มจธ
นักวิจัย มจธ. ระบุ อุตสาหกรรมไทยเตรียมรับผลกระทบ หลัง พ.ร.บ. Climate Change เริ่มบังคับใช้ จากงานวิจัยพบมีเพียงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลุ่มพลังงาน และสถาบันการเงิน ที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน Climate Change ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม ยังไม่เห็นความสำคัญ เพราะมองว่าเป็นเรื่องการลงทุนและภาระที่เพิ่มขึ้น พร้อมย้ำ ธุรกิจใดไม่เร่งปรับตัวในการจัดการความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจส่งผลกระทบต่อการอยู่รอดของธุรกิจในอนาคต ผศ.ดร.ปฏิภาณ แซ่หลิ่ม รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ และอาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นเรื่องเร่งด่วนระดับโลกที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศ ซึ่งประเทศไทยเองได้เข้าร่วมข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยมีเป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในศตวรรษนี้ ให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม ความท้าทายคือ อุตสาหกรรมไทยจะสามารถควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas-GHG) ให้อยู่ใ
อุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก โดยในปี 2566 ไทยมีมูลค่าส่งออกมากถึง 14,636.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดัน 3 หรือ 5.14% ของมูลค่าสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย (ที่มา: ศูนย์เครื่องมืออัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ) ซึ่งนอกจากอัญมณีและเครื่องประดับแล้ว สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ “ตัวเรือน” ของเครื่องประดับ ซึ่งปัจจุบันแพลทินัม (Platinum) ที่เป็นโลหะ เนื้อสีขาวใช้ทำตัวเรือนที่ได้รับความนิยม และมีราคาเครื่องประดับแพงกว่าทองคำ (Gold) ประมาณ 2-3 เท่า ทำให้ “โลหะผสมทองขาว” (White Gold Alloys) ที่เป็นโลหะผสมระหว่างทองคำ กับธาตุอื่นๆ เช่น เงิน ทองแดง สังกะสี และนิกเกิล และอื่นๆ ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะให้เนื้อโลหะสีขาวคล้ายแพลทินัมแต่ราคาที่ถูกกว่า ปัญหาสำคัญคือ นิกเกิลที่ผสมอยู่ในโลหะผสมทองขาว สามารถทำให้ผู้สวมใส่บางคนเกิดอาการแพ้ เป็นผื่นแดงได้ ทางสหภาพยุโรปจึงมีกฎหมายจำกัดปริมาณนิกเกิลในเครื่องประดับที่นำเข้า โดยปริมาณนิกเกิลที่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องประดับ หรืออุปกรณ์ที่ต้องส
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดย รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย (ที่ 5 จากซ้าย) อธิการบดี ลงนามความร่วมมือกับ 4 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ นายพนัส วัฒนชัย (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พนัสแอสเซมบลีย์ จำกัด, นายปิยะ จิราภาพงศา (ที่ 4 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการสายงานปฏิบัติการ บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ TKC, นางสาววรีมน ปุรผาติ (ที่ 3 จากขวา) กรรมการผู้จัดการบริษัท เจ็นเซิฟ จำกัด และ นายคมสหัสภพ นุตยกุล (ที่ 2 จากขวา) กรรมการบริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย รศ. ดร.ยศพงษ์ ลออนวล (ที่ 1 จากขวา) ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน เป็นหัวหน้าศูนย์วิจัย MOVE (Mobility & Vehicle Technology Research Center) มจธ. เป็นสักขีพยาน
แม้ว่า “ไฟฟ้าพลังน้ำ” จะเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานทดแทนที่ถูกบรรจุอยู่ภายใต้ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 (AEDP2015) แต่ส่วนใหญ่จะเน้นไปเทคโนโลยีกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบสายส่งเป็นสำคัญ ขณะที่เทคโนโลยีกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งมีราคาต่อหน่วยพลังงานต่ำสุดในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนด้วยกัน (ประมาณ 1.5-12 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง) กลับเป็นเทคโนโลยีนำเข้า ที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงถึงกิโลวัตต์ละ 100,000 บาท เพราะยังไม่มีบริษัทของไทยที่สามารถผลิตกังหันน้ำขนาดเล็กได้ ทั้งที่เป็นเทคโนโลยีที่จะก่อประโยชน์กับเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลจากสายส่งได้อย่างมหาศาล ชุมชนคีรีวง คือตัวอย่างหนึ่งของชุมชนเกษตรกรรม ที่อยู่ห่างไกลจากจากสายส่ง และต้องใช้เครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า ที่ทำให้มีต้นทุนค่า น้ำมันค่อนข้างสูง และหากจะใช้แผงโซลาร์เซลล์ก็มีที่โล่งแจ้งอยู่จำกัดและใช้ได้เฉพาะเวลากลางวัน ขณะเดียวกันระบบท่อที่เกษตรกรที่เกษตรกรแต่ละรายทำ ก็เป็นการใช้น้ำที่ไหลผ่านท่อลงมจากจากยอดเขาเพื่อปลูกผลไม้และพืชสวนต่างๆ เพียงอย่างเดียว ทั้งที่หากนำมาผ่านเครื่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับพันธมิตร และสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (สศส.) จัดงาน Crea.verse: Portal to Future ขึ้นระหว่างวันที่ 15-27 พฤศจิกายน 2565 กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การพัฒนาเครือข่ายความคิดสร้างสรรค์ที่เปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และจัดกลุ่มผู้มีสมรรถนะสูงเพื่อสร้างระบบนิเวศของงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม” (The Development of CREATIVITY Network in Digital Economy Transformation and Talent Clustering to fabricate Creative and Innovation ECOSYSTEM) ของคณะวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. ผศ.ดร.ปริยกร ปุสวิโร หัวหน้า Edutainment Socio-Interaction Computing Lab (ESIC Lab) ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. กล่าวถึงที่มาของโครงการว่า จากประสบการณ์ที่ได้สอนเทคโนโลยีให้กับนักศึกษาสายศิลปะมากว่า 20 ปี และการทำงานร่วมกับนักสร้างสรรค์ นอกจากจะเห็นอุปสรรคของการทำงานระหว่างคนสายวิทย์กับสายศิลป์แล้ว ยังเห็นถึงช่องว่างที่ทำให้ขาดการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน หลายฝ่ายจึงพยายามในการนำเทคโนโลยีมารวมกับความคิดสร้
ผศ.ดร. อุสาห์ บุญบำรุง สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า จากโจทย์การทำงานที่ผ่านมาทำให้มีการพัฒนากังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีการทำงานร่วมกับชาวบ้านในหมู่บ้านคีรีวง ซึ่งการทำงานดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาแผนแม่บทเพื่อส่งเสริมกังหันน้ำขนาดเล็กในชุมชนรอบเทือกเขานครศรีธรรมราช โดยใช้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในรูปแบบการแสดงความคิดเห็นถึงประโยชน์ของทุกฝ่ายแบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้ แผนแม่บทดังกล่าว ถือเป็นการออกแบบการทำงานร่วมกันในชุมชนคีรีวงและชุมชนโดยรอบเทือกเขาหลวงในโจทย์ด้านต่างๆ เช่น เรื่องปัญหาการใช้งาน การรวบรวมข้อมูลต่างๆ การวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และสุดท้ายคือการต่อยอดการทำงานไปยังชุมชนอื่นๆ ใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่า การใช้งานของกังหันน้ำประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคนที่ใช้น้ำในช่วงการเก็บเกี่ยวผลไม้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายน ของทุกปี 2. กลุ่มคนที่ใช้น้ำตลอดทั้งปี เป็นกลุ่มคนที่พักอาศัยอยู่บนที่ราบภูเขาซึ่งต้องใช้ไฟฟ้าในการอุปโภคบริโภค ดังนั้น การจัดทำแผนแม่บทครั้งน
รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหาร คณะอาจารย์ และบุคลากรภายใต้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนแบบ Gifted Education สำหรับพัฒนาเด็กที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ฯ และเยี่ยมชมผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการแพทย์และสุขภาพ ของ มจธ. เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการทำวิจัยและการประยุกต์เทคโนโลยีจนไปถึงผู้ใช้ที่เป็นทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. กล่าวว่า การมาเยี่ยมชมงาน มจธ.ของคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความร่วมมือและสร้างความเข้มแข็งทางการศึกษา ซึ่งอาจนำไปสู่โครงการความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อจะได้ช่วยกันฟูมฟักเยาวชนรุ่นใหม่ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศได้ โดยเฉพาะบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามนโยบายของ
“เบทาโกร” ร่วมกับ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)” โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัย โครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่อุปทานและระบบโลจิสติกส์ (Supply Chain & Logistics Excellence) ของธุรกิจ เบทาโกร มุ่งสร้างนวัตกรรม เพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการบริหารห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ตอบสนองกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจ “Betagro Powering Change” ด้าน Supply Chain Resilience และ Digital Transformation โดยในปีนี้เบทาโกรตั้งเป้าที่จะนำร่องศึกษาวิจัย และพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสุกร หลังจากนั้นจะขยายให้ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน และระบบโลจิสติกส์ของธุรกิจเบทาโกร นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เบทาโกรในฐานะผู้ประกอบธุรกิจอาหารและเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจรชั้นนำ ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพิ่มผลิตภาพ และประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยเฉพาะก
จากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร ระบุว่า ในพื้นที่สีเขียวจำนวน 3,064 ไร่ ของเขตทุ่งครุ นั้น เป็น “พื้นที่เกษตรกรรม” เพียง 400 กว่าไร่ ขณะที่อีกกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ เป็น “พื้นที่ว่างเปล่า” ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่ถูกทิ้งร้างหลังเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ เมื่อปี 2554 เพราะสภาพดินมีความเค็มจนไม่สามารถทำสวนผลไม้ได้เหมือนเดิม ดังนั้น การทำให้เกษตรกรทุ่งครุที่เหลืออยู่ สามารถมีรายได้จากการเพาะปลูก รวมถึงรายได้จากกิจกรรมอื่นๆ ที่เกิดจากฐานทุนทรัพยากรของตนเองอย่างเพียงพอและพอเพียง จึงเป็นแนวทางที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยรักษาพื้นที่สีเขียวของเขตทุ่งครุให้คงอยู่ต่อไป ดร. กัญจนีย์ พุทธิเมธี อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และทีมวิจัย ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบชุมชนริมคลองฝั่งธนบุรีด้วยเครือข่ายคลังสมองของพื้นที่และแผนผังภูมินิเวศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน (โครงการ Green Thonburi) โดยการสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ต้องการที่จะสร้างต้นแบบของ “โมเดล
มจธ. จับมือ ภาคีปศุสัตว์และสัตว์น้ำไทย หาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย พร้อมเดินหน้าสู่ “ปศุสัตว์สีเขียว” โดยเร็วๆ นี้ มีพิธีลงนามความร่วมมือโครงการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย (Thai Livestock Technical Consortium for Climate Neutrality, LCCN) ขึ้นระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กับ กลุ่มภาคีปศุสัตว์และสัตว์น้ำไทย ทั้ง 9 สมาคม รศ.ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเด็นการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกัน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเลี้ยงปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ ตลอดจนสมาคมชั้นนำที่เกี่ยวข้อง ได้มีความริเริ่มและให้คำมั่นสัญญาที่จะลดก๊าซเรือนกระจกภายในห่วงโซ่ให้เหลือการปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2040 มหาวิทยาลัยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทางสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์และเครือข่ายได้เลือกที่จะทำความร