ม.มหิดล
เมื่อเร็วๆ นี้ โรงงานต้นแบบเพื่อการพัฒนาชุดทดสอบน้ำยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Pilot Plant for Diagnostic Devices and Medical Laboratory Supplies, Faculty of Medical Technology, Mahidol University) ภายใต้การสนับสนุนจาก มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 13485:2016 อันเป็นเครื่องหมายสำคัญที่แสดงถึงมาตรฐานการบริหารจัดการที่ได้คุณภาพ และกระบวนการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐานนานาชาติ ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า นับเป็นก้าวสำคัญที่ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการวางระบบการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ภายใต้ระบบนิเวศ (eco-system) ที่ครบวงจร ทำให้คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการรับรองตามมาตรฐานนานาชาติ ISO 13485:2016 โดยมีโรงงานต้นแบบเพื่อการพัฒนาชุดทดสอบ น้ำย
อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ากำลังเป็นที่น่าจับตาในปัจจุบัน เนื่องจากสอดคล้องกับกระแสรักษ์โลก ซึ่งเป็นการใช้พลังงานทางเลือกจากไฟฟ้าเพื่อลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กฤษฏา สุชีวะ ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง (RTEC) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ RTEC ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อพัฒนายางล้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในยานยนต์ไฟฟ้าที่จัดอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยงานวิจัยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การวิจัยและพัฒนาต้นแบบยางล้อของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพสมรรถนะและต้นทุนการผลิตที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก สำหรับผู้ประกอบการผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์ไทย โดยนำเทคโนโลยีการพัฒนายางล้อรถประหยัดพลังงานที่ RTEC มีความรู้และประสบการณ์มานานนับทศวรรษ มาต่อยอดในการพัฒนายางล้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ซึ่งการจะพัฒนาคุณภาพยางล้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้มาตรฐานส่งออกนั้น จะต้องมีคุณสมบัติหลักครบทั้ง 3
นับเป็นครั้งแรกของ “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” แห่งโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งใน “แลนด์มาร์ค” ที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม ที่จะได้ “ย่อโลก” สมุนไพรนานาชนิด และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ในพื้นที่ 140 ไร่ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” เข้าสู่ “โลกแห่งเมตาเวิร์ส” เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดในโลกเสมือนจริง รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับกองเทคโนโลยีสารสนเทศ (MUIT) สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ โรงเรียนเวชนิทัศน์พัฒนา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (SIET) มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำ “VR TOUR” (Virtual Tour) พาชมอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา แบบ 360 องศา โดยเป็นการพาเที่ยวใน “โลกเสมือน
ปัจจุบัน การดำเนินชีวิตต้องอาศัยความฉลาดและคุณธรรมในการอยู่รอด ปรับตัว พึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ หมดสมัยแล้วที่จะต้องคอยรอรับแต่การช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องการพิสูจน์ตนเองว่ามีศักดิ์และสิทธิเช่นเดียวกับประชาชนชาวไทย จึงเป็นที่มาของโครงการ “อีโคมิวเซียมดอยสี่ธาร” ที่ริเริ่มขึ้นโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้ปณิธาน “Wisdom of the land” ที่มีความหมายว่า “ปัญญาของแผ่นดิน” ด้วยการร่วมพัฒนาชุมชนบนที่สูงให้เกิดเป็น “แผ่นดินอุดมปัญญา” (Land of Wisdom) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พธู คูศรีพิทักษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษาผู้สอนหลักกลุ่มวิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษา ซึ่งกำลังพัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาโทของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (RILCA) มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่งได้รับการประกาศให้ได้รับทุนอุดหนุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคมจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2565 ในฐานะหัวหน้าโครงการ “นโยบายการพัฒนาปรีชาญาณนคร” ก่อนจะพัฒนามาเป็นโครงการ “ปรีชาญาณนคร” ผู้ช่วยศาสตราจารย์
อาจารย์ ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึง หนึ่งใน “ทักษะที่จำเป็นของการเป็นพลเมือง” ของคนรุ่นใหม่ในโลกยุคดิจิทัลว่า จะต้องมีทักษะในการพิจารณาข้อมูลข่าวสาร “สนใจ-แยกแยะ-เปิดใจรับฟังความเห็นต่าง” ซึ่งพื้นฐานสำคัญของ “อยู่อย่างเข้าใจและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” คือการฝึกการรับฟัง ทำความเข้าใจในมุมมองต่างๆ และการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล รวมทั้งการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์อย่างร่วมมือ และเอื้ออาทร ปัจจุบัน นอกจากหลักสูตรปริญญาโทภาษาไทย ที่เปิดสอนด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ยังได้เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสู่หลักสูตรปริญญาเอกนานาชาติในด้านเดียวกัน นอกจากนี้ ยังจัดให้มีหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติที่เน้นการทำวิจัยประเด็นสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในเอเชียแปซิฟิค 4 แห่ง โดยหลักสูตรนานาชาติทั้ง 3 หลักสูตรเปิดรับนักศึกษาจากทั่วโลก อาจารย์ ดร. วัชรฤทัย บุญธินันท์ มองว่า ปัจจุบันงานวิจัยส
รองศาสตราจารย์ ดร. ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (Mahidol University and Osaka University Collaborative Research Center หรือ MU-OU : CRC) คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนและทีมวิจัยได้ค้นพบวิธีการใช้ยีสต์เป็นโมเดลในการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดมะรุมต่อการลดความเป็นพิษของโลหะหนักเพื่อประยุกต์ใช้ในการบำบัดสารปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมเป็นครั้งแรก สาเหตุที่เลือกใช้ยีสต์ในการศึกษาฤทธิ์ของใบมะรุมในการดักจับโลหะหนักนั้น รองศาสตราจารย์ ดร. ชูวงศ์ เอื้อสุขอารีกล่าวว่า เนื่องจากได้มีการศึกษากันมาอย่างยาวนาน จนสามารถทราบถึงกลไกการตอบสนองภายในเซลล์ ซึ่งการศึกษาในยีสต์ทำได้ง่ายกว่าในสัตว์ชั้นสูงโดยทั่วไป โดยในการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากใบมะรุม ทีมวิจัยได้ค้นพบเป็นครั้งแรกว่า พืชสมุนไพรหลากประโยชน์ของไทยดังกล่าว นอกจากจะมีคุณสมบัติมากมายทางยาแล้ว ยังมีประโยชน์ในเชิงสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณสมบัติที่สามารถดักจับโลหะหนักได้ และยังช่วยกระตุ้นเซลล์ให้ทนทานต่อโลหะหนักได้ดียิ่งขึ้น เมื่อใช้ย
หนึ่งในผลงานที่มหาวิทยาลัยมหิดลภาคภูมิใจ ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ได้แก่ “โปรแกรมการจำลองการฝึกส่องกล้องภายในหัวไหล่บนเทคโนโลยี Virtual Reality” ผลงานโดยทีม VSATs (Virtual Shoulder Arthroscopy Training Simulator) ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนโดย Mahidol Bremen Medical Informatics Research Unit (MIRU) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์ ได้กล่าวถึงผลงานของนักศึกษาที่สร้างชื่อกลุ่มดังกล่าวว่า นับเป็นเทรนด์ใหม่ในการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ ด้วยเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) สามารถใช้แทนการศึกษาจากร่าง “อาจารย์ใหญ่” ซึ่งต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงในการศึกษาแต่ละครั้ง อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในเรื่องการนำมาศ
สถานการณ์ COVID-19 เดินทางผ่านระลอกแล้วระลอกเล่าจนคาดกันว่าในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2565 จะมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงสุดในรอบปี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะเทคนิคการแพทย์ ประกาศพร้อมเคียงข้างประชาชนเตรียมสแตนด์บายพร้อมปฏิบัติการลงพื้นที่เชิงรุกตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ เพิ่มเติมบริการตรวจ RT-PCR และ ATK ให้ประชาชนทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานโครงการพัฒนา Ecosystem สาขาเครื่องมือแพทย์(Medical Devices) โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing University) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายในการพัฒนาเครื่องมือแพทย์โดยเน้นการใช้ประโยชน์สู่ประชาชน และการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์เพื่อลดการนำเข้า โดยที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในการพัฒนาเครื่องแพทย์ต่างๆ เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ขาดแคลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกันกา
รองศาสตราจารย์ ดร. ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นคณะพยาบาลศาสตร์แห่งแรก และเปรียบเหมือน “รากฐานทางการพยาบาล” ของประเทศไทย เปิดเผยถึงข่าวดีสำหรับนักศึกษาพยาบาลอาจารย์ นักวิจัย และผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลทั่วประเทศว่า ที่ผ่านมา คณะฯ ได้ระดมสรรพกำลังสร้างเครือข่ายห้องสมุดพยาบาลทั่วประเทศ จนปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 44 แห่งจากทั้งหมดเกือบ 50 แห่งทั่วประเทศ และได้เปิดทางเข้าแบบเสรี (Open Access Gateway) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้พี่น้องชาวพยาบาลจากทั่วประเทศ และทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีเงื่อนไข ผ่าน “เครือข่ายห้องสมุดทางการพยาบาลแห่งประเทศไทย” (Thailand Nursing Library Network) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูลแบบ evidence based ที่จะเอื้ออำนวยและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในกรณีผู้ใช้ (user) ต้องการค้นคว้าเพื่อศึกษาหนทางสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆ จากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมจากผลงานของเหล่าบรรดาปรมาจารย์ทางพยาบาลศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศไทยแบบเร่งด่วน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้แบบ Full text หรือเต็มรูปแบบ ได้ในชั่วลัดนิ้วมือเดียว นางสาว
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และรองประธาน Co-Founder โครงการ SPACE-F ที่มุ่งส่งเสริมและบ่มเพาะสตาร์ทอัพไทยสู่อุตสาหกรรมอาหารโลก กล่าวว่า “Cultured Meat” เป็นหนึ่งใน “Novel food” หรืออาหารทางเลือกใหม่ที่กำลังเป็นที่น่าจับตา โดยหวังให้มาทดแทนผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ในระบบปศุสัตว์ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมสนองรับนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การสนับสนุนในเรื่องการจัดสรรทุนวิจัย และอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ แก่ผู้วิจัยอย่างเต็มที่ เพื่อให้คนไทยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จากการได้มีแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานต่อไป ศาสตราจารย์ ดร. เทวัญ จันทร์วิไลศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงกระบวนการผลิต “Cultured Meat” ว่าสามารถออกแบบได้ตามต้องการของผู้บริโภค ทั้งรูป รส กลิ่น สี และสัมผัส โดยไม่มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย แต่สามารถเติมคุณค่าทางอาหารได้ตามที่ต้องการ ซึ่ง Timeline ของการวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิต “Cultured Me