ผักสลัด
นายสุดี มิตรยอดดอย อายุ 47 ปี ชาวเผ่ากะเหรี่ยง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 18 ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ได้ถือรูปที่เคยเฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และห้อยเหรียญพระราชทานที่ได้รับตกทอดมาจากบิดาและมารดาไว้ที่คอ โดยมีอักษร “ภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙” และอีกด้านมีอักษร “เหรียญที่ระลึกสำหรับชาวเขา ชม 175114” กล่าวว่า ตอนที่ทราบข่าวว่าพระองค์สวรรคต ตนรู้สึกเสียใจมาก ชาวกะเหรี่ยงทุกคนก็เสียใจ และอยากเดินทางมาสักการะพระบรมศพ แต่ไม่มีกำลังทรัพย์พอที่จะเดินทางมากรุงเทพฯ ได้แต่ไปแสดงความอาลัยที่ทางจังหวัดจัดพื้นที่ไว้ให้ ส่วนตนก็ได้ซื้อเสื้อผ้าใหม่เพื่อจะมาสักการะพระบรมศพ เพราะเกรงว่าถ้าใส่ชุดชาวเขาที่มีสีแดงอาจจะไม่สุภาพ นายสุดีกล่าวต่อว่า เมื่อประมาณปี 2525 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาทอดพระเนตรแปลงปลูกผักที่หมู่บ้านตน ซึ่งตนได้เฝ้าฯ รับเสด็จด้วย ขณะนั้นตนอายุ 13 ปี เมื่อได้เห็นพระพักตร์ของพระองค์ก็รู้สึกปลาบปลื้มใจและภูมิใจมาก ตอนนั้นจำไม่ได้ว่า
ปลูก “มิซูน่า (กิโยนะ)” หรือ “มัสตาร์ดญี่ปุ่น” อยู่ในกลุ่มพืชผักพื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น มิซูน่า เป็นพืชที่มีก้านใบเล็ก ยาว สีขาว ใบเรียวยาว และขอบใบหยักเหมือนฟันเลื่อย มิซูน่า ถูกจัดอยู่ในกลุ่มผักสลัดที่มีคุณค่าอาหารสูง เช่น กรดโฟลิก เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และมีสารกลูโคซิโน ที่พบมากในผักตระกูลกะหล่ำ ชาวญี่ปุ่นนิยมกินมิซูน่า เป็นผักสลัดคู่กับเนื้อย่าง นิยมนำไปต้มเป็นน้ำซุปสูตรญี่ปุ่น และใช้ประดับตกแต่งจานอาหาร มิซูน่า เป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว และทนทานกับสภาพอากาศแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เวลาปลูกที่เหมาะสม อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน เวลาเก็บเกี่ยวให้ตัดใบล่างออกมากินก่อน เหลือยอดบน ไว้เก็บกินได้เรื่อยๆ สำหรับใบนั้นจะสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 5 วัน ในถุงโพลีเทน จากนั้นนำไปแช่ไว้ในตู้เย็น ในส่วนสำหรับแช่ผัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมชาย ก่งเซ่ง อายุ 41 ปี เกษตรกรในพื้นที่หมู่ที่ 8 ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา เปิดเผยว่า ปลูกผักสลัดระบบไฮโดรโปนิกส์ไร้ดิน ทั้งกรีนโอ๊คและเรดโอ๊ค 20 แปลง ซึ่งผักทั้ง 2 ชนิดมีเอเยนต์รับซื้อและตลาดรองรับไม่อั้น ส่งขายทั้งตามท้องตลาดและในห้างสรรพสินค้าทั้งใน อ.เมืองสงขลา และ อ.หาดใหญ่ เพื่อนำไปประกอบอาหารและทำสลัดเกลียว ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ “การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ใช้เวลาปลูกตั้งแต่ลงแปลงจนเก็บขายได้ 30 วัน แต่ละแปลงมีขนาด 2.00 x 4.00 เมตร สามารถปลูกผักสลัดได้ 200 ต้น และใช้วีปลูกแบบหมุนเวียนกัน โดยจะลงมือปลูกอาทิตย์ละ 4 แปลง เพื่อให้สามารถเก็บขายได้ต่อเนื่องทุกอาทิตย์และไม่ขาดช่วง สามารถเก็บผักขายได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี สร้างรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณเดือนละ 35,000 – 40,000 บาท” นายสมชาย เปิดเผยว่า เตรียมขยายพื้นที่แปลงปลูกเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับออเดอร์ที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ที่มีอยู่ขณะนี้ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด สำหรับราคาของผักสลัดทั้งกรีนโอ๊คและเรดโอ๊ค ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีราคาไม่ตก ราคาขายส่งอยู่ที่ กก.ละ 80 บาท ขายปลีก กก.ละ 100 บาท &nbs
อาทิตย์นี้มากันที่จังหวัดนนทบุรี จะพามาดูวิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่กำลังเป็นกระแสในกลุ่มคนรักสุขภาพ พร้อมกับชิมอาหารอร่อยๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นการเสริ์ฟผักสดๆ จากฟาร์ม สู่จานคุณเลยก็ว่าได้ ไฮโดรโปนิกส์ เป็นวิธีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน แต่ใช้วิธีการใส่สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชไว้ในแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น โดยการปลูกพืชไร้ดินนี้สามารถทำได้ง่าย สะดวก ประหยัดพื้นที่ และไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดิน ทำให้ได้พืชผักที่สะอาด สำหรับฟาร์มรักดี เกิดจากความสงสัยและไม่เข้าใจของคุณเจส คาลโว เจ้าของฟาร์ม ว่าผักที่ขายตามท้องตลาดไม่มีความปลอดภัย อีกทั้งที่หาซื้อมารับประทานรู้สึกว่าผักไม่มีความสดและไม่อร่อย จึงหันมาเริ่มปลูกเองง่ายๆภายในครอบครัวเพื่อรับประทานเอง และจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ได้ขยายเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่คนในชุมชนที่มีความต้องการมาขอซื้อกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลายเป็นอาชีพหลักปลูกขายถึงวันนี้ คุณเจส บอกครับว่า การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ โดยปกติแล้ว จะมี 2 ทางเลือก ทางเลือกแรก คือ ปลูกด้วยหินเพอร์ไลท์ ส่วนอีกทางเลือก คือ ปลูกด้วยฟองน้ำ แต่สำหรับทางฟาร์มรักดีจะใช้วิธีแรก
กระแสการบริโภคผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพ ที่ได้รับความนิยม ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนจะเพิ่มกระแสมากขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเลือกบริโภคพืชผักที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายในมื้อที่เหมาะสม ซึ่งมีการประเมินว่า การรับประทาน “สลัด” เป็นการช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคของร่างกาย ขนาดของผักสลัดที่รับประทาน แม้จะไม่ใช่ปัจจัยในการเลือกชนิดผัก นำไปบริโภค แต่หากมีทางเลือกที่ไม่ต้องหั่นผักสลัด ลดการบอบช้ำของผัก ง่ายต่อการรับประทาน ก็จะดีไม่น้อย ปัจจุบัน มีการนำเข้าผักสลัดต้นอ่อน โดยบริษัท เอสทีม อินเตอร์เทรด จำกัด จำนวน 8 สายพันธุ์ โดยใช้ชื่อว่า Healthy Leaf ทุกสายพันธุ์ ยังไม่มีแพร่หลายในกลุ่มผู้ปลูกผักสลัดในประเทศไทย เนื่องจากบริษัทผู้นำเข้า อยู่ระหว่างการศึกษามาก่อนหน้า ถึงขณะนี้เพิ่งเริ่มทดลองในแปลงของเกษตรกรที่สนใจเพียงไม่กี่ราย คุณชุมเจษฎ์ มาลาธรรม ประธานกรรมการ บริษัท เอสทีม อินเตอร์เทรด จำกัด ให้ข้อมูลว่า Healthy Leaf เป็น Baby Leaf ชนิด One-Cut Baby Leaf ที่สามารถหั่นที่โคนต้น เพื่อนำมาใช้งานหรือรับประทานได้ในมีดเดียว เพราะเป็นสลัดต้นอ่อน อายุน้อย ใบอ่อนเกิดมาจากก