ผักสลัด
คุณสรชัช ตันศิริ เจ้าของสวน “บ้านผักไฮโดรโปนิกส์ ผักสลัดชลบุรี-บ้านฟาร์มผักในเมือง” ในพื้นที่ตำบลบ้านปีก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ที่หันมาทำเกษตรแบบเต็มตัว ด้วยการพลิกผืนดินและเนรมิตที่ดินเพียง 1 แปลงให้มีมูลค่า ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์และผักสลัด จากเพียงต้องการมองหาอาชีพเสริม ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพและเป็นรายได้หลักในการเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบายๆ
คุณสรชัช ตันศิริ เจ้าของสวน “บ้านผักไฮโดรโปนิกส์ ผักสลัดชลบุรี-บ้านฟาร์มผักในเมือง” ในพื้นที่ตำบลบ้านปีก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ที่หันมาทำเกษตรแบบเต็มตัว ด้วยการพลิกผืนดินและเนรมิตที่ดินเพียง 1 แปลงให้มีมูลค่า ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์และผักสลัด จากเพียงต้องการมองหาอาชีพเสริม ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพและเป็นรายได้หลักในการเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบายๆ คุณสรชัช เล่าว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตนเองต้องการมองหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว เนื่องจากตนเองนั้นมีเงินเดือนไม่เยอะ ในขณะที่ทำงานอยู่ที่ที่ทำงานเดิม จึงอยากมีรายได้เพิ่ม ซึ่งตนเองมีที่ดินเพียง 1 แปลง จึงมองหาช่องทางการสร้างประโยชน์จากที่ดินผืนนี้ ด้วยการศึกษาหาข้อมูลแบบจริงจังเกี่ยวกับการปลูกพืชผักแบบทั่วไป ลองผิดลองถูกทั้งการลงมือทำและเรียนรู้ด้วยตนเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก่อนจะมาเจอวิธีการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ จึงเริ่มทำมาจนถึงปัจจุบัน “เริ่มเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมเองในตอนนั้นเงินเดือนน้อย อยากหาอาชีพเสริม และยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร และตอนนั้นเรียนจบแค่ ปวส. ครับ กำลังเรียนต่ออยู่ ที่บ้านมีที่อยู่ 1 แปลง ไม่ไ
คุณขวัญตา บุตรวรรณ หรือ พี่เหมียว เจ้าของสวนผักฟาร์มสุข&คาเฟ่ ตั้งอยู่ที่ 213 หมู่ที่ 3 ตําบลนาโพธิ์ อําเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ต้นแบบมนุษย์เงินเดือน ที่มีความฝันอยากกลับมาทำมาหากินที่บ้านเกิด สู่การปูเส้นทางวางแผนสร้างอนาคต จากการหักเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ทุกเดือน ไว้สำหรับการซื้อต้นพันธุ์ไม้ผล ไม้ป่านานาชนิด ไว้เป็นอาชีพหลักสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวหลังลาออกจากงานประจำ พี่เหมียว เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ตนทำงานประจำอยู่ที่จังหวัดชลบุรีมาก่อน ซึ่งด้วยลักษณะงานที่ทำเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสมุนไพรอภัยภูเบศร มีความคลุกคลีอยู่กับสมุนไพรมาในระดับหนึ่ง จึงใช้วิชาตรงนี้มาผสมผสานกับความชอบส่วนตัวที่เป็นคนชอบปลูกต้นไม้ ปลูกผัก นำไปสู่การทำเป็นอาชีพเสริมพร้อมกับการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกผักเพิ่มเติมเพื่อสะสมประสบการณ์ให้ดียิ่งขึ้น จนประสบผลสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง ผลผลิตที่ได้ออกมาสวยงาม เก็บนำมาโพสต์ขายผ่านช่องทางเฟซบุ๊กก็ได้รับผลตอบรับดี ทำให้มีความหวังและเป็นการจุดประกายความคิดในการวางแผนอนาคต และบั้นปลายชีวิตให้อยู่กับอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน วางแผนอนาคตก่อนลาออกจากงา
ช่วงไม่กี่ปีมานี้ จะเห็นคนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนประสบความสำเร็จในระยะเวลาไม่กี่ปี เนื่องจากนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย พร้อมใช้รูปแบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ รวมถึงการทำตลาดที่ใช้โซเชียลมีเดียควบคู่กับการขายทั่วไป คุณกาญจนา ลากุล เจ้าของ นโม ฟาร์ม (Namo Farm) ซึ่งตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 212 หมู่ที่ 8 บ้านคำตานา ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ก็เป็นคนหนุ่มสาวอีกรายที่หันมาเอาดีในการทำเกษตร โดยเริ่มทำเมื่อปี 2556 หลังจากก่อนหน้านี้เคยเปิดกิจการร้านขายอาหารสัตว์และขายปุ๋ย เมื่อมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ในปี 2556 เธอจึงได้ใช้วิชาบริหารธุรกิจ ในระดับ ปวส. ที่ร่ำเรียนมาใช้ในเรื่องการตลาด รวมถึงความรู้ที่ได้จากการเรียนระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ขอนแก่น พร้อมกันนั้นยังได้รวบรวมเกษตรกรในพื้นที่ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผักไร้ดินปลอดสารพิษ บ้าน คำตานา มีสมาชิก 10 ครอบครัว โดยเธอรับหน้าที่เป็นประธานวิสาหกิจชุมชนฯ แหล่งศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์ วันนี้ใช่แต่พืชผักผลไม้ของวิสาหกิจชุมชนผักไร้ดินปลอดสารพิษฯ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “นโม ฟาร์ม” จะขายดีแล้ว คุณ
การตลาดถือเป็นองค์ประกอบสำคัญกับการทำธุรกิจทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรายใหญ่หรือรายย่อย ต่างต้องมีแผนการตลาดที่ดีและดึงดูดลูกค้ากันทั้งนั้น และยังถือเป็นบททดสอบหินสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่อยู่ไม่น้อยที่จะทำอย่างไรให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้เป็นที่นิยม คุณภาพและมาตรฐาน ถือเป็นด่านทดสอบสำคัญอันดับแรก คุณทิฆัมพร กสิโอฬาร หรือ คุณบลู อยู่บ้านเลขที่ 330 ถนนแม่น้ำแคว ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์สาวสวย ควบด้วยตำแหน่งเจ้าของร้าน Cinnamon coffee คนรุ่นใหม่ไฟแรงผู้ชื่นชอบความท้าทาย จากอดีตผู้จัดการโรงแรม เบนเข็มลงแข่งขันในสายงานด้านการเกษตร เหนื่อยบ้าง ท้อบ้าง แต่ไม่ยอมแพ้ ใช้ความสามารถและพลังที่มีอยู่เต็มเปี่ยม จนสามารถสร้างรายได้กับสิ่งที่ตั้งใจทำได้ และไม่เพียงแต่ผลิตได้ แต่ผลผลิตทุกชนิดล้นไปด้วยคุณภาพ ปลอดการใช้สารเคมี อนาคตวางแผนขยายสู่ตลาดสินค้าพรีเมี่ยม คุณบลู เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ตนเองทำงานเป็นผู้จัดการโรงแรมมาก่อน จนมาถึงช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด โรงแรมต้องหยุดให้บริการ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกผักสร้างรายได้ เพราะก่อนหน้านี้มีก
ผักสลัด ถือเป็นอีกหนึ่งเมนูเพื่อสุขภาพ เป็นแหล่งรวมสารอาหาร อย่างไฟเบอร์ เส้นใย มีวิตามินซีสูงช่วยบำรุงผิวพรรณ ปรับสมดุลร่างกาย และระบบขับถ่าย เป็นต้น ผักสลัดยอดฮิตที่หลายคนคุ้นเคย ยกตัวอย่างได้ 14 ชนิด ดังนี้ 1. กรีนโอ๊ค ผักใบหยิก สีเขียวอ่อน ปลายเป็นแฉกโค้ง ใบอ่อนนุ่มซ้อนกันเหมือนใบผักกาดหอม 2. เรดโอ๊ค หน้าตาคล้ายกรีนโอ๊ค แต่มีใบสีแดงอมน้ำตาลเข้ม ผักที่มีใบสีแดงอมน้ำตาล 3. เรดคอรัล ใบมีลักษณะหยิกเป็นพุ่มซ้อนกันเหมือนผักกาดหอม แต่มีปลายใบสีแดงเข้มอมน้ำตาล 4. บัตเตอร์เฮด เป็นผักที่มีใบกว้างกลมรี ลักษณะเกาะกันหลวมๆ เป็นหัว ใบ มีสีเขียวอ่อนนุ่ม 5. ผักกาดคอส หรือผักโรเมน เป็นผักสลัดที่มีใบยาว ก้านอวบสีขาว ใบหยักสีเขียวอ่อนไปจนถึงสีเขียวเข้ม ผักสลัดชนิดนี้มีเนื้อกรอบ 6. ผักกาดแก้ว มีใบซ้อนเกาะกันหลวมๆ ใบนิ่มสีเขียวอ่อน ก้านใบสีขาว ฉ่ำน้ำและกรอบ 7. เบบี้ร็อคเก็ต ใบเล็กเรียวเป็นแฉก ใบนุ่มสีเขียวอ่อน 8. ร็อคเก็ตป่า หรือไวล์ดร็อคเก็ต ใบเรียวยาวผอมเป็นหยักแฉก 9. เรดิชิโอ รูปร่างคล้ายกะหล่ำปลี มีก้านใบสีขาว ปลายใบสีแดงอมม่วงซ้อนกันเป็นชั้นๆ 10. มิซูน่า หรือผักน้ำญี่ปุ่น ผักสลัดที่มีใบสีเขียวเข้ม
ในระยะที่มีฝนตกและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกผักสลัด (โดยเฉพาะผักที่มีใบกว้าง เช่น กรีนคอส บัตเตอร์เฮด) ให้เฝ้าระวังการระบาดของโรคใบจุดตากบ สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช เริ่มแรกจะพบแผลเป็นจุดฉ่ำน้ำสีน้ำตาลอ่อนกระจายอยู่ทั่วใบ เมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้นจะมีลักษณะกลม หรือค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น กลางแผลมีสีเทาหรือสีขาว และพบเส้นใยของเชื้อราเจริญขึ้นเหนือเนื้อเยื่อของพืช ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลลักษณะคล้ายตากบ แผลมีหลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กถึงจุดใหญ่ ขนาด 1-10 มิลลิเมตร ถ้าอาการรุนแรง แผลจะต่อกันทำให้เกิดอาการใบไหม้ กรณีที่เกิดกับใบอ่อนอาจทำให้เกิดอาการใบหงิกงอได้ สำหรับการปลูกผักสลัดในแปลงปลูก เกษตรกรควรจะทำแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี และควรเตรียมดิน โดยไถพรวนดินให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป และตากดินไว้ให้นานอย่างน้อย 30 วัน เพื่อให้เศษซากพืชและวัชพืชย่อยสลาย อีกทั้งควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค หรือให้ฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ดด้วยการแช่ในน้ำอุ่น 49-50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที กรณีปลูกผักสลัดในระบบไฮโดรโปรนิกส์ เกษตรกรควรเตรียมพื้นโรงเรือ
ตลาดผักสลัดยังได้รับความนิยมเป็นอย่างดี มีแหล่งจำหน่ายมากมายหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นตลาดค้าส่ง ร้านอาหาร หรือในโมเดิร์นเทรด แนวทางปลูกมักนิยมในโรงเรือน แบบไฮโดรโปนิกจึงไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มาก เป็นพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้น สามารถปลูกสลับหมุนเวียน เหตุนี้จึงมีผู้สนใจปลูกเป็นจำนวนมากหลายรูปแบบ ทั้งเป็นรายได้เสริมหรือรายได้หลัก แม้วิธีปลูกดูจะไม่ยุ่งยาก แต่ในทางปฏิบัติใช่ว่าทุกคนที่ลงมือทำจะประสบความสำเร็จ เพราะมีรายละเอียดที่ต้องใส่ใจ ทั้งในเรื่องสารอาหาร แร่ธาตุ ตลอดจนควบคุมระดับค่าน้ำให้เหมาะสม รวมถึงหาตลาดที่แน่นอน ฉะนั้น นอกจากต้องปลูกผักให้ดีแล้ว ยังต้องขายให้เป็นด้วย มิเช่นนั้นเงินที่ลงทุนอาจหายไปโดยพลัน “ไร่สุขวิวัฒน์” จากจังหวัดเพชรบูรณ์ ธุรกิจผลิต-จำหน่ายผักสลัด กับผักไทย นานาชนิดด้วยระบบการปลูกในโรงเรือนแบบ ไฮโดรโปนิก (hydroponic culture) ที่ได้มาตรฐาน ยึดหลักผลิตให้มีคุณภาพและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค พร้อมทั้งยังนำผักพื้นบ้านท้องถิ่นของชาวบ้านส่งขายให้ผู้บริโภคตามแหล่งจำหน่ายแบบสด ใหม่ คุณรจเรข โตวิวัฒน์ หรือ คุณน้อง กล่าวว่า ไร่สุขวิวัฒน์ มี 2 แห่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ คือฟาร์มที่ 1 ตั้
ช่วงที่เชื้อโควิดได้แพร่ไปทั่วประเทศรอบที่สอง เป็นเรื่องที่น่ากลัว สมัยหลายปีก่อนเรากลัวโรคเอดส์ แต่นั่นไม่ได้มีผลในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะเอดส์เป็นโรคที่เราต้องเข้าไปหามันถึงจะมีโอกาสติด แต่เชื้อโควิดติดได้แค่สัมผัส หรือลมหายใจ เราไม่มีโอกาสรู้ ไม่มีโอกาสระวังตัว นอกจากป้องกันโดยใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น หรือสิ่งของที่ถูกคนทั่วไปจับต้อง การดำรงชีวิตในปัจจุบันจึงเปลี่ยนไป กิจการร้านขายอาหารก็ลำบากขึ้น มีการแนะนำให้ทำอาหารกินเองในบ้าน และแนะนำให้ปลูกผักกินเอง เพราะเราต้องกักตัวอยู่ในบ้านระยะหนึ่ง การปลูกผักเป็นการฆ่าเวลาที่ดีและเป็นการผ่อนคลาย นอกจากนี้ ยังมีผักมาทำอาหารกินอีก ผักสลัดเป็นผักที่ปลูกได้ทุกฤดูและปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย สมัยก่อนเข้าใจผิดกันว่าผักสลัดสามารถปลูกได้เฉพาะในพื้นที่เขตภาคเหนือ แต่ความจริงผักสลัดสามารถปลูกได้ในทุกภาค ปัจจุบัน ผักสลัดจึงมีการปลูกกันในแทบทุกพื้นที่ กลายเป็นผักที่หารับประทานกันได้ง่าย จากเมื่อก่อนที่ผักชนิดนี้มีวางจำหน่ายเฉพาะในห้าง หรือร้านผักที่ขายผักราคาแพง ในวันนี้พบว่าตามตลาดสดหรือตลาดนัดชุมชนตามต่างจังหวัดมีผักสลั
เดือนตุลาคมของทุกปี เป็นเดือนที่เปรียบเสมือนการเริ่มต้นก้าวเดินในปีต่อมา ของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และปีนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 33 ของการก่อตั้ง ด้วยนวัตกรรมในภาคเกษตรที่ก้าวกระโดด และด้วยความปรารถนาดีส่งต่อองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมให้กับผู้อ่าน เป็นการคืนกำไร ในโอกาสนี้จึงจัดการสัมมนาขึ้นในหัวข้อ “นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรกรไทย ยุค 5G INNOVATION FOR NEW NORMAL” ในวันที่ 29 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00-16.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ข่าวสด จำกัด แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โดยมีผู้นำด้านนวัตกรรมที่หลากหลายมาผ่อนถ่ายความรู้ โดย คุณอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อนวัตกรรมนำเกษตรไทยรุ่งเรือง จากนั้นนำเข้าสู่การสัมมนานวัตกรรมสร้างอนาคต โดย คุณอรนุช ทัพพสารดำรง รองกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารศูนย์วิจัย-พัฒนา ซีพีเอฟ บริษัท เจริญ โภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิชัย ชะนะมา เจ้าของผลิตภัณฑ์ “บานาน่า โซไซตี้” เมืองสองแคว และ คุณวีรพงศ์ สุโอสถ จากฟาร์มลุงแดง เมล่อน & ผักสลัด จังหวัดปทุมธานี ต่อด้วยการสัมมนาในหัวข้อฝ่าวิกฤตเกษตรจากห้องปฏิบัติการ โดย ด