยางพาราปรับเปลี่ยนไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมใหม่ เช่น การเลี้ยงสัตว์ หรือการปลูกพืชผัก ผลไม้ ทั้งนี้ รัฐบาลจะมอบทุนอุดหนุนแก่เกษตรกรชาวสวนยาง ที่สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน ไร่ละ 10,000 บาท รายละไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมใหม่ทดแทนการทำสวนยาง ถือเป
ผักกูด เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งจัดอยู่ในตระกูลเฟิร์น สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู และนอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังใช้เป็นสมุนไพรได้อีกด้วย ผักกูดมักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำมากกว่าในป่าทึบ เจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้แล้ว ผักกูด ยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อม ให้ได้รู้ว่าบริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้น ด้วยสรรพคุณและคุณค่าที่มีมากมาย จึงทำให้ในปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกผักกูดเชิงการค้ามากขึ้น คุณชาญณรงค์ พวงสั้น อยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 7 ตำบลวังจันทร์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี เล่าถึงงานปลูกผักกูดว่า เกิดนึกสนใจและมองเห็นอนาคตของผักกูดว่าน่าจะไปได้ดี ผักกูดเป็นผักที่หาได้จากธรรมชาติในสมัยก่อน แต่ในปัจจุบันเริ่มหารับประทานยากขึ้นทุกวัน ตนจึงมองเห็นโอกาสจากตรงนี้ ใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทำงานสวนปลูกผักกูดอินทรีย์แซมสวนสัก โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 คือปลูกพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4
ผักในวัยเยาว์ ใครก็คงจะเคยมีผักที่กินตั้งแต่เล็กแต่น้อย กินเพราะชอบ และต้องกินถึงแม้ว่าไม่ชอบก็ตาม ตอนเด็กๆ ฉันต้องกินผักบุ้งเป็นหลักเพราะพ่อปลูกผักบุ้ง โชคดีที่รู้สึกชอบ พ่อบอกว่ากินแล้วตาสวย นั่นเป็นความรู้สึกที่ดีๆ มากสำหรับเด็ก กินแล้วตาสวย กินแล้วผมสวย กินแล้วแก้มแดง ผู้ใหญ่จะใช้เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กกินผัก เพราะบอกสุขภาพดีนั้นเด็กอาจจะคิดไม่ออก เมื่อโตขึ้นมาไปโรงเรียนก็มีวิชาการเกษตร ครูก็ให้ปลูกผักซึ่งก็ปลูกผักบุ้งอีก ดังนั้น ผักบุ้งจึงเป็นผักในหัวใจ คุณล่ะมีผักอะไรในหัวใจที่เล่าถึงได้บ้าง เมื่อมีผักบุ้งฉันจะคิดออกว่าจะทำอะไรกินได้บ้าง ผักบุ้งจีนถอนทั้งราก ผักบุ้งไทยเด็ดยอดเรื่อยๆ ถ้าอยู่ในน้ำผักบุ้งมันจะอ้วน ใหญ่ กรอบ อย่างนี้ แกงเทโพอร่อยนักแล แกงส้มกับมะนาวใส่ปลา ใส่กุ้งยิ่งอร่อย ถ้าเป็นผักบุ้งไทยผอมๆ อยู่เลื้อยยอดบนดินเอามาทำผักแกล้ม กรอบ อร่อย แต่ถ้าเป็นผักบุ้งจีนผัดดีกว่า ผัดน้ำมัน ผัดกะทิ…นี่เป็นผักที่อยู่ในหัวใจตั้งแต่เด็ก อีกผักหนึ่งเป็นผักที่สนุกสนานวัยเยาว์ นั่นคือผักกูด ขึ้นอยู่ตามสวนยางพาราที่ชื้นๆ และต้องเดินทางไปเก็บและอยู่ไกลออกไป แถวชายน้ำที่พื้นแฉะๆ บางที