มะม่วงส่งออก
คุณสุวิทย์ คุณาวุฒิ มีอาชีพทำสวนมะม่วงมาตั้งแต่สมัยรุ่นคุณพ่อ ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาปี 2528 ได้เข้ามาซื้อที่ทำสวนมะม่วงจำนวน 35 ไร่ ที่บ้านเลขที่ 54 หมู่ที่ 9 ตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 089-834-3299 หลังจากนั้นได้มีการขยายสวนจนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ และเข้าสู่ระบบ GAP ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 “ทำมะม่วงมาตั้งแต่เกิด รุ่นที่สองแล้ว พ่อแม่ทำมาก่อน เกิดมาก็อยู่กับมะม่วงเลย” คุณสุวิทย์ บอก ใจจริงคุณสุวิทย์อยากขยายสวนมากกว่านี้แต่ภรรยาห้ามไว้ก่อน ที่สวนนี้ปลูกมะม่วงหลายพันธุ์ แต่จะปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 150 ไร่ ส่วนพื้นที่เหลือก็ปลูกมะม่วงสายพันธุ์อื่นๆ คละเคล้ากันไป “ถ้าพูดถึงเรื่องพันธุ์มะม่วง คุณสุวิทย์บอกว่า ตอนนี้ที่มาแนวหน้า สำหรับตลาดส่งออก ต้องเป็นน้ำดอกไม้สีทอง ส่วนตลาดภายในมะม่วงขายตึก” คุณสุวิทย์ กล่าว ราดสารเมื่อไหร่ ที่สวนคุณสุวิทย์ จะเริ่มราดสารช่วงเดือนพฤษภาคม ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง ตามลำดับ โดยจะไม่ทำทั้งหมด จะใช้วิธีทะยอยทำ โดยตั้งเป้าหมายไว้กี่ไร่ ก็ราดสารเท่านั้น ราดสารตามอัตราที่มีแนะนำและบวกเพิ่มตามสูตรของตัว
“สวนคุณช้าง” ของ นายสวัสดิ์ วัฒนชัย เป็นต้นแบบการผลิตมะม่วง Good Agricultural Practices (GAP) ส่งออกรายใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยสวนแห่งนี้ ได้รับการรับรอง GAP ครั้งแรกในปี 2553 และมีการต่ออายุการรับรองแปลง GAP เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สวนคุณช้างนับเป็นเกษตรกรกลุ่มแรกๆ ที่เริ่มการผลิตมะม่วงคุณภาพส่งออกไปต่างประเทศ โดยทำสัญญากับบริษัทส่งออกเพื่อส่งผลผลิตจำหน่ายไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีเป็นหลัก “สวนคุณช้าง” ดูแลใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต สวนคุณช้างมีเนื้อที่ปลูกมะม่วงจำนวน 254 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ที่นี่ปลูกพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองจำนวน 10,000 ต้น และพันธุ์มหาชนกจำนวน 10,000 ต้น โดยมีระยะปลูก 6×2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกมะม่วงได้ 133 ต้น ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการสวนมะม่วง สามารถนำเครื่องจักรกลเกษตร เช่น แอร์บลาสต์ แทรกเตอร์ รถตัดหญ้า รถบดกิ่งมะม่วง เข้ามาทำงานได้สะดวก ช่วยประหยัดเวลา และลดแรงงานในการฉีดพ่นสารเคมี ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและมีรายได้เพิ่มขึ้น ปรับปรุงคุณภาพดินต่อเนื่อง เดิมทีสวนคุณช้างมีลักษณะเป็นดินทราย ที่ผ่านก
“ไร่หุบผึ้ง” เป็นสวนมะม่วงที่เน้นผลิตมะม่วงเพื่อทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ฟ้าลั่น และโชคอนันต์ ด้วยเหตุผลที่ต้องการเพิ่มมูลค่า พร้อมกับการบริหารจัดการในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้สวนแห่งนี้ผลิตมะม่วงได้อย่างมีคุณภาพ ชนิดเกรดส่งนอกเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วยังสามารถผลิตขายได้ตลอดทั้งปี ทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้าน ลงพื้นที่เข้าไปดูการปลูกมะม่วงในไร่หุบผึ้ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สวนแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมดกว่า 4,000 ไร่ จำนวนต้นมะม่วงที่ปลูกทั้งหมด ประมาณ 300,000 ต้น จัดระบบการปลูกมะม่วงเป็นโซน แต่ละโซนกำหนดพันธุ์มะม่วงไว้อย่างชัดเจน มีการดูแลจัดการภายในสวนอย่างมีระเบียบ จึงถือได้ว่าไร่หุบผึ้งเป็นสวนมะม่วงที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้ ทีมงานได้รับเกียรติจากคณะเจ้าของไร่อย่าง คุณวิกรม สุขวณิช คุณนงนุช ชำนาญผล และ คุณอภิชาติ ชำนาญผล ให้การต้อนรับพูดคุย คุณวิกรม เจ้าของไร่หุบผึ้ง เป็นคนกรุงเทพฯ ไม่ได้ร่ำเรียน หรือมีความรู้เกี่ยวกับการเกษตร แต่ด้วยความเป็นคนที่ชื่นชอบต้นไม้ โดยเฉพาะมะม่วงจึงทำให้สนใจปลูกมาตั้งแต
“ชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง” จังหวัดพิษณุโลก เกิดจากการรวมตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง จำนวน 14 คน เมื่อปี 2532 ปัจจุบัน มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเกือบ 200 ราย ทางชมรมจะบริหารงานในรูปคณะกรรมการกลุ่ม มี อาจารย์ศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ ทำหน้าที่เป็นประธานชมรม พวกเขาติดต่อสื่อสารกันผ่านการประชุมกลุ่ม ที่จัดขึ้นทุกเสาร์ที่สองของเดือน รวมทั้งผ่านหัวหน้ากลุ่มย่อย ซึ่งได้จากการแบ่งกลุ่มสมาชิกออกตามพื้นที่เป็น 10 กลุ่ม สมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกรชาวสวนมะม่วงที่มีพื้นที่ทำกินเฉลี่ย 45 ไร่ต่อครัวเรือน อาจารย์ศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ อาจารย์ศิลป์ชัย กล่าวว่า ทางชมรมวางเป้าหมายพัฒนาองค์กรเป็น “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนมะม่วง” เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการเกษตรให้แก่สมาชิกและผู้สนใจ เพื่อผลิตสินค้าคุณภาพดีป้อนตลาดทั้งในประเทศและส่งออก ที่ผ่านมา ทางชมรมได้ร่วมกับ อาจารย์ธวัชชัย รัตน์ชเลค และ อาจารย์รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ แห่งศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำวิจัยเกี่ยวกับการทำสวนมะม่วงของสมาชิก ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จนได้ข้อสรุปที่เป็น
ดินลูกรัง จัดเป็นดินที่มีความสมบูรณ์ต่ำ มีส่วนของหน้าดินลึกประมาณ 50 เซนติเมตร เท่านั้น ลึกจากนั้นลงไปจะเป็นชั้นของดินลูกรัง ชั้นกรวด และดินดาน ดินประเภทนี้จะมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ เป็นที่สังเกตว่าในสภาพพื้นที่ดินลูกรังจะปลูกไม้ผลให้ประสบความสำเร็จได้ยาก แต่สำหรับพื้นที่ในเขตตำบลวังทับไทร กิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นดินลูกรัง เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ใช้พื้นที่นี้ปลูกมะม่วงเป็นหลัก มีเกษตรกรหลายรายของที่นี่ได้มีการปรับปรุงพื้นที่และใช้เทคโนโลยีจนประสบความสำเร็จในการปลูกมะม่วงได้คุณภาพดี และสามารถส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศได้ คุณจรัญ อยู่คำ อยู่บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร กิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง บนเนื้อที่ประมาณ 120 ไร่ บนดินลูกรัง คุณจรัญบอกว่า ในการเตรียมหลุมปลูกมะม่วงจึงมีความจำเป็นจะต้องขุดหลุมขนาดใหญ่กว่าปกติ คือขุดให้มีความกว้าง ยาว และลึก ประมาณ 80 เซนติเมตร โดยขุดดินทั้งหมดมากองไว้บริเวณปากหลุมและคลุกเคล้าด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า ในอัตราหลุมละ 2-3 ปุ้งกี๋ และนำดินผสมเหล่านั้นใส่ลงไปในหลุมแล้วปลูกต้น
“ชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง” จังหวัดพิษณุโลก เกิดจากการรวมตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง จำนวน 14 คน เมื่อปี 2532 ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเกือบ 200 ราย ทางชมรมฯ จะบริหารงานในรูปคณะกรรมการกลุ่ม มี “อาจารย์ศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์” ทำหน้าที่เป็นประธานชมรมฯ พวกเขาติดต่อสื่อสารกันผ่านการประชุมกลุ่ม ที่จัดขึ้นทุกเสาร์ที่สองของเดือน รวมทั้งผ่านหัวหน้ากลุ่มย่อย ซึ่งได้จากการแบ่งกลุ่มสมาชิกออกตามพื้นที่เป็น 10 กลุ่ม สมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกรชาวสวนมะม่วง ที่มีพื้นที่ทำกินเฉลี่ย 45 ไร่/ครัวเรือน อาจารย์ศิลป์ชัย กล่าวว่า ทางชมรมฯ วางเป้าหมายพัฒนาองค์กรเป็น “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนมะม่วง” เพื่อ ส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการเกษตรให้แก่สมาชิกและผู้สนใจ เพื่อผลิตสินค้าคุณภาพดีป้อนตลาดทั้งในประเทศและส่งออก ที่ผ่านมาทางชมรมฯ ได้ร่วมกับ อาจารย์ธวัชชัย รัตน์ชเลค และ อาจารย์รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ แห่งศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำวิจัยเกี่ยวกับการทำสวนมะม่วงของสมาชิก ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จนได้ข้อสรุปที่เป็นวิธีปฎิบัติที่ดีที่
“เมื่อตลาดมะม่วงเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่คนชอบรับประทานผลไม้ มีรายได้จากลูกค้าที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งใส่ใจทุกขั้นตอนรายละเอียด ทำให้กลุ่มลูกค้ามีความพึงพอใจ และเน้นคุณภาพความเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค” คุณธิดาพร ศรีพูล แม่ค้าหน้าใส เล่าถึงงานขายมะม่วง คุณธิดาพร มีร้านจำหน่ายมะม่วง ตั้งอยู่เลขที่ 232/60 หมู่ที่ 12 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เล่าถึงแรงจูงใจ ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ เริ่มแรกมีอาชีพเป็นชาวสวน ซึ่งก็เป็นสวนมะม่วงอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ บนเนื้อที่กว่า 250 ไร่ ส่วนใหญ่จำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการราคาขายส่ง สำหรับความพิเศษของร้านขายมะม่วงที่นี่จะแตกต่างจากร้านทั่วๆ ไป เนื่องจากมะม่วงของทางร้านจะมีวางจำหน่ายตลอดทั้งปี ถึงแม้บางครั้งอาจจะไม่มีผลผลิตจากทางสวนก็ตาม แต่สามารถนำมะม่วงจากสวนที่รู้จักกัน ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเครือข่ายสัมพันธ์กัน มาจากการทำงานร่วมกันยาวนานกว่า 20-30 ปี มาวางขายที่ร้าน และสายพันธุ์หลักที่ได้วางขายส่วนใหญ่แล้วเป็นมะม่วงสายพันธุ์น้ำดอกไม้ ที่มีการแบ่งไปตามเกรด ไปจนถึงเกรดเฉพาะที่สำหรับส่งออกไปยังนอกประเทศอีกด้ว
แหล่งปลูกมะม่วงส่งออกทำเงินของประเทศไทย หากดูจากแผนที่ประเทศไทยแล้ว จะพบว่ากระจายอยู่ทั่วประเทศ จะมีกลุ่มที่รวมตัวกันหลายจังหวัดที่เป็นเขตติดต่อกันบ้าง เช่น พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร ในภาคอีสานก็เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น ภาคเหนือเกาะกลุ่มจังหวัดลำพูนประปราย น่าน เชียงราย และเชียงใหม่ ภาคกลางมีไม่มากนัก ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี อ่างทอง และสุพรรณบุรี ส่วนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่พบว่ามีการปลูกมะม่วงส่งออกน้อยกว่าภาคอื่น จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่ม 2 แห่ง คือที่อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก ตำบลบ้านโภชน์ และอีกกลุ่มเป็นกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมะม่วงเพื่อการค้าและการส่งออก จังหวัดเพชรบูรณ์ นำโดย คุณไตรรัตน์ เปียถนอม ผู้ซึ่งการันตีด้วยรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวน ปี 2557 ทำมะม่วงส่งออก แทน มะม่วงตามกระแส คุณไตรรัตน์ เปียถนอม เริ่มทำสวนมะม่วงมาตั้งแต่ปี 2530 ทุกปีประสบปัญหาขาดทุน เพราะไม่ได้อยู่ดูแลสวนมะม่วงด้วยตนเอง กระทั่งปี 2533 จ้างคนดูแลและปลูกมะม่วงตามความนิยมของท้องถิ่น คือ พันธุ์เขียว
“อาร์ทูอีทู” จัดเป็นมะม่วงพันธุ์การค้าของประเทศออสเตรเลีย พัฒนามาจากมะม่วงพันธุ์เคนท์ (Kent) ผลมีลักษณะกลม เนื้อแข็ง ผลค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักผลเฉลี่ยประมาณ 800 กรัม-1 กิโลกรัม ต่อผล เมื่อสุกผิวผลจะมีสีเหลืองอมแดง เนื้อสีเหลืองมะนาว ไม่มีเสี้ยน รสชาติหวาน เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวได้นาน เมื่อนำมาปลูกในประเทศไทยได้ผลผลิตและคุณภาพไม่แพ้ที่ปลูกในออสเตรเลีย ปลูกได้ในทุกพื้นที่ในบ้านเราที่ปลูกมะม่วงได้ (ยกเว้นภาคใต้) มีคำยืนยันมาจากพ่อค้าส่งออกมะม่วงว่า อาร์ทูอีทูในบ้านเรา ขนาดผล สีสันมีสีแดง ได้คุณภาพไม่แพ้มะม่วงอาร์ทูอีทูที่ปลูกประเทศออสเตรเลียได้อย่างแน่นอน เพียงแต่จะต้องปรับปรุงเทคนิคในการผลิตและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวให้ดีขึ้น เช่น การตัดแต่งกิ่งช่วยให้ผลมะม่วงได้รับแสงแดดเต็มที่ ทำให้ผิวผลมีสีแดงจัดสม่ำเสมอทั่วผล หรือจะเป็นการใช้ถุงห่อชุนฟงเข้ามาช่วย เป็นต้น ข้อได้เปรียบหนึ่งของมะม่วงอาร์ทูอีทูที่ปลูกในไทยคือ ค่าแรงงานถูกกว่าค่าแรงงานในประเทศออสเตรเลีย ที่ อ.บางแพ จ.ราชบุรี นอกจากจะมีการเลี้ยงกุ้งที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดแล้ว ในพื้นที่ก็ย
โมเดล “ตลาดนำการผลิต” และ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” สุดเจ๋ง ทำมะม่วงแปลงใหญ่สระแก้ว เตรียมโกอินเตอร์ไปฮ่องกง หลังพาณิชย์เจรจาผู้ส่งออกผลไม้ซื้อขายนำร่อง 1,000 ตัน มั่นใจคุณภาพมะม่วงได้มาตรฐาน หวังต่อยอดขยายผลในปีต่อไป นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ตามนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นนโยบายหลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการเกษตร โดยเน้นให้เกษตรกรทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพออกจำหน่าย สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งการส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการผลิตและการตลาด โดยร่วมมือในการพัฒนาสินค้าเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรในการจัดหาแหล่งจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่เข้าถึงสินค้าเกษตร สินค้าแปรรูป และสินค้าหัตถกรรมที่มีความปลอดภัย ตามแนวทางของโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อยกระดับให้ภาคการเกษตรของไทยก้าวไปสู่มาตรฐานสากลและนำพาให้เกษตรกรประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยื