พลังงานแสงอาทิตย์
เมื่อเร็วๆ นี้ นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ร่วมกันเปิดตัว “โซลาร์เจเนอเรชั่น วิทยาลัยแสงอาทิตย์ (SOLAR GENERATION)” จากการระดมทุนผ่านกองทุนแสงอาทิตย์ เพื่อติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปให้วิทยาลัยสายอาชีพ 7 แห่ง แห่งละ 10 กิโลวัตต์ทั่วประเทศ โดยใช้เงินในการติดตั้งแห่งละ 400,000 บาท สร้างการเรียนรู้และการจ้างงานจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มศักยภาพด้านการใช้พลังงาน และมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน นางสาวบุญยืน ศิริธรรม กรรมการกองทุนแสงอาทิตย์ กล่าวว่า แสงอาทิตย์คือความเป็นธรรมด้านพลังงานที่ให้ความเสมอภาคกับทุกภาคส่วน การเข้าถึงแสงอาทิตย์คือสิทธิของมนุษย์ทุกคน กองทุนแสงอาทิตย์เกิดขึ้นโดยกลุ่มคนที่มีแนวคิดเดียวกัน แต่แนวคิดนี้ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มุ่งมั่นผลักดันให้ประชาชนเป็นได้แค่ผู้จ่ายเงินซื้อพลังงานภายใต้การผูกขาดของอุตสาหกรรมพลังงานฟอสซิล โดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ วิถีชีวิตของผู้คน อย่างที่เราจะเห็นได้จากการคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าฟอสซิลในหลายพื้นที่ กองทุนแสงอาทิตย์เริ่มต้นจากกา
ยุคนี้ ต้นทุนค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกอย่าง สวนทางกับตัวเลขรายได้ที่ปรับตัวลดลง เพื่อความอยู่รอด อะไรที่ประหยัดได้ก็ต้องช่วยกันประหยัด โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า การปิดไฟที่ไม่ใช้งาน อาจช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ไม่มากเมื่อเทียบกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า นี่คือเหตุผลสำคัญที่หลายคนเลือกติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา หรือ “โซลาร์รูฟท็อป” (Solar rooftop) บนหลังคาอาคารบ้านเรือนกันมากขึ้น เพราะช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าลงได้เดือนละ 2-3 พันบาททีเดียว จังหวัดลพบุรีเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและความเข้มข้นของพลังงานแสงอาทิตย์สูงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย จากข้อมูลการรับซื้อไฟฟ้าของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) พบว่า จังหวัดลพบุรีมีการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด 24 โครงการ กำลังการผลิตรวมกว่า 205 เมกะวัตต์ หลังคาบ้านเรือน อาคารสถาบันการศึกษา หน่วยงาน และสถานประกอบการต่างๆ มีศักยภาพในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล สอดคล้องกับเทรนด์การดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) ที่ไม่ใช่เพียงแค่การพัฒนาองค์กร แต่ต้องมีส่วนช่วยใน
“ค่าไฟศูนย์บาทตั้งแต่ติดแผงโซลาร์เซลล์” เสียงสะท้อนความสำเร็จของ “โครงการพลังงานชุมชน” ระยะที่ 3 (ปี 2563-2565) จาก นางพล ฤทธิ์ล้ำ หญิงแกร่งแห่งไร่เจริญผล หลังจากเข้าร่วมโครงการพลังงานชุมชนของ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพลังงานจังหวัดราชบุรี นับเป็นการบรรลุหมุดหมายสำคัญของโครงการที่มุ่งส่งเสริมศักยภาพชุมชนในการคิดค้นแนวทางการลดใช้พลังงานและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนานวัตกรรมพลังงานที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 ที่โลกกำลังต้องการความร่วมมือจากทุกคนช่วยกันลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดโลกร้อนอย่างจริงจัง นางพล ฤทธิ์ล้ำ หนึ่งในแกนนำของศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนไร่เจริญผล ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ภายใต้การสนับสนุนของโครงการพลังงานชุมชน ปรารถนาให้ไร่แห่งนี้เป็นต้นแบบในการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาผลิตไฟ
นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ร่วมกันเปิดตัว “โซลาร์เจเนอเรชั่น วิทยาลัยแสงอาทิตย์ (SOLAR GENERATION)” สร้างการเรียนรู้และการจ้างงานจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นปีที่ 2 ของกองทุนแสงอาทิตย์ ที่เปิดรับเงินบริจาคผ่านกองทุนฯ เพื่อติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปให้วิทยาลัยสายอาชีพ 7 แห่ง แห่งละ 10 กิโลวัตต์ทั่วประเทศ วิทยาลัยเทคนิคสกลนครถือเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นวิทยาลัยแสงอาทิตย์แห่งที่ 3 ของประเทศ ที่เริ่มโครงการโซลาร์เจเนอเรชั่นนี้ นางสาวบุญยืน ศิริธรรม กรรมการกองทุนแสงอาทิตย์ กล่าวว่า ในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา กองทุนแสงอาทิตย์ได้ชะลอการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปของวิทยาลัยเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม การบริจาคของประชาชนยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขณะนี้กองทุนแสงอาทิตย์สามารถระดมเงินทุนเพื่อเดินหน้าพลังงานงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของวิทยาลัยได้อย่างน้อย 5 แห่งจากเป้าหมายทั้งหมด 7 แห่งนำร่องทั่วประเทศ ยอดบริจาคในปัจจุบันอยู่ที่ 706,582.19 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 6 มีนาคม 2565) จากเป้าหมายรวม 1,600,000 บาท เพื่อดำเนินการติดตั้ง โซล
วิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมสมุนไพรและเทคโนโลยีการเกษตร ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ทำการเพาะปลูกขมิ้นด้วงเพื่อนำมาผลิตเป็นอาหารเสริมเพื่อการจำหน่าย แต่การปลูกขมิ้นด้วงในแปลงเพาะปลูกทั่วไปจะมีศัตรูพืชทำลายคุณภาพของขมิ้น อีกทั้งการปลูกในแปลงเพาะปลูกสามารถปลูกได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น เพื่อเป็นการพักดินสำหรับการเพาะปลูกในครั้งถัดไป ทำให้ในรอบปีในพื้นที่แปลงเดิมไม่สามารถเพาะปลูกขมิ้นได้อย่างต่อเนื่อง นางสาวพัชรี คงแก้ว นางสาวสุภาวดี มูณีย์ และ นางสาว อนุสรา มาสุข นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย พร้อมด้วย อาจารย์สราญพงศ์ หนูยิ้มซ้าย อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกับคณาจารย์ในหลักสูตร ได้มีแนวคิดในการพัฒนาระบบโรงเรือนเพาะปลูกขมิ้นที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือนแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ การทำงานของระบบสามารถควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานโดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ ได้แก่ ทำงานอัตโนมัติตามค่าอุณหภูมิ ค่าความชื้นอากาศ และค่าความชื้นในดิน ระบบทำงานอัตโนมัติตามเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้ ในส่วนของการควบคุมและการตั้งค
เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา หลายท่านคงจะเห็นผลงานการดัดแปลงเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายบ่า นำล้อเข็นเข้ามาเสริม ทำให้ตัดหญ้าด้วยวิธีเข็นไปตามพื้นราบ ไม่ต้องแบกสะพายบ่าให้เหนื่อยและเมื่อยบ่าและสันหลัง เขาคือนายกฤษณะ สิทธิหาญ หรือคนละแวกนั้นเรียกว่าช่างเอก ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (สับปะรด) หมู่ที่ 5 บ้านวังเลียบ ตำบลบุญนาคพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ผลงานชิ้นใหม่นี้เป็นการดัดแปลงเครื่องตัดหญ้าด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มีผลดีหลายประการคือ ที่ไม่ต้องแบก ไม่ต้องใช้เครื่องยนต์แบบเดิม ถือเป็นการสนองนโยบายการประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะ ลดเสียงรบกวนจากเครื่องยนต์ อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ ถ่านลิเธี่ยมฟอสเฟต ขนาด 3.2 โวลล์ นำมาปรับสภาพให้มีประจุความแรงให้เท่ากัน จำนวน 16 ก้อน เพื่อให้ได้กำลังไฟออกมา 24 โวลล์ นำไปขับเคลื่อนมอเตอร์ให้มีกำลังไปหมุนแกนบังคับใบมีด มีพลังงานออกมามากมายที่สามารถหมุนใบมีดได้ น้ำหนักรวมทั้งเครื่องเพียง 2.5 กิโลกรัม ตัวเครื่องเบา กำลังแรงสูง ทำให้ใช้ได้ทั้งสุภาพสตรี ผู้สูงอายุ ช่างเอกบอกเพิ่มเติมว่า ชุดแรกได้ทำออกมา มีคนสั่งจองหลายราย แต่ม
“ระหัดวิดน้ำ” เป็นนวัตกรรมภูมิปัญญาพื้นบ้านที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองทางการเกษตรของประเทศไทยในอดีต ซึ่งเป็นระหัดวิดน้ำที่ทำจากไม้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวิดน้ำเข้าสวนและไร่นา มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำเกษตรกรรมของประเทศ เมื่อพิจารณาจากหลักการและทฤษฎีทางด้านวิศวกรรมชลศาสตร์จะพบว่า “ระหัดวิดน้ำภูมิปัญญาโบราณเป็นปั๊มน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีข้อจำกัดในด้านความสูงของการสูบน้ำ” ถ้าหากระดับการสูบน้ำทำมุมมากกว่า 30 องศา น้ำที่ชักลากจะไหลย้อนลงมาตามรางวิดน้ำ ซึ่งเป็นข้อจำกัดทางด้านประสิทธิภาพของระหัดวิดน้ำโบราณ ด้วยเหตุผลดังกล่าว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ จึงได้สร้างระหัดวิดน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเกษตรกรรมขึ้น เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระหัดวิดน้ำให้มีความทันสมัยมากขึ้น ลดข้อด้อยของระหัดวิดน้ำแบบเดิม เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น ราคาถูก ง่ายต่อการนำไปสร้างและใช้งานได้จริง ตลอดจนการนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งมีอยู่อย่างเหลือเฟือ มาใช้ขับเคลื่อนมอเตอร์แทนที่การใช้พลังงานลมเพื่อลดข้อจำกัดด้านพื้นที่การใช้งาน และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผ
“การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด” เป็นหนึ่งในอาชีพเกษตรกรรมทำเงิน ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีการเพาะพันธุ์ในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ได้แก่ ปลานิล ปลาดุก และปลาหมอเทศ ฯลฯ ทั้งนี้กระแสความนิยมส่วนใหญ่เน้นการเลี้ยงปลาในบ่อดินมากกว่า เนื่องจากสามารถจัดการบ่อได้ง่าย และสามารถเพาะพันธุ์ปลาได้ตลอดทั้งปี แต่การเลี้ยงปลาในบ่อดิน น้ำนิ่ง ต้องใช้กังหันตีน้ำเพื่อเติมออกซิเจนตลอดเวลา ซึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และมักเกิดปัญหาปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำน้อยกว่าความต้องการของปลา ทำให้ปลาตายหรือปลาน็อกน้ำ จากปัญหาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เกษตรกรพึ่งพาการใช้ไฟฟ้าในการเลี้ยงปลาเป็นหลัก ทำให้แบกภาระต้นทุนที่สูงและเกิดความเสี่ยงเมื่อเกิดภาวะไฟฟ้าดับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนงบวิจัยให้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายใต้การนำของ ผศ.ดร. สราวุธ พลวงษ์ศรี หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย ดร. สุลักษณา มงคล ดร. ชวโรจน์ ใจสิน ผศ.ดร. อัครินทร์ อินทนิเวศน์ ผศ.ดร. ธงชัย มณีชูเกตุ ดร. รจพรรณ นิรัญศ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น โครงการสื่อมวลชนสัญจร ประจำปี 2562 ครั้งที่ 4 “เรื่อง การพัฒนาพลังงานทดแทนและการประยุกต์ใช้ ในชุมชนสีเขียว” ในจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน เพื่อเผยแพร่ผลงานและกิจกรรมของ วช. ไปสู่สาธารณชนได้รับทราบและนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ รองประธานคณะกรรมการกำกับโครงการวิจัยท้าทาย วช. กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมาเป็นการวิจัยขนาดเล็กขาดการบูรณาการ จึงทำให้ไม่สามารถนำไปแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้พลังงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น วช. จึงได้เริ่มโครงการวิจัยขนาดใหญ่แบบบูรณาการ ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และบูรณาการองค์ความรู้จากสหสาขาวิชาการต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายให้ได้ผลงานวิจัยที่สำเร็จพร้อมประยุกต์ใช้งานได้จริง ภายใต้แผนงานวิจัยตอบสนองต่อนโยบายและเป้าหมายรัฐบาล โครงการวิจัยท้าทายไทย ในหัวข้อ การพัฒนาพลังงานทดแทนและการประยุกต์ใช้ ในชุมชนสีเขียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน หมู่ที่ 3 ต.ลำภูรา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง นายไพบูลย์ โอมาก รองผู้ว่าจังหวัดตรัง เป็นประธานเปิดโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ตามที่สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. หรือ สกต.ตรัง ได้ผ่านการคัดเลือกโครงการผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคเกษตร พ.ศ. 2560. ซึ่งเป็น 1 ใน 38 โครงการ จากจำนวนสหกรณ์ 639 แห่ง ทั่วประเทศ โดยได้รับการคัดเลือกเป็นลำดับที่ 1 ให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานเเสงอาทิตย์ กำลังผลิตติดตั้ง 5 เมกะวัตต์ บนพื้นที่กว่า 57 ไร่ เมื่อเดือนมิถุนายน 2561 และได้เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561 ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นเวลา 25 ปี โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ นับเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของจังหวัดตรัง ถือเป็นพลังงานที่สะอาดที่สุดและยังช่วยเพิ่มความมั่นคงของระบบไฟฟ้าให้กับชุมชน และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางเทคโนโลยีของผู้ที่สนใจต่อไป ซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งนี้สร้างรายได้ให้กับสหกรณ์การเกษตรหรือ สกต. ปีล