ราคาข้าว
ผ่านมาไม่ถึง 24 ชม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) นัดพิเศษอีกครั้ง โดยมีมติปรับวงเงินสินเชื่อ ชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2559/2560 (จำนำยุ้งฉาง) ที่เพิ่งจะได้ข้อสรุปไปเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2559 ข้าวล้น-ขาลง มติดังกล่าวเป็นไปเพื่อตอบโจทย์ชาวนาไม่พอใจการแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำที่ลากยาวมานานเกือบ2เดือนนับจากเดือนกันยายน 2559 หลังจากพบสัญญาณว่าปริมาณผลผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2559/2560 ที่จะเกี่ยวปลายเดือนตุลาคมของทุกปีนั้น จะออกมาชนกับข้าวนาปรังภาคกลางซึ่งปลูกล่าช้าจากปกติ 2-3 เดือนจากเหตุภัยแล้งปีก่อน ทำให้คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวเปลือกจะทะลัก 20 ล้านตันช่วงไตรมาสสุดท้าย โดยมีปริมาณสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน อีกทั้งไทยยังมีสต๊อกข้าวสารรัฐบาลค้าง 8-9 ล้านตัน ขณะที่สถานการณ์ “ตลาดข้าวโลก” ดูไม่สู้ดี เนื่องจาก “ซัพพลายข้าว” ที่ล้นตลาด ทำให้เกิดการแข่งขันราคาอย่างรุนแรงทั้งระหว่างผู้ส่งออกไทย-ผู้ส่งออกต่างชาติ (เวียดนาม ปากีสถาน อินเดีย) และระหว่างผู้ส่งออกไทยหน้าใหม่ที่มาจากกลุ่มโรงสี และผู้ส่งออกไทยหน้าเด
การปรากฏขึ้นของข่าว “ราคาข้าว” เสื่อมทรุดและตกต่ำ กระทั่งดำ รงอยู่ในลักษณะอันเป็น”กระแส”ในทางสังคม น่าศึกษา เพราะหากไม่ศึกษาและทำความเข้าใจ ก็มีโอกาสสูงเป็นอย่าง ยิ่งจะไม่เข้าใจ มองว่าเป็นการ”ปั่น”ขึ้นโดย”นักการเมือง” มองว่าเป็นการ”นิมิต” หรือสร้างขึ้นโดย “สื่อมวลชน”บางกลุ่มขึ้นมาโดยเจตนา เมื่อเข้าใจเช่นนี้ก็จะทำให้”การวิเคราะห์”ผิดพลาด เมื่อวิเคราะห์ผิดพลาดและคลาดเคลื่อน ผลที่สุดก็จะไม่เข้าใจในสภาพความเป็นจริงของ 1 สถานการณ์ราคาข้าว และ 1 สภาพที่เกษตรกรชาวนาประสบ เมื่อไม่เข้าใจกระบวนการในการแก้ไขปัญหาก็จะผิดพลาดและคลาดเคลื่อนไปด้วย เข้าลักษณะ “งูกินหาง” ลองหยิบหนังสือพิมพ์”ข่าวสด”ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม ขึ้นมา พลิกไปยัง หน้า 10 จะเห็นภาพข่าวของชาวนา ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ โชว์เอก สารรับเงินค่าข้าวที่ขายให้โรงสีในราคาตันละ 5,000 บาท หรือกิโลกรัมละ 5 บาท เป็นการขายเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ยิ่งไปอ่านข่าวของเกษตรกรชาวนา ไม่ว่าจะจากอ่างทอง ชัย นาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ไม่ว่าจะจากพิจิตร ล้วนยอมรับตรงกัน ต่อปัญหา”ราคาข้าว”ที่พวกเขาประสบอยู่ อาจปรากฏผ่าน”หนังสือพิมพ์”
ต้องยอมรับว่า “ถ้อยแถลง” อันมาจาก พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ในฐานะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินไปในแบบ “ย้อนแย้ง” “นักการเมืองรวมทั้งสื่อมวลชนบางกลุ่มพยายามใช้ความเดือดร้อนของประชาชนสร้างกระแสความเข้าใจผิด สร้างข้อมูลเท็จโดยไม่มีการตรวจสอบ “ถือเป็นการทำร้าย ซ้ำเติมสังคมในช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีความ ทุกข์ใจอยู่แล้ว” เหมือนกับเป็น “ความหงุดหงิด” เหมือนกับ“ไม่พอใจ” กระนั้น หากติดตาม “ถ้อยแถลง”ต่อไป “ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีมาตรการหลายอย่างเพื่อสนับสนุนพี่น้องชาวนา และในวันที่ 31 ตุลาคม จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว “เชื่อว่าจะมีมาตรการดูแลพี่น้องเกษตรกรเพิ่มเติมออกมาอีก ขอให้รอฟังผลการพิจารณาอย่างเป็นทางการต่อไป” เป็นความหงุดหงิด แต่ก็มี”มาตรการดูแล” ลักษณะ”ย้อนแย้ง”เช่นนี้ “สะท้อน”และสำแดง”นัยยะ”อะไรในทางการเมือง คำตอบอันมาจาก 1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานเข้ากับ 1 กระทรวงพาณิชย์ แจ่มชัดใน “มาตรการ” นั่นก็คือ มาตรการที่มีความเห็น”ร่วม”ในการดำเนินโครงการ“จำนำยุ้งฉาง” กำหนดราคาเอาไว้ที่ตันละ 11,000 บาท เมื่อนำเอา “ถ้อยแถลง”ของ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ผนวกเข้ากับโครงการ”จ
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยในฐานะประธานการประชุมวางแผนข้าวครบวงจร ว่า เพื่อพิจารณาลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังปี 2560 ที่จะเริ่มปลูกในเดือน พ.ย.-ธ.ค.2559 ลดลงอีกประมาณ 1 ล้านไร่ เหลือพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 6 ล้านไร่ทั่วประเทศ จากแผนการผลิตเดิมกำหนดพื้นที่เพาะปลูกไว้ประมาณ 7 ล้านไร่ เพื่อลดปริมาณผลผลิตข้าวลง 1 ล้านตัน ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณผลผลิตรวมข้าวนาปรังทั่วประเทศจากที่ประมาณการไว้ 5 ล้านตัน เหลือเพียง 4 ล้านตันทั่วประเทศ เบื้องต้นแผนการลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง คาดว่าจะใช้โครงการเดิมที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) คือ โครงการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชหลากหลาย เป้าหมายประมาณ 3 แสนไร่ และเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นปลูกข้าวโพดอีกประมาณ 7 แสนไร่ จากเดิมกำหนดไว้ที่ 5 แสนไร่ ซึ่งชาวนาที่เปลี่ยนใจเพาะปลูกหรือเข้าโครงการทั้งปลูกพืชอื่นและข้าวโพด รัฐบาลจะสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อเป็นการจูงใจประมาณไร่ละ 2,000 บาท หรือคิดเป็นงบประมาณรวมทั้งโครงการปลดพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศประมาณ 2,000 ล้านบาท “สำหรับการจูงใจชาวนาให้ไปทำเกษตรอื่นในที่ประชุม ยอมรับว่าเป
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 12 กันยายน 2559 นายมนตรา บุญเรือง อายุ 52 ปี เกษตรกรชาวนาตำบลบ้านบุ่ง อ.เมือง จ.พิจิตร เปิดเผยกับผู้สื่อข่าว ว่า หลังจากที่ สนช.ได้ประชุมพิจารณา พ.ร.บ.งบปี 60 เพื่อปรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นั้น โดยเฉพาะ 17 มาตรการในการช่วยเหลือ ผมมองดูแล้วใช้ไม่ได้ ที่ผ่านมามีการประชุมเกษตรกรชาวนาที่ อบต.บ้านบุ่ง กว่า 100 ราย ในเรื่องการช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 2 พันบาท ซึ่งเขาให้คนละ 5 ไร่เท่านั้น แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องหยุดทำนา แล้วหันมาปลูกพืชระยะสั้น เช่น ปลูกถั่วฝักยาว ข้าวโพด แต่สุดท้ายเกษตรกรชาวนายกมือสนับสนุนเพียง 5 คนเท่านั้น นายมนตรากล่าวอีกว่า ถามว่าพืชระยะสั้นเหล่านี้ เราทำมาแล้วจะขายให้ใคร การที่รัฐออกมาช่วยไร่ละ 2 พัน แล้วให้เกษตรกรชาวนาหันไปทำการเกษตรอื่น มันมองดูแล้วไม่ตรงจุด ทำไปแล้วจะขายให้ใคร เพราะปลูกกันทั้งจังหวัดทั้งประเทศ รัฐบาลออกมารับรองหรือไม่ว่าจะขายได้ ตรงนี้ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรชาวนาเลย ผมว่ารัฐบาลออกมาแก้ไขเรื่องราคาจะดีกว่าที่จะมาให้ไร่ละ 2 พันบาท โดยเฉพาะเรื่องการพยุงราคาข้าว นายมนตรากล่าวอีกว่