มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง
มะม่วง พืชเศรษฐกิจ Soft Power ที่ประเทศไทยมีการส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยตลาดส่งออกมะม่วงสดที่สำคัญของไทยคือ มาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ จีน รัสเซีย ลาว และเมียนมา ส่วนมะม่วงกระป๋องมีตลาดส่งออกที่สำคัญอยู่ที่ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ซึ่งแม้ว่ามะม่วงจะเป็นผลไม้ที่มีความต้องการบริโภคสูง และมีการส่งออกเป็นอันดับต้นๆ แต่เกษตรกรภายในประเทศก็ยังคงประสบกับปัญหากับราคาผลผลิตที่ตกต่ำ หรือประสบกับปัญหาราคาที่ผันผวนอยู่ทุกปี เช่น ในบางปีมะม่วงราคาดีมากๆ เกษตรกรมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ และในบางปีราคาของผลผลิตแย่มากจนทำให้เกษตรกรเจ๊งไปตามๆ กัน จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ลูกหลานเกษตรกรหากไม่ขยาดกับอาชีพนี้ไปเลย ก็กลับกลายเป็นความฮึกเหิมขึ้นมา อย่างสาวจุฬาฯ ท่านนี้ ที่ตัดสินใจเลือกเรียนทรัพยากรการเกษตร เพื่อกับการพัฒนาสวนมะม่วงของพ่อ และพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้เจริญก้าวหน้ามากกว่าเป็นเพียงสวนมะม่วง นำไปสู่ Farm Destination สวรรค์ของคนรักมะม่วงในปัจจุบัน คุณแนน-วราภรณ์ มงคลแพทย์ ผู้ก่อตั้ง บ้านหมากม่วง KhaoYai The Mango House Farm ตั้งอยู่
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงภาพรวมสถานการณ์การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองพิษณุโลกปี 2568 แหล่งผลิตอันดับ 1 ของภาคเหนือ ซึ่งเป็นสินค้า GI ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ซึ่งมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด โดยในปี 2567 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้บูรณาการขับเคลื่อนนโยบายสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง (1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง) เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลิตภาพการผลิตสินค้ามะม่วงน้ำดอกไม้ของจังหวัดพิษณุโลก สศท.2 เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศการเกษตรระดับภูมิภาค ในฐานะคณะทำงานจัดทำข้อมูลเอกภาพได้ร่วมบูรณาการจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้ในระดับภาค ครั้งที่ 1/2568 (ข้อมูล ณ 18 กุมภาพันธ์ 2568) พบว่า ปี 2568 จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ยืนต้น 54,151 ไร่ เนื้อที่ให้ผลรวม 53,194 ไร่ เท่ากับปีที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรไม่มีการปลูกใหม่ หรือโค่นทิ้ง ผลผลิตในฤดูรวม 47,609 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่าน
คุณสุวิทย์ คุณาวุฒิ มีอาชีพทำสวนมะม่วงมาตั้งแต่สมัยรุ่นคุณพ่อ ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาปี 2528 ได้เข้ามาซื้อที่ทำสวนมะม่วงจำนวน 35 ไร่ ที่บ้านเลขที่ 54 หมู่ที่ 9 ตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 089-834-3299 หลังจากนั้นได้มีการขยายสวนจนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ และเข้าสู่ระบบ GAP ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 “ทำมะม่วงมาตั้งแต่เกิด รุ่นที่สองแล้ว พ่อแม่ทำมาก่อน เกิดมาก็อยู่กับมะม่วงเลย” คุณสุวิทย์ บอก ใจจริงคุณสุวิทย์อยากขยายสวนมากกว่านี้แต่ภรรยาห้ามไว้ก่อน ที่สวนนี้ปลูกมะม่วงหลายพันธุ์ แต่จะปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 150 ไร่ ส่วนพื้นที่เหลือก็ปลูกมะม่วงสายพันธุ์อื่นๆ คละเคล้ากันไป “ถ้าพูดถึงเรื่องพันธุ์มะม่วง คุณสุวิทย์บอกว่า ตอนนี้ที่มาแนวหน้า สำหรับตลาดส่งออก ต้องเป็นน้ำดอกไม้สีทอง ส่วนตลาดภายในมะม่วงขายตึก” คุณสุวิทย์ กล่าว ราดสารเมื่อไหร่ ที่สวนคุณสุวิทย์ จะเริ่มราดสารช่วงเดือนพฤษภาคม ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง ตามลำดับ โดยจะไม่ทำทั้งหมด จะใช้วิธีทะยอยทำ โดยตั้งเป้าหมายไว้กี่ไร่ ก็ราดสารเท่านั้น ราดสารตามอัตราที่มีแนะนำและบวกเพิ่มตามสูตรของตัว
คุณเอกภพ วิญญาภาพ เรียนจบชั้น ปวส. จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรลำปาง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง) ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ที่สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) สาขาไม้ผล (รุ่น 4) ในปี พ.ศ. 2530 หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วได้ทำงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกับพ่อ ตระเวนขึ้นเหนือล่องใต้หลายจังหวัดอยู่นานร่วม 30 ปี จนเกิดความเบื่อหน่ายและอยากใช้วิชาชีพที่ตนเองเรียนมาลงมือปฏิบัติเองบ้าง จึงใช้ที่ดินว่างเปล่าของพ่อ อยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านห้วยฮี ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อทำการเกษตร ปี 2555 เขานำรถแทรกเตอร์เข้าไถปรับพื้นที่ เพื่อเตรียมปลูกไม้ผล ตอนนั้นเขาไม่คิดจะปลูกมะม่วง เลย ต่อมาเขามีโอกาสปรึกษาเรื่องการทำสวนผลไม้ กับ ผศ.พาวิน มะโนชัย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่นเดียวกัน (รุ่น 51) และเป็นอาจารย์ภาควิชาไม้ผลของแม่โจ้ ผศ.พาวินแนะนำให้เขาปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพราะเป็นสินค้าขายดี กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาสูง และกิ่งพันธุ์หาง่าย คุณเอกภพจึงตัดสินใจปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในที่สุด เดิมทีพื้นที่สวนแห่งนี้ คุณพ่อของคุณเอกภพเคยซื้อไว้ใ
เกษตรกรในพื้นที่บ้านแสงไทร ตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา ปลูกมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ออกจำหน่ายสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี ขณะที่เกษตรจังหวัดพะเยา ส่งเสริมให้มีการผลิตแบบแปลงใหญ่และพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งปัจจุบันมะม่วงในพื้นที่เป็นที่ต้องการ เนื่องจากหลังมีการรวมกลุ่มและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตจนทำให้มะม่วงมีคุณภาพ คุณแจ วิวัฒน์วิทยา เกษตรกรวัย 66 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 9 บ้านแสงไทร ตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงคุณภาพ นำเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา เข้าดูแปลงปลูกมะม่วงของตนเอง ซึ่งมีการดูแลรักษาอย่างดี มีการพัฒนาคุณภาพโดยการใช้ห่อผลมะม่วงทุกผล จึงทำให้ผลผลิตมีคุณภาพอย่างดี และเป็นที่ต้องการของตลาด ปลูกมะม่วง 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เขียวเสวย น้ำดอกไม้เบอร์ 4 น้ำดอกไม้สีทอง และโชคอนันต์ โดยใช้พื้นที่ปลูกจำนวน 14 ไร่ ผลผลิตปีนี้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมาเก็บผลผลิตเขียวเสวย จำหน่ายได้มากกว่า 100,000 บาท ในส่วนของพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง และพันธุ์โชคอนันต์ ซึ่งขณะนี้ใกล้ที่จะเก็บผลผลิตออกจำหน่ายแล้ว เพียงแต่รอราค
ดินลูกรัง จัดเป็นดินที่มีความสมบูรณ์ต่ำ มีส่วนของหน้าดินลึกประมาณ 50 เซนติเมตร เท่านั้น ลึกจากนั้นลงไปจะเป็นชั้นของดินลูกรัง ชั้นกรวด และดินดาน ดินประเภทนี้จะมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ เป็นที่สังเกตว่าในสภาพพื้นที่ดินลูกรังจะปลูกไม้ผลให้ประสบความสำเร็จได้ยาก แต่สำหรับพื้นที่ในเขตตำบลวังทับไทร กิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นดินลูกรัง เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ใช้พื้นที่นี้ปลูกมะม่วงเป็นหลัก มีเกษตรกรหลายรายของที่นี่ได้มีการปรับปรุงพื้นที่และใช้เทคโนโลยีจนประสบความสำเร็จในการปลูกมะม่วงได้คุณภาพดี และสามารถส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศได้ คุณจรัญ อยู่คำ อยู่บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร กิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง บนเนื้อที่ประมาณ 120 ไร่ บนดินลูกรัง คุณจรัญบอกว่า ในการเตรียมหลุมปลูกมะม่วงจึงมีความจำเป็นจะต้องขุดหลุมขนาดใหญ่กว่าปกติ คือขุดให้มีความกว้าง ยาว และลึก ประมาณ 80 เซนติเมตร โดยขุดดินทั้งหมดมากองไว้บริเวณปากหลุมและคลุกเคล้าด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า ในอัตราหลุมละ 2-3 ปุ้งกี๋ และนำดินผสมเหล่านั้นใส่ลงไปในหลุมแล้วปลูกต้น
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เจ้าของผลงาน “ศึกษาวิจัยมะม่วงให้ได้คุณภาพมาตรฐานส่งออก” เข้ารับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ในงานวันนักประดิษฐ์ 2564-2565 จากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ผลงานเด่นของผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คือ การพัฒนานวัตกรรมการยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองได้นาน 33 วัน จากเดิม 15 วัน โดยการจัดการแบบครบวงจรจากต้นทาง สร้างความมั่นคงแก่เกษตรกร และเพิ่มโอกาสการเติบโตในตลาดโลก เตรียมส่งออกจริง ขนส่งทางเรือเดือนมีนาคม 2565 ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิด – 19 ได้ส่งผลกระทบโดยตรงเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เนื่องจากมีผลผลิตเกินความต้องการบริโภคภายในประเทศ และไม่สามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ ที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในการส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ผลไม้หลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยในปัจจุบัน ส่งออกไปต่างประเทศมากกว่าร้อยละ 60 อาทิ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และ มาเลเซีย รวมท
เป็นที่ยอมรับกันว่าหากสนใจมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอร่อย หวาน หอม ในแบบเกรดพรีเมี่ยม คงไม่ต้องไปหาที่ไหนแล้ว ปักหมุดไปที่ “เนินมะปราง” พิษณุโลก เพราะเป็นแหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองพรีเมี่ยมที่ดีที่สุดของไทย เพราะชาวบ้านใส่ใจกับการผลิตจึงเป็นมะม่วงที่มีคุณภาพและความปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐานการปลูก GAP หรืออาจถึงขั้นส่งขายต่างประเทศ สร้างเม็ดเงินมากมาย อย่าง “สวนรวงทอง” ที่มี คุณชลธิชา ช่างประดิษฐ์ เป็นเจ้าของสวน ตั้งอยู่เลขที่ 83 หมู่ที่ 13 บ้านวังน้ำบ่อ ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ได้รับการันตีรางวัลชนะเลิศให้เป็นแปลง GAP ดีเด่น และอีกหลายรางวัลมากมาย ทั้งยังผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพมาตรฐานส่งออก เกรดพรีเมี่ยม “การปลูกมะม่วงที่ขายทั่วไปมีความเสี่ยงด้านราคาผันผวน ถึงขั้นเสี่ยงขาดทุนหากราคาขายต่ำกว่าทุน ขณะเดียวกัน ถ้าทำมะม่วงคุณภาพเกรดพรีเมี่ยม ไม่ว่าจะขายในหรือต่างประเทศก็มีราคาสูง เพราะตลาดลูกค้ากลุ่มนี้มีความต้องการแล้วมีกำลังซื้อมาก ทำให้ราคาขายสูง” เจ้าของสวนกล่าว ภายหลังประสบความสำเร็จสามารถส่งผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้จากสวนตัวเองไป
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี (จภ.ปท.) คว้ารางวัลเหรียญทอง จากการประกวดในเวทีนานาชาติงาน “The Innovation Week in Africa (IWA 2021) ณ ประเทศโมร็อกโก” จากการนำขยะทางการเกษตรมาพัฒนาเป็นถุงตอนกิ่งที่ให้ธาตุอาหารกับต้นไม้ได้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนผลงานสิ่งประดิษฐ์ “ถุงตอนกิ่งสำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” ของ นายพรหมพิริยะ ขัตติยวงษ์, นายนรากรณ์ ธนิกกุล, นายจิราวัฒน์ ศรีศิลป์โสภณ, นายอชิตพล จินดาพรรณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ นายขุนทอง คล้ายทอง อาจารย์ที่ปรึกษา แห่ง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี เข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ในงาน The Innovation Week in Africa (IWA 2021) ณ ประเทศโมร็อกโก” ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 8-12 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา นายพรหมพิริยะ ขัตติยวงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยและทั่วโลก หันมานิยมบริโภคมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรเริ่มสนใจปลูกมะม่วงพันธุ์นี้มากขึ้นด้วยเช่นกัน จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรนิยมใช้พลาสติกเป็นวั
วช.หนุนนักวิจัย ม.นเรศวร ส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองไปต่างประเทศสู้ศึกโควิด-19 ค้นพบวิธียืดอายุการเก็บรักษามะม่วงได้นานถึง 33 วัน จากเดิมได้แค่ 15 วัน ด้วยตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมสภาพบรรยากาศ เผย “รัสเซีย ดูไบ ญี่ปุ่น เกาหลี” ฮิต ปี 63 ทำรายได้มากกว่า 1.9 พันล้านบาทให้ประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2564 ผศ.ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า ได้ขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เรื่อง “การจัดการห่วงโซ่อุปทานมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองครบวงจรสู้วิกฤตเศรษฐกิจจากโควิด -19”เนื่องจากโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งเป็นหนึ่งในผลไม้ส่งออกหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย ที่ผ่านมา มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมีผลผลิตเกินความต้องการบริโภคภายในประเทศและไม่สามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ จากข้อมูลทางสถิติของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในปี 2563 ประเทศไทยส่งออกมะม่วงสดทั้งหมด 87,260 ตัน มูลค่าการส่งออก 1,953.2 ล้านบาท โดยผลผล