ม.มหิดล
“โรคอ้วน” เป็นหนึ่งในโรคเมตาบอลิก (Metabolic Syndrome) ที่เกิดจากระบบการเผาผลาญที่ผิดปกติของร่างกาย เป็นโรคที่ไม่เพียงก่อให้เกิดปัญหาภาวะไขมันพอกตับแต่ยังทำให้เกิดภาวะเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ และความผิดปกติอื่นๆ ของร่างกายเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ศึกษาวิจัยโรคเมตาบอลิกในมนุษย์ ด้วยโมเดลของปลาม้าลาย(Zebrafish model) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์เฉลิมชัย มิตรพันธ์ อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในฐานะผู้ศึกษาวิจัยโรคเมตา บอลิกด้วยโมเดลของปลาม้าลายในระดับโมเลกุล ว่า โมเดลปลาม้าลายถูกนำมาใช้เป็นโมเดลสัตว์ทดลองอย่างเป็นระบบเพื่อศึกษาการทำงานของระบบประสาท โดย ศ.จอร์จ สไตรซิงเกอร์ (Prof. George Streisinger) แห่งมหาวิทยาลัยโอเรกอน (University of Oregon) สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นปลาม้าลายเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มนำไปเป็นโมเดลศึกษา การทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ครอบคลุมไปถึงการศึกษาพยาธิวิทยา และการเกิดโรคต่างๆ แม้ปลาโดยทั่วไปจะอยู่ในประเภทส
อาจารย์ชนิตา ตัณฑเจริญรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงที่มาของนวัตกรรม “หุ่นฝึกฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อทารกแรกเกิดด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์” ที่มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มนต์อมร ปรีชารัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และสามารถคว้า 3 รางวัลจากมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เป็นผลงานที่ได้สร้างสรรค์ร่วมกับ นายชะโอด ตัณฑเจริญรัตน์ หัวหน้างานอำนวยการและวางแผน สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 2 แห่งกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ผู้เป็นบิดา ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่ผ่านมา โดยเป็นนวัตกรรมที่ได้สร้างขึ้นจากโจทย์ที่มาจากชั้นเรียนพยาบาล ที่ต้องสาธิตให้นักศึกษาพยาบาลเรียนรู้การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี โดยทารกแรกเกิดทุกรายต้องได้รับการฉีด วิตามินเค ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญที่ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ ทารกแรกเกิดยังต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีเข้ากล้ามเนื้ออีกจำนวน 3 เข็ม โ
อาจารย์ ดร. วีรฉัตร์ ฉัตรปัญญาเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและกายภาพ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า แนวคิดเรื่องการปลูกผักริมระเบียงเพื่อลดโลกร้อนของคณะฯ เริ่มต้นมาแล้ว 2 ปีเศษ ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ว่าด้วยเรื่อง “Management for Self-sufficiency and Sustainable” ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ตามกระแสโลกในยุคปัจจุบัน นายอภิรมย์ อังสุรัตน์ หัวหน้างานกายภาพและบริการพื้นฐาน สำนักงานคณบดี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า การปลูกผักริมระเบียงดูแลง่าย โดยไม่ต้องลงสนาม หรือพื้นที่กว้าง ที่ผ่านมาทางคณะฯ ได้ใช้พื้นที่ระเบียงของทั้ง 2 อาคาร ซึ่งเดิมใช้ปลูกดอกไม้เพื่อให้ดูงดงาม แต่ต้องคอยดูแลไม่ให้เหี่ยวเฉา เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกผัก นอกจากจะสามารถนำไปบริโภคได้แล้ว ยังให้ความงดงามดุจดอกไม้ จึงได้นำเมล็ดพืช อาทิ ผักบุ้ง ทานตะวัน ผักกวางตุ้ง ฯลฯ มาทดลองปลูก และเก็บเกี่ยวในระยะที่ยังเป็นต้นอ่อน ซึ่งใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ต่อหนึ่งรอบการปลูก เพื่อให้ได้ยอดอ่อนผักบุ้ง ขนาด 30 เซนติ
รองศาสตราจารย์ ดร. ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (RILCA) มหาวิทยาลัยมหิดล คือ หนึ่งในความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้ทุ่มเทเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ศึกษาวิจัยและส่งเสริมการใช้กลไกทางภาษาและวัฒนธรรมเพื่อความเสมอภาคในความหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มแรงงานต่างชาติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (RILCA) มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้สร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม”MU Thai Test” เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางภาษาในกลุ่มชาวต่างชาติ ซึ่งรวมถึงกลุ่มแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในไทย เพื่อใช้วัดประเมินความสามารถในการฟังพูด อ่าน และเขียนภาษาไทย เบื้องต้น “MU Thai Test” ได้นำไปใช้ทดสอบกลุ่มผู้อพยพจากประเทศเมียนมาที่เป็นลูกหลานแรงงานที่เรียนในระดับประถมและแรงงานต่างชาติที่เรียนหลักสูตรนอกระบบของไทย (กศน.) ซึ่งการทดสอบได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักเรียนและแรงงานต่างชาติที่ต้องการทราบระดับความสามารถทางภาษาไทยของตนเอง เพื่อการพัฒนาทักษะทางภาษา และใช้ใน
อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้สำหรับครู และผู้นำกิจกรรมได้นำไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเสริมสร้างความตระหนักรู้ เกี่ยวกับงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านงานวิจัยเกี่ยวกับนกเงือกด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จงดี โตอิ้ม อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมวิจัย ได้ผลิตผลงานที่ได้รับลิขสิทธิ์จำนวน 2 ผลงาน คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบโต้ตอบได้ (Interactive E-Book) เรื่อง นกเงือก ผู้ให้แห่งผืนป่า : รู้จักนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์กับนกเงือกไทย และชุดการเรียนรู้นิเวศวิทยา และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านนกเงือกด้วยสะเต็มศึกษา ชุดการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาขึ้น เป็นการบูรณาการองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมและคณิตศาสตร์ ในการศึกษาและอนุรักษ์นกเงือกและทรัพยากรธรรมชาติในสถานการณ์จริง โดยใช้นกเงือกเป็นตัวเดินเรื่อง ที่มีเนื้อหาหลักทางวิชาการอยู่ใน
ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมยกระดับคุณภาพสัตว์ทดลองของศูนย์ฯ จากระดับเฝ้าระวัง(Monitored) สู่ระดับปลอดเชื้อจำเพาะ (Specific pathogen free; SPF) ซึ่งมีความปลอดเชื้อก่อโรคที่จำเพาะอย่างเต็มรูปแบบ นายสัตวแพทย์สุรชัย จันทรทิพย์ ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ใหม่ที่ได้เปลี่ยนทิศทางเพื่อมุ่งตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติจากเดิมที่ได้วางเป้าหมายไว้ที่ “อันดับหนึ่งของอาเซียน” โดยมองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องบรรลุยุทธศาสตร์ชาติให้ได้ภายใน ปี พ.ศ.2569 หรือในอีก 4 ปีข้างหน้า ก่อนจะมุ่งสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นใจต่อไป “การทดลองจะถูกต้องและแม่นยำเพียงใด ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสัตว์ทดลองเป็นสำคัญ เพื่อพร้อมเผชิญโรคอุบัติใหม่ในอนาคต จำเป็นต้องใช้สัตว์ทดลองระดับ SPF ซึ่งเป็นสัตว์ทดลองที่มีความปลอดเชื้อก่อโรคจำเพาะที่มากกว่าระดับMonitored ที่เป็นระดับเฝ้าระวัง แต่อาจแฝงด้วยเชื้อก่อโรคฉวยโอกาส และส่งผลต่อการทดลองบางประเภทได้” นายสัตวแพทย์สุรชัย จันทรทิพย์ กล่าว นอกจากนี้ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เตรียมขยายขอบข่
ศาสตราจารย์ นายแพทย์จุมพล วิลาศรัศมี อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงประสบการณ์ให้การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานว่า ส่วนใหญ่มักประสบปัญหาแผลหายช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณเท้า จนบางรายเกิดอาการลุกลามจนถึงกับต้อง “ตัดเท้า” กลายเป็น “ผู้พิการ” ซึ่งการป้องกันสามารถทำได้โดยหมั่นพบแพทย์ เพื่อการวางแผนรักษาเสียตั้งแต่เนิ่นๆ เดิมวินิจฉัยโดยการใช้อุปกรณ์ปลายแหลมที่คล้ายเอ็นตกปลากดสัมผัสไล่ตามจุดรับแรงกดบริเวณเท้า เพื่อตรวจสอบความรู้สึกของผู้ป่วย ซึ่งอาจจะมีความคลาดเลื่อนได้สูง ปัจจุบันจึงได้มีการใช้”ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์” มาเป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยและประเมินผล โดยเป็นผลงานที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ร่วมกับทีมงานของ รองศาสตราจารย์ ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างสรรค์ขึ้น คว้า “รางวัลชนะเลิศ” First Prize Abstract and Presentation: A Novel Robotic Monofilament Test for Diabetic Neuropathy จากการประชุมโรคหลอดเลือดนานาชาติ 39th An
จากแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าวพบว่าไม่ได้มีแต่เรื่องสังคม และเศรษฐกิจ แต่ได้ให้ความสำคัญไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้ไม่ว่าจะดำเนินโครงการใด จำเป็นจะต้องมีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมก่อนเสมอ การจัดการ “เมืองน่าอยู่” จึงต้องควบคู่ “สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” กลายเป็นที่มาของ “หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” จัดโดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ที่รวมเอาเรื่องการจัดการเมือง และการจัดการสิ่งแวดล้อมเอาไว้อย่างลงตัวตามแนวทางของ “Agenda21” แห่งสหประชาชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มณฑิรา ยุติธรรม ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์การจัดการเมือง โดยใช้มิติของสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนว่า ปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้ “การวางแผนยุทธศาสตร์เมือง และเกณฑ์ชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมเมือง” มาเป็นตัวช่
ศาสตราจารย์ นายแพทย์วีรศักดิ์ เมืองไพศาล อาจารย์แพทย์ประจำสาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากการค้นพบในห้องปฏิบัติการถึงคุณค่าของสารสกัด “แซนโทน” (xanthone derivatives) จากเปลือกมังคุด โดยวิธีมาตรฐานของการสกัดและผลิต พบว่ามีฤทธิ์ป้องกันการตายของเซลล์สมองจากสารชักนำ สามารถต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเทอเรส (Acetylcholinesterase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาทที่ช่วยเรื่องความจำในหลอดทดลอง และทำให้สัตว์ทดลองมีความจำ และอารมณ์ที่ดีขึ้น และไม่เกิดพิษต่อร่างกาย ทำให้สามารถพัฒนาเป็นยา โดยวิจัยในผู้ที่แข็งแรงดี และวิจัยต่อยอดเพื่อการป้องกันและรักษาภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ โดยวิธีวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง (double-blinded randomized controlled trial) ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จำนวน 108 ราย พบว่าสามารถต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วยและมีสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความจำดีขึ้น เมื่อเทียบกับยาหลอก งานวิจัยดังกล่าวเป็นความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรานันท์ ดำรงสกุล ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่ คณะศิลปศาสตร์ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก และจัดการเรียนการสอนผ่านมาแล้วหนึ่งภาคการศึกษา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรมศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรานันท์ ดำรงสกุล เชื่อมั่นว่าจะอำนวยการหลักสูตรให้สามารถบรรลุผลได้ตามวัตถุประสงค์ที่จะสร้างผู้ประกอบการซึ่งถึงพร้อมด้วยองค์ความรู้อันบูรณาการสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่จะทำให้ผู้มาเยือนได้มีสุขภาพดี พร้อมดื่มด่ำกับความงามของธรรมชาติและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยกันถ้วนหน้า จากกรณีศึกษาเรื่องการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมศึกษา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับการท่องเที่ยวไทย ผ่าน “ชามตราไก่จากลำปาง” ซึ่งปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้เป็น “ผลิตภัณฑ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” (Geological Indication – GI) ที่สร้างเม็ดเงินได้อย่างมหาศาลแก่จังหวัดลำปาง จากกา