พลังงานแสงอาทิตย์
อำเภอบางกระทุ่ม ได้รับการยกย่องว่า เป็นแหล่งผลิตกล้วยตากคุณภาพดี มีรสหวาน กลิ่นหอม นุ่ม อร่อยระดับแนวหน้าของประเทศ แถมมีรางวัลเป็นเครื่องการันตีคุณภาพมากมายนับไม่ถ้วน ส่งผลให้ “ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ” ของท้องถิ่นแห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญของจังหวัดพิษณุโลกมาจนถึงปัจจุบัน สืบสานตำนานกล้วยตาก คุณอ้อ หรือ คุณศิลาพร สิงหลักษณ์ เป็นแกนนำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านเกาะคู เธอเล่าว่า ครอบครัวคุณอ้อสืบทอดกิจการกล้วยตากจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนานถึง 84 ปีแล้ว ปัจจุบัน คุณอ้อ นับเป็นทายาทรุ่น 2 ที่สืบทอดกิจการกล้วยตากจากบรรพบุรุษ เมื่อปี 2474 นางโป๊ว ผู้เป็นย่าของกำนันประภาส(คุณพ่อของคุณอ้อ) ได้นำหน่อกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องจำนวน 2 หน่อ มาจากเมือง แปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงทรา เพราะติดใจในรสชาติความอร่อยของกล้วยพันธุ์นี้ ระยะแรก ตั้งใจปลูกขายเพื่อขายกล้วยหวี เพื่อเป็นรายได้เลี้ยงดูครอบครัว โดยขายส่งผลกล้วยให้กับพ่อค้าที่มาทางเรือ จากจังหวัดต่างๆ พ่อค้ารับซื้อเฉพาะกล้วยหวีงามๆ เพราะขายได้ราคาดี แต่กล้วยตีนเต่า หวีเล็ก ปลายเครือมักขายไม่ได้ ย่าโป๊วจึงนำกล้วยที่เหลือจากการขายไปเลี้ยงปลา แ
กฟภ. ร่วมกับเมสเซ่ แฟรงค์เฟิร์ต เปิดงาน ไทยแลนด์ ไลท์ติ้ง แฟร์ 2018 ภายใต้แนวคิด The future of light: smart, sustainable, human-centric ยกขบวนทัพผู้ร่วมแสดงสินค้าและนวัตกรรมด้านไฟฟ้าแสงสว่างกว่า 150 บริษัท 300 บูธ สัมมนาฟรีกว่า 20 หัวข้อพร้อมจับคู่เจรจาธุรกิจ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. หรือ PEA) ร่วมกับ เมสเซ่ แฟรงค์เฟิร์ต และดิ เอ็กซ์ซิบิส เปิดเวที ไทยแลนด์ ไลท์ติ้ง แฟร์ 2018 (Thailand Lighting Fair 2018) งานแสดงนวัตกรรมไฟฟ้าแสงสว่างที่ครบวงจรที่สุดในอาเซียน ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน ศกนี้ ที่ฮอลล์ 102-104 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ยกขบวนทัพผู้ผลิตเทคโนโลยีชั้นนำด้านไฟฟ้าแสงสว่าง พลังงานแสงอาทิตย์ และระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ จากนานาประเทศ งานไทยแลนด์ ไลท์ติ้ง แฟร์ 2018 จัดขึ้นพร้อมงาน ไทยแลนด์ บิลดิ้ง แฟร์ 2018 (Thailand Building Fair 2018) ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะและการบริหารจัดการพลังงานมาจัดขึ้นพร้อมกันตามแนวทางงาน light+building ของเมสเซ่ แฟรงค์เฟิร์ตอันมีชื่อเสียงระดับโลก และงาน ซีเคียวเทค ไทยแลนด์ 2018 งานแสดงเทคโนโลยีนานาชาติด้านระบบรักษาความปลอดภัย สม
จากปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ ประกอบกับสถานการณ์ราคาค่าไฟที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นและจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ชุมชนเล็กๆ ที่ห้อมล้อมไปด้วยสวนผลไม้ ชุมชนบ้านเปร็ดใน หมู่ที่ 2 ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นป่าชายเลนที่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 12,000 ไร่ ทางภาคตะวันออกของไทย เกิดแนวคิดต้องการที่จะมองหาแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่โดยใช้เศษไม้วัตถุดิบที่หาง่ายในชุมชนมาผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เพื่อลดต้นทุนค่าไฟในอนาคต คุณอำพร แพทย์ศาสตร์ ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนป่าบ้านเปร็ดใน และอดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วงน้ำขาว กล่าวว่า สาเหตุที่ให้ความสนใจเรื่องของพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกก็เพราะเกิดจากไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนในชุมชน โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง เพราะคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ มีเงาะโรงเรียน ลำไย ลองกอง มังคุดและทุเรียน ต้องปั๊มน้ำไปใช้รดสวนผลไม้ในปริมาณมาก ทำให้ต้นทุนค่าไฟสูง ในฐานะเป็นหมู่บ้านรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงมีแนวคิดที่จะนำพลังงานชีวมวลหรือพลังงานทดแทนที่เหมาะสมเข้ามาใช้ เพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวันนี้มาจากภาวะโลกร้อนจึงคิดว
ในยามที่ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ นับเป็นภาวการณ์ที่สร้างความยากลำบากให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก ซึ่งในการแก้ไขปัญหานั้น สิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้ และอาจกลายเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ และผลผลิตรูปแบบใหม่ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของเกษตรกรคือ การแปรรูปผลผลิต การแปรรูปด้วยการตากโดยอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์ นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ที่ได้รับความนิยมและสามารถสร้างช่องทางใหม่ในอาชีพให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี คุณธงชาติ ศรีศักดิ์ ผู้ก่อตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทน เป็นผู้หนึ่งที่ได้เห็นและสัมผัสถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรในสาขาต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง จึงมีแนวคิดที่จะขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรให้ก้าวข้ามพ้นปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ด้วยการทุ่มเทคิดค้นตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มาอย่างยาวนาน จนทำให้ได้ตู้พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสินค้าเกษตรจากที่จำหน่ายในรูปผลผลิตสด ให้กลายเป็นสินค้าแปรรูปที่เพิ่มทั้งราคาและช่องทางการตลาด มาถึงวันนี้ ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ESIGMA ถือเป็นผลงานการคิดค้นพัฒนาล่าสุดของคุณธงชาติ ถือเป็นนวัต
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน พร้อมด้วยปลัดกระทรวงพลังงาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน กล่าวในโอกาสเดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดนครสวรรค์ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ว่า กระทรวงพลังงาน ติดตามโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้ง ที่บ้านหนองขาม ต.ตาคลี อ.ตาคลี จำนวน 2 แห่ง เป็นระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตร ที่ช่วยสูบน้ำจากบ่อบาดาลโดยใช้เครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ไม่มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และโครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับกลุ่มครัวเรือน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/OTOP” ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านทัพชุมพล หมู่ที่ 1 ต.หนองกรด อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ตั้งเป้าหมายสร้างฐานรายได้ให้กับเกษตรกรทั้งประเทศ ไม่ต่ำกว่า 1,300 ล้านบาท ต่อปี ทั้งนี้ ในอนาคตกระทรวงพลังงานจะมีการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ อีกจำนวน 5,000 ระบบ ภายใต้วงเงินงบประมาณ 3,500 ล้านบาท ภายในปี 2561 เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้ว จำนวน 1,088 ระบบ รวมเป็น 6,088 ระบบ จะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์รวมทั้งประเทศ ไม่ต่ำกว่า 350,000 ครัวเรือน รวมพื้นที่กว่า 1 ล้านไ
บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) เดินหน้าขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีความคืบหน้าของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในเวียดนามและในอาเซียนขนาด 420 เมกะวัตต์ ร่วมกับบริษัท Xuan Cau Co., Ltd. โดยจะสรุปลงนามสัญญาร่วมทุนภายในปลายเดือนเมษายนนี้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมาและหารือร่วมกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ โครงการดังกล่าวจะเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์และรับรู้รายได้ภายในเดือนมิถุนายน 2562 มั่นใจดันสัดส่วนพลังงานทดแทนและการลงทุนในต่างประเทศตามเป้า 30% ใน 5 ปี นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยเพิ่มเติมกรณี รมว.พลังงานส่งสัญญาณไม่รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วง 5 ปี ไม่ได้มีผลต่อบริษัทเนื่องจากโครงสร้างรายได้หลักมาจาก โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติประเภท SPP กว่า 2,200 เมกะวัตต์ จากโครงการทั้งหมดที่มีสัญญาแล้วทั้งสิ้น 2,518 เมกะวัตต์ และบริษัทมีโอกาสในการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ เช่นโครงการพลังงานน้ำในสปป. ลาว โครงการสายส่งในกัมพูชาและเวียดนาม และโครงการพลังงานทดแทนในฟิ
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า เปิดเผยภายหลังสัมมนาหัวข้อ “Load Forecast : ทิศทางการใช้ไฟฟ้าอนาคต” ที่สโมสรทหารบกว่า การรับฟังความเห็นครั้งนี้เพื่อนำไปสู่การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ (โหลด ฟอร์แคสต์) ที่แม่นยำขึ้น โดยทีมพยากรณ์คาดว่าปลายแผนกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพีใหม่) ปี 2579 ไทยจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ระดับ 45,808 เมกะวัตต์ ลดลง 3,847 เมกะวัตต์ หรือ 7.7% จากพีคปัจจุบันอยู่ที่ 49,808 เมกะวัตต์ นายทวารัฐ กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของคนไทยลดลงส่วนหนึ่งมาจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยช่วง 20 ปีข้างหน้าที่ลดลงจาก 3.9% ต่อปี เป็น 3.78% ต่อปี ยกเว้นช่วง 1-2 ปีนี้ที่เศรษฐกิจจะเติบโต 4% ต่อปี ทั้งนี้ ตัวเลขคาดการณ์ยังมาจากแผนอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งปัจจัยการผลิตไฟฟ้าใช้เองของประชาชน และเอกชน (แคปทีฟ ดีมานด์) อาทิ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) ซึ่งปัจจุบันมีต้นทุนที่ลดลงอย่างมาก“ตัวเลขที่น่าสนใจ คือ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ กำลังขยายตัวอีกจากการเปิดรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์เซลล์จากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเร็วๆ นี้ ภาครัฐจะเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปเสรีอีกด้วย เมื่อรวมกับกระแสของระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบ “แบตเตอรี่” หรือ energy storage คาดการณ์ได้ว่าปริมาณแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศจะเพิ่มขึ้นอีก แต่ประเด็นที่อาจจะถูกมองข้ามคือ เมื่อแผงโซลาร์เซลล์หมดอายุและกลายเป็น “ขยะ” จะจัดการอย่างไร องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development : TBCSD) ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Environment Institute : TEI) จัดเสวนา “แนวทางการจัดการซากแผงโซลาร์เซลล์ของภาคอุตสาหกรรม” เพื่อหาคำตอบไปเมื่อเร็วๆ นี้ ผศ.ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉายภาพโซลาร์เซลล์ของประเทศในขณะนี้ว่า เมื่อพิจารณาจากแผนส่งเสริมพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือแผน AEDP (Alternative Energy Development Plan 2558-2579) จะมีแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งรวม 6,000 เมกะวัตต์ ซึ่งแผงเหล่านี้ก็จะเป็นซากขยะสะสมใน 2
กรุงเทพฯ / 31 ตุลาคม 2560 – องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) มอบคู่มือแนวทางการพัฒนาและการลงทุนระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แก่ผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สมาคมอุตสาหกรรมแสงอาทิตย์ไทย และหน่วยงานต่างๆ จากภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาของภาคพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมในประเทศไทย คู่มือแนวทางการพัฒนาและการลงทุนระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จะช่วยให้ภาคเอกชนได้รับประโยชน์จากนโยบายด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ซึ่ง USAID ได้สนับสนุนในการศึกษาผลกระทบต่อรายได้ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย จากการที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีปริมาณแสงแดดที่มีค่าความเข้มสูงประกอบกับความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ทำให้ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความเหมาะสมที่จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อหลายปีก่อนต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ยังมีราคาแพงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนพลังงานฟอสซิล แต่วันนี้พบว่าต้นทุนพลังงานแ
กระทรวงพลังงานเยี่ยมชม การพลิกโฉมวงการกล้วยตาก ด้วยนวัตกรรมการผลิตกล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์ พาราโบลาโดม ที่ อ.บางกระทุ่ม อีก 1 ในโครงการแผนอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานที่ยกระดับกล้วยตากให้เป็นของฝากเกรดพรีเมียมช่วยเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งสามารถต่อยอดสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กลุ่มแม่บ้านวิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา ต.เนินกุ่ม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก นายทิพากร พูลสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผนอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้ลงพื้นที่ติดตาม ผลงานของกองกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยมีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นผู้ดูแล โดยเริ่มตั้งแต่การพัฒนากระบวนการตากของกลุ่มจากเดิมที่ใช้ตากแดดและลม เปลี่ยนมาเป็นแบบปิดด้วยระบบ พาราโบลาโดม หรือระบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่จะดีตรงที่เป็นระบบปิด ใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้กับองค์ความรู้ของชาวบ้านที่มีอยู่แล้ว เพื่อพัฒนาร่วมกันจน