ผักสลัด
“คนเราเกิดมาแล้ว ค้นพบความชอบของตัวเองเจอ และได้มุ่งมั่นเพื่อให้ได้ทำสิ่งนั้น ถือว่าเป็นความสุขที่สุดแล้ว” คุณพัชรินทร์ พุทธฤทธิ์ หรือ พี่กิ่ง อยู่บ้านเลขที่ 55/3 หมู่ที่ 3 ตำบลบางบริบูรณ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สาวเท่ผู้มากความสามารถ เธอคนนี้มีดีกรีไม่ธรรมดา เรียนจบปริญญาตรีและโท จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปริญญาตรีจบสาขาพืชศาสตร์ เอกพืชผัก ปริญญาโทจบสาขาการจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจุดประสงค์เพื่อที่จะนำมาสานต่อความฝัน ความชอบ ของตัวเองที่อยากจะเป็นเกษตรกรโดยเฉพาะ จุดเริ่มต้นที่กว่าจะมาเป็นเกษตรกร ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้อย่างมืออาชีพ พี่กิ่ง บอกว่า ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ ป.โท อาจารย์เห็นแววว่าเธอน่าจะช่วยสอนรุ่นน้องได้ จึงหยิบยื่นโอกาสมาให้โดยการให้ช่วยสอนแล็บนักศึกษา ชั้น ป.ตรี และทำธีสิส ป.โท เกี่ยวกับการปลูกพืชไร้ดินมาโดยตลอด เพราะเกิดข้อสงสัยว่า ผักปลูกในน้ำโตได้อย่างไร ทั้งที่ไม่มีดิน จึงพยายามที่จะหาคำตอบมาตลอด ประจวบเหมาะกับที่มีโปรเจ็กต์การปลูกผักไร้ดินเข้ามาพอดี จึงรับทำโปรเจ็กต์นี้เพื่อหาคำตอบที่อยากรู้มาตลอด จนกระทั่งเรียนจบได้ไปทำงานอยู่โครงการ
แต่งตั้งตัวแทนกระจายเมล็ดพันธุ์พืช ของ เอนซา ซาเดน ตรงสู่เกษตรกรชาวไทย พร้อมจัดทำแปลงวิจัยพันธุ์พืชถึง 2 แห่ง ณ เชียงใหม่ และราชบุรี วงการเกษตรกรรมไทย ณ ห้องโทปาส 1 โรงแรมริชมอนด์ วันที่ 12 มีนาคม 2562 บริษัท เอนซา ซาเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านการพัฒนานวัตกรรมเมล็ดพันธุ์พืชที่ล้ำหน้า นำโดย นายยาป มาเซอร์ริว ซีอีโอ (Mr. Jaap Mazereeuw, CEO) นักธุรกิจ เจนเนอเรชั่น 3 ของ เอนซา ซาเดน พร้อมด้วย นายปันกาจ มาร์ลิค (Mr. Parkaj Malik) ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจภูมิภาค เอนซา ซาเดน เอเชีย พร้อมด้วย นายวายแบพ เปตวาล (Mr. Vaibhav Petwal) ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอนซา ซาเดน (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมกันจัดงานพบปะสื่อมวลชน เพื่อแถลงแผนการอนาคต และนโยบายการขยายการลงทุนพร้อมแผนการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย รวมถึงการตั้งสำนักงานประจำประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ตลอดจนแปลงวิจัยพันธุ์พืช เพื่อความคล่องตัวในการให้การบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นนิมิตหมายอันดี ที่ประเทศไทยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรที่ล้ำหน้า อีกทั้งยังเป็นการยกระดับและพัฒนาทักษะของบุคลากรด้านการเกษตร รวม
ผักอินทรีย์ หรือ ผักที่ปลอดสารเคมี กำลังเป็นที่นิยมทั้งในและต่างประเทศ กระแสการบริโภคผักปลอดสารเคมี ในทุกประเทศทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพจะต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ในต่างประเทศเขามองว่าสุขอนามัยประชากรของเขาต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ อาหาร พืชผัก สินค้าอุปโภคบริโภคจะต้องไร้สารพิษ ดังนั้น การผลิตพืชผักและสินค้าเกษตรของไทยจำเป็นจะต้องขานรับกระแสนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลก ผักอินทรีย์ไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นทางที่จะต้องทำให้ได้ เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ คุณวราภรณ์ กับ คุณบุญชัย การพีระยศ สองคู่ทุกข์คู่ยาก ชาวบ้านหมู่ที่ 6 ตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ผู้ซึ่งปลูกผักอินทรีย์ส่งบริษัทที่จัดส่งพืชผักไปต่างประเทศ กล่าวว่า การทำผักอินทรีย์ไม่ยากแต่ต้องซื่อสัตย์กับตนเอง ต้องมีความอดทนให้มากๆ รักที่จะทำผักอินทรีย์ต้องไม่โกหกและต้องไม่ขอผลัดผ่อนกับตนเองเป็นอันขาด หากขอผลัดผ่อนกับตนเอง มีข้อแม้กับตนเองได้ ครั้งที่ 1 ก็จะมีครั้งที่ 2 ที่ 3 ตามมา ข้อแม้ที่ขอผลัดผ่อนก็คือ ขอใช้สารเคมีเพียงครั้งเดียว หากใจอ่อนก็หมายถึงความล้มเหลวของ
แม้สลัดจะเป็นเมนูดีๆ ต่อสุขภาพ แต่ก็มีสลัดอยู่หลายเมนูที่อัดแน่นไปด้วยวัตถุดิบที่มีแคลอรี่สูง เชื่อไหมว่า…สลัดสามารถมีปริมาณแคลอรี่และไขมันมากกว่าชีสเบอร์เกอร์ได้ ปัญหาของเมนูสลัดหลายเมนูก็คือ “ไขมัน” ที่อัดแน่น เราจึงควรรู้ว่าไขมันเหล่านั้นมีที่มาจากไหน ซูซาน โบเวอร์แมน ผู้อำนวยการด้านการศึกษาและฝึกอบรมโภชนาการระดับโลกของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ได้แบ่งปันเคล็ดลับดีๆ ในการเลือกรับประทานสลัดที่ทั้งอร่อยและเต็มไปด้วยประโยชน์ ดังนี้ 1.บอกลาโปรตีนที่อุดมไปด้วยไขมัน เวลาเห็นคำว่า “กรุบกรอบ” เช่น ไก่กรอบ นั่นเป็นแค่การเลี่ยงคำว่า “ทอด” และทำให้ฟังดูดีขึ้นเท่านั้น ดังนั้น หากอยากทานสลัดที่มีโปรตีน ให้เลือกเมนูสลัดที่มีเนื้อไก่ กุ้ง หรือปลาที่ย่างแทนที่จะทอด และระวังอาหารจำพวกโปรตีนที่มีแคลอรี่สูง เช่น ไส้กรอก 2.หลีกเลี่ยงเครื่องเคียงที่มีไขมันสูง สลัดในร้านอาหารหลายแห่งมักเต็มไปด้วยเครื่องเคียงที่ชวนให้แคลอรี่พุ่งสูง ตัวการของแคลอรี่ไขมันสูง ได้แก่ ชีส เบคอน หัวหอมทอด ซาวครีม และขนมปังกรอบมันๆ 3.เลือกน้ำสลัดให้ดีและไม่ต้องใช้เยอะมาก น้ำสลัดเป็นหนึ่งในวิธีที่รวดเร็วที่สุดที่จะทำลายคุณค่าของสลัด
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี พัฒนาระบบควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์อัตโนมัติ สำหรับมือใหม่หัดปลูก รับเทรนด์สุขภาพอาหารคลีน คุณนัฐวุฒิ ดิษฐประสพ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เจ้าของผลงาน เผยว่า การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินที่นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดปัญหาการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ทั้งยังปลูกได้ทุกสถานที่โดยไม่จำกัดขอบเขต การปลูกพืชด้วยวิธีนี้จึงได้รับความนิยมมากดังเช่นปัจจุบัน ผักที่ปลูกจะเป็นผักปลอดสารพิษและสิ่งปนเปื้อนจากดิน แต่การปลูกนั้น ผู้ปลูกต้องมีความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นและความเอาใจใส่เป็นอย่างดี เพื่อให้ผักได้รับความเข้มแสงคงที่ น้ำและสารละลายธาตุอาหารพืชต่อเนื่อง ถ้าขาดปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ผักไม่เจริญเติบโต จึงมีแนวคิดในการสร้างและพัฒนาระบบควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขึ้นมา โดยนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ ทำให้การปลูกผักนั้นมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
เชื่อว่า มนุษย์เงินเดือนหลายคนอาจรู้สึกเบื่องานประจำ อยากหนีกรุงไปทำอาชีพเกษตรกรรม เพื่อใช้ชีวิตอยู่ใกล้ธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์ หลายคนยังกลัวที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตตัวเอง แต่มีหนุ่มสาวลูกหลานไฮโซฯ กลุ่มหนึ่งที่จะกล้าไล่ตามความฝันที่จะทำอาชีพเกษตรกรรม ในชื่อไร่ “เก็บฟาร์ม” และลงทุนต่อยอดกิจการร้านอาหาร “แปลงผัก” ที่ประสบความสำเร็จทางการตลาด เชื่อว่าเรื่องราวของพวกเขาน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครๆ อีกหลายคน ได้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตัวเองเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในเส้นทางอาชีพเกษตรกรรมเช่นเดียวกับพวกเขา จุดเริ่มต้น “อาชีพเกษตรกรรม” คุณกัลยกร บุนนาค หรือ คุณกัล 1 ใน 5 เจ้าของกิจการไร่ “เก็บฟาร์ม” เล่าให้ฟังว่า ภายหลังเธอเรียนจบปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ช่วงเวลานั้นครอบครัวย้ายไปอยู่ที่หัวหิน เปิดร้านอาหารไทย ชื่อ ชิฎฑะเฬ เธออยากอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว จึงตัดสินใจลาออกเพื่อย้ายมาอยู่กับครอบครัวที่หัวหิน คุณกัล ไม่อยากทำงานประจำ อยากหางานที่ทำแล้วมีความสุข ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ เธอจึงตัดสินใจเลือกทำอาชีพเกษตรกรรม เธอมั่นใจว่า อ
หลังคว้าใบปริญญาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จากรั้ว ม.ธรรมศาสตร์ “สกาวเดือน วิภากรวิทย์” หรือดาว หญิงสาวผู้ใฝ่รู้ ได้บินลัดฟ้าไปศึกษาต่อ ป.โท ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ประเทศออสเตรเลีย เรียนไปด้วย เปิดร้านอาหารไทยไปด้วยนาน 10 ปี รายได้ต่อเดือนเป็นล้าน แต่สุดท้ายทนความคิดถึงบุพการี คิดถึงภูมิลำเนาไม่ไหว เลือกที่จะกลับมาอยู่กับครอบครัว แล้วยึดอาชีพใหม่ นั่นคือ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมกับเปิดร้านอาหาร รายได้ต่อเดือนเฉียด 2 แสน คุณดาว เล่าว่า หลังจบ ป. ตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จากรั้ว ม.ธรรมศาสตร์ ไปต่อ ป.โท ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างนั้นทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย เปิดร้านอาหารไทย รายได้ดี ยังไม่หักรายจ่ายเฉลี่ยเดือนละล้านบาท แต่ทว่ากลับบ้านมาเยี่ยมครอบครัวเพียงปีละหน ที่สำคัญอยากกลับบ้านมาดูแลพ่อแม่ ในที่สุดเลือกที่จะกลับบ้านเกิดที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ราวปี 58 อย่างไรก็ตาม แม้จะทำงานอยู่ต่างประเทศรายได้ดี แต่ด้วยความคิดถึงครอบครัว หญิงสาวนักเรียนนอก เลือกที่จะกลับบ้าน ในช่วงแรกเธอไปเรียนด้านอาชีพหลายอย่าง แต่สุดท้ายค้นพบว่าตัวเองชอบปลูกผัก เล
“ความรู้” ทั้งในและนอกตำราล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ขณะที่ช่องว่างทางการเรียนรู้ระหว่างเมืองกับชุมชนในพื้นที่ห่างไกลยังคงมีอยู่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงจัดโครงการมหาวิทยาลัยกับชุมชนและสังคม หรือ Social Lab มาเติมเต็มให้กับความต่างและระยะห่างทางการเรียนรู้ให้มากที่สุด เพื่อให้ชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน หมู่บ้านก่อก๋วงนอก หมู่ที่ 11 ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ที่โอบล้อมไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่ เป็นหนึ่งในหมู่บ้านของโครงการที่ มจธ. เข้าไปถ่ายทอดความรู้และพัฒนา นายมนต์ชัย นีซัง นักวิจัยและผู้ประสานงาน ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจธ. พื้นที่จังหวัดน่าน เล่าว่า หมู่บ้านก่อก๋วง เป็นหมู่บ้านของชนเผ่าลัวะ ทำเกษตรเพื่อยังชีพ ไม่ค่อยมีรายได้ มจธ. จึงอยากส่งเสริมอาชีพทางเลือกให้กับชาวบ้าน ด้วยสภาพพื้นที่เหมาะกับการปลูกผักเมืองหนาวที่มีมูลค่าสูง และเป็นอาชีพที่ใช้พื้นที่ไม่มาก ประกอบกับในจังหวัดน่านยังไม่มีคู่แข่ง จึงส่งเสริมการ
ชีวิตของมนุษย์ในเมือง มองทางไหนมีแต่ตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทาง รถรา สภาพแวดล้อมของชุมชนเมืองที่หนาแน่นล้วนแต่มีมลพิษทางอากาศ อาหารการกิน และมลพิษทางอารมณ์ที่มีแต่ความเคร่งเครียด มีการแข่งขันกันสูง จิตใจจึงมีแต่ความทุกข์ ความหวังลึกๆ ของคนในเมืองคือมีที่ในชนบทสักแห่งเพื่ออยู่อย่างสงบเมื่อโอกาสมาถึง ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อมีวันหยุดติดต่อกันหลายวันในช่วงเทศกาล กรุงเทพฯ แทบจะกลายเป็นเมืองร้าง เพราะทุกคนมุ่งหน้าออกต่างจังหวัดกันแทบหมดเมือง ใครชอบทะเลใกล้บ้านก็มุ่งไปบางแสน พัทยา ระยอง จันทบุรี ตราด ไกลหน่อยก็ภูเก็ต พังงา กระบี่ ถ้าชอบน้ำจืดก็กาญจนบุรีซึ่งยังมีป่าให้ท่องเที่ยวได้ ชอบบรรยากาศภูเขาก็ขึ้นเหนือ ไกลไปใช่ไหมครับ ขับรถใกล้ก็มาอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เพียงร้อยกว่ากิโล วังน้ำเขียว มีอากาศบริสุทธิ์ มีโอโซนมากมายเอาไว้สูดหายใจให้เต็มปอด สมกับชื่อ สวิตเซอร์แลนด์แดนอีสาน เพราะเป็นพื้นที่เดียวในประเทศไทยที่ถูกโอบล้อมด้วยป่าอนุรักษ์ผืนใหญ่ 2 แห่ง เสมือนไข่แดงจากธรรมชาติอันสวยงาม ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทับลาน และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มรดกโลกกินเนื้อที่ถึงหลายหมื่นไร่อันเป็นรอยต่อของ 4 จัง
ผักสลัดเป็นผักที่ดูทันสมัย น่าบริโภค เหมาะกับคนรุ่นใหม่ จะเห็นได้ว่ามีการตั้งสลัดบาร์จำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า หรือร้านอาหารแฟรนไชน์ยี่ห้อต่างประเทศแทบทุกแห่ง ผักสลัดมีสีสันฉูดฉาด เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้หยิบจับ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการตกแต่งสลัดบาร์อย่างมีระเบียบสวยงาม เป็นที่พอใจแก่ลูกค้า และสลัดก็เป็นอาหารสุขภาพสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก อาจารย์สงบ เพียรทำดี เรียนจบจากวิทยาลัยเกษตรบางพระ ได้วุฒิ ปมก.(ประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม เทียบเท่าอนุปริญญา) ในปี พ.ศ.2515 หลังจากนั้นจึงได้บรรจุเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยเกษตรสิงห์บุรี สอนทางด้านสัตวศาสตร์ โคเนื้อโคนม ต่อมาได้ลาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาคุรุศาสตร์เกษตร และในปี พ.ศ.2535 ได้ย้ายมาเป็นผู้ประสานงานฝึกอบรมศิลปชีพภาคเกษตรกรรมที่ศูนย์ศิลปชีพบางไทร ด้วยความร่วมมือของกรมอาชีวะศึกษา สปก.และศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ต่อมาในปี พ.ศ.2538 กรมอาชีวะศึกษาได้จัดตั้งเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทย จึงได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก ซึ่งทางวิทยาลัยฯ มีชื่อเสียงในการผลิตผักไฮโดรโปรนิคส์ในเชิงการค้า สามาร