มะปราง
หากพูดถึงผลไม้รสเปรี้ยวอมหวานที่มีหน้าตาคล้ายกันจนหลายคนสับสน ก็คงหนีไม่พ้น มะยงชิด และ มะปราง แฝดคนละฝาที่ดูเผินๆ อาจแยกไม่ออก แต่จริงๆ แล้วทั้งสองมีความแตกต่างที่ชัดเจน ทั้งในเรื่องของรสชาติ ลักษณะภายนอก และสายพันธุ์ มะปรางและมะยงชิดแท้จริงแล้วเป็นพืชในตระกูลเดียวกัน นั่นก็คือ “ตระกูลมะปราง” ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่ มะปรางหวาน, มะปรางเปรี้ยว, มะยงชิด, มะยงห่าง และ กาวาง ทั้งหมดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก แต่สามารถแยกความแตกต่างได้จาก รสชาติและขนาดของผล แต่ละชนิด ใครที่เป็นสายมะปรางลองชิมดู อาจจะแยกออกได้โดยไม่ต้องดูชื่อเลย ทำไม “มะยงชิด” ถึงนิยมปลูกมากที่นครนายก มะยงชิด ถือเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายก ที่ใครได้ลิ้มลองเป็นต้องติดใจ ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้ง ผลขนาดใหญ่ เปลือกสีสวย และรสชาติหวานอมเปรี้ยวกำลังดี ทำให้มะยงชิดจากที่นี่โดดเด่นไม่เหมือนใคร จนกลายเป็นของดีประจำจังหวัด และเป็น ซิกเนเจอร์ ที่ใครมาเยือนก็ต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับไปเสมอ มะยงชิดและมะปราง เหมือนหรือต่างกันยังไง ตามมาดูกัน 1. ลักษณะผล มะยงชิด ผลค่อนข้างกลมรี ผิวตึงเนียน สีส้มอ
อาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่หลายๆ คนวางแผนไว้ในช่วงวัยเกษียณ โดยการปลูกพืชนานาชนิดในพื้นที่ดินที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งถือว่าเป็นการวางแผนรองรับชีวิตหลังวัยเกษียณอย่างแท้จริง หรือหากใครเบื่อหน่ายจากการทำงานประจำ หรือมองหาอาชีพเสริม อาชีพเกษตรจึงเป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนมาก แต่หลายท่านติดปัญหาในเรื่องของพื้นที่ที่อาจจะไม่กว้างขวางพอในการเพาะปลูกพืชที่ต้องการ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านฉบับนี้ ขอนำเสนอรายงานพิเศษในหัวข้อ “เกษตรรอบบ้าน สร้างง่ายและทำเงิน” ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางในการประกอบการตัดสินใจ สำหรับผู้ที่ต้องการทำอาชีพเกษตรในยุคปัจจุบัน เช่นเดียวกับหญิงสาววัย 21 ปี ที่ชื่อว่า “น้องฟ้า” หรือ คุณโชติกา พุฒฤทธิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะครุศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ และเกษตรกรวัยใสแห่งสวนมะปราง ณ บ้านสวนพาฝัน ตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ที่เนรมิตสวนมะปรางของคุณยายให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ด้วยการต่อยอดอาชีพการทำสวนมะปรางของครอบครัวในเนื้อที่เพียง 2 ไร่ พร้อมลุยขายตลาดออนไลน์และออฟไลน์ จนสามารถสร้างรายได้เสริมเลี้ยงตนเองและครอบครัว จุดเริ่มต้นของการปลู
“สวนมะปรางบ้านพาฝันเป็นสวนที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่สวนทั้งหมด 2 ไร่ เราตั้งใจจะนำผลผลิตจากสวนของเราออกมาจำหน่ายให้ทุกท่านได้ลองเปิดใจชิม สวนเราเป็นสวนแบบออร์แกนิกแท้ 100% ใส่ใจทุกรายละเอียดค่ะ” และนี่คือจุดเริ่มต้นของการลงมือทำสวนมะปรางของ คุณฟ้า หรือ คุณโชติกา พุฒฤทธิ์ สาวน้อยวัย 19 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะครุศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ และเกษตรกรวัยใสแห่งสวนมะปราง ณ บ้านสวนพาฝัน ตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ที่หันกลับมาต่อยอดอาชีพการทำสวนมะปรางของคุณยาย ในเนื้อที่เพียง 2 ไร่ พร้อมลุยตลาดออนไลน์ จนสามารถสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างสบายๆ จุดเริ่มต้นของการปลูก คุณฟ้า เล่าว่า เดิมทีเพียงแค่ปลูกไว้รับประทานภายในครอบครัว แต่เมื่อเวลาผ่านไปผลผลิตที่ได้ภายในสวนนั้นมีปริมาณที่เยอะขึ้น จึงทำการกระจายผลผลิตของมะปรางที่ปลูกไว้ ด้วยการขายให้คนในชุมชน ก่อนจะมองเห็นโอกาสการสร้างรายได้ในช่องทางดังกล่าว อีกทั้งเธอยังมีประสบการณ์จากการขายของออนไลน์ จึงอยากจะเจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้าทางออนไลน์ ด้วยการเรียนรู้ ศึกษาและลงมือทำมาจนถึงปัจจุบัน “หลังจากที่บ
อากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมะปรางและมะยงชิดให้ระวังโรคแอนแทรกโนส มักพบเชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ใบ พบแผลรูปร่างไม่แน่นอน ขอบแผลชัดเจนสีน้ำตาลเข้ม กลางแผลสีน้ำตาลอ่อน บางใสกว่าเนื้อใบรอบๆ กรณีมีความชื้นสูง แผลจะเพิ่มจำนวนขยายใหญ่อย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยว หรือไหม้แห้ง หากรุนแรงถึงระยะออกดอก เชื้อราสาเหตุโรคจะเข้าทำลายช่อดอก โดยเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลดำกระจายบนก้านดอก ทำให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไม่ติดผล ผลอ่อน จะพบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำและร่วงหล่น เชื้อราสาเหตุโรคจะแฝงอยู่ที่ผลอ่อนโดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแสดงอาการเมื่อผลแก่ โดยพบจุดแผลสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลามและบริเวณแผลอาจพบรอยแตก ทำให้ผลเน่าในที่สุด เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบพืชเริ่มมีอาการของโรค ให้ตัดแต่งกิ่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค และกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม จากนั้นให้ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป ภายหลังเก็บเกี่ยว
เส้นทางประวัติศาสตร์ของ “มะปราง” ผลไม้พื้นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อ 700 ปี ได้บันทึกไว้เมื่อครั้งพระยาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นครองราชย์ และทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้ทรงสั่งสอนชาวเมืองให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม อันจะเป็นวิธีรักษาบ้านเมืองให้ยั่งยืน จึงทรงสร้างเจดีย์พระบรมธาตุที่เมืองนครชุม (พระบรมธาตุนครชุมกำแพงเพชร) และทรงผนวชในพระพุทธศาสนา ที่วัดป่ามะม่วง เมืองชากังราว ครั้นถึงวันเพ็ญเดือนสามหน้าร้อน เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน จะนำผู้ครองนครเจ้าเมืองน้อยใหญ่ อีกทั้งไพร่ฟ้าข้าราชบริพารจัดแต่งขบวนพยุหยาตรา พากันไปนมัสการพระบรมธาตุนครชุมกำแพงเพชร ทุกๆ ปี จึงมี คำว่า “นบพระ” หมายถึง การ “ไหว้” และ คำว่า “เล่นเพลง” หมายถึง “การเฉลิมฉลอง” งานประเพณีนบพระ-เล่นเพลง “เมืองชากังราว” กำแพงเพชร จึงมีจัดขึ้นทุกๆ ปี ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งตรงกับเดือนสามช่วงหน้าร้อน มะปรางออกลูกพอดิบพอดี ขณะที่การเดินทางสมัยก่อนเคลื่อนขบวนด้วยช้าง ม้า วัว ควาย และเกวียน เป็นพาหนะ จากสุโขทัยมากำแพงเพชร เมื่อเดินทางมาถึงและนมัสการพระบรมธาตุเสร็จก็มืดค่ำ จึงต้องค้างแรมและมีการละเล่น เฉลิมฉลอง
อากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมะปรางและมะยงชิดให้ระวังโรคแอนแทรคโนส มักพบเชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ใบ พบแผลรูปร่างไม่แน่นอน ขอบแผลชัดเจนสีน้ำตาลเข้ม กลางแผลสีน้ำตาลอ่อนบางใสกว่าเนื้อใบรอบๆ กรณีมีความชื้นสูง แผลจะเพิ่มจำนวนขยายใหญ่อย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยวหรือไหม้แห้ง หากรุนแรงถึงระยะออกดอก เชื้อราสาเหตุโรคจะเข้าทำลายช่อดอก โดยเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลดำกระจายบนก้านดอก ทำให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไม่ติดผล ผลอ่อน จะพบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำและ ร่วงหล่น เชื้อราสาเหตุโรคจะแฝงอยู่ที่ผลอ่อนโดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแสดงอาการเมื่อผลแก่ โดยพบจุดแผลสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลามและบริเวณแผลอาจพบรอยแตก ทำให้ผลเน่าในที่สุด เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบพืชเริ่มมีอาการของโรค ให้ตัดแต่งกิ่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค และกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม จากนั้น ให้ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป ภายหลังเก็บเกี่ยว
หนุ่มตะพงเมืองระยอง วัย 28 ปี จบ ปวส. ช่างยนต์ หันมาทำสวนผลไม้ประสบความสำเร็จ นายธนิต บุญสินธุ์ คนหนุ่มไฟแรงด้านการเกษตร หมู่ 11 ต.ตะพง อ.เมืองระยอง ซึ่งกำลังพาคนงานตัดแต่งกิ่งมะม่วงในสวน จึงเข้าไปพูดคุยความรู้สึกของคนหนุ่มวัยทำงานตามโรงงานหรือทำงานบริษัท แต่กลับมาทำการเกษตร นายธนิต บุญสินธุ์ หนุ่มวัย 28 ปี พื้นเพเป็นคนตะพง เปิดเผยว่า หลังเรียนจบ ปวส. แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี ก็เข้าทำงาน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ทำงานได้เงินเดือนรวมแล้วตกเดือนละ 20,000 บาท ทำงานได้ 3 ปี ปัจจุบันลาออกจากบริษัทมาได้เกือบ 4 ปี ก็ไปบริหารจัดการบุกเบิกทำสวนผลไม้ของบิดา บนพื้นที่ประมาณ 70 ไร่ (รวมพื้นที่เช่า) สวนผลไม้แบบผสมผสาน โดยการซื้อกิ่งมะม่วง พันธุ์ “ไขแตก” ชื่อดังของ จ. ฉะเชิงเทรา นำมาทาบกิ่งมะม่วงพันธุ์อกร่อง ได้ประมาณ 2 ปี แต่ยังไม่เต็มที่เริ่มให้ผลผลิตได้ประมาณ 1 ตันครึ่ง มะม่วง “พันธุ์ไข” แตกเมืองแปดริ้ว แต่คนระยองเรียกพันธุ์ “ขายตึก หรือตกตึก” เป็นมะม่วงพันธุ์ใหม่ของระยอง มี 3 รส หวาน มัน เปรี้ยว และกรอบ ส่วนทางเหนือจะเรียกชื่อว่า “เหลืองอำไพ” นอกนั้นจะปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอ
ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ตรงกับช่วงฤดูมะยงชิด มะปรางหวาน ของดีจังหวัดนครนายก สำหรับปีนี้ ชมรมชาวสวนมะปรางจังหวัดนครนายก ร่วมกับจังหวัดนครนายก สำนักงานเกษตรจังหวัด และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครนายก เตรียมจัดงาน “ มะยงชิด มะปรางหวานนครนายก ” ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ณ บริเวณข้างศาลากลางจังหวัดนครนายก ปัจจุบัน “ มะปรางหวานนครนายก ” ได้รับการขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตามวันที่ยื่นคำขอ 29 กรกฎาคม 2557 โดยระบุคำนิยามสินค้ามะปรางหวานนครนายก หมายถึง มะปรางหวานสีเหลืองทอง สดใส ผลใหญ่ยาวรี รสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นหอม ซึ่งปลูกในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ ของจังหวัดนครนายก “พันธุ์ทองนพรัตน์ ” คือ หนึ่งในลักษณะเด่นของพันธุ์มะปรางหวาน ที่มีคุณภาพในพื้นที่จังหวัดนครนายก เป็นพันธุ์ยอดนิยมที่ขายดีในท้องตลาดทั่วไป เพราะมีลักษณะผลค่อนข้างใหญ่ รูปร่างยาวรี ปลายเรียวแหลม เปลือกบาง ผลสุกสีเหลืองอมส้ม เนื้อหนา แน่น ละเอียด เม็ดลีบเล็ก รสชาติ รสหวาน หอมกรอบ ไม่ระคายคอ ค่าความห
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าสวนมะปราง หมู่ 3 บ้านหนองพญา ต.บ้านแลง อ.เมืองระยอง ประดับไฟแสงสว่างหลากสีกันทั้งสวนในช่วงเวลากลางคืนทุกคืนเหมือนมีงานเทศกาล ไปสอบถามชาวบ้านทราบว่าเจ้าของสวนมะปรางชื่อนายอนุชา ติลลักษณ์ อายุ 44 ปีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ต.บ้านแลง นายอนุชา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เจ้าของสวนมะปรางดังกล่าวเปิดเผยว่า การทำสวนมะปรางให้ออกดอกเร็วขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ โดยนำเทคนิคใหม่ด้วยการติดหลอดไฟหลากหลายสี ให้สว่างไสวที่โคนต้นในเวลากลางคืน เทคนิคดังกล่าวได้มาจากชาวสวนมะปราง จ.นครนายก หลังจากนำเทคนิคติดหลอดไฟต้นมะปรางมาทดลองทำในสวนของตนปรากฏว่าภายใน 1 สัปดาห์ มะปรางก็ออกดอกสะพรั่ง หลังข่าวแพร่สะพัดออกไป ทำให้ชาวสวนมะปรางใน ต.บ้านแลงและ ต.ตะพง ติดหลอดไฟฟ้าหลากสีกันทุกสวน พอตกกลางคืนก็เปิดไฟ ทำให้สวนมะปรางสว่างไสวด้วยหลากสี เหมือนมีงานเทศกาล ขณะที่นายสาโรจน์ สิงห์เขตต์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 บ้านหนองกบ ต.ตะพง กล่าวว่า ตนเป็นคนริเริ่มติดหลอดไฟหลากสี(หลอดประหยัดไฟ) ในสวนมะปรางเจ้าแรก โดยลงทุนติดหลอดไฟหลากสีต้นมะปรางต้นละจำนวน 3 หลอด คิดเป็นเงิน 100 บาทต่อต้น หลังเปิดไฟในเว
มหาวิทยาลัยนเรศวรขอเชิญเข้ารับการอบรมเรื่อง “การผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับไม้ผลเขตภาคเหนือ ตอนล่าง : การผลิตมะปรางเชิงการค้า” ครั้งที่ 13 วันที่ 25 – 26 มีนาคม 2560 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 211 ตึกเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก และการศึกษาดูงาน ณ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก สนใจติดต่อ 055-963014 หรือ [email protected] ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น