มะขามป้อม
มะขามป้อมแป้นสยาม เป็นพันธุ์ไทยแท้ๆ ที่เกิดจากการนำเอาเมล็ดของมะขามป้อมพันธุ์พื้นเมืองของไทยที่ขึ้นตามธรรมชาติในป่าเขตพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ก่อนที่จะถูกเรียกว่า “มะขามป้อมแป้นสยาม” เดิมทีเรียกว่า “พันธุ์เตี้ยเลื้อย” มีจุดเด่น ที่สำคัญได้แก่ รูปทรงของผลสวยกลมแป้น มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง 20-25 ผลต่อ 1 กิโลกรัม โดยผลโตเต็มที่จะเกือบเท่าลูกปิงปอง ต้นเตี้ย ติดผลดก โดยที่ไม่ต้องฉีดฮอร์โมนอะไรมาก เพียงบำรุงด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพียงเท่านั้น สำหรับท่านที่สนใจจะปลูกมะขามป้อม 1.ต้องดูพื้นที่ หากเป็นที่ลุ่มน้ำ น้ำท่วม ก็ไม่สมควรปลูก 2.น้ำ ปีแรกที่ปลูกต้องให้น้ำสม่ำเสมอ 3.ปลูกแล้วเน้นที่การแปรรูปสร้างมูลค่า #มะขามป้อม #มะขามป้อมแป้นสยาม #การปลูกมะขามป้อม
“มะขามป้อม เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Phyllanthaceae เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรอีกมากมาย เช่น สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย บำรุงโลหิต ต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเส้นเลือด รวมถึงเป็นยาระบายอ่อนๆ” คุณชูศักดิ์ หรือที่รู้จักกันในนาม “มะขามป้อมบ้านสวน นครปฐม” เกษตรกรผู้ปลูกมะขามป้อมและเจ้าของสวน ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลถนนขาด อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่มีความต้องการที่จะทำสวนผลไม้ที่ทนโรค และสภาพอากาศที่แปรปรวนในประเทศไทย ก่อนจะหันมาปลูก “มะขามป้อม” พันธุ์ทะวายอินเดีย มีจุดเด่น คือ ผลใหญ่ เนื้อนิ่ม น้ำเยอะ ซึ่งเป็นผลไม้ที่ตอบโจทย์ความต้องการในการทำสวนผลไม้ตามที่ตั้งใจไว้ และกลายเป็นธุรกิจในครอบครัวมานานกว่า 8 ปี ในพื้นที่ทั้งหมด 7 ไร่ “ก็ตอนแรกเราก็ทำสวน และหาโจทย์ที่ว่าหาผลไม้ที่ทนโรค ทนสภาพอากาศ มีผลผลิตตลอดปี ก็เลยมาจบที่มะขามป้อม เพราะว่าผลไม้ที่ทนโรค ทนต่อสภาวะอากาศที่แปรปรวน และมีผลผลิตให้เราตลอดปี นี่คือจุดเริ่มต้น ทำมาได้ประมาณ 8 ปีแล้ว เป็นธุรกิจภายในครอบครัว” สำหรับการปลูกมะขามป้อมภายในพื้นที่นั
เนื่องด้วยผู้เขียน มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร ได้พยายามศึกษาค้นคว้าหาสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยป้องกัน บรรเทา บำบัดรักษาโรคดังกล่าว ก็พบว่า มะขามป้อม มีสรรพคุณมากพอที่จะนำมาช่วยบรรเทารักษาโรคได้ โดยเฉพาะช่วยระบายพิษจากระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินโลหิต ทำหน้าที่ขับพิษตกค้าง เป็นต้น ได้ศึกษาจากเอกสาร บทความหลายฉบับ จากสื่อออนไลน์ จากงานวิจัยของบางมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลอภัยภูเบศร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ จึงได้นำมาเสนอแบ่งปันข้อมูลยังท่านผู้อ่านด้วย ในบทความนี้ นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลจำเพาะของมะขามป้อม ประโยชน์ของมะขามป้อม สายพันธุ์ต่างๆ การปลูก การดูแล จากแปลงเพาะปลูกจริงของเกษตรกรในพื้นที่ที่ปลูกเชิงการค้า เพื่อให้ท่านผู้อ่านเกิดความสนใจและมีความมั่นใจ หากจะนำกิ่งพันธุ์มาปลูก หรือเกษตรกรที่ปลูกมะขามป้อมอยู่แล้ว อาจวางแผนขยายพื้นที่และพัฒนาสายพันธุ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาด มะขามป้อม ไม้ดีมีคุณค่า มะขามป้อม เป็นไม้ยืนต้น ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica (ผลเล็ก) Phyllanthus indofischeri (ผลใหญ่) ชื่อสามัญ Indian goose
เช้าวันหนึ่งของเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 ช่วงนั้นผู้เขียนยังคงรับราชการอยู่ที่กลุ่มงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและจัดการพันธุ์ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รับคำสั่งให้ประสานงานกับทางโรงเรียนโสตศึกษา (ชื่อเดิมคือ โรงเรียนสอนคนหูหนวก) อำเภอเมือง จังหวัดตาก เนื่องจากได้รับแจ้งว่า ในพื้นที่ของทางโรงเรียนมีมะขามป้อมต้นหนึ่ง เจริญเติบโตจากเมล็ด มีผลโต และเป็นผลไม้ของเด็กนักเรียนได้ใช้รับประทานเมื่อติดผล ทางโรงเรียนได้ทดลองขยายพันธุ์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ก็ไม่สำเร็จ หากลองขยายพันธุ์โดยใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะได้หรือไม่ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ผู้เขียนจึงเดินทางไปยังจังหวัดตาก สถานที่ที่ต้นมะขามป้อมต้นดังกล่าวขึ้นอยู่ หลังจากเดินสำรวจรอบต้นดูสภาพแวดล้อมต่างๆ แล้ว พบว่า มะขามป้อมต้นดังกล่าว เข้าสู่ระยะการพักตัวในช่วงฤดูแล้ง ชิ้นส่วนสำคัญคือ ยอดอ่อนที่มีอายุน้อยๆ ที่ต้องการเก็บเป็นชิ้นส่วนเริ่มต้นสําหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่มีเลย หากต้องการให้เกิดยอดอ่อนเราก็ต้องรอให้ถึงช่วงฤดูฝน ซึ่งก็กินเวลาไปอีก 3-4 เดือน ข้างหน้า และการฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ยอดมะขามป้อมในช่วงฤดูฝนก็คงยากมาก เนื่องจากความชื้
“มะขามป้อม” เป็นพืชสมุนไพรประจำบ้าน ที่มีสรรพคุณทางยาสูง ในตำราแพทย์แผนไทยใช้มะขามป้อม เป็นส่วนผสมสำคัญในตำรับยามากกว่า 100 ตำรับ เช่น ตำรับยา“สมุนไพรตรีผลา” ซึ่งเป็น กลุ่มยาอายุวัฒนะ ผลงานวิจัยทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปยืนยันตรงกันว่า มะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีปริมาณของสารแทนนินสูงเป็นชนิดที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระต้านสารก่อมะเร็ง เพิ่มภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง กำจัดสารพิษจากโลหะหนักออกจากร่างกายและในผลของมะขามป้อมมีปริมาณวิตามินซีสูงมากกว่าส้มถึง 20 เท่า “ไร่ครูลออ” อ.ไทรโยค.. แหล่งรวมมะขามป้อมพันธุ์ดี หากขับรถออกจากตัวเมืองกาญจน์ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 323 (ถนนสายกาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ) ช่วงกิโลเมตรที่ 46 จะเจอน้ำตกไทรโยคน้อย (น้ำตกเขาพัง) อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยค นับเป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี บริเวณน้ำตกมีสภาพธรรมชาติที่สวยงามร่มรื่น โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนประมาณเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมจะมีน้ำมาก จากน้ำตกไทยโยคน้อย ขับรถเลยออกไปเพียงสิบกว่ากิโลเมตร สังเกตด้านขวามือ จะเจอ “ไร่ครูลออ” แหล่งรวบรวมมะขามป้อมพันธุ์ดีที่หลายคนรู้จัก ครูลออ ดอกเรียง รับร
คุณวัชรพล สรแสง อายุ 25 ปี เกษตรกรปลูกมะขามป้อมยักษ์ เจ้าของ “สวนหนุ่มวัชรพล” บ้านโคกหินช้าง ตำบลสาหร่าย อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา เขาพลิกวิกฤติเป็นโอกาส โดยนำพื้นที่ทั้งหมด 12 ไร่ ปลูกมะขามป้อมยักษ์ เพราะสังเกตเห็นตั้งแต่เด็กๆ ว่า มีต้นมะขามป้อมป่าขึ้นเต็มไปหมด ในขณะที่ปลูกมันสำปะหลังไม่ได้ผล และขาดทุน จนวันหนึ่งหนุ่มรายนี้ไปที่จังหวัดราชบุรี เห็นไร่มะขามป้อมลูกใหญ่ จึงหันกลับมาคิดถึงพื้นที่ของตัวเองเห็นว่ามะขามป้อม เป็นพืชประจำถิ่นเป็นสมุนไพร และมีสรรพคุณทางยามากมาย (อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด) ซึ่งชาวอินเดียรู้จักกันดีว่าเป็นยาอายุวัฒนะ โดยเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า Amalaka แปลว่า “พยาบาล” บ่งบอกถึงสรรพคุณมากมายของมะขามป้อม เขาเลยซื้อต้นพันธุ์มา ในราคากิ่งละ 1,500 บาท จำนวน 300 ต้น มาปลูก การลงทุนซื้อกิ่งมะขามป้อมยักษ์เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในวงเงินกว่า 400,000 บาท (4 แสนบาท) ทำให้ครอบครัวของเขาถูกเพื่อนบ้านมองว่าเพี้ยน มองว่าบ้า เพราะไม่รู้ว่ากิ่งมะขามป้อมที่มีความยาวประมาณข้อศอกจะอยู่รอดไหม เมื่อไรจะออกลูก และจะไปขายให้ใคร แต่ถึงวันนี้ชาวบ้านแถวนั้นเรียกเขาว่า “เสี่ย” และบางส่วน
ตรีผลาเป็นพิกัดยาแผนโบราณที่มีประวัติการใช้มายาวนาน จนได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันดีมากที่สุดตำรับหนึ่ง ไม่เฉพาะในหมู่ชาวไทย แต่ดังไกลไปทั่วโลก จนมีคำกล่าวขวัญในหมู่ชาวฝรั่งที่เป็นแฟนคลับยาสมุนไพรว่า “เจ็บป่วยคราใด ไม่รู้จะใช้ยาอะไร ให้ใช้ตรีผลา” (When in doubt,use Triphala”) ส่วนใหญ่คนไทยมักจะคุ้นกับสรรพคุณเป็นยาระบายของตรีผลา เพราะสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก็อนุญาตให้ใช้สรรพคุณขอขึ้นทะเบียนไว้แค่นั้นเอง ทั้งที่งานวิจัยสมุนไพรได้ค้นพบสรรพคุณใหม่ๆ ของตรีผลามากกว่าที่คิด “ตรีผลา” ที่นำมาวิจัยสรรพคุณนั้นเป็นสูตรตำรับพื้นฐานที่สุดคือประกอบด้วย เนื้อผลที่แก่เต็มที่ของ สมอไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์ Terminalia chebula RetZ. ชื่อสามัญ Chebulic myrobalan) สมอพิเภก(ชื่อพฤกษศาสตร์ Terminalia belerica Roxb. ชื่อสามัญ Belleric myrobalan) และมะขามป้อม (ชื่อพฤกษศาตร์ Phyllanthus emblica L. ชื่อสามัญ Emblic Myrobalan) ในอัตราส่วนเสมอภาค 1:1:1 ตากแห้ง บดเป็นผงละเอียด กรณีทดลองในคนเพื่อศึกษาฤทธิ์ระบายแก้ท้องผูกเรื้อรังและช่วยลดกรด ศึกษาในอาสาสมัครผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังทั้งสองเพศ อายุระหว่าง 16-52 ปี จำ
มะขามป้อม ชื่อพื้นเมือง มะขามป้อม ทางเขมร-จันทบุรี เรียกว่า กันโตด จังหวัดราชบุรี เรียกว่า กำทวด ส่วนทางกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียกว่า มั่งลู่ สันยาส่า ผลมะขามป้อม มีวิตามินซีสูงมากที่สุดในบรรดาพืชทุกชนิดที่มีในโลก ในผลมีสารป้องกันการเกิดออกซิไดซ์วิตามินซี ทำให้วิตามินซีคงตัวอยู่ได้นาน ผลแห้ง เก็บไว้ในที่เย็น เช่น ในตู้เย็น นาน 365 วัน จะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 20 ผลสด ถ้าเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง (29-37 องศาเซลเซียส) นาน 365 วัน จะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 67 เนื้อผลตากแดดให้แห้ง จะเสียวิตามินซีไปประมาณ ร้อยละ 60 ถ้าทำให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง จะเสียวิตามินซีไปไม่มากนัก เนื้อผลแห้งเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องจะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 25 ในเวลา 2 สัปดาห์ เสียวิตามินซีไป ร้อยละ 50 ในเวลา 4 สัปดาห์ และเสียไป ร้อยละ 60 ในเวลา 48 สัปดาห์ น้ำคั้นจากผล ใส่ขวดเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 2 สัปดาห์ จะเสียวิตามินซีไปมากกว่า ร้อยละ 50 แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นนาน 9 สัปดาห์ จะเสียวิตามินซีไปน้อยกว่า ร้อยละ 50 ในน้ำคั้นจากผลที่ใส่ขวดเก็บไว้ จะมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นและมีความเป็นกรดคงที่ ที่ pH2 ผลมะขามป้อม จะมีช่องแบ่งระหว่าง
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 นพ.มรุต จิรเศรษฐศิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ได้แนะนำคนไทยบริโภคพืชผักสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์เสริมภูมิต้านทานของร่างกาย สู้เชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดออรินจิ เห็ดหลินจือ พลูคาวหรือผักคาวตอง และส่วนผลไม้ได้แก่ หม่อนผลสด ส้ม มะนาว รวมทั้ง สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ที่นิยมนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกว่า “ ตรีผลา” ซึ่งผลไม้กลุ่มนี้มี วิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันการติดเชื้อหวัดโควิดที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก “ตรีผลา” เป็นหนึ่งในตำราแพทย์แผนไทย สำหรับสร้างภูมิคุ้มกันโรค เป็นมหาพิกัดยาต้านโรคฤดูร้อน จัดอยู่ในมหาพิกัดยา หมายถึง พิกัดยาที่ใหญ่กว่าพิกัดธรรมดา เพราะใช้ตัวยาสมุนไพรมากกว่า 2 ตัวขึ้นไปมารวมกัน โดยน้ำหนักยาแต่ละตัวไม่เท่ากัน แล้วแต่ว่าต้องการเน้นหนักให้แก้กองฤดูอะไร แก้กองธาตุไหน หรือต้องการแก้โรคแทรกใด สำหรับตรีผลาที่เป็นมหาพิกัดยาต้านโรคฤดูร้อนนั้น ประกอบด้วยผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย และลูกมะขามป้อม ตามปกติ ยาตรีผลาที่ประกอบด้วยผลไม้ทั้ง 3 ชนิด อย
มะขามป้อม ชื่อพื้นเมือง มะขามป้อม ทางเขมร-จันทบุรี เรียกว่า กันโตด จังหวัดราชบุรี เรียกว่า กำทวด ส่วนทางกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียกว่า มั่งลู่ สันยาส่า ผลมะขามป้อม มีวิตามินซีสูงมากที่สุดในบรรดาพืชทุกชนิดที่มีในโลก ในผลมีสารป้องกันการเกิดออกซิไดซ์วิตามินซี ทำให้วิตามินซีคงตัวอยู่ได้นาน ผลแห้ง เก็บไว้ในที่เย็น เช่น ในตู้เย็น นาน 365 วัน จะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 20 ผลสด ถ้าเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง (29-37 องศาเซลเซียส) นาน 365 วัน จะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 67 เนื้อผลตากแดดให้แห้ง จะเสียวิตามินซีไปประมาณ ร้อยละ 60 ถ้าทำให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง จะเสียวิตามินซีไปไม่มากนัก เนื้อผลแห้งเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องจะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 25 ในเวลา 2 สัปดาห์ เสียวิตามินซีไป ร้อยละ 50 ในเวลา 4 สัปดาห์ และเสียไป ร้อยละ 60 ในเวลา 48 สัปดาห์ น้ำคั้นจากผล ใส่ขวดเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 2 สัปดาห์ จะเสียวิตามินซีไปมากกว่า ร้อยละ 50 แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นนาน 9 สัปดาห์ จะเสียวิตามินซีไปน้อยกว่า ร้อยละ 50 ในน้ำคั้นจากผลที่ใส่ขวดเก็บไว้ จะมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นและมีความเป็นกรดคงที่ ที่ pH2 ผลมะขามป้อม จะมีช่องแบ่งระหว่าง